เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
และ พระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ
น้อมเศียรเกล้า รำลึก ๑๑ ปีแห่งการมรณภาพ
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ( เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ป.ธ.๙)
พระมหาเถระผู้มีคุณูปการยิ่งต่อการพระศาสนาและคณะสงฆ์ไทย
เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
วันเสาร์ที่ ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๗ เวลา ๐๗.๐๐ น.
พระเดชพระคุณพระธรรมโพธิมงคล (สมควร ปิยสีโล ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และพระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ นำคณะสงฆ์ทั้งพระอาราม พร้อมด้วยเหล่าศิษยานุศิษย์
จัดพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ป.ธ.๙) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าสมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ณ ศาลาการเปรียญวัดสระเกศ
พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแด่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ
กำหนดประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวาย เนื่องในวันคล้ายวันมรณภาพ ปีที่ ๑๑
๐๖.๔๕ น. – พระเถรานุเถระ และผู้มีเกียรติ พร้อมกัน ณ ศาลาการเปรียญ
๐๗.๐๐ น. – พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ
– นิมนต์พระภิกษุสามเณร ทุกรูป ฉันภัตตาหารเช้า ณ ศาลาบำเพ็ญกุศล
– คุณแม่พรรณี – คุณเบญจมาศ โชคคณาพิทักษ์ (หลานหลวงปู่สมเด็จฯ) เจ้าภาพในพิธีบำเพ็ญกุศลนี้
๑๓.๓๐น. – นิมนต์พระภิกษุสามเณรวัดสระเกศ ทุกรูป พร้อมกัน ณ ศาลาบำเพ็ญกุศล
๑๔.๐๐น. – พิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายเจ้าประคุณสมเด็จฯ
– พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๓๐ รูป สวดพระพุทธมนต์/สวดมาติกา/บังสุกุล
๑๖.๐๐น. – พระสงฆ์สมณศักดิ์ ๑๐๐ รูป รับทักษิณานุปทาน
สำนักงานเลขานุการวัดสระเกศ ๐๖๕-๖๒๖-๓๕๕๓, ๐๖๓-๕๒๙-๕๔๙๙, ๐๘๔-๖๓๕-๑๔๕๒
ช่องทางติดตามข่าวสารและกิจกรรมของ วัดสระเกศ ราชวรมหารวิหาร กรุงเทพฯ https://www.facebook.com/watsraket/
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก
หากเอ่ยนามพระสงฆ์ “ผู้เป็นต้นแบบแห่งสงฆ์ ” ที่พุทธบริษัทปรารถนาจะได้พบเห็น อันเป็นหนึ่งในทัสนานุตริยะ ที่เป็นมงคลยิ่ง
เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นพระมหาเถระที่ได้รับการกล่าวนามถึงมากที่สุดรูปหนึ่ง ในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา บนผืนแผ่นดินไทย ด้วยใบหน้าที่เปิดยิ้ม ฉายแววแห่งความเมตตา ทักทายผู้คนทุกชนชั้นที่พบเห็น
เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ริเริ่มวางรากฐานแนวคิดนำพระพุทธศาสนาก้าวเข้าสู่ยุคใหม่ และนำพระพุทธศาสนาขจรขจายไปก้องโลก
ชีวิตของพระสงฆ์รูปหนึ่ง เมื่อแรกตั้งใจบรรพชาเป็นสามเณรเพียง ๗ วัน แต่กลับดำรงตนอยู่ในสมณเพศตลอดมาตราบเข้าสู่วัยชรา และสามารถสร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาได้อย่างอัศจรรย์
เหมือนชีวิตเกิดมาเพื่อต่อลมหายใจให้พระพุทธศาสนา
๔๐ ปี ที่รอยเท้าเหยียบย่างลงบนหิมะอันหนาวเหน็บ ณ แผ่นดินนอกอาณาเขตพระพุทธศาสนา กว่าบัวจะบานกลางหิมะ กว่าพระธรรมทูตจะยืนได้อย่างสง่า และกว่าพระพุทธศาสนาจะเดินทางไปทั่วทุกมุมโลก
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
