พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม  สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

มันคนละส่วนกัน

เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม 

สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความมั่นคงแห่งสสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“สพฺพทานํ ธมฺมทานํ ชินาติ :

การให้ธรรมชนะการให้ทั้งปวง

มันคนละส่วนกัน เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ จากคอลัมน์ เย็นกายสุขใจ (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐)
มันคนละส่วนกัน เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ จากคอลัมน์ เย็นกายสุขใจ (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐)
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย

        เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย ได้ไปเจอเหตุการณ์อย่างหนึ่งซึ่งชวนสงสัย คือชาวอินเดียได้เอาผ้าไปตากไว้บนพื้นดิน และพาดไว้ตามกอหญ้า จึงเข้าไปถามว่า เหตุใดจึงทำเช่นนั้น ชาวอินเดียผู้หนึ่งถามกลับมาว่า แล้วที่เราตากผ้าเพื่อวัตถุประสงค์อันใดกัน? เลยตอบกลับไปว่า ก็เพื่อให้มันแห้ง เขาก็พยักหน้าแล้วก็บอกว่า ก็ถูกต้องแล้วไง

ความสงสัยยังมิคลาย จึงได้ถามต่อไปว่า แล้วทำแบบนี้มันไม่สกปรกเหรอ? เขาตอบมาว่า ก็ซักแล้ว พร้อมถามว่า เราซักผ้าเพื่ออะไร จึงตอบว่า ก็เพื่อให้มันสะอาด

“ก็นั่นไง มันสะอาดแล้ว เพราะซักแล้ว”

จึงเข้าใจว่า “อ๋อ มันเป็นคนละส่วนกัน”

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ

และก็ได้รู้อีกว่า ภูมิปัญญาอันนี้ทำให้คนอินเดียไม่ถูกยุงกัด ท่านใดเคยถูกยุงกัดแนะนำให้เอาภูมิปัญญานี้ไปใช้ เหตุใดไม่ถูกยุงกัดน่ะเหรอ? เพราะหลังจากตากกับพื้นดินกอหญ้า เวลานำเสื้อไปใส่ เราก็จะคัน คันแล้วก็จะดิ้น ยุงก็จะกัดเราไม่ได้ไง

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน

ชวนให้นึกย้อนไปถึงเหตุการณ์เมื่อครั้งเป็นสามเณร หน้าที่ที่ได้รับเมื่อครั้งอยู่ต่างจังหวัดกับครูบาอาจารย์คือทุก ๆ เย็นจะต้องไปต้มน้ำใส่ใบสะเดา กับใบหนาดให้หลวงพ่อไปผสมเป็นน้ำอุ่นสรงน้ำ หลังจากนั้นก็จะต้องมาถูพื้นให้อาจารย์

การถูพื้นซึ่งเป็นกุฏิไม้นั้น ท่านให้ถูด้วยลูกมะพร้าวแห้งเลื่อยผ่าครึ่ง และทุบเอากะลาด้านในออกบางส่วน นั่นทำให้พื้นเงาสวยมาก ก็เป็นเช่นนี้ทุกวัน

จนวันหนึ่งเมื่อต้มน้ำเสร็จและกำลังจะเดินขึ้นไปถูพื้นนั้นก็มีเพื่อนสามเณรมาชวนวิ่งเล่นกันตามประสาเด็ก โดยสมมติบทบาทเป็นผู้ร้ายกับตำรวจ ด้วยความที่รูปร่างเล็กและหน้าตาบ้านนอกเลยได้รับบทเป็นโจรที่ต้องวิ่งหนีตำรวจ รอบแรกวิ่งหนีไปได้ รอบที่สองวิ่งไม่พ้น ตำรวจใช้กำลังล้อมจับผู้ร้ายไว้ได้ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ร้ายจะไม่หนี ตำรวจจึงต้องจับผู้ร้ายเอามือไขว้หลังแล้วมัดติดไว้กับเสากุฏิ มัดมือยังไม่อุ่นใจเลยต้องมัดเท้าด้วย พอมัดเสร็จ หลวงพ่อที่ต้มน้ำให้อาบทุกวันถือหวายยาวเท่าแขนออกมาจากห้อง พร้อมพูดเสียงดังว่า “ใครมาเล่นเอะอะแถวนี้” ไวเท่าเสียง ตำรวจหนีรอดไปได้ เหลือเพียงโจรที่ถูกมัดติดไว้กับเสา หลวงพ่อท่านก็ลงโทษด้วยการตีไปหลายที วันนั้นร้องไห้หนักมาก ไม่ใช่เพราะเจ็บแต่ส่วนเดียว แต่เพราะน้อยใจที่ต้มน้ำให้ทุกวัน ทำไมถึงตีกันได้ลงคอ

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย

วันต่อมาก็ยังมาต้มน้ำอีกเหมือนเดิม วินาทีที่เอาฟืนยัดเข้าไปในเตา น้ำตาไม่รู้มาจากไหน ร้องไห้จนสะอื้น นึกถึงตอนที่ถูกหลวงพ่อตี ต้มน้ำให้ทุกวันแท้ ๆ ตีกันได้ลงคอ ร้องไห้จนสะอื้น แล้วก็เป็นแบบนั้นอยู่เป็นเดือนจนหยุดไปเอง แต่ก็ยังไม่เข้าใจว่าเหตุใดหลวงพ่อจึงตีเราได้ขนาดนั้น มาเข้าใจก็ตอนไปอินเดียครั้งนั้น ว่า “อ๋อ มันเป็นคนละส่วนกัน” ต้มน้ำก็ส่วนต้มน้ำ ดื้อก็ส่วนดื้อ ต้มน้ำที่ทำทุกวันก็ดีแล้ว แต่ดื้อก็ต้องถูกลงโทษ

(ขวา) พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย
(ขวา) พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย

หากเรามองชีวิตเช่นนี้ จะทำให้เราไม่เอาทุกอย่างมารวมกัน มองแยกออกเป็นส่วน ๆ แก้ปัญหาไปทีละเปลาะ ไม่เอามารวมกันให้ยุ่งเหมือนยุงตีกัน

“เรื่องงานก็เรื่องงาน เรื่องความรักก็เรื่องความรัก เรื่องครอบครัวก็เรื่องครอบครัว เวลาเจออะไรที่มันวุ่นวาย ขอให้ค่อย ๆ แยกมันออกเป็นส่วน ๆ ให้มันเป็นคนละส่วนกัน แล้วเริ่มแก้มันไปทีละส่วน”

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ

        ทีนี้สำหรับใครที่ทำความดีเพื่อแลกความรัก ก็ต้องบอกความจริงว่า เมื่อทำความดีแล้วแลกความรัก ก็จะอกหักและซ้ำใจ เพราะรักกับดีเอามารวมกันไม่ได้ “มันเป็นคนละส่วนกัน”

พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย
พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ผู้เขียน เมื่อครั้งไปเป็นพระพี่เลี้ยงในโครงการนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ ที่ประเทศอินเดีย

งานเผยแผ่ธรรม เป็นธรรมทาน เรื่อง มันคนละส่วนกัน เขียนโดย พระมหาธนเดช ธมฺมปญฺโญ ประธานกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม  สำนักงานส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ จากคอลัมน์ เย็นกายสุขใจ (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐)

หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐
หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here