บททดสอบ
ศักยภาพของมนุษย์ สะท้อนให้เห็น

ค่าแห่งคำอธิษฐาน

การตั้งความปรารถนาอย่างแน่วแน่
ที่จะทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้บรรลุเป้าหมาย
เป็นเรื่องของใจที่มุ่งมั่นจะทำเรื่องที่กำหนดไว้ให้สำเร็จ
จะสำเร็จได้หรือไม่นั้น อยู่ที่การลงมือทำด้วยตนเอง.

ค่าแห่งคำอธิษฐาน

๙. ขันติธรรม

เรียบเรียงโดย พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง)

๙.

ขันติธรรม

              องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า “การได้อัตภาพความเป็นมนุษย์นั้นแสนยาก, แม้ได้อัตภาพความเป็นมนุษย์แล้ว กว่าจะได้ฟังพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นก็แสนยาก” 

ด้วยเหตุว่า กว่าจะมีใครสักคนอุบัติมาเป็นพระโพธิสัตว์แล้วเพียรพยายามสั่งสมบารมีจนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้านั้นยิ่งต้องใช้เวลาที่ยาวนานมาก นับเป็นอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปป์

“โอกาสนี้ จึงขออ้างเอาพระบารมีธรรมของพระโพธิสัตว์ ผู้ได้บำเพ็ญพระบารมีมาจนเต็มบริบูรณ์แล้วนั้น พร้อมทั้งบารมีเดชอำนาจของบูรพาจารย์ทุกองค์ ได้โปรดรวมกันเป็นกองบารมีที่สำคัญพลันดลบันดาลให้ท่านทั้งหลาย ได้ประสบความสำเร็จสมความปรารถนาทุกประการ ดุจดังการบำเพ็ญพระบารมีของ พระโพธิสัตว์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นที่สุด”

คัดมาจากคำประพันธ์ของ

 พระอาจารย์เจ้าคุณสังคม ญาณวฑฺฒโน, สังฆะพัฒน์ 

            สมัยก่อน เคยได้ฟังพระท่านเล่าเรื่องพระที่ถูกกล่าวหา แล้วนำไปขังเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายพ้นข้อกล่าวหา เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ถูกเล่าต่อๆกันมาไม่รู้จบในวงการผ้าเหลือง  แต่แล้ววัฏฏจักรยังคงวนเวียนเกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกเป็นระยะรูปแบบวิธีปฏิบัติอาจจะเปลี่ยนแปลงไปบ้าง  แต่บริบทเนื้อหาภายในก็ยังคงเดิมไม่แปรเปลี่ยน

            ที่ประหลาดใจคือไม่คิดว่าตัวเองจะเข้าไปอยู่ในประวัติศาสตร์นั้น เมื่อเกิดขึ้นแล้ว มีคำถามเกิดขึ้นมากมายในใจ แต่วันนี้ต้องอยู่กับปัจจุบัน

ปรับกายใจ ถึงแม้ไม่พร้อม คิดอยู่เสมอว่า“อุปสรรคมีไว้ให้พุ่งชน”


            ในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่จุดเริ่มต้นพบเจออุปสรรคที่ยากลำบากอันส่งผลต่อการดำเนินชีวิต หากคนที่ไม่เริ่มฝึกฝนดูแลจิตใจตนเองอาจจะทำให้เกิดความสิ้นหวังท้อแท้หมดกำลังใจได้ง่าย เพราะว่าการสร้างความหมายอย่างมีคุณค่าให้เกิดขึ้นที่จิตใจถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนเราลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อฝ่าฟันอุปสรรคปัญหาที่เกิดขึ้นกับชีวิตได้ด้วยพลังแสงสว่างแห่งปัญญาธรรม เป็นสิ่งที่สำคัญมายึดเหนี่ยวทางจิตใจและสร้างกำลังใจตนเองพร้อมทั้งเปิดโอกาสที่จะก้าวเดินต่อไป 

              เพราะว่ามนุษย์ทุกคนล้วนแล้วจะต้องพบกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะมาในรูปแบบใดก็ตามทั้งทางแห่งทุกข์หรือความเครียดอันจะทำให้คนเราไม่สามารถที่จะกลับมายึดติดกับเรื่องเดิมๆได้ แต่เป็นเรื่องที่ควรมองว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นเป็นบททดสอบพลังจิตใจเพื่อปรับตัวเข้าสู่เส้นทางวิถีชีวิตใหม่ ดังนั้นความรู้จะเป็นแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงปรับใจมองโอกาสและประสบการณ์ในเรื่องราวที่เกิดขึ้น เนื่องจากเป็นธรรมดาที่ผู้คนล้วนต้องเผชิญช่วงเวลาที่ทุกข์ยาก ลำบากกายใจในบางช่วงขณะของชีวิต ประสบการณ์ความยากลำบากต่างๆ ที่เกิดขึ้นของมนุษย์ล้วนแล้วสามารถที่จะเปลี่ยนวิธีคิดและมุมมองใหม่ๆเพื่อที่จะช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความยืดหยุ่นทางจิตใจในความยากลำบากที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทำให้เกิดความมั่นใจและสามารถที่จะพิชิตอุปสรรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคตได้ 


