คำนำสำนักพิมพ์

ความสงบร่มเย็นของสังคมไทย เกิดจากการที่บรรพบุรุษไทยหล่อหลอมชาติขึ้น “จากธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” เราเชื่อกันว่า พระพุทธศาสนาเป็นเรือนใจไทยทั้งชาติ ตราบใดที่ธรรมะยังคงงดงามในจิตใจของคนไทยทั้งแผ่นดิน ความสงบร่มเย็น ก็ยังคงอยู่บนผืนแผ่นดินไทย ตราบนั้น

“ธรรมะให้ลูกดี” เป็นอีกหนึ่งผลงาน ที่สำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์ขึ้นจากคติธรรมที่ “เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)” ปรารภในโอกาสต่างๆ เป็นผลงานต่อจากเรื่อง “สมาธิหลักของใจ” ของเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่สำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์ไปแล้ว

สำนักพิมพ์อนันตะมีความภาคภูมิใจ และเป็นมงคลอย่างยิ่งที่มีโอกาสเผยแพร่งานอันทรงคุณค่านี้ ให้กว้างขวางออกไปสู่สาธารณชน ด้วยความมุ่งหวังที่จะส่งเสริมให้พระพุทธศาสนาเจริยรุ่งเรืองเป็นนิรันดร์สืบไป

สำนักพิมพ์อนันตะ

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ธรรมะให้ลูกดี" : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช /ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ /สำนักพิมพ์อนันตะ
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ธรรมะให้ลูกดี” : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช /ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ /สำนักพิมพ์อนันตะ

ชาติ : ความรู้สึกที่ดีงาม…ต่อแผ่นดิน

๑. คุณธรรม “ความกตัญญู” คือความดี

ธรรมะให้ลูกดี

พระพุทธองค์ตรัสว่า “การให้ธรรมะเป็นธรรมทาน ชนะการให้ทุกอย่าง” การให้ธรรม คือ การบอกทางที่จะเดินไปสู่ความดี คุณพ่อ คุณแม่ สอนลูกให้ลูกเป็นลูกที่ดี

” คือการบอกทางแห่งความดี”

“คือ การให้ธรรมเป็นทาน นั่นเอง”

คุณธรรม

คุณธรรม คือ ความดีนั่นเอง มุ่งถึงความดีที่เกิดในจิตใจ เช่น ความกตัญญู ความมีเมตตา เป็นต้น แต่ก็แสดงออกมาให้ปรากฏไว้ทางการกระทำ และการพูดให้รู้ว่ามีความกตัญญู เมื่อจิตมีคุณธรรมต่างๆ มากขึ้น จะเป็นสื่อให้จิตสูงขึ้นไปโดยลำดับ จนถึงความดีที่สูงสุด คือ

“พระนิพพาน”

แม้ไม่ถึงพระนิพพาน ความดีที่มีอยู่ในจิตก็จะประคับประคองชีวิตเสมือนพี่เลี้ยงนางนม ผู้มีจิตใจในลักษณะดังกล่าว ย่อมเอื้ออำนวยให้บำเพ็ญประโยชน์ ทั้งในส่วนตน และส่วนรวม

พระประธานในพระอุโบสถวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงศ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระประธานในพระอุโบสถวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงศ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เหตุแห่งความสุขสวัสดีในชีวิต

สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสสอนให้บุคคล ผู้ปรารถนาความสุขสวัสดีบำเพ็ญกุศล ซึ่งเป็นเหตุแห่งความสุขสวัสดี บุญกุศลอยู่ที่การกระทำ การพูด และความคิด ที่เป็นไปตามหลักธรรม นั่นเอง รวมเรียกกันว่า

“การประพฤติปฏิบัติธรรม”

ความสุขสวัสดี เป็นสิ่งที่ปรารถนาโดยทั่วไป

ความปรารถนาดีต่อกัน เรียกว่า “ความมีเมตตา” เป็นการประพฤติปฏิบัติธรรมอย่างหนึ่ง เป็นเหตุให้เกิดความสุขสวัสดีในชีวิต เช่น บุตร ธิดา ต้องการความปรารถนาดีจากบิดา มารดา จึงขอพรจากท่าน บิดา มารดา มีความปรารถนาดีต่อบุตร ธิดา จึงอธิษฐานให้ลูกได้รับพรที่ดี

พลังจิตที่ปรารถนาดีต่อกันของทั้งสองฝ่ายรวมกัน ทำให้เกิดความสุขสวัสดี จึงมีประเพณีขอพร และให้พร ที่ถือปฏิบัติกันมาจนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายยอดสุวรรณบรรพต (ภูเขาทอง) สถานที่ประดิษฐานและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยศิลปิน ชูศักดิ์ ขอขอบคุณ จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายยอดสุวรรณบรรพต (ภูเขาทอง) สถานที่ประดิษฐานและบรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยศิลปิน ชูศักดิ์ ขอขอบคุณ จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

