ในการที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐินให้  บริษัท เลอคองคอร์ด โฮเต็ล จำกัด โดยการนำของ นายกฤษฏา มหาดำรงค์กุล ได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินเพื่อนำมาถวายพระสงฆ์จำพรรษาถ้วนไตรมาส ประจำปี ๒๕๖๔ ณ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เพื่อเป็นการถวายทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและได้ปวารณาถวายจตุปัจจัยถวายเป็นพระราชกุศล

โดยได้ประกอบพิธีภายในพระอุโบสถ เมื่อวันจันทร์ที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๔ เวลา ๑๔.๐๐ น. ที่ผ่านมา

อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ.

อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ.

อติเรกวสฺสสตํ ชีวตุ.

ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ.

ทีฆายุโก โหตุ อโรโค โหตุ.

สุขิโต โหตุ ปรเมนฺทมหาราชา.

สิทฺธิกิจฺจํ สิทธิกมฺมํ สิทฺธิลาโภ ชโย นิจฺจํ.

ปรเมนฺทมหาราชวรสสฺ ภวตุ สพฺพทา.

ขอถวายพระพร

ขอสมเด็จบรมบพิตรจงทรงดำรงพระชนม์ยิ่งร้อยพรรษกาล

ขอสมเด็จบรมบพิตรจงทรงดำรงพระชนม์ยิ่งร้อยพรรษกาล

ขอสมเด็จบรมบพิตรจงทรงดำรงพระชนม์ยิ่งร้อยพรรษกาล

ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ขอจงทรงบำราศจากพระโรคาพาธ

ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน

ขอจงทรงบำราศจากพระโรคาพาธ

ขอพระบาทสมเด็จปรเมนทรจงทรงพระเกษมสำราญ

ขอความสำเร็จแห่งราชกิจ

ความสัมฤทธิ์แห่งราชการ

ความเพิ่มพูนมหาศาลแห่งพระราชทรัพย์

ขอชัยชนะนับเนื่องนิตย์

จงมีแด่สมเด็จบรมบพิตรพระราชสมภารพระองค์ พระบาทสมเด็จปรเมนทร ธรรมมิกราชาธิราชเจ้า ผู้ทรงพระคุณอันประเสริฐ ตลอดกาลทุกเมื่อ เทอญ

ขอถวายพระพร.

“จึงประกาศเพื่อพระภิกษุสงฆ์ทั้งปวง

อุบาสก อุบาสิกา

และผู้มีจิตศรัทธาทุกท่านได้โปรดทราบ

และอนุโมทนาบุญโดยทั่วกัน”

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

กำเนิด…กฐิน 

ปรากฏอยู่ในพระวินัยปิฎกเถรวาท  เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวรที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้อยู่จำพรรษาครบ ๓ เดือนแล้ว สามารถรับมานุ่งห่มได  โดยคำว่าการทอดกฐิน หรือการกรานกฐิน จัดเป็นสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ตามพระวินัยบัญญัติเถรวาทที่มีกำหนดเวลา คือพระสงฆ์สามารถกระทำสังฆกรรมนี้ได้นับแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ เท่านั้น

กฐินจึงมีกำหนดระยะเวลาถวาย จะถวายตลอดไปเหมือนผ้าชนิดอื่นมิได้ ระยะเวลานั้นมีเพียง ๑ เดือน คือตั้งแต่วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ (วันเพ็ญเดือน ๑๒ ) ระยะเวลานี้เรียกว่า กฐินกาล คือระยะเวลา ทอดกฐิน หรือ เทศกาลทอดกฐิน

โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญคือ

สร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์

และอนุเคราะห์ภิกษุผู้ทรงคุณที่มีจีวรชำรุด

ดังนั้น กฐิน จึงจัดเป็นเรื่องเกี่ยวกับสังฆกรรมของพระสงฆ์โดยเฉพาะ

ซึ่งนอกจากในพระวินัยฝ่ายเถรวาทแล้ว กฐินยังมีในฝ่ายมหายานบางนิกายอีกด้วย แต่จะมีข้อกำหนดแตกต่างจากพระวินัยเถรวาท

ความเป็นมาของกฐิน

ในครั้งพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐ ๓๐ รูป เดินทางเพื่อมาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเชตวันมหาวิหาร  เมืองสาวัตถี  แต่ยังไม่ทันถึงเมืองสาวัตถี ก็ถึงวันเข้าพรรษาเสียก่อน พระสงฆ์ทั้ง ๓๐ รูป จึงต้องจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาแล้ว ภิกษุเหล่านั้นจึงได้ออกเดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดา ด้วยความยากลำบากเพราะฝนยังตกชุกอยู่ เมื่อเดินทางถึงวัดพระเชตวัน พระพุทธเจ้าได้ตรัสถามถึงความเป็นอยู่และการเดินทาง เมื่อทราบความลำบากนั้นจึงทรงอนุญาตให้ภิกษุผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาสสามารถรับผ้ากฐินได้ และภิกษุผู้ได้กรานกฐินได้อานิสงส์ ๕ ประการ ภายในเวลาอานิสงส์กฐิน (นับจากวันที่รับกฐินจนถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๔ ) คือไปไหนไม่ต้องบอกลา

๑. ไปไหนไม่ต้องบอกลา

๒. ไม่ต้องถือไตรจีวรไปครบสำรับสามผืน

๓. ฉันคณโภชนะได้ (รับนิมนต์ที่เขานิมนต์โดยออกชื่อโภชนะฉันได้) 

๔. เก็บอดิเรกจีวรไว้ได้โดยที่ยังมิได้วิกัปป์ และอธิษฐาน โดยไม่ต้องอาบัติ

๕. จีวรลาภอันเกิดขึ้น จักได้แก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว

การได้มาของผ้าไตรจีวรอันจะนำมากรานกฐินตามพระวินัยบัญญัติของเถรวาทนี้ พระพุทธองค์ไม่ทรงห้ามการรับผ้าจากผู้ศรัทธาเพื่อนำมากรานกฐิน  ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงทำให้เกิดทานพิธีการถวายผ้ากฐิน หรือการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนขึ้น และด้วยการที่การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอุปโลกน์ ยกให้ แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) และกาลทาน  ที่มีกำหนดเขตเวลาถวายแน่นอน คณะสงฆ์วัดหนึ่ง ๆ สามารถรับได้ครั้งเดียวในรอบปี จึงทำให้ประเพณีการทอดกฐินเป็นบุญประเพณีนิยมที่สำคัญของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศไทย

ประเพณีการทอดกฐินของพุทธศาสนิกชนไทยมีมาช้านาน โดยมีทั้งพิธีหลวงและพิธีราษฎร์ โดยการถวายผ้าพระกฐินของพระมหากษัตริย์จัดเป็นพระราชพิธีที่สำคัญประจำปี

กฐินพระราชทาน

กฐินพระราชทาน เป็นผ้าพระกฐินพระราชทานที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน และเครื่องกฐินแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชบริพาร ส่วนราชการ หน่วยงาน สมาคม หรือเอกชน ให้ไปทอดยังพระอารามหลวงต่าง ๆ ทั่วราชอาณาจักร

๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๖๔ “กฐินพระราชทาน” วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

กราบขอบพระคุณ ข้อมูลและภาพจากเพจ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และขอขอบคุณข้อมูลเกี่ยวกับ กฐิน , ความเป็นมา และกฐินพระราชทานจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here