และ พระพรหมคุณาภรณ์ (ปัจจุบัน สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต))
จากนี้ไปโลกจะจดจารึกเรื่องราวชีวิตของผู้บุกเบิกแผ่นดินแห่งใหม่ให้กับพระพุทธศาสนา ในนาม “พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก” สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
ในการเดินทางไปต่างประเทศช่วงแรกๆ เจ้าประคุณสมเด็จเน้นประเทศที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นพม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม ศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง สิงคโปร์ จีน และประเทศที่พระพุทธศษสนาเคยเจริญรุ่งเรือง แต่ถึงกาลล่มสลายไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย อินโดนีเซีย บังคลาเทศ เนปาล อินเดีย และอัฟกานิสสถาน เป็นต้น จากนั้น ก็เดินทางไกลออกไปยุโรป และอเมริกา
จากการเดินทางต่างประเทศบ่อยครั้ง เจ้าประคุณสมเด็จมีโอกาสพบปะกับชาวไทย และผู้นำทางการเมืองของไทยที่พลัดถิ่นอยู่ต่างประเทศ เป็นเหตุให้ทราบถึงการเป้นอยู่และความลำบากของชาวไทย ที่มีความจำเป็นต้องลี้ภัยการเมือง ซึ่งเป็นหนึ่งในแรงผลักดันให้เจ้าประคุณสมเด็จมุ่งการสร้างวัดในต่างประเทศ ในโอกาสต่อมาสมเด็จเกี่ยว นำพระพุทธศาสนาสู่โลกยุคใหม่
นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ก้าวขึ้นสู่การบริหารองค์กรสงฆ์โลก
นับเป็นพระสงฆ์ไทยรูปแรกที่ก้าวขึ้นสู่การบริหารองค์กรสงฆ์โลก
ภายหลังสิ้นสุดยุคพระธรรมทูตทั้ง ๙ สาย ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระพุทธศาสนาก็เริ่มอ่อนแอลงทุกขณะ แล้วค่อยๆ เลือนหายจากโลกไปทีละสาย แม้ประเทศศรีลังกาที่เป็นปราการที่แข็งแกร่งที่สุดของพระพุทธศาสนาในยุคนั้น ก็ถึงกาลล่มสลายลง จนเหลือที่มั่นสุดท้ายบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ อันเป็นผลงานการวางรากฐานของพระธรรมทูตต่างประเทศสายที่ ๘ โดยมีพระโสณะและพระอุตตระเป็นหัวหน้าคณะ
กราบขอบพระคุณ ภาพถ่ายโดยพระครูอมร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
แต่พระพุทธศาสนาในแผ่นดินสุวรรณภูมิ ไม่ว่าจะเป็นลาว เขมร หรือพม่าก็ตาม ต่างก็เริ่มอ่อนแรงลงตามกาลเวลา เพราะการเมืองของประเทศนั้นๆ และการเปลี่ยนแปลงของโลกสมัยใหม่ จนพระพุทธศาสนาเหลือปราการสุดท้ายบนผืนแผ่นดินไทย
พระพุทธศาสนาที่ดูท่าว่าจะเริ่มเลือนหายไปจากโลก กลับทอประกายเจิดจรัสขึ้นมาอีกครั้ง และแผ่รัศมีเรืองรองไปทั่วทุกมุมโลก เพราะความมุ่งมั่นที่จะรักษาพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยทุกยุคทุกสมัย
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เป็นหนึ่งในพระมหาเถระผู้มุ่งมั่นที่จะเห็นพระพุทธศาสนามีความมั่นคงอยู่บนผืนแผ่นดินไทย และแผ่ไพศาลไปเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลก
“แม้จะตั้งใจบวชเป็นสามเณรเพียง ๗ วัน
แต่กลับดำรงตนอยู่ในสมณเพศตลอดมาตราบเข้าสู่วัยชรา
และสามารถสร้างคุณูปการแก่พระพุทธศาสนาได้อย่างอัศจรรย์
เหมือนชีวิตเกิดมาเพื่อต่อลมหายใจให้พระพุทธศาสนา”
จริยวัตรและปฏิปทาที่งดงาม ภายใต้ใบหน้าที่อ่อนโยน มีรอยยิ้มฉายอยู่บนหน้าตลอดเวลา บ่งบอกพลังแห่งเมตตาธรรม เป็นภาพที่ติดตาและตรึงใจแก่ผู้พบเห็นอยู่ตลอด อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการฝึกฝนในพระกรรมฐานอย่างหนัก
