ธรรมนิพนธ์ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ธรรมนิพนธ์ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ

ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ญาณวชิระ

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช

(ตอนที่ ๓๒) บรรพ์ที่ ๕ (๔ )

วินัยกรรมที่พระภิกษุใหม่พึงทำเกี่ยวกับการอธิษฐาน -วิกัปป์ และ การเสียสละ

โดย ญาณวชิระ

: พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

การอธิษฐาน

 ในทางพระวินัย  การอธิษฐาน  แปลว่า การตั้งใจเอาไว้ 

การผูกใจเอาไว้ หรือการกำหนดใจเอาไว้ 

การอธิษฐาน  คือ การตั้งใจเอาไว้  การผูกใจเอาไว้ หรือการกำหนดเอาไว้ว่าของใช้นั้นๆ จะใช้เป็นของประจำตัวเรา  เช่น  เมื่อได้ผ้ามาก็ตั้งใจว่าผืนนี้จะใช้เป็นผ้าสังฆาฏิประจำตัว   ผืนนี้จะใช้เป็นผ้าห่มประจำตัว  ผืนนี้จะใช้เป็นสบงประจำตัว  บาตรนี้จะใช้เป็นบาตรประจำตัว

การตั้งใจ การผูกใจ หรือการกำหนดเอาไว้เช่นนี้เรียกว่า  “การอธิษฐาน

วิธีอธิษฐานตามพระวินัย สิ่งของที่ได้มาใหม่ พระภิกษุจะต้องอธิษฐานก่อนจึงจะใช้เป็นเครื่องบริขารประจำตัวได้   บริขารบางชนิดพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตพระภิกษุให้อธิษฐานได้อย่างละผืน ห้ามอธิษฐานเกินกว่านั้น ขณะอธิษฐานจะจับผ้าไว้หรือประคองผ้าไว้แล้วอธิษฐานก็ได้   โดยกล่าวคำอธิษฐาน  บริขารต่อไปนี้ทรงอนุญาตให้มีได้อย่างละผืน

คำอธิษฐานบาตร

(ตั้งนโม ๓ จบ)

อิมัง ปัตตัง อะธิฏฐามิ  

ทุติยัมปิ    อิมัง ปัตตัง  อะธิฏฐามิ  

ตะติยัมปิ    อิมัง  ปัตตัง   อะธิฏฐามิ ฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรนี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรนี้  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าอธิษฐานบาตรนี้

คำอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ

อิมัง    สังฆาฏิง  อะธิฏฐามิ   

ทุติยัมปิ     อิมัง    สังฆาฏิง    อะธิฏฐามิ  

ตะติยัมปิ    อิมัง    สังฆาฏิง   อะธิฏฐามิ ฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้ แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้  แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้

คำอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์(จีวร)

อิมัง อุตตราสังคัง   อะธิฏฐามิ   

ทุติยัมปิ   อิมัง   อุตตราสังคัง อะธิฏฐามิ 

ตะติยัมปิ    อิมัง  อุตตราสังคัง   อะธิฏฐามิ ฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์(จีวร)นี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์(จีวร)นี้  แม้ครั้งที่สาม     ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์(จีวร)นี้ 

คำอธิษฐานผ้าอันตรวาสก(สบง)

อิมัง  อันตะระวาสะกัง      อะธิฏฐามิ   

ทุติยัมปิ อิมัง  อันตะระวาสะกัง   อะธิฏฐามิ 

ตะติยัมปิ   อิมัง  อุตตราสังคัง  อะธิฏฐามิ ฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอันตะระวาสก(สบง)นี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอันตะระวาสก(สบง)นี้   แม้ครั้งที่สาม  ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอันตะระวาสก(สบง)นี้ ฯ

คำอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝน

อิมัง  วัสสิกะสาฏะกัง    อะธิฏฐามิ   

ทุติยัมปิ อิมัง  วัสสิกะสาฏะกัง  อะธิฏฐามิ 

ตะติยัมปิ  อิมัง  วัสสิกะสาฏะกัง  อะธิฏฐามิ ฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนนี้ แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนนี้ แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าอาบน้ำฝนนี้ ฯ 

คำอธิษฐานผ้านิสีทนะ(ผ้าปูนั่ง)

