การบวชเป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา
ชีวิตภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นชีวิตที่ช่วยสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา เพราะช่วงเวลาที่เข้าไปบวชเรียนอยู่ในพระพุทธศาสนา ต้องใช้ชีวิตอย่างสมถะ สงบเสงี่ยมเรียบง่าย ไม่กล่าวร้าย ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้ายใครๆ เป็นผู้ที่ละเว้นในสิ่งที่ไม่ควรไม่เหมาะสม
การดำเนินชีวิตเช่นนี้ ชื่อว่าเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนในรุ่นหลัง แม้ชั่วระยะเวลาของการบวช ๗ วัน ๑๕ วัน เดือนหนึ่ง หรือพรรษาหนึ่ง ก็เป็นการนำชีวิตเข้าไปสืบต่อพระศาสนานั่นเอง
พ่อแม่ก็ชื่อว่า ได้สืบต่ออายุพระศาสนาด้วย เพราะชีวิตของลูกเป็นชีวิตที่มีพ่อแม่เป็นเจ้าของ เลือดและเนื้อที่เจริญเติบโตอยู่ในร่างกายของลูก ก็เป็นเลือดเนื้อจากอกของพ่อแม่ ได้นำไปต่ออายุพระศาสนา การต่ออายุพระศาสนาด้วยการบวชเรียนเขียนอ่านของลูก จึงมีอานิสงส์มาถึงพ่อแม่ผู้ให้กำเนิด
นอกจากนั้น เพราะการบวชของลูกชาย ยังได้ชื่อว่า ทำให้พ่อแม่เป็นญาติพระศาสนาด้วย
ญาณวชิระ
จิรํ ติฏฺฐตุ พุทฺธสาสนํ ฯ ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
“ญาณวชิระ”
นครหลวงประเทศไทย ระหว่างพรรษา ปีพุทธศักราช ๒๕๕๐
ลูกผู้ชายต้องบวช บรรพ์ที่ ๑๔
: วิธีการทำบุญที่ฆราวาสควรทำความเข้าใจ
: เรียบเรียงโดย ญาณวชิระ (พระมหาเทอด ญาณวชิโร อดีตพระราชกิจจาภรณ์)
วิธีการทำบุญที่ฆราวาสควรทำความเข้าใจ
การไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอน
การทำบุญตักบาตร การถวายสังฆทาน
การทำบุญอุทิศ การทำบุญบ้าน
การทำบุญเนื่องในวันแต่งงาน
การจัดโต๊ะหมู่บูชาที่บ้าน
การรักษาศีล ๕ ศีล ๘ และศีลอุโบสถ
การไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอน
การไหว้พระสวดมนต์เป็นขนบธรรมเนียม เป็นแบบแผน และเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตประจำวันของคนไทยแต่โบราณ การสวดมนต์ก่อนนอนเป็นกุศโลบายเพื่อผ่อนคลายจิต หรือเป็นการลดระดับจิตที่วิ่งวุ่นมาทั้งวัน ให้สงบระงับก่อนก้าวลงสู่ความหลับ เพื่อไม่ให้หลับไปพร้อมกับความกระวนกระวายกระสับกระส่าย
การนอนเป็นอิริยาบถใหญ่ที่สำคัญ พระพุทธเจ้าทรงสอนให้รู้จักใช้การนอนทำสมาธิอีกอิริยาบถหนึ่ง นอกเหนือจากการทำสมาธิแบบนั่ง (สมาธิ) และเดิน (จงกรม) เป็นการใช้การนอนบริหารจิตใจให้สะอาดผ่องใสงดงาม ไม่หยาบกระด้างก้าวร้าว
การไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอนเป็นรูปแบบวิถีชีวิตอันงดงามของชาวไทยมาแต่โบราณ ว่าโดยรูปแบบการไหว้พระก่อนนอนยึดแบบมาจากการทำสมาธิ แต่แทนที่จะใช้วิธีการนั่งบริกรรมคำใดคำหนึ่ง เช่น พุทโธ, พองหนอ-ยุบหนอ, สัมมา-อะระหัง เป็นต้น เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็กลับใช้การไหว้พระสวดมนต์เป็นอุบาย
การไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอนจึงเป็นวิธีการเข้าสู่สมาธิตามวิถีชีวิตแบบไทยๆ มาแต่โบราณ เพื่อเป็นสื่อเข้าสู่ความหลับอย่างสบายไม่กระสับกระส่าย เมื่อหลับก็ไม่ฝันร้าย ตื่นก็สดชื่นไม่ง่วงซึม เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เมื่อจักเกิดเหตุร้ายในชีวิตก็ทำให้เกิดนิมิตรู้ล่วงหน้า ที่เรียกว่า “เทวสังหรณ์” คือ เทวดาบอกเหตุล่วงหน้า
บทกราบพระรัตนตรัย
อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ ภะคะวา, พุทธัง ภะคะวันตัง อะภิวาเทมิฯ (กราบ)
สวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, ธัมมัง นะมัสสามิฯ (กราบ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต, สาวะกะสังโฆ สังฆัง นะมามิฯ (กราบ)
บทนมัสการพระพุทธเจ้า
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ
(ว่า ๓ จบ)
(หากวันไหนไม่มีเวลา จะสวดถึงบทนมัสการพระพุทธเจ้า แล้วข้ามไปแผ่เมตตาก็ได้)
หลังจากนี้ให้นั่งพับเพียบและเลือกสวดมนต์ตามที่ต้องการ เสร็จแล้วสวดถวายพรพระเป็นลำดับสืบไป
บทถวายพรพระเป็นคาถาที่บุรพาจารย์คัดเลือกบทสวดมนต์ต่างๆ มาต่อกัน เพื่อให้มีเนื้อความสั้นเข้า เหมาะสำหรับใช้เป็นบทสวดมนต์ในชีวิตประจำวัน คนไทยตั้งแต่โบราณมานิยมสวดบทถวายพรพระเป็นบทสวดมนต์ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะใช้เป็นบทสวดมนต์ไหว้พระก่อนนอน นอกจากนั้น ยังนิยมนิมนต์พระสงฆ์มาสวดในการทำบุญต่างๆ เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตอีกด้วย
เนื้อความของบทถวายพรพระ ได้นำเอาบทสรรเสริญพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ แล้วตามด้วยบท พุทธชัยมงคลคาถา พรรณนาถึงเหตุการณ์ที่พระพุทธองค์ชนะพญามาร ผ่านพ้นอุปสรรคครั้งสำคัญไปได้ด้วยดีด้วยวิธีของพระองค์เอง เป็นคาถาว่าด้วยชัยชนะที่พระพุทธองค์มีต่อพญามาร (พญาวสวัตตีมาราธิราช), อาฬวกยักษ์, ช้างนาฬาคิรี, โจรองคุลีมาล, นางจิญจมาณวิกา, สัจจกนิครนถ์, นันโทปนันทนาคราช และท้าวพกาพรหม จากนั้นต่อด้วยบทชัยปริตร จบลงด้วยบทภะวะตุสัพพ์ เป็นการน้อมนำพุทธานุภาพ ธัมมานุภาพ และสังฆานุภาพ มาดลบันดาลให้เกิดชัยมงคลตามที่กล่าวในบทถวายพรพระ
บทถวายพรพระเป็นที่นิยมสวดกันแพร่หลาย เพราะเชื่อว่ามีอานุภาพทำให้ชีวิตผ่านพ้นปัญหา อุปสรรคและภยันตรายต่างๆ ในชีวิต ตลอดจนให้ประสบในสิ่งที่ปรารถนาทั้งหลาย
ถวายพรพระ
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะสาระถิ สัตถา, เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติฯ
สะวากขาโต ภะคะวะตา ธัมโม, สันทิฏฐิโก อะกาลิโก , เอหิปัสสิโก, โอปะนะยิโก, ปัจจัตตัง เวทิตัพโพ วิญญูหีติ ฯ (อ่านว่า วิญญูฮีติ)
สุปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อุชุปะฏิปันโน ภะคะวะโต, สาวะกะสังโฆ ญายะปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, สามีจิปะฏิปันโน ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, ยะทิทัง จัตตาริ ปุริสะยุคานิ อัฏฐะ ปุริสะปุคคะลา, เอสะ ภะคะวะโต สาวะกะสังโฆ, อาหุเนยโย, ปาหุเนยโย, ทักขิเณยโย, อัญชะลีกะระณีโย, อะนุตตะรัง ปุญญักเขตตัง โลกัสสาติฯ
(หากไม่มีเวลา จะสวดเฉพาะพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณนี้เท่านั้น แล้วข้ามไปแผ่เมตตาก็ได้)