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เรียนพระกรรมฐาน ในเบื้องต้น จากหลวงพ่อพริ้ง ซึ่งเป็นพระวิปัสสนาจารย์องค์สำคัญของเกาะสมุย โดยหลวงพ่อพริ้งได้นำเจริญพระกรรมฐานบนหลุมฝังศพขณะมีอายุ ๑๒ ปี เท่านั้น
ต่อมา ได้เรียนพระกรรมฐานจากเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่า พระองค์ท่านมีความชำนาญด้านกสิณ และเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังได้ให้ความสนใจวิธีการเจริญพระกรรมฐานตามแนวต่างๆ#นำพระพุทธศาสนาก้องโลก
ในส่วนงานพระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้ริเริ่มเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ ริเริ่มการสร้างวัดไทยในต่างประเทศ และริเริ่มให้มีการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปประจำ ณ วัดไทยในต่างประเทศ ริเริ่มสานศาสนสัมพันธ์กับพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน และริเริ่มฟื้นฟูพระพุทธศาสนาเถรวาทในประเทศจีน ได้ออกเดินทางไปต่างประเทศทั่วทุกมุมโลก เพื่อหาแนาวทางที่จะให้มีวัดเกิดขึ้นในประเทศนั้นๆ อันมีแรงบันดาลใจจากเจ้าประคุณสมเด็จสังฆราช (อยู่ ญาโณทยมหาเถร) ผู้เป็นอาจารย์
ลำดับเส้นทางชีวิตกับการวางรากฐานงานพระธรรมทูต
ณ ดินแดนนอกอาณาเขตพระพุทธศาสนา
พุทธศักราช ๒๔๘๙ สอบได้นักธรรมชั้นเอก
พุทธศักราช ๒๔๙๗ สอบได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค
พุทธศักราช ๒๔๙๗ ไปร่วมประชุมฉัฏฐสังคีติ ณ ประเทศพม่า
พุทธศักราช ๒๔๙๘ เป็นกรรมการพิเศษแผนกตรวจสำนวนแปลวินัยปิฎก ฉบับปี ๒๕๐๐ ของคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๔๙๙ เป็นอาจารย์สอนบาลี มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๐๐ ไปร่วมประชุมอรรถกถาสังคยานา ณ ประเทศพม่า เป็นประธานหัวหน้าแผนกคณะพุทธศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๐๒ เป็นผู้ช่วยอธิการบดี มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย เป็นหัวหน้าแผนกธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จาริกธรรมไปสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศใกล้เคียง ได้แก่ ลาว อินโดนีเซีย อินเดีย และศรีลังกา เป็นต้น
พุทธศักราช ๒๕๐๔ เป็นกรรมการหน่วยวิจัย จัดทำนามานุกรม ของคณะสงฆ์ โดยกรมศาสนา
พุทธศักราช ๒๕๐๕ เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปดูการศาสนา และเชื่อมศาสนสัมพันธ์ ที่ประเทศเกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง และจีน ฯลฯ
พุทธศักราช ๒๕๐๖ เป็นประธานคณะกรรมการต้อนรับสมณทูต จากไต้หวัน
พุทธศักราช ๒๕๐๗ เป็นเลขาธิการ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย ได้รับพระราชทานแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเจ้าคณะภาค ๙ เป็นหัวหน้าอำนวยการพระธรรมทูตสาย ๘
พุทธศักราช ๒๕๐๘ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ๙ เป็นเลขานุการสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ญาโณทยมหาราเถระ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๑๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
พุทธศักราช ๒๕๐๙ เป็นหัวหน้าคณะจาริกธรรมไปสังเกตการณ์ การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศลาว และเวียดนาม
พุทธศักราช ๒๕๑๐ เป็นหัวหน้าคณะ จาริกธรรมไปสังเกตการณ์ การศึกษาพระพุทธศาสนาที่ประเทศลาว ศรีลังกา ญี่ปุ่น ไต้หวัน ฮ่องกง ในความอุปถัมภ์ของ องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.)
