ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้
ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้

บันทึกธรรม สัมมาสมาธิ

(บทที่ ๒)

“ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ”

เขียนโดย ญาณวชิระ

: พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้
ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้

บทที่ ๒

ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ

นับตั้งแต่ลืมตาดูโลก

ภูเขาแห่งความคิดก่อตัวขึ้น

ล้วนมีรากมาจากความทะยานอยาก

เกาะอัดแน่นจนเป็นแท่งทึบ

ไม่ต่างอะไรจากภูเขาหิมพานต์

ยากที่จะเจาะให้ทะลุ

หรือกระทบให้สะเทือนได้”

ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ผู้ที่ต้องการทลายภูเขาแห่งความคิดจึงต้องเจาะเข้าไปให้ถึงรากความคิด คือตัณหา ด้วยวิธีการปฏิบัติสมาธิ ปลุกสติสัมปชัญญะให้ค่อยๆ ตื่นรู้ขึ้นมา ปิดตานอกเปิดตาใน ปิดความรู้เก่าเปิดความรู้ใหม่ คอยสกัดกั้นไม่ให้ความคิดก่อตัวขึ้นแล้วขยายใหญ่โต จนยากที่จะทลายได้

“ให้สติทำหน้าที่ตัดทอนความคิด”

การฝึกสมาธิจึงเป็นการฝึกจิตให้ระลึกรู้ทุกครั้งที่ความคิดก่อตัวขึ้นมาภายในใจ ไม่ว่าจะคิดดีหรือคิดร้ายก็มีสติระลึกรู้ พอรู้แล้วความคิดก็จะหยุดลงทันที

ทดลองบอกตัวเองว่า ให้คิดเรื่องที่คิดไปเมื่อสักครู่ที่ผ่านมาดูอีกที จิตก็จะนิ่งๆ เฉยๆ ไม่คิดเรื่องนั้น เพราะจิตถูกรู้แล้ว แต่เมื่อเผลอเลอขาดสติ ขาดความรู้สึกตัวก็จะไปคิดเรื่องอื่น หรือวนกลับไปคิดซ้ำเรื่องเดิม

“การเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ

มีความสำคัญ

เป็นจุดเริ่มต้น

ของการเจาะเข้าไปหารากของความคิด”

ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ ก็คือฝึกสมาธิจนมีความชำนาญ ซึ่งจะต้องผ่านการนั่งบ่อยๆจนรู้วิธีกำหนดจับจ้องให้ความสนใจอยู่ลมหายใจด้วยตัวเอง รู้ว่าลมหายใจเข้าเป็นอย่างไร ลมหายใจออกเป็นอย่างไร

ขณะลมหายใจหยาบเป็นอย่างไร ขณะลมหายใจละเอียดเป็นอย่างไร ขณะลมหายใจหดหายไปเป็นอย่างไร เมื่อลมหายใจหดหายไป กายก็จะปรากฏเหมือนหายไปด้วย จิตก็ชื่อว่าก้าวเข้าสู่ความว่างจากกาย ว่างจากความคิด ก็ดูความว่างต่อไป

ฝึกจนมีความชำนาญในการเข้าสมาธิ จนถึงขนาดว่าแค่สติแตะลมหายใจไม่กี่ครั้งก็ตัดเข้าสู่ความสงบได้ ฝึกจนถึงขนาดว่าจะกำหนดลมหายใจหรือไม่กำหนดลมหายใจก็ได้ เพียงแค่กำหนดจิตลงไป ก็ตัดเข้าสู่ความสงบได้ทันที

เมื่อฝึกจนชำนาญแล้ว ในที่สุดลมหายใจก็หมดความจำเป็น จะกำหนดลมหายใจหรือไม่กำหนดลมหายใจ ก็สามารถประคองจิตตัดเข้าสู่ความสงบได้ เรียกว่า ฉลาดในการเข้าสมาธิ

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้
ภาพประกอบลายเส้นพู่กันจีน โดย หมอนไม้

บันทึกธรรม สัมมาสมาธิ (บทที่ ๒) “ความเป็นผู้ฉลาดในการเข้าสมาธิ” เขียนโดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here