หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐
หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐
หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐
หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑๔ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๐

“สำหรับพระเราก็มีงานกรรมฐาน คือ งานฝึกจิตไปสู่ความพ้นทุกข์ เมื่อพระมีกรรมฐานแล้ว ความเหงา ความโดดเดี่ยวก็ไม่เข้าครอบงำ เพราะมีหลักของใจแล้ว ยิ่งมีหลักของใจมากเท่าไร ปัญญาก็จะยิ่งก่อเกิด ความรู้รอบก็จะยิ่งเกิดมากขึ้น ความเข้าใจก็ยิ่งมากขึ้น ในที่สุดมันจะสลัดอดีต อยู่กับปัจจุบัน และมองไปข้างหน้าด้วยความมั่นใจมากขึ้น

” สำหรับคนที่ไม่มีความมั่นใจก็จะโดดเดี่ยวมาก ดังนั้นงานกรรมฐานนี้ไม่ได้สำหรับพระเท่านั้น สำหรับทุกคนที่ต้องการฝึกตนเองให้มีความมั่นใจ เข้าใจตนเอง ก็จะสามารถมีชีวิตเป็นที่พึ่งของตนเองและผู้อื่นได้

” อดีตที่เคยผิดพลาดก็เป็นอดีต อารมณ์ของอดีตแก้ไขไม่ได้ จริงๆ อดีตมันไม่มี มันมีแต่วันนี้เท่านั้นเอง วันรุ่งขึ้นก็ไม่มี เพราะเมื่อเป็นวันรุ่งขึ้นก็เป็นวันนี้อีก พระพุทธเจ้าจึงให้เราทำวันนี้ให้ดีที่สุด ให้เราเข้าใจว่า อดีตจะเป็นอะไรก็แล้วแต่ มันไม่มีทางที่จะเป็นอย่างอื่นไปได้ นอกจากอดีตที่ผ่านไป แต่ว่า สิ่งที่ทำได้ คือวันนี้ เมื่อเราตั้งหลักได้แล้ว สมมติว่า เราอยู่กับหน้าที่การงาน จะประเสริฐแค่ไหนที่เราได้ทำงานเพื่อพระศาสนา เพื่อบูชาคุณของพระพุทธเจ้า คิดดูว่า ชีวิตของเราจะประเสริฐแค่ไหน

“อย่างชีวิตของโยม กว่าจะสั่งสมประสบการณ์ทำงาน จนเกิดเป็นทักษะด้านงานเขียน ต้องบ่มเพาะมายาวนานแค่ไหน กว่าจะเสถียร มีความคงตัวแบบนี้ จนเกิดปฏิภาณเฉพาะตัว แล้วเราก็นำปฏิภาณที่สั่งสมมาตลอดชีวิตมาบูชาคุณของพระพุทธเจ้า ชีวิตเราก็ประเสริฐแล้วนะ” พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

"ความเป็นมาของพระอภิธรรม" โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จากคอลัมน์ "ธรรมโอสถ" นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๗๖ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙  
“ความเป็นมาของพระอภิธรรม” โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จากคอลัมน์ “ธรรมโอสถ” นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ปีที่ ๒๕ ฉบับที่ ๑๒๗๖ วันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๙ 

