อาจาริยบูชา “๙ มีนาคม” วันสลายสรีรสังขาร เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) อดีตประธานผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระมหาเถระผู้เป็นประวัติศาสตร์ความทรงจำพระพุทธศาสนาโลก ด้วยเศียรเกล้า

 ความสำเร็จของการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จนเป็นที่ยอมรับในเวทีนานาชาติ เกิดขึ้นเพราะการทำงานอย่างมุ่งมั่น ของพระสงฆ์ไทย จากอดีตจนถึงปัจจุบัน ผ่านงานการเผยแผ่ที่เรียกว่า พระธรรมทูตสายต่างประเทศ แต่กว่าจะเกิดพระธรรมทูตสายต่างประเทศ ต้องฟันฝ่าอุปสรรคนานาประการ

    เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ เป็นพระเถระผู้ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทอย่างสำคัญ ที่ทำให้เกิดวัดไทย ในต่างประเทศซึ่งเป็นโอกาสให้พระสงฆ์ไทย ได้แสดงความสามารถ จนเป็นที่ยอมับในเวทีนานาชาติ นับเป็นก้าวใหม่ และย่างก้าวที่สำคัญแห่งการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ไทยในเวทีโลก และวันนี้ พระพุทธศาสนาได้เดินทางไปสู่ทั่วทุกมุมโลกแล้ว 

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อดีตเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

“มองอนาคตพระพุทธศาสนาในประเทศไทย”

ผ่านสายตาหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์

(เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ)

ตอนที่ ๓ “ วิสัยทัศน์ผู้นำพระพุทธศาสนา”

จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “เย็นหิมะในรอยธรรม”

การเรียนรู้เป็นเรื่องจำเป็น

ธรรมนิพนธ์ "เย็นหิมะในรอยธรรม" โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พิมพ์ครั้งที่ ๒๒ พ.ศ.๒๕๕๖ โดยสำนักพิมพ์อนันตะ ฉบับธรรมทาน
ธรรมนิพนธ์ “เย็นหิมะในรอยธรรม” โดย สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช พิมพ์ครั้งที่ ๒๒ พ.ศ.๒๕๕๖ โดยสำนักพิมพ์อนันตะ ฉบับธรรมทาน

หากพระเณรไม่มีความรู้ ไม่มีความเข้าใจบ้านเมืองที่ตนอยู่ ไม่มีความเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นใหม่ๆ และไม่เข้าใจความรู้สึกนึกคิดของคนปัจจุบัน การที่พระเณรจะสอนธรรมไม่ได้ผลก็มีมากขึ้น เมื่อสอนธรรมะให้คนเข้าใจไม่ได้ ก็ไม่ต้องพูดถึงว่าจะรักษาพระศาสนาไว้ได้อย่างไร

ที่จริงการที่พระสอนธรรมะให้คนเข้าใจไม่ได้ ไม่ใช่เพราะไม่มีความรํู้แตกฉานในธรรมะ แต่เพราะไม่มีความรู้ในวิทยาการสมัยใหม่ จึงทำให้ขาดความกล้าหาญ ไม่สามารถประยุกต์ธรรมะให้เข้ากับความคิดและชีวิตของคนปัจจุบัน พระสงฆ์ยังคงสอนธรรมะด้วยวิธีการเก่าๆ ยังคงอ่านธรรมะจากใบลานสอนคน

“ในขณะที่ชาวบ้านรับรู้ข่าวสารจากทั่วมุมโลกเพียงชั่วลัดนิ้วมือเดียว “

คนทุกวันนี้สามารถย่อโลกมมาไว้บนฝ่ามือ ด้วยกำลังสมองที่แสนมหัศจรรย์ “เราสามารถรู้ความเป็นไปของกันและกันเพียงเสี้ยววินาที” และสามารถเดินทางถึงกันจากคนละมุมโลกเพียงชั่วข้ามคืน คนจึงเริ่มห่างไกลออกไปจากพระสงฆ์

การเรียนรู้สิ่งสมัยใหม่ๆ จึงจำเป็นสำหรับพระเณรในยุคนี้ ไม่ใช่เพื่อพระเณรจะต้องเป็นสิ่งนั้น จะต้องวิ่งตามเขาหาทุกเรื่อง แต่เพื่อที่จะใช้ความรู้ใหม่ๆ เป็นสะพานเชื่อมธรรมะไปสู่คนในยุคนี้

พระเณรจำเป็นต้องเรียนรู้ความเปลี่ยนแปลงของสังคมในปัจจุบัน มิใช่รู้ความเปลี่ยนแปลงของเบณจขันธ์เพียงอย่างเดียว และจำเป็น ต้องเปิดใจรับวิธีการเรียนรู้วิทยาการสมัยใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น เรียนรู้การประชาสัมพันธ์ผ่านเครื่องมือสื่อสารต่างๆ ซึ่งจำเป็นมากกว่าการเทศนาจากใบลาน