พาหุง สะหัสสะมะภินิมมิตะสาวุธันตัง
ครีเมขะลัง อุทิตะโฆระสะเสนะ มารัง
ทานาทิธัมมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
มาราติเรกะมะภิยุชฌิตะสัพพะรัตติง
โฆรัมปะนาฬะวะกะมักขะมะถัทธะยักขัง
ขันตีสุทันตะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นาฬาคิริง คะชะวะรัง อะติมัตตะภูตัง
ทาวัคคิจักกะมะสะนีวะ สุทารุณันตัง
เมตตัมพุเสกะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
อุกขิตตะขัคคะมะติหัตถะสุทารุณันตัง
ธาวันติโยชะนะปะถังคุลิมาละวันตัง
อิทธีภิสังขะตะมะโน ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
กัตะวานะ กัฏฐะมุทะรัง อิวะ คัพภินียา
จิญจายะ ทุฏฐะวะจะนัง ชะนะกายะมัชเฌ
สันเตนะ โสมะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
สัจจัง วิหายะ มะติสัจจะกะวาทะเกตุง
วาทาภิโรปิตะมะนัง อะติอันธะภูตัง
ปัญญาปะทีปะชะลิโต ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
นันโทปะนันทะภุชะคัง วิพุธัง มะหิทธิง
ปุตเตนะ เถระภุชะเคนะ ทะมาปะยันโต
อิทธูปะเทสะวิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
ทุคคาหะทิฏฐิภุชะเคนะ สุทัฏฐะหัตถัง
พรัหมัง วิสุทธิชุติมิทธิพะกาภิธานัง
ญาณาคะเทนะ วิธินา ชิตะวา มุนินโท
ตันเตชะสา ภะวะตุ เต ชะยะมังคะลานิฯ
เอตาปิ พุทธะชะยะมังคะละอัฏฐะคาถา
โย วาจะโน ทินะทิเน สะระเต มะตันที
หิตะวานะเนกะวิวิธานิ จุปัททะวานิ
โมกขัง สุขัง อะธิคะเมยยะ นะโร สะปัญโญฯ
มะหาการุณิโก นาโถ หิตายะ สัพพะปาณินัง
ปูเรตะวา ปาระมี สัพพา ปัตโต สัมโพธิมุตตะมัง
เอเตนะ สัจจะวัชเชนะ โหตุ เต ชะยะมังคะลังฯ
ชะยันโต โพธิยา มูเล สักะยานัง นันทิวัฑฒะโน
เอวัง ตะวัง วิชะโย โหหิ ชะยัสสุ ชะยะมังคะเล
อะปะราชิตะปัลลังเก สีเส ปะฐะวิโปกขะเร
อะภิเสเก สัพพะพุทธานัง อัคคัปปัตโต ปะโมทะติฯ
สุนักขัตตัง สุมังคะลัง สุปะภาตัง สุหุฏฐิตัง
สุขะโณ สุมุหุตโต จะ สุยิฏฐัง พรัหมะจาริสุ
ปะทักขิณัง กายะกัมมัง วาจากัมมัง ปะทักขิณัง
ปะทักขิณัง มะโนกัมมัง ปะณิธี เต ปะทักขิณา
ปะทักขิณานิ กัตะวานะ ละภันตัตเถ ปะทักขิเณฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะพุทธานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เต ฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะธัมมานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ภะวะตุ สัพพะมังคะลัง รักขันตุ สัพพะเทวะตา
สัพพะสังฆานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เตฯ
ความเข้าใจเรื่องการแผ่เมตตา
การแผ่เมตตา คือ การตั้งความปรารถนาดีไปในมวลสรรพสัตว์ ตลอดจนเทพเทวาภูติ ผี ปีศาจทั้งหลาย ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต ไร้พรมแดนขีดคั่น ไม่ว่าเขาผู้นั้น หรือสัตว์นั้นจะเป็นเชื้อชาติ ศาสนาอะไร จะเกี่ยวข้องกับเราโดยความเป็นญาติ โดยความเป็นประเทศ เชื้อชาติ ศาสนาหรือไม่ก็ตาม ให้มีจิตกว้างขวางไร้พรมแดน ไม่มีขอบเขตขีดคั่น ขอให้เขาได้มีความสุข อย่าได้มีความทุกข์ระทมขมขื่นใจ
ตามหลักการแผ่เมตตาในทางพระพุทธศาสนานั้น ในชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง สิ่งที่ทุกคนปรารถนาคือความสุข และต้องการหลีกเลี่ยงจากภัยอันตรายต่างๆ ซึ่งจะทำให้ชีวิตเป็นทุกข์ เราต้องการความสุขอย่างไร คนอื่นและสัตว์อื่นก็ต้องการความสุขอย่างนั้น
พระพุทธเจ้าจึงสอนให้เอาความรู้สึกตัวเราเอง เป็นเครื่องเปรียบเทียบ วัดความรู้สึกของคนอื่นและสัตว์อื่น จะได้เห็นอกเห็นใจมีเมตตาต่อคนอื่นและสัตว์อื่นมากขึ้น แล้วไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
การแผ่เมตตาจึงควรแผ่ให้ทั้งแก่ตนและคนอื่น ตลอดจนสรรพสัตว์ทั้งหลาย ตั้งความปรารถนาให้ทุกสรรพชีวิตมีความสุขเสมอกัน
ก่อนแผ่เมตตาควรทำสมาธิ ๓-๕ นาที น้อยหรือมากกว่านั้นตามโอกาส เพื่อให้จิตอ่อนโยน งดงาม สว่าง สะอาด ผ่องแผ้ว จิตที่สะอาดเกิดจากกำลังสมาธิ แม้จะชั่วระยะเวลาสั้น ก็เป็นจิตที่ว่างจากความอาฆาตพยาบาท ความอิจฉาริษยา ว่างจากกามราคะ และว่างจากความหม่นหมองเศร้าซึม ลังเลสงสัย จับจด ไม่แน่นอน เป็นจิตที่มีพลัง จึงเหมาะแก่การแผ่เมตตา
ในการแผ่เมตตา ไม่จำเป็นต้องกล่าวเป็นภาษาบาลีเสมอไป จะนึกเป็นภาษาไทยก็ได้ แม้จะไม่กล่าวเป็นภาษาบาลีก็ให้นึกเป็นภาษาไทย ขอให้เป็นภาษาของความรู้สึก เรารู้สึกอย่างนั้นจริงๆ รู้สึกเมตตาสงสารการเกิดของตนเองที่ต้องเผชิญความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ ผิดหวัง ล้มเหลว เจ็บป่วยมีโรคภัยไข้เจ็บ และต้องเผชิญกับความแก่ความเจ็บความตายไม่รู้จักจบสิ้น
ความรู้สึกนี้ให้เกิดตลอดไปจนถึงสรรพสัตว์ทุกจำพวกทุกหมู่เหล่า ไร้ขอบเขต ไร้พรมแดน ไร้เชื้อชาติศาสนา แม้แต่ศัตรูที่จ้องทำลายล้างเราก็ให้รู้สึกเช่นนั้น ให้นึกไปถึงสิ่งที่มองไม่เห็นเช่น เทวาอารักษ์พระภูมิเจ้าที่ทั้งหลายด้วย
คำแผ่เมตตาให้แก่ตนเอง
อะหัง สุขิโต โหมิ ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุข
นิททุกโข โหมิ ปราศจากความทุกข์
อะเวโร โหมิ ไม่มีเวรไม่มีภัย
อัพยาปัชโฌ โหมิ ไม่มีการเบียดเบียนซึ่งกันและกัน
อะนีโฆ โหมิ ไม่มีความทุกข์กายทุกข์ใจ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรามิ มีความสุขกายสุขใจและรักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด ฯ
คำแผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์
สัพเพ สัตตา สัตว์ทั้งหลายปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์เกิดแก่ เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น
อะเวรา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
อัพะยาปัชฌา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
อะนีฆา โหนตุ จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กาย ทุกข์ใจเลย
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ จงมีความสุขกายสุขใจ และ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยด้วยกันทั้งสิ้นเทอญฯ
จากนี้นึกอธิษฐานใจถึงญาติบรรพบุรุษทั้งสองฝ่ายของเรา คือ คุณปู่คุณย่า คุณตาคุณยายเรื่อยมาโดยลำดับจนถึงมารดาบิดาแม้ยังมีชีวิตอยู่ก็ขอให้ท่านมีความสุข อธิษฐานถึงเทวาอารักษ์ เจ้ากรรมนายเวร ได้อนุโมทนา เพื่อจะได้เป็นผู้มีส่วนแห่งบุญที่เราได้ทำในแต่ละวัน เมื่ออนุโมทนาแล้วก็ขออย่าได้ผูกเวร ขอให้ทำการคุ้มครองปกปักรักษาเพื่อให้มีความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต มีความร่มเย็นเป็นสุขแก่ตัวเราเองและทุกๆ คนในครอบครัว เสร็จแล้วกราบ ๓ หน