ผู้เขียนเปิดบันทึกคำสอนและการให้กำลังใจจากท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เมตตาให้คำแนะนำการทำงานอย่างไรให้เป็นธรรม และจะทำอย่างไรจึงจะสามารถสื่อธรรมให้กับผู้อ่านให้เข้าใจชีวิตตนเอง และเข้าใจโลกไปด้วยในขณะเดียวกัน จากคำสอนของท่าน จึงก่อเกิดความคิดในการที่จะเขียนมโนปณิธานของท่านในเวลาต่อมา เมื่อครั้งยังเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการนิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ในขณะนั้น จากจุดเริ่มต้นในปีพ.ศ.๒๕๕๙ ท่านอาจารย์เจ้าคุณเทอด เมตตาเขียนบทความเป็นตอนๆ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” น้อมเป็นพระราชกุศลถวาย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ หลังจากเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ให้กับเนชั่นสุดสัปดาห์ ๒๔ ตอน เพื่ออธิบายความรู้เกี่ยวกับความเป็นมาของพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ ซึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จไปบนสวรรค์เพื่อโปรดพระพุทธมารดาอย่างเป็นลำดับด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ก่อนที่นิตยสารจะปิดตัวลงเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๐ และ ยังได้ดูแลหน้าธรรมวิจัย ทุกวันอังคาร และหน้าพระไตรสรณคมน์ ทุกวันพฤหัสบดี นสพ.คมชัดลึก จนถึงปลายปี พ.ศ.๒๕๖๒ ก่อนที่นสพ.คมชัดลึกจะปิดตัวลงเมื่อวันที่ ๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๖๓ ที่ผ่านมา

มโนปณิธานของท่านและคำสอนของท่านอาจารย์เจ้าคุณ ยังปรากฏในใจ และนำมาฝึกตนอยู่ทุกวัน ยิ่งทำให้มีพลังใจในการทำเว็บไซด์เพื่อเป็นธรรมทานต่อมาเป็นการฝึกตน และถ่ายทอดธรรมะจากพระเขียน และนำเสนอการทำงานของครูบาอาจารย์ที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา ซึ่งท่านอาจารย์เจ้าคุณเทอดในขณะนั้นได้เมตตาให้แนวทางในการทำสื่อธรรม ให้เป็นธรรม เพื่อให้เราเข้าใจตนเอง และเข้าใจผู้อื่น นี้คือหนทางแห่งพระพุทธองค์ คือ หนทางแห่งพระพุทธศาสนา การได้น้อมจิตถวายชีวิตแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้มีพลังในการขับเคลื่อนสะพานแห่งธรรมเล็กๆ นี้เป็นธรรมทานด้วยพลังแห่งความศรัทธาในท่านอาจารย์เจ้าคุณเทอด และพระพุทธเจ้าเป็นที่สุด

ดังบทความจากคอลัมน์ วิปัสสนาบนหน้าข่าว (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ. คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๐ โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ ซึ่งผู้เขียนขอน้อมนำมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้งหนึ่ง

“การเขียนบทความธรรมะ จะเป็นประโยชน์กับพระพุทธศาสนาต่อไป  เมื่อมีพระรุ่นใหม่ที่เขียนหนังสือขึ้นมา เพราะรุ่นครูบาอาจารย์ก็ค่อยๆ ร่วงโรยไป บางองค์บางรูปมรณภาพไปแล้ว ที่ยังอยู่บางองค์บางรูปก็ชราภาพมาก เราจึงสร้างพระรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อทำงานในด้านนี้ โดยเฉพาะพระสงฆ์เรายังขาดพระเขียนหนังสือ  เวลาเรียน เราก็เรียนเรียงความแค่กระทู้จากพระคัมภีร์ เป็นการเขียนที่จบในห้องสอบ แต่ไม่สามารถนำวิชาเรียงความ หรือการเขียนกระทู้นั้นมาปรับให้เข้ากับงานเผยแผ่ผ่านงานเขียนได้”

พระราชกิจจาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  เลขานุการ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ในขณะนั้น
พระราชกิจจาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เลขานุการ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ในขณะนั้น

           พระราชกิจจาภรณ์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  เลขานุการ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ กล่าวปิดโครงการ การอบรมเชิงปฏิบัติการ “การเขียนบทความทั่วไป” ในโครงการพระนักเขียน  ณ ศาลาสุวรรณบรรพต (หลวงพ่อโชคดี) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๖๐ ที่ผ่านมา

สำหรับการอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนบทความทั่วไปในครั้งนี้จัดขึ้นสองวันตั้งแต่วันที่ ๒๓-๒๔ สิงหาคม ก็เพื่อให้เกิดพระนักเขียน และเกิดการเขียนที่เป็นประโยชน์กับพระพุทธศาสนาต่อไปในอนาคต

