ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม"  เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน
วันนี้วันพระ วันจันทร์ที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๓ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๑

ศึกษา “ความเป็นมาของพระอภิธรรม”

บทที่ ๑๕

(ตอนที่ ๑๖) คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ (๒) : “ปรวาที” ที่มาแห่งลัทธิคำสอนนอกศาสนา

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ความเป็นมาของพระอภิธรรม เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตีพิมพ์เป็นธรรมทานครั้งแรก ๒๔ ตอน ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ คอลัมน์ ธรรมโอสถ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช  บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ หลังจากเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙
ความเป็นมาของพระอภิธรรม เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตีพิมพ์เป็นธรรมทานครั้งแรก ๒๔ ตอน ในนิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ คอลัมน์ ธรรมโอสถ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ ๙ หลังจากเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๙

ปรวาทีที่มาแห่งลัทธิคำสอนนอกศาสนา

ลัทธิความคิดนอกศาสนามีอยู่มากมายในสมัยพุทธกาล มีถึง ๖๒ ลัทธิ โดยเจ้าลัทธิแต่ละคนได้ตั้งสำนักประกาศความคิดของตนอยู่ทั่วชมพูทวีป

ด้วยเส้นทางการประกาศลัทธิ บางครั้งบางคราวก็เกิดการท้าทายกระทบกระทั่งกันกับพระสาวกของพระพุทธเจ้า บางเจ้าลัทธิได้ท้าทายประลองความคิดโต้วาทะกับพระพุทธองค์และเหล่าพระสาวก ลัทธิความคิดเหล่านี้ปรากฏอยู่ในพรหมชาลสูตร ทีฆนิกาย สีลขันธมรรค  แห่งพระสุตตันตปิฎก โดยมีเจ้าลัทธิที่สำคัญอยู่ ๖ ลัทธิ เรียกกันโดยทั่วไปในสมัยนั้นว่า ลัทธิครูทั้ง ๖ ประกอบด้วย

๑. เจ้าลัทธิปูรณกัสสปะ ประกาศความคิดชื่อว่า อกิริยทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ทำก็ไม่เชื่อว่าทำ เช่น บุญไม่มี บาปไม่มี ความดีความชั่วไม่มี มารดาบิดาไม่มีบุญคุณ เป็นต้น

๒. เจ้าลัทธิมักขลิโคศาล ประกาศความคิดชื่อว่า อเหตุกทิฐิ เป็นลัทธิที่มีความเห็นว่า ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย สัตว์ทั้งหลายจะดี จะชั่ว จะสุขหรือทุกข์ก็ได้เอง ไม่จำเป็นต้องทำดีหรือทำชั่ว อนึ่ง สัตว์ทั้งหลายหลังจากท่องเที่ยวไปในสังสารวัฏแล้ว พอถึงเวลาก็บริสุทธิ์ได้เอง ลัทธินี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สังสารสุทธิกวาท”  สัตว์บริสุทธิ์ได้เองในสังสารวัฏ

๓. เจ้าลัทธิอชิตเกสกัมพล  ประกาศความคิดชื่อว่า นัตถิกทิฐิ  ลัทธินี้มีความเห็นว่าไม่มีผล คือ การทำบุญทำทานการบูชาไม่มีผล และยังประกาศความคิดเรื่อง อุจเฉททิฐิ คือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วสูญด้วย

๔. เจ้าลัทธิปกุธะกัจจายนะ ประกาศความคิด ชื่อว่า สัสสตทิฐิ ลัทธินี้มีความเห็นว่า สิ่งทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้น เช่น โลกเที่ยง จิตเที่ยง สัตว์ทั้งหลายเคยเกิดอย่างไร ก็เป็นไปอย่างนั้นต่อไปตลอดกาล ดิน น้ำ ลม ไฟ เป็นของเที่ยง การฆ่ากันนั้นไม่มีใครฆ่าใคร เพียงแต่เอาศาสตราสอดผ่านธาตุซึ่งยั่งยืนไม่มีอะไรทำลายได้