การทำบุญตักบาตร
การตักบาตรเป็นสิ่งที่งดงามทั้งผู้ตักบาตร และภิกษุผู้รับบิณฑบาต ซึ่งนอกจากจะเป็นการทำบุญในชีวิตประจำวันที่สะดวกไม่ยุ่งยากแล้ว ยังมีส่วนช่วยส่งเสริมพระสงฆ์สามเณร ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพระศาสนาให้ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ลำบาก เป็นการช่วยกันประคับประคองจรรโลงพระศาสนา ให้ยืนยาวออกไป ตราบใดที่ยังเห็นพระสงฆ์ออกบิณฑบาต เห็นสีผ้ากาสาวพัสตร์เหลืองอร่ามรับอรุณ พระศาสนาก็ชื่อว่ายังดำรงอยู่ตราบนั้น
“ณ ที่ใดพระสงฆ์ไม่สามารถออกบิณฑบาตได้
พระศาสนาก็ชื่อว่าเสื่อมไปจากที่นั้น
สัญลักษณ์การดำรงอยู่ของพระศาสนาอย่างหนึ่ง
คือ การที่เรายังมีโอกาสได้เห็น
พระสงฆ์ออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ยามเช้าตรู่“
ญาณวชิระ
ผู้ที่ผ่านการบวชเรียนเขียนอ่าน และลาสิกขาออกไปใช้ชีวิตอย่างฆราวาสแล้ว ควรตระหนักอยู่ในใจเสมอว่า ในขณะที่เราบวชเป็นภิกษุ เราดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยบิณฑบาตที่ผู้อื่นถวาย หากเราตักบาตรก็เหมือนเป็นการอนุเคราะห์ให้อนุชนรุ่นหลังได้มีโอกาสเดินตามเส้นทางพุทธบุตรที่เราเคยเดินผ่านมา
การตักบาตรพระสงฆ์สามเณร แม้จะบวชเพียง ๗ วัน ๑๕ วัน ๑ เดือน ๒ เดือน หรือมากกว่านั้น ให้ท่านดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างไม่ลำบาก ก็เป็นการให้โอกาสแก่คนรุ่นหลังได้บวชเข้ามาในบวรพุทธศาสนาเจริญรอยตามวิถีแห่งพระสงฆ์ที่ควรจะเป็น
การตักบาตรไม่จำเป็นจะต้องทำเป็นประจำทุกวัน หากเรามีหน้าที่การงานที่จำเป็น ก็ทำตามโอกาสที่เหมาะสม อย่าให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นเครื่องบีบบังคับเรา เพราะหน้าที่การงานก็บีบบังคับเราอยู่แล้ว ให้การทำบุญตักบาตรเป็นเรื่องของการผ่อนคลาย
ในขณะที่ตักบาตร ควรเปิดใจให้กว้างดุจมหาสมุทรที่รองรับน้ำซึ่งไหลมาจากทั่วทุกสารทิศ พระสงฆ์ที่เดินผ่านมาจะเป็นพระภิกษุก็ตาม เป็นสามเณรก็ตามให้ถือเหมือนกันหมด ท่านเหล่านั้นเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงไม่ควรเลือกว่าเป็นพระภิกษุหรือสามเณร
บางคนไม่ยอมตักบาตรสามเณรเพราะเกรงว่าจะได้บุญน้อยเนื่องจากสามเณรมีศีลน้อยกว่าพระภิกษุ บางคนไม่ตักบาตรพระภิกษุหนุ่ม แต่ตักบาตรหลวงตาที่อายุมาก เพราะคิดว่าท่านมีบารมีแก่กล้าจะได้บุญมาก หากทำบุญด้วยจิตที่คับแคบอยู่อย่างนี้ แม้ทำบุญกับพระภิกษุที่มีพรรษายุกาลมากก็ได้บุญน้อย
หากมองในแง่การช่วยกันจรรโลงรักษาพระศาสนา การตักบาตรสามเณรยิ่งเป็นสิ่งที่น่าอนุเคราะห์ เพราะสามเณรเป็นเชื้อสายศายกบุตรคือผู้ที่จะสืบพระพุทธศาสนารุ่นต่อไป ส่งเสริมให้ท่านมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน เท่ากับว่าได้ช่วยสร้างบุคคลากรที่มีคุณภาพให้กับพระศาสนา
การตักบาตรก็เป็นการช่วยส่งเสริมสนับสนุนพระศาสนาอีกด้านหนึ่ง เพราะทำให้พระภิกษุสามเณรได้ดำเนินชีวิตโดยไม่ลำบาก ผู้ที่อายุยังน้อยจะได้มีกำลังใจในการดำรงตนอยู่ในสมณเพศ และมีกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย
หลายคนมีข้อสงสัยว่า ภรรยาตักบาตร สามีไม่ได้ตักจะได้บุญหรือไม่? ตอบว่าทั้งได้และไม่ได้ สำคัญอยู่ที่วิธีคิดว่าคิดอย่างไร ถ้าคนที่ไม่ได้ไปตักบาตร นึกยินดี ก็เป็นบุญเป็นกุศลได้เหมือนกัน จึงตอบได้ ดังนี้
ภรรยาทำบุญตักบาตรสามีไม่ได้ทำแต่นึกให้สามีมีส่วนแห่งบุญร่วมกับตนด้วยส่วนสามีก็นึกอนุโมทนาพลอยยินดีในการทำบุญของภรรยาได้บุญทั้งสองคนเท่าๆ กัน เรียกว่า บุญเกิดจากการ
อนุโมทนาหรือบุญเกิดจากการยินดีในการทำบุญของผู้อื่นเหมือนคนสองคนจุดคบไฟต่อไฟจากกันจะเกิดเป็นไฟสว่างขึ้นสองดวง
ภรรยาตักบาตร สามีไม่ได้สนใจ กลับคิดว่าอยากทำก็ทำไป อยากตักก็ตักไปไม่เกี่ยวกันตัวใครตัวมัน ถ้าอย่างนี้ภรรยาได้บุญแน่ นอนแต่สามีไม่ได้เพราะจิตใจไม่ได้น้อมไปในบุญที่ภรรยาทำ
นึกง่ายๆ เมื่อภรรยาจุดคบไฟส่งให้สามีต่อไฟ แต่สามีไม่ยอมต่อ ไฟก็ไม่ติด แทนที่จะเกิดมีแสงสว่างสองดวง ก็มีดวงดียวเหมือนเดิม
ภรรยาตักบาตรแต่ไม่นึกเป็นบุญเป็นกุศลใจไม่น้อมไปในบุญนึกด่านึกอิจฉาริษยาคนโน้นคนนี้ ภรรยาผู้ทำบุญได้บุญเหมือนกัน แต่ได้น้อยเพราะใจปิดไม่เปิดรับบุญ คือ ความอิจฉาริษยา ความโกรธความอาฆาตปิดกั้นทางมาแห่งบุญที่จะเข้าสู่ใจเหมือนคบไฟที่จุดไฟแต่มีเชื้อไม่ดีมันก็ไม่สว่างส่วนสามีนึกดีใจว่าภรรยาทำบุญ มีจิตใจยินดีเลื่อมใสนึกอนุโมทนา สามีได้บุญมากกว่าเมียผู้ทำ
ทั้งนี้เพราะจิตใจสามีเปิดรับบุญมากกว่าภรรยา จิตเช่นนี้เหมือนคบไฟที่มีเชื้อดีแม้จะต่อจากคบไฟที่มีแสงน้อยก็สว่างโชติช่วงมากได้เช่นกัน
การทำบุญจึงขึ้นอยู่ที่จิตใจเป็นสำคัญเรียกว่าบุญเกิดจากการ อนุโมทนา(อนุโมทนามัย)หรือบุญเกิดจากการพลอยยินดีในการ ทำบุญของผู้อื่น
การตักบาตรก็ไม่จำเป็นที่จะต้องตักทุกวัน วันไหนไม่มีเวลา จะให้คนอื่นตักบาตรแทนก็ได้ แต่ให้นึกอนุโมทนายินดีในใจ ซึ่งก็เป็นบุญกุศลเหมือนกัน เพราะยินดีการทำความดีของผู้อื่น ยิ่งถ้าเป็นคนที่เกี่ยวข้องกับเราก็ยิ่งเป็นบุญมาก
การถวายสังฆทาน
ในปัจจุบัน การถวายสังฆทานเป็นวิธีการทำบุญอีกวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมจากชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา เพราะเชื่อว่าเป็นวิธีการทำบุญที่ได้บุญมาก ไม่ยุ่งยาก ที่สำคัญคือสะดวก และประหยัดเวลา เหมาะสำหรับชีวิตในยุคที่ต้องแข่งขันกับเวลา
ส่วนเครื่องสังฆทานก็ดูจะจำจนติดตาว่า ต้องเป็นถังสีเหลืองมีข้าวของเครื่องใช้สำหรับพระภิกษุบรรจุ ตั้งอยู่หน้าร้านสังฆภัณฑ์ มีคำกล่าวถวายสังฆทานติดอยู่ข้างถัง ความรู้สึกจะบอกทันทีว่า นี่แหละสังฆทาน
บางคนอธิบายให้กว้างออกไปอีกว่า ของสิ่งนั้นจะต้องถวายแด่พระสงฆ์ ๔ รูปด้วย จึงจะเป็นสังฆทาน
แต่มีน้อยคนที่จะรู้ที่จะเข้าใจความหมาย และ วิธีการที่แท้จริงของการถวายสังฆทาน ตรงตามจุดประสงค์ของพระพุทธศาสนา
ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่จัดเตรียมไว้ทำบุญ จะน้อยสุดหรือว่ามากสุดก็ตาม เช่น ข้าวทัพพีหนึ่ง ถังหนึ่ง กระสอบหนึ่ง เกวียนหนึ่ง ยุ้งหนึ่ง เป็นต้น จะเล็กสุดหรือว่าใหญ่สุดก็ตาม เช่น เข็ม บาตร จีวร ห้องน้ำ กุฎี ศาลาการเปรียญ อุโบสถ เป็นต้น ถวายของสิ่งนั้นอุทิศเจาะจงแด่พระภิกษุในพระพุทธศาสนา ตามกำลังศรัทธา ไม่ได้เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง หมู่ใดหมู่หนึ่ง ไม่กำหนดว่าเป็นใคร จำนวนเท่าไร มาจากทิศไหน (๑) พระสงฆ์สามเณรที่อยู่เบื้องหน้าเรา คือ เนื้อนาบุญของเรา ไม่แบ่งแยกยศศักดิ์ พรรษา อายุ จำนวน วัด นิกาย ใจที่ศรัทธาเชื่อมั่นในทานที่กำลังทำ แผ่กว้างออกไปไม่ระบุเจาะจง ไม่มีประมาณ ไม่มีขอบเขต ทานที่เกิดจากความรู้สึกเช่นนี้ย่อมมีอานิสงส์มหาศาล เรียกว่า สังฆทาน เปรียบเสมือนมหาสมุทรที่เปิดกว้างรับสายน้ำจากทั่วทุกสารทิศย่อมบริบูรณ์ด้วยน้ำ
สิ่งของถวายและจำนวนพระภิกษุสงฆ์ที่รับทาน ไม่ใช่องค์ประกอบของการถวายสังฆทาน แต่จิตใจที่น้อมไปในสงฆ์ต่างหากเป็นสังฆทาน
การเตรียมสิ่งของสังฆทานจตุปัจจัยไทยธรรม เพื่อถวายเป็นสังฆทาน ควรพิจารณาจากประโยชน์ ๒ ประการ คือ
· ของสิ่งนั้นเป็นสิ่งของที่บริสุทธิ์ ได้มาโดยบริสุทธิ์ เกิดขึ้นจากจิตที่บริสุทธิ์ และเป็นของที่ไม่เป็นโทษ ซึ่งจะเป็นทานที่เป็นบุญมีผลานิสงส์ตามความประสงค์
· ของสิ่งนั้นได้เกิดประโยชน์ต่อพระภิกษุผู้รับทาน
สังฆทานที่ถวายกันทุกวันนี้ ส่วนมากผู้ถวายได้บุญ แต่พระภิกษุผู้รับไม่ได้ประโยชน์
เนื่องจากผู้ซื้อก็ต้องการซื้อความสะดวก ผู้ขายก็ต้องการขายสินค้าให้ได้ บางทีของสิ่งนั้นหมดอายุบ้าง เป็นของไม่มีคุณภาพบ้าง นอกจากพระภิกษุใช้ไม่ได้แล้ว ยังเป็นภาระในการที่จะต้องจัดเก็บอีกด้วย จะเก็บก็ไม่มีที่เก็บ จะทิ้งก็ไม่ได้เพราะเป็นของที่เขาถวายมาด้วยศรัทธา จะให้คนอื่น ของนั้นก็ไม่มีคุณภาพ ให้ไปก็ไม่เกิดประโยชน์แก่ผู้อื่นอีก บางร้านลดต้นทุนสังฆทาน จัดด้านหน้าถังไว้ให้ดูดี แต่ด้านล่างเอากล่องกระดาษรองไว้ หรือเอากระดาษหนังสือพิมพ์รองไว้ๆ เราก็อุตสาห์ไปซื้อมาถวายพระภิกษุ
การถวายสังฆทานเช่นนี้ ผู้ถวายได้บุญก็จริง แต่ไม่ใช่ทานที่ประณีต พระภิกษุผู้รับก็ไม่ได้ใช้ประโยชน์
เครื่องสังฆทานนั้น จะเป็นของสิ่งใดก็ได้ ไม่ต้องมากอย่าง และไม่จำเป็นต้องใส่ถังสีเหลือง เข้าร้านค้า แล้วนึกดูว่าอะไรที่เป็นของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวันในบ้านเรือนเรา ถุงดำใส่ขยะ ยารักษาโรค สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม น้ำยาซักผ้า น้ำยาล้างจาน น้ำยาล้างห้องน้ำ น้ำยาขัดแจกัน เครื่องใช้สำนักงาน เช่น กระดาษ A4 แผ่นดิสก์ หมึกปรินท์เตอร์ กาว แฟ้ม สมุด ปากกา หนังสือฯลฯ เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง ล้วนเป็นสิ่งของที่เกิดประโยชน์ต่อพระภิกษุทั้งในด้านกิจการพระศาสนา และด้านการศึกษา เลือกซื้อด้วยตัวเราเอง หิ้วใส่ถุงที่ซื้อมาจากร้านไปถวายพระสงฆ์ก็ได้
เว้นแต่ในงานที่เป็นพิธีจัดอย่างเป็นทางการ มีแขกคนมากก็ต้องจัดเตรียมเครื่องสังฆทานใส่หีบห่อให้ดูเรียบร้อย
อนึ่ง การถวายสังฆทานนั้น จะกล่าวคำถวายหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะทานที่ถวายสำเร็จเป็นสังฆทานตั้งแต่เจตนาที่จะถวายให้เป็นสังฆทานแล้ว การกล่าวคำถวาย เป็นเพียงรูปแบบทางพิธีกรรมเท่านั้น และคำกล่าวถวายสังฆทาน จะกล่าวตามสำนวน ที่ท่านเรียบเรียงไว้เป็นแบบสามัญ หรือจะมีคำกล่าวอื่นใด ก็เป็นอันใช้ได้ ไม่ใช่ข้อกำหนดที่ตายตัวในปัจุบัน ได้มีผู้รู้ด้านภาษาบาลี เรียบเรียงคำถวายสังฆทานขึ้นมาใช้หลายสำนวน ให้เลือกตามความชอบใจ
อย่างไรก็ตาม การถวายสังฆทานที่ทำเป็นพิธีการ มีขั้นตอนที่ควรทราบไว้ ดังนี้
(๑) เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกราบ ๓ หน (ถ้าในสถานที่ไม่สะดวก ไม่มีโต๊ะหมู่ กระถางธูปเชิงเทียน จะไม่จุดธูปเทียนก็ได้ เพราะอย่างไรใจเราก็น้อมบูชาพระรัตนตรัยอยู่แล้ว)
(๒) พิธีกรอาราธนาศีล หรือเจ้าภาพอาราธนาด้วยตัวเอง ในบางกรณีอาจจะไม่รับศีลก็ได้ แล้วแต่พระภิกษุสงฆ์ แต่โดยมาก ถ้าถวายสังฆทานอย่างเป็นทางการ จะมีการรับศีลก่อนเสมอ
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(พระสงฆ์ว่า นะโม ๓ จบ)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมะสัมพุทธัสสะฯ (ว่าตาม)
(ว่าตาม) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
(พระสงฆ์สรุปอานิสงส์ศีล) อิมานิ ปัญจะ สิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
- กล่าวคำถวายสังฆทาน
คำถวายสังฆทาน
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ แก่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
(๖) ถวายเครื่องสังฆทาน
(๘) กรวดน้ำรับพร
(๙) พระสงฆ์อนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
การทำบุญบ้าน
เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารเช้าหรือเพลตามแต่จะกำหนด การทำบุญบ้านนิยมนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป หากสถานที่ไม่สะดวกจะนิมนต์ ๗ หรือ ๕ ก็ได้ เตรียมจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์
(๑) เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกราบ ๓ หน
(๒) พิธีกรอาราธนาศีล (หรือ เจ้าภาพอาราธนาศีลด้วยตัวเอง)
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(พระสงฆ์ว่า นะโม ๓ จบ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่าตาม)
(ว่าตาม) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
(พระสงฆ์สรุปศีล) อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ สีเลนะ สุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
- จากนั้น พิธีกรอาราธนาพระปริตร
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
ต่อจากนี้ พระสงฆ์ ๙ รูปเจริญพระพุทธมนต์ เจ้าภาพตั้งใจฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ไปจนถึงบท นะโมการะอัฏฐะกะคาถา ซึ่งมีเนื้อความว่า
นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มะเหสิโน
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สะวากขาตัสเสวะ เตนิธะ
ฯลฯ
พิธีกรจุดเทียนชนวนส่งให้ เจ้าภาพรับเทียนชนวนไปจุดเทียนที่ขันน้ำมนต์ ส่งเทียนชนวนคืนให้พิธีกร แล้วยกขันน้ำมนต์ถวายพระสงฆ์ที่เป็นประธานในการเจริญพระพุทธมนต์ จากนั้นกลับไปนั่งที่เดิมฟังเจริญพระพุทธมนต์ไปจนจบ