ท่านเจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ กล่าวต่อมาว่า  การที่เรียนเขียนกระทู้ธรรมในชั้นนักธรรมตรีโทเอกของพระ เป็นพื้นฐานของการเขียนที่ดี ซึ่งทุกรูปก็เขียนได้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการเผยแผ่

สำหรับการฝึกอบรมเพื่อให้เกิดพระนักเขียนนี้ท่านเจ้าคุณกล่าวต่อมาว่า สำคัญก็คือ ให้ตั้งใจให้ดี แม้จบการอบรม แต่ภารกิจยังไม่จบสิ้น พระนักเขียน และครูบาอาจารย์ ยังมีพันธะทางใจต่อกัน เพื่อสานงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไปไม่สิ้นสุด โดย พระมหา ดร.ขวัญชัย กิตติเมธี ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร  เจ้าของผลงานเขียนมากมาย อาทิ “ผ้าเหลืองเปื้อนยิ้ม และ  พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป เจ้าของนามปากกา “ธรรมรตา”ประธานกลุ่มเพื่อชีวิตที่ดีงาม มีผลงานเขียน อาทิ อย่าปล่อยให้ทุกข์มาบุกใจ, จะเป็นยอดคน ต้องเก่งตน เก่งคน เก่งงาน เป็นต้น จะช่วยเป็นไกด์แนะนำพระทุกรูปที่ผ่านการอบรมให้มีงานเขียนออกมาในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นโลกออนไลน์ หนังสือพิมพ์ หรือ นิตยสาร ฯลฯ

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป เจ้าของนามปากกา “ธรรมรตา” กับ พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ เจ้าของนามปากกา “ชุติปัญโญ และ พระราชกิจจาภรณ์ ในขณะนั้น
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป เจ้าของนามปากกา “ธรรมรตา” กับ พระมหาวีระพันธ์ ชุติปัญโญ เจ้าของนามปากกา “ชุติปัญโญ และ พระราชกิจจาภรณ์ ในขณะนั้น

           “การเผยแผ่ทางพระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ ต้องได้รับการฝึกฝนมาก ไม่ว่าทั้งการเทศน์ การบรรยาย ปาฐกถา ซึ่งได้รับการเอาใจใส่ มีการพัฒนาพอสมควร แต่ด้านการเขียนยังไม่มี เพราะฉะนั้น ต้องทำให้ดีขึ้น เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของแรงบันดาลใจในการเผยแผ พระราชกิจจาภรณ์ กล่าว  แล้วท่านก็ยกตัวอย่าง ท่านคุณานันทเถระ ผู้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ในศรีลังกา  และในประเทศจีน ที่คนส่วนใหญ่บนโลกรู้จักคือ พระถังซัมจั๋ง ผู้มีบทบาทสำคัญเป็นอย่างมากในเรื่องการแปลคัมภีร์พระไตรปิฎก จนพระพุทธศาสนาเกิดความมั่นคงในประเทศจีน แม้ว่าพระพุทธศาสนาจะถูกสั่นคลอนต่อมาในประเทศจีน  แต่ พระพุทธศาสนาในจีน และในอีกหลายๆ ประเทศยังคงดำเนินต่อมาได้จนถึงทุกวันนี้ เพราะอะไร  

           เพราะความลึกซึ้งในพระพุทธศาสนามีความสำคัญมาก ท่านเจ้าคุณให้กำลังใจพระว่า ขอให้ทุกท่านที่เข้าอบรม จดจำให้ดีว่า จะให้โลกจดจำเราอย่างไร ก็จดจำผ่านตัวหนังสือ แม้ยุคการเขียนใส่แผ่นหิน ในยุคพระเจ้าอโศกมหาราช เราจดจำได้ ก็เพราะตัวหนังสือที่จารึกลงไปบนเสาหิน ต่อมา ตัวหนังสือ ก็ถูกบันทึกไว้ในที่ต่างๆ ด้วยตัวหนังสือ