อิมัง นิสีทะนัง อะธิฏฐามิ

ทุติยัมปิ อิมัง นิสีทะนัง  อะธิฏฐามิ    

ตะติยัมปิ อิมัง  นิสีทะนัง อะธิฏฐามิฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนั่งนี้  แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนั่งนี้   แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าปูนั่งนี้ฯ

คำอธิฐานบริขารเล็กๆ น้อยๆ (บริขารโจล

            นอกจากนั้น  ยังมีบริขารเครื่องใช้อื่นอีกที่อธิษฐานตามบริขารข้างต้น  ของใช้เหล่านี้เป็นบริขารประกอบไม่ใช่บริขารหลัก  อธิษฐานได้มากกว่าหนึ่งผืน   ดังนี้

ปัจจัตถะระณัง            ผ้าปูที่นอนผืนเดียว

ปัจจัตถะระณานิ          ผ้าปูที่นอนหลายผืน

กัณฑุปะฏิจฉาทิง         ผ้าปิดฝีผืนเดียว

กัณฑุปะฏิจฉาทีนิ        ผ้าปิดฝีหลายผืน

มุขะปุญฉะนะโจลัง      ผ้าเช็ดหน้า , ผ้าเช็ดปากผืนเดียว

มุขะปุญฉะนะโจลานิ   ผ้าเช็ดหน้า , ผ้าเช็ดปากหลายผืน

ฯลฯ

บริขารเหล่านี้เรียกว่า  บริขารโจล  แปลว่า  บริขารที่เป็นผ้าท่อนเล็กท่อนน้อย  การอธิษฐานบริขารโจลจะอธิษฐานแยกทีละผืนตามชนิดของผ้าหรืออธิษฐานรวมก็ได้ 

หากอธิษฐานแยกให้กล่าวคำอธิษฐานทีละผืน ตามผ้าสังฆาฏิ  หากไม่อธิษฐานแยกชนิดของผ้า ให้อธิษฐานรวมเป็นบริขารโจล

บริขารโจลจะไม่อธิษฐานก็ได้  เพราะว่าไม่ได้ใช้ประจำ  เมื่อจะใช้ค่อยอธิษฐาน

คำอธิษฐานบริขารโจลผืนเดียว

อิมัง  ปะริกขาระโจลัง   อะธิฏฐามิ 

ทุติยัมปิ อิมัง   ปะริกขาระโจลัง  อะธิฏฐามิ  

ตะติยัมปิ  อิมัง ปะริกขาระโจลัง อะธิฏฐามิ ฯ

คำแปล

          ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยนี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยนี้  แม้ครั้งที่สาม  ข้าพเจ้าอธิษฐานผ้าท่อนเล็กท่อนน้อยนี้ ฯ

คำอธิษฐานบริขารโจลหลายผืน

อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ  อะธิฏฐามิ 

ทุติยัมปิ   อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ   อะธิฏฐามิ

 ตะติยัมปิ  อิมานิ ปะริกขาระโจลานิ      อะธิฏฐามิฯ 

คำแปล

          ข้าพเจ้าอธิษฐานบริขารท่อนเล็กท่อนน้อยเหล่านี้ แม้ครั้งที่สองข้าพเจ้าอธิษฐานบริขารท่อนเล็กท่อนน้อยเหล่านี้  แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าอธิษฐานบริขารท่อนเล็กท่อนน้อยเหล่านี้

ขอขอบคุณ ภาพจาก โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

การถอนอธิษฐาน

            การถอนอธิษฐาน หมายถึง การจะเลิกใช้บริขารที่อธิษฐานไว้เดิม  เพื่อจะใช้บาตรหรือผ้าผืนใหม่ หากพระภิกษุได้บาตรหรือผ้าผืนใหม่มา ต้องการจะใช้ ต้องกล่าวคำถอนอธิษฐานผ้าผืนเก่าเสียก่อน  จึงจะอธิษฐานผ้าใหม่ใช้ได้  มิเช่นนั้น ก็จะเป็นการอธิษฐานบริขารซ้ำบริขารเดิม   เช่น หากต้องการเปลี่ยนสังฆาฏิใหม่  ให้ถอนอธิษฐานผ้าสังฆาฏิผืนเดิมก่อน