            การที่มนุษย์รู้จักสร้างสิ่งที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของตนที่จะช่วยให้จิตใจเกิดความเข้มแข็งสามารถยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสภาวะธรรมที่เกิดขึ้นในปัจจุบันว่าทุกสิ่งเป็นเพียงเรื่องธรรมดา มีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป 

 พระอาจารย์เจ้าคุณสังคม ญาณวฑฺฒโน, สังฆะพัฒน์ 


              นอกจากนี้ การสร้างความเข้มแข็งของจิตใจจะเป็นพลังแห่งการเอาชนะความท้อแท้ ความอ่อนไหวของจิตใจ ที่สามารถเผชิญกับความทุกข์ที่ผ่านเข้ามาได้ “บุคคลใดเมื่อจะต้องเผชิญกับสภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้นหรือเหตุการณ์ที่เกิดกับชีวิตก่อให้เกิดความเครียดย่อมจะเป็นตัวที่ส่งผลต่อสภาวะของจิตใจ ซึ่งจะทำให้ความสมดุลแห่งชีวิตจางหายไป พร้อมทั้งเกิดความทุกข์ขึ้นในใจ หากเราได้ฝึกให้สภาวะแห่งจิตให้มีความเข้มแข็งแล้ว เราจะไม่ได้จมปลักกับความทุกข์ที่กำลังเผชิญอยู่และพร้อมฟื้นฟูสภาวะแห่งจิตให้กลับเข้าสู่สภาพที่มีความสมดุลแห่งชีวิตได้


              เนื่องจากเรารู้จักปรับเปลี่ยนตนเองให้เข้ากับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการปรับเปลี่ยนวิธีคิดทางจิตใจเป็นความยืดหยุ่นทางจิตใจ เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะแห่งทุกข์ อันเกิดจากความเครียดและด้านความเป็นอยู่ ซึ่งความยืดหยุ่นนั้นคือ “การปรับตัวกลับสู่ภาวะปกติ” เป็นประสบการณ์ที่ยากลำบากเท่าที่จะสามารถยืดหยุ่นได้และยังเกี่ยวข้องกับการฝึกฝนจิตใจด้วยเช่นกัน สิ่งที่เป็นความขัดแย้งในเรื่องของความยืดหยุ่นทางจิตใจ คือ ในการเอาชนะความทุกข์ยากลำบาก ต้องดูแลตัวเองเป็นอันดับแรกก่อนเพราะสิ่งที่เป็นตัวกำหนดว่าเราจะได้รับการ ดูแลหรือไม่ นี่คือวิธีคิดของเราไม่ใช่เหตุการณ์แวดล้อมภายนอก


            ฉะนั้นการเติมเต็มพลังใจให้พร้อมที่จะเข้าสู่บทเรียนเพื่อเข้ามาทดสอบสภาวะแห่งจิตใจ หากเราฝึกจิตด้วยขันติธรรมก็จะผ่านบททดสอบแห่งธรรมในครั้งนี้ได้ เพียงแค่เรากำหนดรู้ในความทุกข์ที่เกิดขึ้น ด้วยสติรู้แจ้งแห่งปัญญารวมพลังแห่งขันติก่อเกิดแห่งเส้นชัยชนะด้วยการไม่ประมาทในการกำหนดรู้เหตุการณ์นั้นๆ

 พระอาจารย์เจ้าคุณสังคม ญาณวฑฺฒโน, สังฆะพัฒน์ 

ให้ลองหันกลับมาทบทวนบทเรียนที่ผ่านมา เพื่อสรุปบทเรียนเป็นแสงสว่างแห่งปัญญาธรรมด้วยขันติธรรมบารมี ในบริบทแห่งการสร้างความเข้มแข็งของจิตใจนั้น จึงเกี่ยวข้องกับขันติธรรมที่เข้ามาเติมเต็มรอยร้าวให้มีความสมบูรณ์ทำให้สามารถผ่านสภาวะแห่งทุกข์ในเหตุการณ์ของชีวิตให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง

เป็น“โชค”ที่เรามีครูอุปัชฌายาจารย์“ดี”