๕. เจ้าลัทธิสัญชัยเวลัฏฐบุตร เจ้าลัทธินี้เคยเป็นอาจารย์ของพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตร มาก่อน ประกาศความคิด ชื่อว่า อมราวิกเขปิกทิฐิ มีความเห็นไม่แน่นอน ซัดส่ายไหลลื่นเหมือนปลาไหล เพราะเหตุหลายประการ เช่น เกรงจะพูดปด เกรงจะเป็นการยึดถือ เกรงจะถูกซักถาม จึงปฏิเสธว่า อย่างนี้ก็ไม่ใช่ อย่างนั้นก็ไม่ใช่ ไม่ยอมรับ และไม่ยืนยันอะไรทั้งหมด

๖. เจ้าลัทธินิครนถ์นาฏบุตร หรือ ศาสดามหาวีระ ศาสดาของศาสนาเชน ประกาศความคิด ชื่อว่า อัตตกิลมถานุโยค ถือการทรมานกายว่าเป็นทางไปสู่ความพ้นทุกข์ มีความเป็นอยู่เข้มงวดกวดขันต่อร่างกาย เช่น อดข้าว อดน้ำ ตากแดด ตากลม เปลือยกาย ไม่นุ่งห่มเสื้อผ้า เป็นต้น

ความเป็นมาของพระอภิธรรม เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)  คอลัมน์ ธรรมโอสถ  นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๒๙๐ ปีที่ ๒๕ วันที่ ๑๗ กุมภาาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐
ความเป็นมาของพระอภิธรรม เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) คอลัมน์ ธรรมโอสถ นิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ ฉบับที่ ๑๒๙๐ ปีที่ ๒๕ วันที่ ๑๗ กุมภาาพันธ์ พ.ศ.๒๕๖๐

ในจำนวนครูทั้ง ๖ นั้น ศาสนาเชนเป็นเพียงลัทธิเดียวที่ยังคงยั่งยืนสามารถประกาศหลักคำสอนเคียงคู่กับพระพุทธศาสนาสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน แต่เนื่องจากศาสนาเชนเคร่งครัดเกินไป

ยากที่คนทั่วไปจะปฏิบัติตามได้ ไม่สามารถปรับตัวเข้ากับสังคมในยุคนั้นๆ จึงไม่สามารถทำให้ศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศได้

ลัทธิคำสอนนอกศาสนาเริ่มแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนาหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ ๑๐๐ ปี เป็นต้นมา

โดยเริ่มจากพระสงฆ์เกิดความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการตัดสินพระวินัยในเรื่อง วัตถุ ๑๐ ประการก่อน เช่น เห็นว่า (๑) พระภิกษุเก็บเกลือไว้เพื่อฉันกับอาหารไม่ผิด  (๒) เห็นว่า พระภิกษุฉันอาหารตอนตะวันเลยเที่ยงไป ๒ นิ้ว ไม่ผิด (๓) เห็นว่า เมื่อพระภิกษุฉันอาหารเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว เข้าไปฉันอาหารต่อในละแวกบ้านได้อีก ไม่ผิด (๔) เห็นว่า พระภิกษุในอาวาสเดียวกัน แยกกันทำสังฆกรรมได้ ไม่ผิด (๕) เห็นว่า พระภิกษุลงอุโบสถได้เลย โดยไม่ต้องรอการมอบฉันทะจากพระภิกษุที่ไม่ได้ลงอุโบสถ (๖) เห็นว่า การปฏิบัติตามพระอุปัชฌาย์อาจารย์ ให้ถือว่าถูกต้อง (๗) เห็นว่า  พระภิกษุฉันเสร็จแล้ว ห้ามภัตรแล้ว ฉันนมสดที่ยังไม่แปรเป็นนมส้มได้ ไม่ผิด (๘) เห็นว่า พระภิกษุฉันสุราอ่อนๆ ได้ (๙) เห็นว่า ผืนผ้าชนิดไหนก็ใช้เป็นผ้าปูนั่งได้ (๑๐)  เห็นว่า พระภิกษุรับหรือยินดีเงินและทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน ไม่ผิด

ความเห็นแตกต่างกันเกี่ยวกับการตัดสินพระวินัยในเรื่องวัตถุทั้ง ๑๐ ประการนี้ เป็นที่มาแห่งการสังคายนา ครั้งที่ ๒ พระเถระในยุคนั้นเห็นว่า หากไม่สะสางให้ชัดเจน ก็อาจเกิดปัญหาการตีความพระธรรมวินัยผิดเพี้ยนในอนาคตได้