การจุดเทียนน้ำมนต์ควรจ่อไฟที่ไส้เทียนจนเห็นไฟติดดีแล้วจึงเอาออก และส่งเทียนชนวนคืนให้พิธีกร
(๔) เจ้าภาพถวายข้าวพระพุทธ การบูชาข้าวพระพุทธตามธรรมเนียมโบราณที่มีมาแต่เดิมนั้น ไม่ใช่ถวายให้พระพุทธเจ้าฉัน แต่ถวายในฐานะเป็นเครื่องสักการะบูชาอย่างหนึ่ง เสมือนหนึ่งบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน
คำบูชาข้าวพระพุทธ
อิมัง สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง สะอุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิฯ
คำลาข้าวพระพุทธ
(ใช้หลังจากเสร็จพิธีทำบุญแล้ว)
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
(๕) ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ๙ รูปที่เจริญพระพุทธมนต์
(๖) หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม แด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์เรื่อยไปโดยลำดับจนครบทั้ง ๙ รูป
(๘) กรวดน้ำรับพร
(๙) พระสงฆ์อนุโมทนา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์ เป็นอันเสร็จพิธี
(๑๐) หากทำบุญขึ้นบ้านใหม่ นิยมนิมนต์ให้พระสงฆ์เจิมบ้านด้วย
การทำบุญเนื่องในวันแต่งงาน
เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารเช้าหรือเพลตามแต่จะกำหนดเวลา หากทำบุญตอนเช้า นิยมให้คู่บ่าวสาวตักบาตรร่วมกัน ถ้าทำบุญเช้าไม่มีการตักบาตรนิยมจัดอาหารคาวหวานถวายพระสงฆ์ด้วย หากเลี้ยงตอนเพลไม่นิยมตักบาตร
การทำบุญแต่งงาน นิยมนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ๙ รูป เตรียมจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระเจริญพระพุทธมนต์
(๑) เมื่อได้เวลาคู่บ่าวสาวจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัยด้วยกัน เสร็จแล้วกราบ ๓ หน
(๒) พิธีกรอาราธนาศีล คู่บ่าวสาวรับศีล
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะติ สะระเณนะ
สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถาย
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(พระสงฆ์ว่า นะโม ๓ จบ ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมะสัมพุทธัสสะฯ (ว่าตาม)
(ว่าตาม) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
(พระสงฆ์สรุปศีล) อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ สีเลนะสุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
- หลังจากนั้น พิธีกรอาราธนาพระปริตร
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
(๔) พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์
ต่อจากนั้น พระสงฆ์ ๙ รูปเจริญพระพุทธมนต์ คู่บ่าวสาวตั้งใจฟังพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ไปจนถึงบท นะโมการะอัฏฐะกะคาถา ซึ่งมีเนื้อความว่า
นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มะเหสิโน
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สะวากขาตัสเสวะ เตนิธะ
ฯลฯ
พิธีกรจุดเทียนชนวนส่งให้ คู่บ่าวสาวรับเทียนชนวนไปจุดเทียนที่ขันน้ำมนต์ ส่งเทียนชนวนคืนให้พิธีกร คู่บ่าวสาวยกขันน้ำมนต์ถวายพระสงฆ์ที่เป็นประธานในการเจริญพระพุทธมนต์
การจุดเทียนน้ำมนต์ควรจ่อที่ใส้เทียนจนเห็นไฟติดดีแล้วจึงเอาออก จากนั้นกลับไปนั่งที่เดิมฟังเจริญพระพุทธมนต์
(๕) คู่บ่าวสาวร่วมกันตักบาตร เมื่อเจริญพระพุทธมนต์ไปจนถึงบทถวายพระ (อิติปิ โส ฯลฯ พาหุงฯลฯ) คู่บ่าวสาวไปตักบาตรร่วมกัน บางแห่งนิยมให้คู่บ่าวสาวตักบาตรเมื่อพระสงฆ์เริ่มสดบท บทองคุลิมาลปริตร
(๖) คู่บ่าวสาวถวายข้าวพระพุทธ การบูชาข้าวพระพุทธตามธรรมเนียมโบราณที่มีมาแต่เดิมนั้น ไม่ใช่ถวายให้พระพุทธเจ้าฉัน แต่ถวายในฐานะเป็นเครื่องสักการบูชาอย่างหนึ่ง เสมือนหนึ่งบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน
คำบูชาข้าวพระพุทธ
อิมัง สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง สะอุทะกัง
วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิฯ
คำลาข้าวพระพุทธ
(ใช้หลังจากเสร็จพิธีทำบุญแล้ว)
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
(๗) คู่บ่าวสาวถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ๙ รูปที่เจริญพระพุทธมนต์
(๘) หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว คู่บ่าวสาวร่วมกันถวายจตุปัจจัยไทยธรรม แด่พระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์เรื่อยไปโดยลำดับจนครบทั้ง ๙ รูป
(๙) คู่บ่าวสาวร่วมกันกรวดน้ำรับพร
(๑๐) พระสงฆ์อนุโมทนา และประพรมน้ำพระพุทธมนต์แด่คู่บ่าวสาว เป็นอันเสร็จพิธี
การทำบุญอุทิศ
การทำบุญอุทิศแด่ผู้วายชนม์ เป็นพิธีกรรมหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจ ในที่นี้ จะแนะนำ ๒ วิธี คือ
· การทำบุญอุทิศอย่างเป็นทางการ
เจ้าภาพนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ และฉันภัตตาหารเช้าหรือเพลตามแต่จะกำหนด โดยทั่วนิยมนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จำวน ๑๐ รูป เจ้าภาพเตรียมจตุปัจจัยไทยธรรมถวายพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ และผ้า ๑๐ ผืน สำหรับบังสุกุลอุทิศผู้วายชนม์
(๑) เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกราบ ๓ หน
(๒) พิธีกรอาราธนาศีล
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(พระสงฆ์ว่า นะโม ๓ จบ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมะสัมพุทธัสสะฯ (ว่าตาม)
(ว่าตาม) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
(พระสงฆ์สรุปศีล) อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ สีเลนะสุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
- จากนั้น พิธีกรอาราธนาพระปริตร
คำอาราธนาพระปริตร
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะทุกขะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะภะยะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
วิปัตติปะฏิพาหายะ สัพพะสัมปัตติสิทธิยา
สัพพะโรคะวินาสายะ ปะริตตัง พรูถะ มังคะลังฯ
ต่อจากนี้ พระสงฆ์ ๑๐ รูปสวดพระพุทธมนต์ เจ้าภาพตั้งใจฟังพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์ไปจนจบ