           “ขอให้ทุกท่านตั้งหลักให้ดี ไม่ว่าจะเขียนอะไรก็แล้วแต่ ให้มองเข้าไปในความรู้สึกของคน ว่าคนต้องการอะไร เขาต้องการธรรมะ เป็นธรรมะที่เข้าไปเยียวยาความทุกข์ เยียวยาความรู้สึกนึกคิด ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ ของเขาได้ นั่นคือเป้าหมายที่สำคัญ

           สำหรับช่องทางการเผยแผ่ธรรมะผ่านงานเขียน ท่านเจ้าคุณกล่าวว่า  ในทุกวันนี้ช่องทางการเผยแผ่มีมากมาย โดยเฉพาะโลกที่เชื่อมโยงไปสู่ออนไลน์ สามารถเขียนได้ทุกวัน โพสต์ลงในเฟซบุ๊ค ค่อยๆ ทำไป จากนั้น นำบทความที่เขียนมาจัดเรียบเรียงให้เกิดหมวดหมู่ ต่อเนื่องกัน เมื่อรวบรวมแล้วนำบทความนี้มาหาอาจารย์ มาช่วยดูให้ ควรจัดลำดับอย่างไร

           “สิ่งหนึ่งที่ฝากไว้ ก็คือ อยากให้มีสักรูปสองรูปสามรูป เขียนเล่าประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา บอกเล่าการเดินทางของพระพุทธศาสนา ทุกยุคทุกสมัย ที่รุ่งเรืองและถูกทำลาย มีความเป็นมาอย่างไร  ถ่ายทอดออกมาให้อ่านง่ายๆ เช่น พุทธศาสนาในเวียดนาม รอยต่อระหว่าง พระถังซัมจั๋ง หลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไป ๙๐๐ ปี ที่ท่านเดินทางไปนาลันทา ในประเทศอินเดีย ตอนนั้น พระพุทธศาสนายังรุ่งเรือง ทำอย่างไรจึงจะร้อยเรียงเรื่องราว ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ก็เพื่อให้คนอ่านเห็นการเดินทางของพระพุทธศาสนาที่ยังประโยชน์และความสุขของชาวโลกมาทุกยุคทุกสมัย ตามรอยพระพุทธเจ้า

“เพราะการดำรงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนาก็เพื่อเกื้อกูลผู้คนและให้ความสุขกับชาวโลกนั่นเอง

ขอขอบคุณ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง จากศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดวระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง จากศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดวระเกศ ราชวรมหาวิหาร

บันทึกธรรม สัมมาสมาธิ

: พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญารวชิโร)

ตอนที่ ๓๐

ให้มีสติระลึกรู้เข้ามาที่กายที่ใจอย่างมีอยู่บ่อยๆ”

เมื่อมีสติระลึกรู้อยู่อย่างนี้ก็เรียกว่า “ระวังกายระวังใจ” เป็นอินทรีย์สังวร คือ ระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ตาก็ให้เห็นไปตามปกติของตา แต่ก็ระมัดระวังในการเห็น ในการแลการเหลียว

แลไปเห็นอะไรที่ชอบใจ ก็ระมัดระวัง เห็นอะไรที่ไม่ชอบใจก็ระมัดระวัง

หูก็ให้ได้ยินไปตามปกติของหู แต่ก็ระมัดระวังในการได้ยิน ได้ยินอะไรที่ชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ก็ระมัดระวัง จมูกก็ให้ได้กลิ่นไปตามปกติของจมูก อย่าไปดัดแปลงแก้ไข ได้กลิ่นชอบใจบ้าง ไม่ชอบใจบ้าง ขัดเคืองใจบ้าง ก็ให้รู้แล้วระมัดระวัง ลิ้นก็ให้รับรสไปตามปกติของลิ้น จะกินจะเคี้ยวอะไรก็ให้ระมัดระวัง ไม่ใช่ไม่ให้กินแต่กินอย่างระมัดระวังไม่ตามใจปาก เป็นโภชเนมัตตัญญุตา คือรู้ประมาณในการกินอาหาร