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน

เหตุการณ์หลังพระพุทธเจ้าปรินิพาน ๒๐๐ ปี ได้เกิดนิกายต่างๆ แตกออกไปถึง ๑๘ นิกาย ตามตระกูลหรือสำนักของอาจารย์ สืบเนื่องจากบรรดาเหล่าภิกษุที่ถูกตำหนิเรื่องความเห็นผิดเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการดังกล่าว เกิดความไม่พอใจ จึงแยกตัวออกไปตั้งเป็นนิกายใหม่ ยึดถือความคิดของอาจารย์เป็นสำคัญ มากกว่ายึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มมีการนำความคิดลัทธินอกศาสนาแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา เกิดการตีความพระธรรมวินัยไปตามการยึดถือข้อปฏิบัติ หรือยึดการตีความของอาจารย์แต่ละสำนักเป็นสำคัญ  จึงเรียกลัทธิเหล่านี้ว่า “อาจริยวาท” (ลัทธิแห่งอาจารย์)

ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่ยึดถือตามพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน เป็นสกวาที เรียกว่า “เถรวาท”

พระโมคคัลลิบุตร ติสสเถระ ได้ห้ามการถือความเห็นผิดทั้งหลายของนิกายต่างๆ ในขณะนั้น และเพื่อป้องกันความเห็นผิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเช่นนี้อีก จึงยกมาติกา(หัวข้อ)แห่งกถาวัตถุที่พระพุทธองค์แสดงไว้ในพระอภิธรรมมาขยายความให้มีนัยอันกว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น โต้แย้งความเห็นผิดของผู้อื่นในสมัยนั้น และได้รวบรวมพระเถระจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ทำสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓

เหตุการณ์หลังพระพุทธเจ้าปรินิพาน ๒๐๐ ปี ได้เกิดนิกายต่างๆ แตกออกไปถึง ๑๘ นิกาย ตามตระกูลหรือสำนักของอาจารย์ สืบเนื่องจากบรรดาเหล่าภิกษุที่ถูกตำหนิเรื่องความเห็นผิดเกี่ยวกับวัตถุ ๑๐ ประการดังกล่าว เกิดความไม่พอใจ จึงแยกตัวออกไปตั้งเป็นนิกายใหม่ ยึดถือความคิดของอาจารย์เป็นสำคัญ มากกว่ายึดหลักคำสอนของพระพุทธเจ้า เริ่มมีการนำความคิดลัทธินอกศาสนาแปลกปลอมเข้ามาในพระพุทธศาสนา เกิดการตีความพระธรรมวินัยไปตามการยึดถือข้อปฏิบัติ หรือยึดการตีความของอาจารย์แต่ละสำนักเป็นสำคัญ  จึงเรียกลัทธิเหล่านี้ว่า “อาจริยวาท” (ลัทธิแห่งอาจารย์)

ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่ยึดถือตามพระธรรมวินัยของพระพุทธองค์ เป็นนิกายที่ไม่แตกกัน เป็นสกวาที เรียกว่า “เถรวาท”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระโมคคัลลิบุตร ติสสเถระ ได้ห้ามการถือความเห็นผิดทั้งหลายของนิกายต่างๆ ในขณะนั้น และเพื่อป้องกันความเห็นผิดที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเช่นนี้อีก จึงยกมาติกา(หัวข้อ)แห่งกถาวัตถุที่พระพุทธองค์แสดงไว้ในพระอภิธรรมมาขยายความให้มีนัยอันกว้างขวางพิสดารยิ่งขึ้น โต้แย้งความเห็นผิดของผู้อื่นในสมัยนั้น และได้รวบรวมพระเถระจำนวน ๑,๐๐๐ รูป ทำสังคายนาพระธรรมวินัย ครั้งที่ ๓

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ความเป็นมาของพระอภิธรรม"  เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๑ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับธรรมทาน

วันนี้วันพระ ศึกษา “ความเป็นมาของพระอภิธรรม” บทที่ ๑๕ (ตอนที่ ๑๖) คัมภีร์ที่ ๕ กถาวัตถุ (๒) : “ปรวาที” ที่มาแห่งลัทธิคำสอนนอกศาสนา เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here