คำถอนอธิษฐานบาตร

อิมัง ปัตตัง ปัจจุทธะรามิ 

ทุติยัมปิ  อิมัง   ปัตตัง ปัจจุทธะรามิ 

ตะติยัมปิ   อิมัง   ปัตตัง   ปัจจุทธะรามิฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานบาตรนี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานบาตรนี้  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานบาตรนี้

คำถอนอธิษฐานผ้าสังฆาฏิ

อิมัง   สังฆาฏิง   ปัจจุทธะรามิ    

ทุติยัมปิ  อิมัง   สังฆาฏิง   ปัจจุทธะรามิ

ตะติยัมปิ   อิมัง   สังฆาฏิง   ปัจจุทธะรามิฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าสังฆาฏินี้

  คำถอนอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์(จีวร)

อิมัง   อุตตราสังคัง   ปัจจุทธะรามิ 

ทุติยัมปิ อิมัง อุตตราสังคัง ปัจจุทธะรามิ 

ตะติยัมปิ  อิมัง  อุตตราสังคัง  ปัจจุทธะรามิฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์นี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์นี้  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าอุตตราสงค์นี้

คำถอนอธิษฐานผ้าอันตรวาสก(สบง)

อิมัง   อันตรวาสกัง   ปัจจุทธะรามิ 

ทุติยัมปิ    อิมัง   อันตรวาสกัง ปัจจุทธะรามิ 

ตะติยัมปิ   อิมัง  อันตรวาสกัง  ปัจจุทธะรามิฯ

คำแปล

            ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าอันตรวาสก(สบง)นี้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าอันตรวาสก(สบง)นี้  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าถอนอธิษฐานผ้าอันตรวาสก(สบง)นี้ฯ

ความเข้าใจ เรื่อง ผ้าไตรครองขาดราตรี

          ผ้าไตรครอง   หมายถึง  ผ้าที่พระภิกษุอธิษฐานไว้เป็นบริขารประจำมี ๓ ผืน คือ (๑) สังฆาฏิ (๒) จีวร  (๓) สบง ทั้ง ๓ ผืนนี้เรียกว่า ผ้าไตรครอง พระภิกษุจะต้องรักษาราตรี ก่อนตะวันขึ้นจะต้องอยู่กับตัวพระภิกษุในเขตรักษาราตรีเสมอ   หากพระภิกษุลืมไว้ข้ามคืนจนตะวันขึ้นวันใหม่ ผ้านั้นขาดราตรี พระภิกษุต้องอาบัติชื่อนิสสัคคียปาจิตตีย์ เพราะอยู่ปราศจีวรเกินหนึ่งคืน  ต้องเสียสละผ้านั้นจึงจะแสดงอาบัติตก หากไม่สละยังขืนใช้ผ้านั้นต่อไป  ก็จะต้องอาบัติทุกกฎเพิ่มเข้ามาอีกตัวทุกย่างก้าว

สำหรับเขตรักษาราตรีนั้น  วินัยกำหนดไว้ว่าหากอยู่ในกุฏิ กำหนดเอากุฏิเป็นเขตรักษาราตรี  หากกุฏินั้นมีหลายรูป  กำหนดเอาห้องเป็นเขตรักษาราตรี หากห้องนั้นอยู่หลายรูปรวมกัน กำหนดเอาหัตถบาส  คือ ช่วงที่มือเอื้อมถึงเป็นเขตรักษาราตรี  หากอยู่ในบ้าน   กำหนดเอารั้วบ้านเป็นเขตรักษาราตรี      

พระภิกษุเก็บผ้าไตรครองไว้นอกเขต จนตะวันขึ้นวันใหม่  ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์  ต้องเสียสละผ้านั้นกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  กับคณะพระภิกษุ  หรือกับสงฆ์  แล้วจึงแสดงอาบัติ

ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับผ้าไตรครองขาดราตรี

พระภิกษุนำผ้าที่ทำให้ต้องอาบัติเข้าไปหาพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เข้าใจพิธีการเสียสละผ้าครองเพราะอยู่ปราศราตรี   พร้อมกับกล่าวคำเสียสละผ้า ดังนี้