(๔) เจ้าภาพถวายข้าวพระพุทธ การบูชาข้าวพระพุทธตามธรรมเนียมโบราณที่มีมาแต่เดิมนั้น ไม่ใช่ถวายให้พระพุทธเจ้าฉัน แต่ถวายในฐานะเป็นเครื่องสักการะบูชาอย่างหนึ่ง เสมือนหนึ่งบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน
คำบูชาข้าวพระพุทธ
อิมัง สูปะพะยัญชะนะ สัมปันนัง สาลีนัง โภชะนัง สะอุทะกัง วะรัง พุทธัสสะ ปูเชมิฯ
คำลาข้าวพระพุทธพุทธ
(ใช้หลังจากเสร็จพิธีทำบุญแล้ว)
เสสัง มังคะลัง ยาจามิ
(๕) ตั้งข้าวบูชาผู้วายชนม์ ด้านหน้ารูป หรืออัฐิ ไม่ต้องกล่าวคำถวาย
(๖) ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ ๑๐ รูปที่สวดพระพุทธมนต์
(๗) หลังจากพระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว เจ้าภาพจุดธูปเทียนที่เครื่องทองน้อยบูชาผู้วายชนม์(ในกรณีที่มีการตั้งเครื่องทองน้อย)
(๘) ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์เรื่อยไปโดยลำดับ
(๙) ทอดผ้าบังสุกุล จากนั้นตั้งใจฟังพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
คำพิจารณาผ้าบังสุกุล
(สำหรับพระสงฆ์)
อะนิจจา วะตะ สังขารา อุปปาทะวะยะธัมมิโน
อุปปัชชิตะวา นิรุชฌันติ เตสัง วูปะสะโม สุโข ฯ
คำแปล
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง มีการเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา การเข้าไปสงบระงับสังขารเหล่านั้น เป็นสุข
(๑๐) กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
(๑๑) พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี
· การทำบุญอุทิศแบบส่วนตัว
การทำบุญอุทิศแบบส่วนตัว นิยมนิมนต์พระสงฆ์ ๔ รูป หรือ ๑๐ รูป รับสังฆทานและบังสุกุล เจ้าภาพเตรียมสังฆทานทาน และผ้าสำหรับบังสุกุลอุทิศผู้วายชนม์ตามจำนวนพระสงฆ์ที่นิมนต์
(๑) เมื่อได้เวลาเจ้าภาพจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย เสร็จแล้วกราบ ๓ หน รับศีล ๕ (ในบางกรณีอาจไม่มีการรับศีล ขึ้นอยู่กับพระสงฆ์)
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(พระสงฆ์ว่า นะโม ๓ จบ) นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมะสัมพุทธัสสะฯ (ว่าตาม)
(ว่าตาม) พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ปาณาติปาตา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
อะทินนาทานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
มุสาวาทา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี สิกขา ปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
(พระสงฆ์สรุปศีล) อิมานิ ปัญจะสิกขาปะทานิ สีเลนะสุคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
(๒) กล่าวคำถวายสังฆทาน
คำถวายสังฆทาน
อิมานิ มะยัง ภันเต ภัตตานิ สะปะริวารานิ ภิกขุสังฆัสสะ โอโณชะยามะ สาธุ โน ภันเต ภิกขุสังโฆ อิมานิ ภัตตานิ สะปะริวารานิ ปะฏิคคัณหาตุ อัมหากัญเจวะ มาตาปิตุ อาทีนัญจะ ญาตะกานัง ทีฆะรัตตัง หิตายะ สุขายะ
คำแปล
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวาย ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ แด่พระภิกษุสงฆ์ ขอพระภิกษุสงฆ์จงรับ ภัตตาหารกับทั้งบริวารเหล่านี้ ของข้าพเจ้าทั้งหลาย เพื่อประโยชน์และความสุข แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย และญาติของข้าพเจ้าทั้งหลาย มีมารดาบิดาเป็นต้น สิ้นกาลนาน เทอญ ฯ
(๓) ถวายจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์
(๔) ทอดผ้าบังสุกุล และพระสงฆ์พิจารณาผ้าบังสุกุล
(๕) กรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล
(๖) พระสงฆ์อนุโมทนาเป็นอันเสร็จพิธี
การจัดโต๊ะหมู่บูชาที่บ้าน
ชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะไปอยู่ที่ใด สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ คือ การได้มีพระพุทธรูปไว้บูชาประจำที่บ้าน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ทำให้เกิดความอบอุ่นใจได้ว่ามีพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งที่ระลึกและสถิตอยู่ใกล้ตัวเสมอ
การตั้งโต๊ะหมู่บูชาที่บ้านจึงเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่ควรทำความเข้าใจ จะได้เกิดความมั่นใจว่าถูกต้องและสามารถจัดได้ด้วยตนเอง ไม่ใช่ถูกต้องตามคตินิยมเท่านั้น แต่ยังถูกต้องตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาด้วย
การตั้งโต๊ะหมู่บูชา ทำไมต้องตั้งหันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออก ถ้าตั้งหันหน้าไปทางทิศใต้ หรือทิศตะวันตกจะได้ไหม หากบ้านไม่สามารถตั้งโต๊ะหมู่บูชาให้หันหน้าไปทางทิศเหนือ หรือทิศตะวันออกจะทำอย่างไร เช่นนั้นก็ไม่ควรจะมีพระพุทธรูปไว้บูชาใช่ไหม
ควรทำความเข้าใจ เรื่อง “คตินิยม” กับ “ความถูกต้องตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา” ก่อน คตินิยมอาจจะไม่ตรงตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นแต่ชาวบ้านถือตามความนิยมเท่านั้น ในขณะเดียวกัน ความถูกต้องตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา อาจไม่เป็นที่นิยมของชาวบ้านก็ได้
การทำความเข้าใจหลักการพระศาสนา จะได้เกิดความเข้าใจว่า ถ้าไม่สามารถทำตามคตินิยมได้เนื่องจากเหตุปัจจัยหลายอย่าง โดยเฉพาะบ้านของคนสมัยปัจุบัน แตกต่างต่างจากบ้านของคนในอดีต ส่วนมากบ้านคนสมัยปัจจุบันจะเป็นคอนโดมีเนียม ทาวน์เฮาส์ ตึกแถว อาคารพาณิชย์ เราจะยึดอะไรเป็นหลักในการตัดสินว่าควรจะปฏิบัติอย่างไร จะได้ไม่เกิดเป็นความกังวล
การตั้งโต๊ะหมู่บูชาสำหรับคนไทยในปัจจุบัน ยึดความเข้าใจแบบชาวบ้าน เรียกว่า “ยึดตามคตินิยม” เป็นหลัก ไม่ได้ยึดความถูกต้องตามคำสอนทางพระพุทธศาสนา จึงเกิดคำอธิบายต่างๆ ตามมาเป็นเหตุนำความกังวลใจมาสู่ผู้ปฏิบัติ
การหันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิทตะวันออก เพราะถือคติว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก เหมือนการขึ้นมาแห่งดวงอาทิตย์มีความสว่างรุ่งเรือง ขจัดความมืดแก่โลก การหันหน้าพระพุทธรูปทางทิศตะวันออก เพราะถือคติว่าจะทำเกิดความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ขจัดปัญหาข้อขัดข้องให้หมดไป เหมือนพระอาทิตย์ขจัดความมืด