            เพราะพื้นฐานที่สำคัญของหลักการดำเนินชีวิตเพื่อสร้างความงดงามทางจิตใจ พร้อมทั้งกล้าที่จะเผชิญสภาวะแห่งทุกข์ที่เกิดกับความเป็นอยู่ในปัจจุบัน ด้วยหลักแห่งความอดทนที่รวบรวมเป็นสภาวะแห่งจิตที่เข้มแข็งเพื่อที่จะพบเจอหนทางแห่งแสงสว่างทางปัญญาธรรมสามารถที่จะเรียนรู้และอยู่กับสภาพปัจจุบันด้วยความสุขแห่งธรรม ประกอบด้วย ศีล (สร้างพฤติกรรมตนเอง) สมาธิ (สร้างจิตใจที่เข้มแข็ง) และปัญญา (เข้าใจความจริงของชีวิต)

              ศีล สร้างพฤติกรรมตนเอง ศีลเป็นตัวปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของการอยู่ร่วมกันกับสังคมที่เราจะต้องเผชิญโดยเริ่มต้นจากความอดทนทั้งทางคำพูด การกระทำ และไม่เบียดเบียนผู้อื่น ซึ่งรวมถึงความคิดที่เป็นต้นทุนในการอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นๆได้อย่างมีความสุข และยังเป็นการสร้างพลังทางจิตใจให้กับคนรอบข้างอีกด้วยก่อให้เกิดสิ่งที่เข้ามาเต็มเติมของชีวิตให้พบกับความสมดุลของชีวิตอีกครั้ง 
              สมาธิ สร้างจิตใจที่เข้มแข็ง สมาธิเป็นตัวกำหนดรู้เท่าทันเหตุการณ์ที่เป็นตัวสร้างสภาวะแห่งทุกข์ขึ้น หากเรามีการพัฒนาด้านจิตใจบวกกับความเพียงพยายามระลึกรู้และการตั้งจิตมั่นชนิดที่มีคุณภาพมีพลังสร้างความกระจ่างเกิดขึ้นในใจ ย่อมทำให้จิตใจรู้สึกผ่อนคลายลง เป็นสุขสงบ นุ่มนวลคล่องแคล่วเหมาะแก่การเป็นอยู่ในสังคแห่งความทุกข์ด้วยการสร้างความสุขผ่านความทุกข์ที่กำหนดขึ้นรวมถึงการฝ่าฟันเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              ปัญญา เข้าใจความจริงของชีวิต ความเข้าใจสภาวะแห่งความทุกข์ที่เกิดขึ้นในสังคมแห่งนี้ มีความเข้าใจชีวิต ปัญญาจึงเป็นปัจจัยที่สำคัญทำให้เกิดความเข้าใจและปลดปล่อยจากสิ่งที่ยึดติดไว้ ทำให้เราพ้นจากสภาวะแห่งทุกข์เกิดความคิดที่ถูกต้องที่จะนำไปสู่การกระทำและความเป็นอยู่ที่ถูกต้อง


              คำสอนจากบูรพาจารย์ที่อบรมสั่งสอนเป็นที่พึ่งมหามงคลในการสร้างเสริมสติปัญญาด้วยการปฏิบัติให้เตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ที่ชีวิตต้องเผชิญโดยเฉพาะโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงจากเดิม เพราะทุกคนมีโอกาสที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึงเกิดขึ้นในรูปแบบใด ซึ่งวงจรแห่งการฝึกปฏิบัติตนให้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นจะต้องเริ่มต้นก่อนที่จะเผชิญกับสถานการณ์นั้น โดยการจัดเตรียมความพร้อมที่จะรับมือ โดยสถานการณ์ในปัจจุบันจะเริ่มเมื่อได้รับรู้ถึงสภาวะแห่งทุกข์ หากจิตใจมีสติปัญญารู้เท่าทันอารมณ์ปัจจุบันทันต่อกระบวนการรับข้อมูลและปรุงแต่งพร้อมที่จะรับมือทุกสถานการณ์ ก็จะต้องอาศัยปัญญาเป็นตัวกลางระหว่างความรู้สึกต่างๆเกิดขึ้นในปัจจุบันตามสภาพความเป็นจริง จนสามารถปล่อยวางทำให้จิตใจมีความเข้มแข็งคลายจากความทุกข์


ชีวิตมีค่ามากกว่าจะมาสงสารตัวเอง

ในชีวิตของคนเราทุกคนต้องเจออุปสรรคกันอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะเอาชนะอุปสรรคได้หรือไม่ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกี่ยวข้องกับจิตใจที่แต่ละคนมีความเข้มแข็งไม่เท่ากัน