พุทธศักราช ๒๕๑๑ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ เพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พุทธศักราช ๒๕๑๒ เป็นกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พุทธศักราช ๒๕๑๓ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดสระเกศ เป็นกรรมการยกร่างหลักสูตรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ
พุทธศักราช ๒๕๑๔ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชววรมหาวิหาร
พุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นหัวหน้าคณะไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ตามคำนิมนต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
พุทธศักราช ๒๕๑๖ เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
พุทธศักราช ๒๕๒๔ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะภาค ๑๐ เป็นรองประธานสภาสงฆ์แห่งโลก
พุทธศักราช ๒๕๒๕ ไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อสาธิตอุปสมบทกรรม และอุโบสถกรรม ตามแบบคณะสงฆ์ไทย ที่ประเทศศรีลังกา
พุทธศักราช ๒๕๒๘ เป็นประธานกรรมาธิการ สังคยานาพระธรรมวินัย ตรวจชำระ พระไตรปิฎก ในมหามงคลสมัยพระชนมพรรษา ๕ รอบ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
พุทธศักราช ๒๕๓๒ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออกเป็นประธานคณะกรรมการสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
พุทธศักราช ๒๕๓๔ เป็นประธานคณะกรรมการจัดการชำระและพิมพ์อรรถกถาพระไตรปิฎก เฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในมหามงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ๑๒ สิงหาคม
พุทธศักราช ๒๕๓๕ เป็นประธานกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุ สามเณร (ศ.ต.ภ.) เป็นรองแม่กองงานพระธรรมทูต
พุทธศักราช ๒๕๓๕ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พุทธศักราช ๒๕๓๗ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวออสเตรเลีย ณ ประเทศออสเตรเลีย
พุทธศักราช ๒๕๓๙ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ และสังเกตการณ์พระพุทธศาสนาในประเทศเยอรมัน
พุทธศักราช ๒๕๔๐ ได้รับพระบัญชาแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนา มหาเถระสมาคมเป็นประธานคณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติและอุบัติภัย
พุทธศักราช ๒๕๔๑ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พุทธศักราช ๒๕๔๒ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อเปิดวัดนอร์เวย์ และสังเกตการณ์พระพุทธศาสนา ในภาคพื้นยุโรป เช่น สวีเดน เยอรมัน เนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส และสวิตเซอร์แลนด์
พุทธศักราช ๒๕๔๓ เดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจเพื่อประกอบพิธีอุปสมบทให้กับชาวไต้หวัน ณ ประเทศไต้หวัน
พุทธศักราช ๒๕๔๕ เป็นหัวหน้าคณะเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
พุทธศักราช ๒๕๔๗ เป็นประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
พุทธศักราช ๒๕๔๙ ริเริ่มให้จัดตั้งกลุ่มโรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ริเริ่มให้จัดตั้งสถานีวิทยุ และโทรทัศน์พระพุทธศาสนา ภายใต้กำกับมหาเถรสมาคม ริเริ่มให้พระสงฆ์นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้กับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
พุทธศักราช ๒๕๕๑ จัดตั้งสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ภายใต้กำกับมหาเถรสมาคม โดยการสนับสนุนของสำนักงานพระพุทะศาสนาแห่งชาติ เป็นศูนย์กลางด้านความมั่นคงของพระพุทธศาสนา
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ให้กำเนิดพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัด ชายแดนภาคใต้
พุทธศักราช ๒๕๕๔ มีพระบัญชาให้อัญเชิญพระคัมภีร์โบราณทางพระพุทธศาสนา ๒,๐๐๐ ปี จากประเทศนอร์เวย์ ประดิษฐานเป็นการถาวร ณ บรมบรรพต ภูเขาทอง
พุทธศักราช ๒๕๕๔ จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือวัด และผู้ประสบภัยน้ำท่วมของคณะสงฆ์
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ก่อตั้งรางวัลระดับนานาชาติ “Awakening Leadership Award” และประกาศเกียรติคุณแก่ผู้นำชาวพุทธ กว่า ๘๕ ประเทศทั่วโลก ณ องค์การสหประชาชาติ