ส่วนการหันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิศเหนือ เพราะถือตามคติที่ว่าพระพุทธเจ้าบรรลุโลกุตตรธรรม ย่อมอยู่เหนือโลก อยู่เหนือกิเลสและกองทุกข์ทั้งมวล การหันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิศเหนือก็เพื่อจะได้อยู่เหนือปัญหาและอุปสรรคทั้งมวลนั่นเอง แต่อย่างไรก็ตาม คติความเชื่อนี้ไม่มีหลักการใดในทางพระพุทธศาสนารองรับ
หลักการพระศาสานาอธิบายว่า พระพุทธเจ้าหันพระพักตร์ไปทางทิศใด ทิศนั้นเป็นมงคล เพราะพระพุทธเจ้าเสด็จไปทุกทิศ เหนือ ใต้ ออก ตก สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปล้วนเพื่อประโยชน์สุขแก่มหาชน
ไม่มีทิศใดที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปแล้ว ก่อให้เกิดทุกข์และปัญหา พระพุทธเจ้าจึงมีพระคุณอยู่บทหนึ่งว่า “สุคโต” แปลว่า เสด็จไปดีแล้ว ทุกทิศที่พระพุทธเจ้าหันพระพักตร์บ่ายหน้าเสด็จไป ล้วนเป็นมงคล ผู้คนทั้งหลายจึงขนานนามพระองค์ “พระสุคตเจ้า พระองค์ผู้เสด็จไปดีแล้ว”
อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าไม่ได้เสด็จอุบัติขึ้น เพื่อขจัดทุกข์แก่ผู้คนทางทิศตะวันออก หรือทางทิศเหนือเท่านั้น แต่เพื่อคนทุกคนทั่วทุกทิศ เพื่อสรรพสัตว์ทุกชนิดทั่วทุกมุมโลก
การจัดโต๊ะหมู่บูชาให้ตรงตามพระคุณของพระพุทธเจ้า ต้องหันหน้าพระพุทธรูปไปทิศไหนก็ได้ เพราะทุกทิศเป็นมงคลสำหรับพระพุทธองค์ ยิ่งทิศไหนที่เชื่อว่าไม่ดี ยิ่งต้องหันหน้าพระพุทธรูปไปทางทิศนั้น จะได้ช่วยขจัดสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากทิศนั้น ทิศที่ดีอยู่แล้วจะหันไปทำไม
ผู้ที่ยึดคติการตั้งโต๊ะหมู่ให้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก และทิศเหนือ เพราะหนักในศรัทธาจริต คือนับถือพระพุทธศาสนาในระดับศรัทธา ยังไม่ยกจิตขึ้นสู่ปัญญาจนเข้าถึงแก่นพระพุทธศาสนา เรียกว่า “ศรัทธาญาณวิปปยุต” มีศรัทธาแต่ไม่มีปัญญา แต่ก็ยังดีกว่าไม่มีอะไรให้ยึด
ส่วนผู้ที่เข้าใจแก่นแท้หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาแล้ว มีพระพุทธรูปไว้ก็เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ย้ำเตือนให้ทำคุณงามความดี หากจัดโต๊ะหมู่ตามคตินิยมได้ก็ทำ หากสถานที่ไม่สะดวก ก็ปรับไปตามความเหมาะสม โดยยึดความถูกต้องตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาและความเหมาะสมของสถานที่เป็นหลัก ไม่ใช่ขัดแย้งกับคตินิยม แต่เป็นการทำอย่างเข้าใจในพระพุทธศาสนาและใช้ปัญญา ซึ่งเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนาในระดับปัญญา เรียกว่า “ศรัทธาญาณสัมปยุต” มีศรัทธาและมีปัญญา
การตั้งโต๊ะหมู่บูชาในบ้านนั้น ผู้อยู่อาศัยควรดูตามความเหมาะสมว่าจะให้อยู่ที่ไหนของบ้าน หากบ้านมีที่เพียงพอจะให้หันโต๊ะไปทางทิศตะวันออกหรือทิศเหนือก็ทำตามคตินิยมได้
แต่ถ้าไม่สามารถหันหน้าไปทิศดังกล่าว ก็ถือพุทธคติเป็นหลัก โดยยึดหลักพุทธคุณที่ว่า สุคโต โลกวิทู แปลว่า พระสุคตเจ้าผู้เสด็จไปดีรู้แจ้งโลก จากบทอิติปิ โส ที่สวดกันได้เกือบทุกคน คือพระพุทธเจ้ามุ่งหน้าไปทางทิศไหนก็เป็นสิ่งที่ดี
“อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ, วิชชาจะระณะสัมปันโน สุคะโต โลกะวิทู, อะนุตตะโร ปุริสะทัมมะ-สาระถิ สัตถา, เทวะมะนุสสานัง พุทโธ ภะคะวาติ ฯ”
นอกจากนั้น การวางพระพุทธรูปบนโต๊ะหมู่ ก็ไม่ได้มีข้อกำหนดว่าองค์ไหนต้องวางสูงต่ำอย่างไร ให้ดูที่ความสวยงามสมดุล เมื่อเห็นแล้วเกิดความชื่นใจ อบอุ่นใจเป็นสำคัญ เพราะพุทธรูปองค์ไหนก็เป็นพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน ต่างแต่ศิลปะและยุคสมัยที่สร้างเท่านั้น
แต่มีข้อที่ควรคำนึง คือ ให้วางพระพุทธรูปไว้สูงสุด พระอริยสาวกที่เป็นพระอรหันต์สมัยพุทธกาลรองลงมา จากนั้นก็เป็นพระเกจิอาจารย์ต่างๆ และต่ำสุดเป็นเทพต่างๆ(หากมี)
อนึ่ง ขนาดโต๊ะหมู่บูชา ควรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของสถานที่และประโยชน์ในการใช้ หากสถานที่กว้างขวางและมีพระพุทธรูปมากองค์ก็ควรตั้งโต๊ะหมู่ชุดใหญ่ หากสถานที่เล็กและประโยชน์ในการใช้น้อย ก็ควรตั้งโต๊ะหมู่ชุดเล็ก ไม่จำเป็นต้องใช้โต๊ะหมู่บูชาหมู่ ๙ หมู่ ๗ หรือหมู่ ๓ เสมอไป จะมีโต๊ะตัวเดียวหรือหิ้งสำหรับวางพระพุทธรูปก็ได้ ทั้งนี้ให้ดูความเหมาะสมของสถานที่เป็นหลัก
การรักษาศีล
การรักษาศีล คือ การตั้งใจที่จะระวังกายไม่ให้ทำร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใดจนเกิดความลำบากเดือดร้อนหรือล้มตาย ตั้งใจที่จะระวังวาจาไม่ให้พูดกระทบกระทั่งผู้ใดหรือสัตว์ จนเกิดความลำบากเดือดร้อน ตั้งใจที่จะระวังใจไม่ให้คิดที่จะอาฆาตพยาบาทมุ่งร้ายผู้ใดหรือสัตว์ใด ไม่ให้มีความต้องการที่จะเห็นผู้ใดหรือสัตว์ใดได้รับความพินาศย่อยยับ การระวังเช่นนี้เป็นการระวังกาย วาจา ใจให้อยู่ในสภาวะปกติชื่อว่า การรักษาศีล
การรักษาศีลทำได้ ๒ วิธี คือ
· การอธิษฐานศีล คือ การตั้งใจด้วยตัวเองว่าจะรักษา
ศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์
· การสมาทานศีล คือ การรับศีลจากพระภิกษุสงฆ์
การรักษาศีลควรเลือกปฏิบัติตามความเหมาะสม อย่าให้เกิด เป็นความยึดติดรูปแบบจนชีวิตดูอึดอัดแปลกแยกจากสังคมที่เราอยู่ ให้สอดคล้องกลมกลืนไปกับการดำเนินชีวิต
บางคนแต่งชุดขาวตลอดปีไม่ว่าจะเป็นสังคมระดับไหน
งานอะไร ตามธรรมเนียมนิยมของสังคม เขาแต่งตัวอย่างไรก็ไม่ใส่ใจ ฉันจะแต่งตัวอย่างนี้ของฉัน เพื่อให้คนอื่นรู้ว่าเราถือศีลกินเจ
อย่างนี้เรียกว่า ทำตนให้แปลกแยกจากสังคม หรือ ทำตัวเองให้ผิดปกติจากสังคมที่อยู่ร่วมด้วย เพื่อสร้างจุดเด่นหรือเรียกร้องความสนใจ แต่ก็ไม่ใช่อย่างนี้ทั้งหมด บางคนก็ตั้งใจรักษาศีลห้า ศีลแปด มีชุดเพียงเสื้อขาว ผ้าถุงดำ หรือกางเกงดำ อยู่ไม่กี่ชุดเพื่อความเป็นอยู่อย่างสมถะ และเรียบง่าย ก็ไม่ดูแปลกแยกอะไร เมื่อตั้งใจจะวิรัติสิ่งใด ก็ตั้งใจทำในสิ่งนั้นให้เต็มกำลัง การปฏิบัติของตัวเองและปฏิสัมพันธ์ที่เป็นธรรมชาติจะทำให้สบายใจในการเข้าสังคมก็ไม่รู้สึกแปลกแยก
แท้จริง ศีลไม่ได้อยู่ที่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย ความปกติทั้งกาย วาจา ใจ ที่ไม่สร้างทุกข์ความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น มีความกลมกลืนไม่แปลกแยกจากธรรมชาติ ชีวิต และสังคม ให้ธรรมชาติ ชีวิต และสังคมอยู่ปกติสุข ต่างหากคือศีล