            การเตรียมใจที่จะผ่านอุปสรรคให้ได้นั้น จะต้องยึดหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อช่วยทำให้จิตใจเกิดความเข้มแข็งสามารถที่จะยอมรับความจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตก็จะทำให้ชีวิตเกิดความสุขความเข้มแข็งทางจิตใจที่จะสามารถเผชิญกับอุปสรรคที่ผ่านเข้ามาในชีวิตได้ เนื่องจากขันติธรรมเป็นแนวทางแห่งการฝึกตนด้านจิตใจ อันเป็นผลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติแห่งความจริงเรียกว่าความทุกข์ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้อธิบายเกี่ยวกับความทุกข์ คือ การสร้างความเข้าใจต่อโลกและความจริงของชีวิต มุ่งในการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความทุกข์ วิธีแห่งความดับทุกข์ พร้อมทั้งเปิดมุมมองของชีวิตเต็มไปด้วยความเปลี่ยนแปลงดังพระพุทธจน์ที่ว่า “สังขารทั้งปวงเป็นทุกข์” ดังนั้นตามมุมมองแห่งการเอาชนะความทุกข์แห่งวิถีทางธรรม คือ การพัฒนาตนตามหลักแห่งความขันติบารมีแห่งธรรม

เนื่องจากมนุษย์ทุกคนล้วนแล้วจะต้องพบเจอกับวิกฤตในชีวิตที่ผ่านเข้ามาให้ทุกคนต้องค้นหาแนวทางในการเผชิญกับความทุกข์นั้นที่ผ่านเข้ามา ซึ่งทุกคนจะต้องทำหน้าที่พัฒนาตนเอง เรียนรู้ความจริงของชีวิต ตลอดจนถึงการเตรียมความพร้อมของจิตใจในการเผชิญกับสภาวะแห่งทุกข์ที่ผ่านเข้ามาและจนะเกิดขึ้นในครั้งหน้า ด้วยการปรับอารมณ์แห่งสภาวะทุกข์ที่เกิดขึ้นให้ได้อธิบายความรู้สึกทุกข์ใจออกมา อย่าพยายามเก็บกด ปิดกั้นที่ความรู้สึกหรืออารมณ์เศร้าที่เกิดขึ้น ให้อธิบายหรือการพูดออกมาดังๆกับตัวเองเมื่ออยู่ตามลำพัง เพราะการพูดเป็นสิ่งที่ดีต่อจิตใจที่สอดแทรกถึงความรู้สึกอันจะช่วยทำให้ความตึงเครียดทางอารมณ์ลดลง เช่น การรักษาความรู้สึกที่ดีไว้ เราก็สามารถอยู่กับความทุกข์ที่เกิดขึ้นได้ เราก็จะมีภูมิคุ้มกันต่อความเครียดและความทุกข์เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน ทั้เพราะว่าเป็นการช่วยปรับเปลี่ยนมุมมองให้เราเห็นสถานการณ์ในสภาพที่ตรงจริงยิ่งขึ้น และรู้สึกว่าตัวเองตกอยู่ในภาวะที่ถูกคุกคามลดลง

การปรับการกระทำถือว่าเป็นการพัฒนาความเข้มแข็งภายในตนเอง คนที่เชื่อมั่นว่าความสามารถในการควบคุมสภาวะที่เกิดขึ้นนั้นมีศูนย์กลางจากความเข้มแข็งภายในตนเอง ย่อมผ่านพ้นความทุกข์นี้ไปได้ด้วยความเพียรพยายาม ขณะเดียวกันคนที่มีความยืดหยุ่นทางจิตใจจะมองโลกตรงกับความเป็นจริงและเชื่อว่าแม้เราจะไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ และสามารถรับมือกับความเครียดในชีวิตในเชิงรุกมากขึ้น มีแนวทางการแก้ปัญหามากขึ้นทำให้รู้สึกควบคุมได้มากขึ้นทำให้เกิดความเครียดน้อยลงสามารถดำเนินชีวิตด้วยความสุขได้

ดังนั้นความอดทนและความยืดหยุ่นทางจิตใจนี่แหละจะช่วยให้เราสามารถผ่านพ้นช่วงสถานการณ์แห่งทุกข์ ความเลวร้ายในสถานการณ์นั้นๆ ไปได้ด้วยดี มีเพียงจิตใจที่ประกอบด้วยขันติธรรมเท่านั้นที่จะสามารถเยียวยารักษา และสร้างขึ้นมาใหม่ด้วยจิตใจที่เข้มแข็งได้

ค่าแห่งคำอธิษฐาน ๙. ขันติธรรม เรียบเรียงโดย พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here