วันนี้วันพระ วันมาฆบูชา

วันพุธที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๕ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓

กลับมาหาพระธรรมวินัย

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช

(ตอนที่ ๓๘) บรรพ์ที่ ๗

สิ่งที่พระภิกษุผู้บวชใหม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอภิสมาจาร คือ วินัยส่วนที่เป็นขนบธรรมเนียม ตอน รองเท้าที่ทรงอนุญาต

เขียนโดย พระอาจารย์ญาณวชิระ (เทอด ญาณวชิโร) พระราชกิจจาภรณ์ ในขณะนั้น

รองเท้าที่ทรงอนุญาต

รองเท้าพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตไว้สำหรับพระภิกษุผู้มีฝ่าเท้าบาง เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศที่แตกต่างกัน บางแห่งก็ชื้นแฉะสกปรก บางแห่งก็แข็งขรุขระด้วยกรวดทรายแหลมคม  ทำให้เกิดความลำบากในการเดินทาง พระภิกษุมีเท้าบางเหยียบพื้นแข็งไม่ได้  เมื่อเหยียบพื้นแข็งแล้วเจ็บ  ในฤดูร้อนพื้นร้อน  เดินเหยียบแล้วเท้าพอง  ในฤดูฝนพื้นชื้นแฉะไม่สะอาด ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าเข้าบ้านเข้าวัดได้ พระภิกษุอาพาธเป็นโรคกษัย  ทรงอนุญาตให้สวมรองเท้าเพื่อกันเท้าเย็นได้   

นอกจากนั้น ในสมัยปัจจุบัน  การไม่สวมรองเท้า แล้วเดินเข้าไปในบ้านเรือนผู้คนถือว่าไม่เหมาะสม  เพราะกลัวบ้านสกปรกเนื่องจากสภาพบ้านเมืองไม่สะอาด สกปรก มีเชื้อโรคมาก ตามถนนหนทางเต็มไปด้วยเศษแก้ว เป็นอันตรายต่อสุขภาพ 

การที่พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุสวมรองเท้าได้  ก็ด้วยทรงคำนึงถึงสุขภาพอนามัยของพระภิกษุเป็นจุดประสงค์ที่สำคัญ  ส่วนพระภิกษุใดจะไม่สวมก็ได้  ไม่มีข้อห้ามไม่ให้สวมรองเท้า รองเท้าที่ทรงอนุญาตไว้มี ๒  ชนิด  คือ

๑.  ปาทุกา  เขียงเท้า (รองเท้า)

๒. อุปาหนา  รองเท้าไม่มีส้น

“ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช” (ตอนที่ ๓๘) บรรพ์ที่ ๗ “สิ่งที่พระภิกษุผู้บวชใหม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอภิสมาจาร” คือ วินัยส่วนที่เป็นขนบธรรมเนียม ตอน รองเท้าที่ทรงอนุญาต เขียนโดย พระอาจารย์ญาณวชิระ (เทอด ญาณวชิโร) พระราชกิจจาภรณ์ ในขณะนั้น

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here