“ไม่ว่าจะ ทุกข์ เพียงใด สุดท้ายก็จะผ่านไป ขอให้เก็บบทเรียนไว้เตือนใจ และ ไม่ว่าจะ สุข เพียงใด ก็จะผ่านไปเช่นกัน ขอให้สิ่งนั้นเป็นความทรงจำที่งดงาม”
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียนหนังสือ "ทุกข์ -สุข" ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียนหนังสือ “ทุกข์ -สุข” ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส

ในช่องว่าง …ระหว่างความทุกข์และความสุข

Book Reviews : แวะพักในโพรงไม้ กับนกเค้าโมง

แวะพักในโพรงไม้ กับนกเค้าโมง
แวะพักในโพรงไม้ กับนกเค้าโมง

จากหนังสือ “ทุกข์-สุข” โดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

นกเค้าโมงบินหายไปพักจิตพักใจ กลับมาพร้อมกับสายฝน ฤดูกาลกับวันเวลาเปลี่ยนไปอย่างไม่คาดคิด ชีวิตของคนก็เช่นกัน เราไม่รู้เลยว่า วันใดจะพลัดหลงจากกันไปในสังสารวัฏ ณ ทิศทางใด ไม่มีวันรู้ได้ หากไม่เพียรสร้างอริยทรัพย์ไว้ สังสารวัฏก็จะดูดจิตเราไว้กับกระแสโอฆะหมุนไปกับฤดูกาลและเปลี่ยนภพภูมิไปอย่างไม่สิ้นสุด

คอลัมน์ "เย็นกายสุขใจ"  โดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ หน้าธรรมวิจัย  ทุกวันอังคาร นสพ.คมชัดลึก ปี พ.ศ.๒๕๖๐- ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๒
คอลัมน์ “เย็นกายสุขใจ” โดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ หน้าธรรมวิจัย ทุกวันอังคาร นสพ.คมชัดลึก ปี พ.ศ.๒๕๖๐- ต้นปี พ.ศ.๒๕๖๒

เมื่อออกจากความคิดหนึ่ง ก็มาสู่อีกความคิดหนึ่ง นกเค้าโมงสลัดน้ำฝนออกจากปีกก่อนเข้าพักในโพรงไม้ ก็พบหนังสือ “ทุกข์-สุข” เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ เล่มนี้อยู่ที่หน้าโพรงไม้ เพียงสองปีผ่านไป จากบทความในคอลัมน์ “เย็นกายสุขใจ” หน้าธรรมวิจัย หนังสือพิมพ์ “คมชัดลึก” ทุกวันอังคาร ตลอดปี ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา ก่อเกิดเป็นหนังสือรวมเล่มให้ผู้อ่านได้พิจารณาสุข –ทุกข์ ระหว่างบรรทัดอย่างมีสติเล่มนี้ ช่วยผู้คนให้คลายทุกข์ จากมุมมองอันงดงามผสานอมยิ้มและเสียงหัวเราะได้เป็นระยะๆ  เพราะในขณะที่สายตาลัดเลาะไปตามเนื้อหาที่ท่านเขียน จิตก็พบทางออกจากปัญหาที่ท่านกำลังชี้ชวนให้พิจารณาไปด้วยในขณะนั้น แม้ว่า เรื่องราวจะต่างไปจากสิ่งที่จิตกำลังคิด หรือกำลังพะวงอยู่ก็ตาม

นี่เอง คือความงดงามในงานเขียนของท่าน ที่ทำให้เรื่องเล่าชั้นครูจากประสบการณ์ตรงรอบตัว ให้ข้อคิด และสติปัญญาแก่ผู้อ่านไปด้วยอย่างเป็นกัลยาณมิตร เมื่ออ่านด้วยสติจดจ่อ ไม่เผลอไผลคิดไปอื่น จิตจะไต่ตามตัวอักษรไปวิจัยทุกข์ในจิตตามหลักธรรมที่ท่านชี้แนะให้เห็นผ่านกระแสโลกที่เราอาจกำลังผงเข้าตาอยู่ แก้ปัญหาไม่ได้ แต่ด้วยวิธีมองตามหลักเหตุและผลตามแนวทางปัญญาพระพุทธเจ้าที่ท่านชี้ชวนให้เห็น จิตของเราก็จะน้อมการแก้ปัญหาในเรื่องนั้นๆ จนพบแสงสว่างอย่างง่ายดายในช่วงเวลาสั้นๆ ทำให้เกิดความสบายใจในชั่วขณะจิตหนึ่งด้วยความรู้สึกตัวทั่วพร้อม 

นกเค้าโมงเปิดบันทึกความทรงจำไปเมื่อครั้งยังทำงานอยู่ที่นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ และ นสพ.คมชัดลึก ก็พบกับคอลัมน์ “แวะพักในโพรงไม้” หน้าธรรมวิจัย วันอังคารที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๑ จึงขอนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งหนึ่ง ในวันที่นกเค้าโมงตกหลุมพลางของความทุกข์จากความคิดอย่างแสนสาหัส จนแทบจะบินไม่ไหว ก็ระลึกถึงหนังสือทุกข์-สุขของพระอาจารย์พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ เล่มนี้ขึ้นมา ก็เลยนำมาแบ่งปัน ในวันที่เราอาจพลาดพลั้งไปในความคิดและการกระทำจนทุกข์แสนสาหัส เมื่อได้มองย้อนกลับไป ทุกอย่างก็ผ่านไปแล้ว เราสามารถเริ่มต้นใหม่ได้ตลอดเวลา ตราบใดที่ยังมีลมหายใจอยู่

ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น

ทั้งนี้ กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ที่เมตตาแนะนำพระมหาธนเดช ครูบาอาจารย์ของพระวิทยากรมากมายในประเทศ ซึ่งไม่ค่อยมีเวลาในการเขียน เจียดเวลามาแบ่งปันประสบการณ์ผ่านตัวอักษรให้กับผู้อ่านในพื้นที่เล็กๆ แห่งนี้ให้มีพื้นที่พักใจมาโดยตลอด จึงขอให้ท่านผู้อ่านเบิกบานในธารอักษราที่ท่านได้กรองไว้อย่างสะอาดสดชื่นแล้ว

หนังสือ “ทุกข์-สุข” เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ
หนังสือ “ทุกข์-สุข” เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ

สนใจหนังสือ ติดต่อได้ที่ กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สถาบันพัฒนาพระวิทยากร  สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ คณะ ๑๖ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐เบอร์โทร :  ๐๘๖ ๖๖๙ ๙๒๒๑, ๐๙๕ ๕๔๓ ๑๙๔๙ Facebook : กลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม

แวะพักในโพรงไม้ กับนกเค้าโมง
แวะพักในโพรงไม้ กับนกเค้าโมง

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here