ให้ตั้งมั่นสังเกตอาการของจิตทั้งหมดอยู่อย่างนี้ ก็กลับเข้ามาดูกายดูใจ แล้วก็มีความเพียรพยายามปฏิบัติอย่างนี้เรื่อยไป เป็นชาคริยานุโยคนอนก็นอนแต่พอดี พอรู้สึกตัวก็ดูเข้ามาที่กายใจว่านอนพอดีหรือยัง แล้วก็ปรารภที่จะทำความเพียรต่อไป

การระมัดระวังอินทรีย์ เป็นจุดเริ่มต้นของการเฝ้าสังเกตกายใจ หรือ รูปนามตามความเป็นจริงในขณะนั้นๆ เป็นการลบข้อมูลเก่า และเริ่มป้อนข้อมูลใหม่ให้จิตได้รู้ว่า กายใจไม่เที่ยง ป้อนข้อมูลเข้าไปบ่อยๆ จนจิตยอมรับข้อมูลนี้ว่าเป็นจริง ก็คือจิตเกิดญาณทัศน์ เกิดความรู้ไปตามข้อมูลที่เป็นจริงของกายใจ เหมือนเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อย เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลไว้ให้จิตนำมาใช้ในการขบคิดพิจารณา จนเกิดความรู้และเข้าใจตรงตามนั้นก็เรียกว่าเกิดญาณทัศน์

            ทั้งอินทรีย์สังวร โภชเนมัตตัญญุตา (หมายถึง ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเพื่อบำเพ็ญเพียร มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา)  และ ชาคริยานุโยค (หมายถึง การชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิงจากกิเลสที่กั้นจิต ด้วยการเดินจงกรม ด้วยการนั่ง ตลอดวันยังค่ำไปจนสิ้นยามแรกแห่งราตรี, ครั้นยามกลางแห่งราตรี นอนอย่างราชสีห์ (คือ) ตะแคงข้างขวา เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะในการลุกขึ้น, ครั้นยามสุดท้ายแห่งราตรี ลุกขึ้นแล้ว ชำระจิตให้หมดจดสิ้นเชิง ด้วยการเดินจงกรมและการนั่ง อีก อย่างนี้แล ชื่อว่าภิกษุเป็นผู้ตามประกอบในธรรมเป็นเครื่องตื่น ) เป็นอปัณณกปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติที่ไม่ผิดในการเก็บเล็กผสมน้อยทางสติจากกายใจ เพื่อเอื้อต่อการดำเนินจิตให้เกิดสมาธิ

ครูบาอาจารย์ท่านเรียกวิธีนี้ว่า “เก็บอารมณ์”ก็คือสังวรระวัง อันเดียวกัน จะเรียกว่าสำรวมกายใจก็ได้

ฝึกระลึกรู้เข้ามาที่กาย เจ็บก็รู้ว่าเจ็บ ปวดก็รู้ว่าปวด เมื่อยก็รู้ว่าเมื่อย พอใจก็รู้ว่าพอใจ ไม่พอใจก็รู้ว่าไม่พอใจ ชอบใจก็รู้ว่าชอบใจ ไม่ชอบใจก็รู้ว่าไม่ชอบใจ ไม่สบายอกไม่สบายใจ ก็รู้ว่าไม่สบายอกไม่สบายใจ สบายอกสบายใจก็รู้ว่าสบายอกสบายใจ หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด ขัดเคืองใจก็รู้ว่าขัดเคืองใจ  ไม่ว่าจะเครียด กังวลใจ หวาดกลัว กลุ่มอกกลุ้มใจ ขุ่นมัวใจ เศร้าหมองใจ สับสน เหนื่อยหน่าย ท้อแท้ น้อยใจ เสียใจ อิจฉา ริษยา เกรี้ยวกราด ก็รู้