คำเสียสละผ้าครองผืนเดียว

อิทัง  เม  ภันเต (อาวุโส)  จีวะรัง รัตติวิปปะวุตถัง อัญญัตระ  ภิกขุสัมมะติยา  นิสสัคคิยัง อิมาหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิฯ

คำแปล

          ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  (ท่านผู้มีอายุ)  จีวรผืนนี้ ของข้าพเจ้าอยู่ปราศแล้วล่วงราตรี  เป็นของจำจะต้องสละ  เว้นแต่พระภิกษุได้รับสมมติ  ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ฯ

คำเสียสละผ้าครองรวมกันสองผืนขึ้นไป

อิมานิ  เม  ภันเต  จีวะรานิ  รัตติวิปปะวุตถานิ  อัญญัตระ  ภิกขุสัมมะติยา  นิสสัคคิยานิ  อิมานาหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิฯ

คำแปล

          ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  (ท่านผู้มีอายุ)  จีวรทั้งหลายเหล่านี้ ของข้าพเจ้าอยู่ปราศแล้วล่วงราตรี  เป็นของจำจะต้องสละ  เว้นแต่ภิกษุได้รับสมมติ  ข้าพเจ้าสละจีวรทั้งหลายเหล่านี้แก่ท่าน ฯ

            (๒) เมื่อกล่าวคำเสียสละผ้าแล้ว ส่งผ้านั้นให้พระภิกษุที่รับการเสียสละ  ต่อจากนั้นจึงแสดงอาบัติ

(๓) เมื่อแสดงอาบัติแล้ว  พระภิกษุที่รับการเสียสละส่งผ้าให้คืน

คำให้คืน

อิมัง  จีวะรัง  อายัสมะโต  ทัมมิฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าให้ผ้านี้แก่ท่าน

            (๔) พ ระภิกษุนำผ้าไปอธิษฐานใช้  จะสละให้ผู้อื่น  หรือจะสละให้สงฆ์ก็ได้ตามความชอบใจ

ความเข้าใจ เรื่อง การวิกัปป์บริขารอดิเรก

วิกัปป์ หมายถึง  การทำบริขารที่ได้มาเพิ่มจากบริขารอธิษฐานให้เป็นสองเจ้าของ 

เนื่องจากพระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้พระภิกษุมีบริขารไว้เป็นเครื่องใช้ประจำตัวได้เพียงอย่างละชิ้นเรียกว่า “บริขารอธิษฐาน”   เช่น  บาตรอธิษฐาน  จีวรอธิษฐาน   สังฆาฏิอธิษฐาน สบงอธิษฐาน

บริขารที่เกินจากนั้นเรียกว่า  “บริขารอดิเรก”  เช่น   บาตรเกินจากบาตรอธิษฐาน  เรียกว่า บาตรอดิเรก  ผ้าเกินจากผ้าที่อธิษฐาน   เรียกว่าผ้าอดิเรก   หากมีตั้งแต่สองขึ้นไปเก็บไว้ได้เพียง ๑๐ วัน  เก็บไว้เกินกว่านั้นต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   พระภิกษุต้องสละจึงจะแสดงอาบัติตก  ถ้าจะเก็บไว้เกินกว่านี้ต้องทำวิกัปป์

คำว่า “วิกัปป์” จึงหมายถึง  การทำบริขารที่ได้มาใหม่นั้นให้เป็นสองเจ้าของ 

เมื่อได้ของมาหากคิดจะเก็บไว้เป็นของใช้ส่วนตัว   ต้องทำวิกัปป์ให้ผู้อื่นรับทราบหรือเป็นเจ้าของด้วย  จะวิกัปป์ไว้กับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง   วิกัปไว้กับคณะพระภิกษุ คือภิกษุจำนวน ๓ รูป  หรือ กับสงฆ์ก็ได้   เมื่อจะใช้บาตรหรือจีวรนั้น ต้องถอนวิกัปป์ก่อนจึงใช้ได้

จุดมุ่งหมายของการทำวิกัปป์ก็เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้พระภิกษุใช้บริขารเกินความจำเป็น  จะได้ใช้ข้าวของแต่ละชิ้นอย่างรู้คุณค่า