ศีล ๕
ศีลในระดับพื้นฐานสำหรับชาวบ้านทั่วๆ ไป มี ๕ ประการ คือ
· ไม่เบียดเบียนผู้อื่น (ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต)
· ไม่ฉ้อโกงลักขโมย
· ไม่ประพฤติผิดลูกเมียผู้อื่น
· ไม่โกหกหลอกลวง
· ไม่เกี่ยวข้องกับสิ่งเสพติดของมึนเมาให้โทษทุกชนิด
ศีล ๘
ศีลสำหรับชาวบ้านที่ต้องการปฏิบัติให้ยิ่งขึ้นไปอีก เป็นการทดลองใช้ชีวิตอย่างพระภิกษุ แต่ยังดำเนินชีวิตอย่างชาวบ้านตามปกติเรียกว่าศีล ๘ และศีลอุโบสถ มี ๘ ประการ คือ
· เว้นจากการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต
· เว้นจากการลักทรัพย์
· เว้นจากการประพฤติผิดพรหมจรรย์
· เว้นจากการพูดเท็จ
· เว้นจากการดื่มสุราและเมรัย
·เว้นจากการรับประทานอาหารหลังจากเที่ยงวันไปแล้วจนถึงรุ่งอรุณขึ้นมาใหม่
· เว้นจากการร้องรำขับร้องประโคมดนตรีและดูและละเล่นการลูบไล้ทาด้วยของหอม ประดับประดาเครื่องแต่งกาย
· เว้นจากการนอนบนที่นอนสูงใหญ่
ศีล ๘ และศีลอุโบสถ แม้จะมี ๘ ข้อเหมือนกัน แต่ก็มีวิธีการรักษาที่ต่างกัน
ศีล ๘ นั้น รักษาด้วยการสมาทาน แต่จะสมาทานรักษาวันไหนเวลาไหนก็ได้แล้วแต่ความตั้งใจ เมื่อสมาทานแล้วก็เป็นอันรักษาศีล จนกว่าจะเลิกสมาทานกลับมารักษาศีล ๕ เช่นเดิม
ธรรมเนียมคนไทยมักรักษาศีล ๘ ในช่วงวันที่สำคัญของชีวิต เช่น วันเกิดของตน หรือ วันเกิดของคนในครอบครัว หรือช่วงไหนของชีวิตไม่ค่อยดีก็จะรักษาศีล ๘ เพื่อเสริมบุญกุศลให้มากขึ้น
ส่วนศีลอุโบสถนั้นรักษาตามกาลสมัย มีระยะเวลารักษาวันหนึ่งกับคืนหนึ่งในวันอุโบสถเท่านั้น ถ้าให้เข้าใจอย่างง่ายๆ ศีลอุโบสถมีระยะเวลารักษาเฉพาะในวันอุโบสถเท่านั้น พอตะวันขึ้นวันใหม่ก็เป็นอันหมดเขตศีลอุโบสถ
สำหรับวิธีการรักษาศีลอุโบสถ เมื่อถึงวันพระ แม้จะไม่ไปวัดสมาทานอุโบสถศีลจากพระภิกษุสงฆ์ เพราะเหตุอื่นใดก็ตาม แต่สมาทานได้ด้วยการตั้งใจอธิษฐานว่า
“วันนี้เป็นวันพระ จะรักษาศีลอุโบสถให้บริสุทธิ์บริบูรณ์”
เช่นนี้ก็เป็นวิธีการรักษาศีลอุโบสถ โดยจะอธิษฐานต่อหน้าพระพุทธรูปก็ได้ หากที่บ้านไม่มีพระพุทธรูปจะอธิษฐานจิตก็ได้ คนไทยสมัยโบราณนิยมไปรักษาศีลอุโบสถที่วัด พอถึงวันพระจะงดกิจการงานทุกอย่าง ต่างก็ไปวัดสมาทานศีลอุโบสถแล้วค้างคืนที่วัด ช่วยพระทำความสะอาดปัดกวาดลานวัด โบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ สวดมนต์ไหว้พระ รุ่งเช้าได้อรุณตะวันขึ้นวันใหม่หมดเขตการรักษาศีลก็กลับบ้าน แม้ในปัจจุบัน ตามชนบทก็ยังถือปฏิบัติเช่นนี้อยู่มาก ส่วนในกรุงเทพและเมืองใหญ่ๆ นั้นรูปแบบสังคมเปลี่ยนไป มีความไม่สะดวกหลายอย่าง จึงต้องมีการปรับวิธีการให้เหมาะสมกับสภาพสังคม
ในสมัยปัจจุบัน จะรักษาศีลอุโบสถโดยไม่ต้องไปค้างที่วัดก็ได้ พอถึงวันพระให้งดกิจกรรมทางบ้านบางอย่าง แล้วอธิษฐานศีลอุโบสถด้วยตนเอง ในสมัยพุทธกาลอุบาสกอุบาสิการักษาศีลอุโบสถที่บ้าน อย่างท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เมื่อถึงวันอุโบสถ สมาชิกในบ้านทุกคนก็งดหน้าที่การงานทุกอย่างเพื่อให้มีโอกาสได้รักษาศีลอุโบสถไม่เว้นแม้แต่เด็กและคนใช้ กิจกรรมเกี่ยวกับอาหารการกินทุกอย่างยุติลงหลังเที่ยง ไม่มีเสียงเด็กร้องไห้ขออาหาร ไม่มีเสียงพูดคุยสรวลเสเฮฮา
ตอนหลังการรักษาศีลอุโบสถได้เปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลเวลา ชาวบ้านต้องการเข้าใกล้พระศาสนามากขึ้น พอถึงวันอุโบสถก็ไปค้างคืนรักษาศีลที่วัด จึงกลายเป็นธรรมเนียมสืบต่อมา
กล่าวโดยสรุป การรักษาศีลคือการประคับประคองจิตไม่ให้
คิดร้าย ประคับประคองวาจาไม่ให้พูดร้าย ประคับประคองกายไม่ให้ ทำร้ายใครๆ อันเป็นสาเหตุให้เขาเกิดความทุกข์ทรมาน เกิดความเศร้าโศกเสียใจนั่นเอง
คำอาราธนาศีล ๕
มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ ติสะระเณนะ สะหะ
ปัญจะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถายะ
ติสะระเณนะ สะหะปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง รักขะนัตถาย
ติสะระเณนะ สะหะ ปัญจะ สีลานิ ยาจามะ
(ว่าตามพระสงฆ์)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
กาเมสุมิจฉาจารา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิฯ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
(พระสงฆ์สรุปศีล)
อิมานิ ปัญจะสิกขาปทานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเยฯ
การสมาทานศีล ๘ และศีลอุโบสถ
คำอาราธนาศีล ๘
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ทุติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
ตะติยัมปิ มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐะสีลานิ ยาจามะ
คำอาราธนาศีลอุโบสถ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะฯ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะฯ
มะยัง ภันเต ติสะระเณนะ สะหะ อัฏฐังคะสะมันตาคะตัง อุโปสะถัง ยาจามะฯ
(ว่าตามพระสงฆ์)
นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะฯ (ว่า ๓ จบ)
พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ ฯ
พระสงฆ์ว่า ติสะระณะคะมะณัง นิฏฐิตัง
รับว่า อามะ ภันเต
ปาณาติปาตา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
อะทินนาทานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
อะพรัหมะจะริยา เวระมณี สิกขาปะทังสะมาทิยามิฯ
มุสาวาทา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามฯ
สุราเมระยะมัชชะปะมาทัฎฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิ ฯ
วิกาละโภชะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฎฐานา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
อุจจาสะยะนะมะหาสะยะนา เวระมณี สิกขาปะทัง สะมาทิยามิฯ
(พระสงฆ์สรุปศีล)
อิมัง อัฏฐังคะสะมันนาคะตัง พุทธะปัญญัตตัง อุโปสะถัง อิมัญจะ รัตติง อิมัญจะ ทิวะสัง สัมมะเทวะอะภิรักขิตุง สะมาทิยามิ
อิมานิ อัฏฐะสิกขาปะทานิ อัชชะ เอกัง รัตตินทิวัง อุโปสะถะ สีละวะเสนะ สาธุกัง อัปปะมาเทนะ รักขิตัพพานิ สีเลนะสุคคะติง ยันติ สีเลนะ โภคะสัมปะทา สีเลนะ นิพพุติง ยันติ ตัสมา สีลัง วิโสธะเย ฯ
(๑) ในคัมภีร์ทางศาสนานิยมใช้คำว่า พระภิกษุสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง ๔ หมายถึง ไม่ได้เจาะจงว่า มาจากที่ไหน