อารมณ์ใดเกิดขึ้น ก็รู้อารมณ์นั้น

รวมความก็ว่า จิตมีราคะก็รู้ว่าจิตมีราคะ จิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากราคะ จิตมีโทสะก็รู้ว่าจิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะก็รู้ว่าจิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะก็รู้ว่าจิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิตปราศจากโมหะ จิตเป็นมหตัคคะ (จิตมีฌานหรือไม่มีฌานก็รู้)

เมื่อฝึกระลึกรู้อยู่บ่อยๆ สติก็จะค่อยๆ เติบโตขึ้นมาระลึกรู้ที่กายที่ใจ การที่สติสามารถระลึกรู้ได้ ก็เพราะเมื่อมีการฝึกทำบ่อยๆ เข้า จิตส่วนที่เป็นสัญญาก็จะจดจำสภาวะของการมีสติระลึกรู้เอาไว้ ทำสองครั้งสามครั้งอาจจำได้หรือจำได้บ้างไม่ได้บ้าง แต่ถ้าฝึกอยู่บ่อยๆ จิตก็จะจำได้ เหมือนการท่องบทสวดมนต์ หรือท่องสูตรคูณ ท่องสองรอบสามรอบก็จำไม่ได้ แต่พอท่องบ่อยๆ ก็จำได้ติดปาก ถ้าทบทวนไว้บ่อยๆ ก็จำได้ขึ้นใจ

การมีสติระลึกเข้ามาที่กายที่ใจก็เช่นเดียวกัน ต้องทำอยู่บ่อยๆ จนจำได้ขึ้นใจ เมื่อขบคิดพิจารณาใคร่ครวญจนรู้จริงตามนั้น ก็เกิดญานทัศน์รู้ตรงตามอาการของกายใจ ไม่ได้ดัดแปลงความรู้ไปตามกิเลสที่อยากให้เป็น

ดังนั้น ในการฝึกลงมือปฏิบัติ เมื่อหลงลืมสติไปบ้าง ก็อย่ากลัวว่าหลงลืมสติ

เพราะการหลงลืมมีอยู่เป็นธรรมดาของจิต จิตมีความไม่เที่ยง จิตจึงหลงลืม บางครั้งก็จำได้ บางครั้งก็จำไม่ได้ เมื่อหลงไปลืมไป เราก็เข้าใจว่า เป็นธรรมดาของความไม่เที่ยง หลงลืมไปก็ตั้งสติระลึกรู้ใหม่อีกครั้ง หลงลืมไปก็ไม่แน่ เดี๋ยวก็มีสติระลึกรู้ขึ้นมาได้ แม้บอกว่ามีสติแล้วจะไม่หลงลืมสติ ก็ไม่แน่อีก พอเผลอก็ลืมสติอีก เพราะสัญญาคือ ความจำก็ไม่เที่ยง มีสติระลึกได้  ก็ไม่ต้องดีใจ ก็ให้รู้ว่าระลึกได้ พอเผลอไม่มีสติเกิดความหลงลืมไป ก็ไม่ต้องเสียใจ ก็ให้รู้ว่าไม่แน่ ก็ให้มีสติระลึกรู้ขึ้นมาใหม่

ถ้าเห็นว่าต้องไม่หลงลืมสติ อันนี้เป็นความเห็นผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นการเห็นไม่ตรงตามอาการของจิต เพราะจิตมีการหลงลืมสติเป็นธรรมดา เมื่อเห็นว่าจิตมีการหลงลืมไปเป็นธรรมดา เพราะจิตไม่เที่ยง ก็เป็นความเห็นถูก เป็นสัมมาทิฏฐิ เพราะเห็นตรงตามอาการของจิต จะเรียกว่าเห็นตรงตามสภาวะธรรมก็ได้

โปรดติดตาม สัมมาสมาธิ และ รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตอนต่อไป

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here