คำวิกัปป์บาตรใบเดียว

อิมัง  ปัตตัง  ตุยหัง  วิกัปเปมิ  ทุติยัมปิ  อิมัง  ปัตตัง  ตุยหัง  วิกัปเปมิ ตะติยัมปิ  อิมัง  ปัตตัง  ตุยหัง  วิกัปเปมิ ฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าวิกัปป์บาตรใบนี้ไว้กับท่าน  แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าวิกัปป์บาตรใบนี้ไว้กับท่าน    แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าวิกัปป์บาตรใบนี้ไว้กับท่านฯ

คำวิกัปป์บาตรหลายใบ

อิเม  ปัตเต  ตุยหัง  วิกัปเปมิ

ทุติยัมปิ  อิเม  ปัตเต  ตุยหัง  วิกัปเปมิ  

ตะติยัมปิ  อิเม  ปัตเต  ตุยหัง  วิกัปเปมิ ฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าวิกัปป์บาตรทั้งหลายเหล่านี้ไว้กับท่าน  แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าวิกัปป์บาตรทั้งหลายเหล่านี้ไว้กับท่าน    แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าวิกัปป์บาตรทั้งหลายเหล่านี้ไว้กับท่านฯ

คำวิกัปป์ผ้าผืนเดียว

  อิมัง  จีวะรัง  ตุยหัง  วิกัปเปมิ   

ทุติยัมปิ  อิมัง  จีวะรัง  ตุยหัง  วิกัปเปมิ 

ตะติยัมปิ  อิมัง  จีวะรัง  ตุยหัง  วิกัปเปมิฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าวิกัปป์ผ้าจีวรผืนนี้ไว้กับท่าน  แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าวิกัปป์ผ้าจีวรผืนนี้ไว้กับท่าน    แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าวิกัปป์ผ้าจีวรผืนนี้ไว้กับท่านฯ

คำวิกัปป์ผ้าหลายผืน

อิมานิ  จีวะรานิ  ตุยหัง  วิกัปเปมิ  ทุติยัมปิ  อิมานิ  จีวะรานิ  ตุยหัง  วิกัปเปมิ ตะติยัมปิ อิมานิ  จีวะรานิ  ตุยหัง  วิกัปเปมิ ฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าวิกัปป์ผ้าจีวรทั้งหลายเหล่านี้ไว้กับท่าน  แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าวิกัปป์ผ้าจีวรทั้งหลายเหล่านี้ไว้กับท่าน    แม้ครั้งที่สามข้าพเจ้าวิกัปป์ผ้าจีวรผืนนี้ไว้กับท่านฯ

การถอนวิกัปป์

จุดมุ่งหมายของการทำวิกัปป์เพื่อเป็นการป้องกันพระภิกษุไม่ไห้ใช้บริขารมากจนเกินความจำเป็น     เมื่อวิกัปป์ผ้าและบาตรไว้กับพระภิกษุรูปใดแล้ว หากต้องการใช้ต้องให้พระภิกษุรูปนั้นถอนวิกัปป์ก่อนจึงจะนำไปใช้ได้   หมายถึงพระภิกษุรูปหนึ่งสละความเป็นเจ้าของร่วมเพื่อมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของพระภิกษุอีกรูปหนึ่งเป็นเจ้าของโดยสิทธิ์ขาด  มติเกี่ยวกับการวิกัปป์มี ๒ นัย  คือ

·  ผ้าอดิเรก ถึงแม้จะทำวิกัปป์แล้ว ต้องทำวิกัปป์ทุก ๑๐ วัน 

· ผ้าอดิเรกที่ทำวิกัปป์แล้วเก็บไว้ใช้ได้ตลอดไป ไม่ต้องทำวิกัปป์อีก 

อย่างไรก็ตาม มติทั้งสองเป็นที่ยอมรับกันว่าใช้ได้ พระภิกษุควรพิจารณาตามเห็นสมควรว่าจะเลือกใช้บริขารอดิเรกตามมติใด  และการปฏิบัติตามมติใดมติหนึ่งคงไม่ใช่การที่จะนำมาข่มอีกฝ่ายหนึ่งว่าเคร่งหรือไม่เคร่ง

คำถอนวิกัปป์บาตร

ผู้ถอนแก่กว่าว่า   อิมัง  ปัตตัง  มัยหัง  สันตะกัง  ปะริภุญชะ วา  วิสัชเชหิ วา  ยถาปัจจะยัง  วา กะโรหิฯ 