พรพระธรรม

ทุกท่านมีความรู้สึกตรงกันทั้งประเทศ และทั้งโลก ว่าต้องการให้มีชีวิตที่งดงาม เจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า และร่มเย็นเป็นสุข แต่ที่จะเป็นอย่างนั้นได้ ก็ต้องอาศัยการฏิบัติชีวิตของตนให้เหมาะสมโดยเฉพาะ “องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” ได้ตรัสสอนคนทั้งหลายไว้ว่า พระองค์ไม่ทรงมองเห็น เหตุที่จะทำให้ถึงความสุขสวัสดี คือ ความเจริญรุ่งเรือง ก้าวหน้า ร่มเย็น เป็นสุข ที่เกินไปกว่าหลักธรรม ๔ ประการได้แก่

“ปัญญา” ประการหนึ่ง

“ความเพียร” ประการหนึ่ง

“ความระมัดระวัง” ประการหนึ่ง

และ “ความเสียสละ” ประการหนึ่ง

หลักธรรมทั้ง ๔ ประการนี้ เป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไป ไม่ใช่เรื่องยากลุ่มลึก แต่จะปฏิบัติเพื่อให้เกิดเป็นเหตุแห่งความสุขสวัสดี ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ร่มเย็น เป็นสุข ได้แค่ไหน เพียงใด

“ขึ้นอยู่กับตนเอง”

ในโอกาสนี้ ขอพูดขยายความถึงหลักธรรม ๔ ประการนี้ พอที่จะให้ได้พิจารณาว่า จะปฏิบัติได้แค่ไหน เพียงไร ซึ่งกล่าวไว้แล้วว่า ไม่ใช่เป็นสิ่งลุ่มลึกอะไรมากมาย

ประการแรก “ปัญญา”

ทราบกันอยู่ทั่วไปแล้วว่า ทุกคนที่เกิดมาล้วนมีปัญญาด้วยกันทั้งนั้น แต่ว่าจะประคับประคองปัญญาของตนให้เป็นไปในทางที่ถูกต้องดีงาม เพื่อชีวิตที่ดีงามได้อย่างไร จึงควรที่จะเตือนตนเองอยู่เสมอว่า จะทำ จะพูด หรือจะคิด ต้องใช้ปัญญา มีเหตุมีผลนักปราชยืทางศาสนากล่าวไว้ว่า ปัญญาที่มีอยู่แล้วนั้น ไม่ใช่เพื่อนำไปแกงกิน เหมือนกับอาหารอื่นๆ แต่มีไว้สำหรับให้เป็นประโยชน์แก่ชีวิตตนเอง ผู้ที่ดำเนินชีวิตอย่างธรรมดาสามัญ เพียงแค่นึกว่า ต้องมีเหตุผล

“ใช้ปัญญาอยู่ในทุกกรณี ก็พอประคับประคองตนเองได้”

“ปัญญาอย่างสูงสุด” ในทางพระพุทธศาสนาหมายถึง “ปัญญาที่จะเอาชนะสิ่งทั้งหลาย” ไม่ให้มีอำนาจเหนือชีวิตจิตใจตนเอง ในชีวิตจิตใจของตนเอง ให้มีแต่ความผ่องใส ก็พอประคับประคองชีวิตได้ นั่นเป็นปัญญาสูงสุด

ประการที่สอง “ความเพียร”

ทุกคนจะสำเร็จได้ต้องอาศัยความพากเพียรพยายาม ซึ่งเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป

ประการที่สาม “ความระมัดระวัง”

ซึ่งเป็นธรรมดาประการหนึ่ง ที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ให้ทุกคนมีความระมัดระวัง ระวังในทุกกรณี ในทุกเรื่อง

ประการสุดท้าย คือ “ความเสียสละ”

เมื่อเกิดอยู่ร่วมกันในคนจำนวนมาก ความเสียสละของแต่ละคน เป็นความเกื้อกูลต่อชีวิตของคนแต่ละคน ให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ต้องเป็นความเสียสละ ที่มีเหตุผล พอดี พองาม จึงจะเป็นความเสียสละ ตามหลักในพระพุทธศาสนา

“หลักธรรมที่กล่าวโดยย่อนี้ เป็นเหตุที่จะให้ชีวิตถึงความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ร่มเย็นเป็นสุขสวัสดีนั่นเอง”

“ชาติ : ความรู้สึกที่ดีงามต่อแผ่นดิน” (๑) คุณธรรม “ความกตัญญู” คือความดี จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “ธรรมะให้ลูกดี” : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช /ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ พ.ศ.๒๕๕๖ /สำนักพิมพือนันตะ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here