ถ้าผู้ถอนอ่อนกว่าว่า  อิมัง ปัตตัง มัยหัง สันตะกัง ปะริภุญชะ วา วิสัชเชถะ วา ยถาปัจจะยัง วา กะโรถะ ฯ

คำแปล

บาตรนี้เป็นของข้าพเจ้า  ท่านจงใช้สอย  จงจำหน่าย  จงกระทำตามสมควรแก่ปัจจัยเถิด ฯ

คำถอนวิกัปป์ผ้าผืนเดียว

ผู้ถอนแก่กว่าว่า  

อิมัง  จีวะรัง  มัยหัง  สันตะกัง  ปะริภุญชะ วา  วิสัชเชหิ วา  ยถาปัจจะยัง  วา กะโรหิฯ 

ถ้าผู้ถอนอ่อนกว่าว่า

  อิมัง จีวะรัง มัยหัง สันตะกังปะริภุญชะ วา วิสัชเชถะ วา ยถาปัจจะยัง วา กะโรถะ ฯ

คำแปล

จีวรนี้เป็นของข้าพเจ้า  ท่านจงใช้สอย  จงจำหน่าย  จงกระทำตามสมควรแก่ปัจจัยเถิด ฯ

คำถอนวิกัปป์ผ้าหลายผืน

ผู้ถอนแก่กว่าว่า 

  อิมานิ   จีวะรานิ   มัยหัง  สันตะกานิ  ปะริภุญชะ วา วิสัชเชหิ  วา  ยถาปัจจะยัง  วา  กะโรหิฯ

ผู้ถอนอ่อนกว่าว่า 

อิมานิ   จีวะรานิ   มัยหัง  สันตะกานิ  ปะริภุญชะ วา วิสัชเชหิ  วา  ยถาปัจจะยัง  วา  กะโรถ ฯ

คำแปล

จีวรทั้งหลายนี้เป็นของข้าพเจ้า  ท่านจงใช้สอย  จงจำหน่าย  จงกระทำตามสมควรแก่ปัจจัยเถิดฯ

การเสียสละบริขารอดิเรก

ผ้าอดิเรก หรือบาตรอดิเรก ที่พระภิกษุเก็บไว้เกินกว่า  ๑๐ วันโดยไม่ได้ทำวิกัปป์  ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   พระภิกษุต้องเสียสละผ้า หรือบาตรนั้นกับพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  กับคณะพระภิกษุ  หรือกับสงฆ์  แล้วจึงแสดงอาบัติ

ผ้าอดิเรกที่พระภิกษุเก็บไว้เกินกว่า  ๑๐ วันโดยไม่ได้ทำวิกัปป์  ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   พระภิกษุต้องสละผ้านั้นจึงจะแสดงอาบัติตก ข้อปฏิบัติในการเสียสละผ้าอดิเรกที่เก็บไว้เกิน ๑๐ วัน  ดังนี้

(๑)  พระภิกษุนำผ้าที่ทำให้ต้องอาบัติเข้าไปหาพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เข้าใจพิธีการเสียสละผ้าอดิเรก  พร้อมกับกล่าวคำเสียสละผ้า  ดังนี้

คำเสียสละอดิเรกจีวรแก่พระภิกษุ

ผ้าผืนเดียวว่า  

อิทัง  เม  ภันเต (อาวุโส)  จีวะรัง  ทะสาหาติกกันตัง    นิสสัคคิยัง  อิมาหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิ ฯ

คำแปล

          ข้าแต่ท่านผู้เจริญ(ท่านผู้มีอายุ) จีวรผืนนี้ของข้าพเจ้า  ล่วง ๑๐ วัน    เป็นของจำจะต้องสละ  ข้าพเจ้าสละจีวรผืนนี้แก่ท่าน ฯ

คำเสียสละผ้าตั้งแต่ ๒ ผืนขึ้นไป

ผ้าตั้งแต่ ๒ ผืนขึ้นไปว่า

 อิมานิ  เม  ภันเต (อาวุโส)  จีวะรานิ  ทะสาหาติกกันตานิ  นิสสัคคิยานิ   อิมาหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิ ฯ

คำแปล

          ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  (ท่านผู้มีอายุ)  จีวรทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้า  ล่วง ๑๐ วัน    เป็นของจำจะต้องสละ  ข้าพเจ้าสละจีวรทั้งหลายเหล่านี้แก่ท่าน ฯ

 (๒) เมื่อกล่าวคำเสียสละผ้าแล้ว ส่งผ้านั้นให้ภิกษุที่รับการเสียสละ  ต่อจากนั้นจึงแสดงอาบัติ

(๓)  เมื่อแสดงอาบัติแล้ว  พระภิกษุที่รับการเสียสละส่งผ้าให้คืน

คำให้คืน

อิมัง  จีวะรัง  อายัสมะโต  ทัมมิฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าให้ผ้านี้แก่ท่านฯ

(๔)  หากพระภิกษุจะใช้ผ้าอดิเรกนั้นต่อไปอีก  พึงทำวิกัปป์ตามขั้นตอนการวิกัปป์ผ้าอดิเรกแล้วใช้สอยตามความชอบใจ

การเสียสละบาตรอดิเรกที่เก็บไว้เกิน  ๑๐  วัน

บาตรอดิเรกที่พระภิกษุเก็บไว้เกินกว่า  ๑๐ วันโดยไม่ได้ทำวิกัปป์  ต้องอาบัตินิสสัคคียปาจิตตีย์   พระภิกษุต้องสละบาตรนั้นจึงจะแสดงอาบัติตก   ข้อปฏิบัติในการเสียสละบาตรอดิเรกมีดังนี้

พระภิกษุนำบาตรที่ทำให้ต้องอาบัติเข้าไปหาพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่งที่เข้าใจพิธีการเสียสละผ้าอดิเรก  พร้อมกับกล่าวคำเสียสละผ้า ดังนี้

คำเสียสละบาตรอดิเรกแก่พระภิกษุ

บาตรใบเดียวว่า       

อะยัง  เม  ภันเต (อาวุโส)  ปัตโต  ทะสาหาติกกันตัง    นิสสัคคิยัง  อิมัง  อะหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิ ฯ

คำแปล

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ท่านผู้มีอายุ) บาตรใบนี้ของข้าพเจ้า  ล่วง ๑๐ วัน เป็นของจำจะต้องสละ  ข้าพเจ้าสละบาตรใบนี้แก่ท่าน ฯ

บาตร ๒ ใบขึ้นไปว่า  อิเม  เม  ภันเต (อาวุโส)  ปัตตา  ทะสาหาติกกันตา   นิสสัคคิยา   อิเม  อะหัง  อายัสมะโต  นิสสัชชามิ ฯ

คำแปล

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ  (ท่านผู้มีอายุ)  บาตรทั้งหลายเหล่านี้ของข้าพเจ้า  ล่วง ๑๐ วัน  เป็นของจำจะต้องสละ  ข้าพเจ้าขอสละบาตรทั้งหลายเหล่านี้แก่ท่าน ฯ

            (๒) เมื่อกล่าวคำเสียสละบาตรแล้ว ส่งบาตรนั้นให้พระภิกษุที่รับการเสียสละ  ต่อจากนั้นจึงแสดงอาบัติ

            (๓)  เมื่อแสดงอาบัติแล้ว  พระภิกษุที่รับการเสียสละส่งบาตรคืน

คำให้คืน

อิมัง  ปัตตัง  อายัสมะโต  ทัมมิฯ

คำแปล

ข้าพเจ้าให้บาตรนั้แก่ท่านฯ

            (๔) หากพระภิกษุจะใช้บาตรอดิเรกนั้นต่อไปอีกให้ทำวิกัปป์ตามขั้นตอนการวิกัปป์บาตรอดิเรก

ขอขอบคุณ ภาพจาก โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๓๒) บรรพ์ที่ ๕ (๔ ) “วินัยกรรม : กิจที่พระภิกษุใหม่พึงทำเกี่ยวกับการอธิษฐาน -วิกัปป์ และ การเสียสละ ” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

โปรดติดตามตอนต่อไป 

ธรรมนิพนธ์ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ธรรมนิพนธ์ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติแก้ทุกข์ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับ คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here