สมัยก่อน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ แทบจะไม่มีใครพูดถึง หากพระองค์ใดพูดถึงการไปต่างประเทศ ก็จะถูกตำหนิอย่างแรง ทั้งฝ่ายพระเองและฆราวาส มักจะมองว่าพระไปเที่ยวอย่างชาวบ้าน ใครจะว่าดีหรือไม่ดีอย่างไรก็ช่างเขา เรานึกถึงพระพุทธเจ้า

“ท่านบอกว่า นินทากับสรรเสริญ สองอย่างนี้มันคู่กันมากับโลก มีมาแต่ไหนแต่ไร เรามุ่งงานพระศาสนา มุ่งประโยชน์เป็นหลักใหญ่”

พุทธศักราช  ๒๕๑๕ เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ไทยคณะแรก เยือนทำเนียบขาว อย่างเป็นทางการ  ตามคำนิมนต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา
พุทธศักราช ๒๕๑๕ เป็นหัวหน้าคณะสงฆ์ไทยคณะแรก เยือนทำเนียบขาว อย่างเป็นทางการ ตามคำนิมนต์ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา

ภายหลังเมื่อเดินทางออกนอกประเทศครั้งแรก หลวงพ่อกลับมาก็คิดอยู่ตลอดว่า “ทำอย่างไรจะสร้างวัดในต่างประเทศให้ได้”

ฝรั่งชอบเอาของเขามาให้คนไทย เพราะอยากให้เราเป็นอย่างเขา คนไทยเราก็ติดกันงอม เราก็เอาพระไปให้ฝรั่งบ้าง ต่อไปข้างหน้า ฝรั่งคงจะติดพระงอมบ้างเหมือนกัน

อยู่ต่างประเทศ หากไปกันเป็นคณะ เวลาเดินไปไหนมาไหนอย่าเดินตามหลังเรียงกันเป็นแถว ให้เดินไปด้วยกันเป็นหมู่เป็นคณะ แต่อย่าถึงขนาดชิงกันเดิน ต่างคนต่างเดินไปตามปกติ ฝรั่งเขาไม่มีวัฒนธรรมเดินตามหลังเป็นแถว เพราะเขาถือว่าทุกคนเท่าเทียมกัน ทุกคนมีสิทธิ์เสมอกัน เขาจึงมักพูดถึง “สิทธิมนุษยชน”

การเดินตามหลังไปเป็นแถวตามลำดับอาวุโส ใช้ได้แต่เฉพาะในเมืองไทยเท่านั้น จะเอาไปใช้ต่างประเทศไม่ได้

จะเดินไปไหนก็ต้องดู เพราะนิสัยคนไทยเรานั้นแปลก ที่ไหนพอจะเหยียบได้เหยียบ ที่พอจะข้ามได้ข้าม ใครพอจะข่มได้ข่ม

หากพระเอานิสัยคนไทยไปใช้ในต่างประเทศ แทนที่จะนำมาซึ่งความเลื่อมใสของคนที่ยังไม่เลื่อมใส ก็กลับจะถูกดูแคลนเอาได้ว่า เราไม่รู้ทำเนียม เมื่อเขาเริ่มดูแคลนก็เท่ากับเขาปิดกั้นตนเองในการรับฟัง

นี่ก็เป็นสิ่งที่ต้องรู้ไว้เช่นกัน ไปพักที่ไหนก็อย่านอน ให้ออกเดินดูบ้านดูเมือง ดูผู้คนว่าเขาอยู่กันอย่างไร ไปดูร้านค้าว่าเขาขายอะไร ลองหัดใช้เงินซื้อของเขาให้เป็น แต่อย่าซื้อมาก ซื้อแต่พอใช้เงินของเขาให้เป็นเท่านั้น เห็นอะไรที่แตกต่างจากบ้านเรา ก็อย่าคุยกันแบบซุบซิบแล้วหัวเราะกัน ต่างบ้านต่างเมืองต่างวัฒนธรรม ย่อมมีความแตกต่างกันไป

“อย่าเอาเมืองไทยและวัฒนธรรมไทยป็นที่ตั้ง”

ส่วนร้านอาหารนั้น สังคมเขาถือกันว่า ถ้าไม่สั่งอะไรเขาทาน ก็อย่าเข้าไปนั่งคุยกัน เป็นการเสียมารยาท หรือแม้แต่เข้าไปทาน หากอิ่มแล้วให้นั่งสักสักพักก็ให้ออกมา อย่าไปนั่งคุยกันเพลิน สั่งอาหารมาทานแล้ว ต้องทานให้หมด ทานไม่หมดฝรั่งเขาตำหนิ คนบ้านเรา สั่งอาหารกินต้องให้เหลือ ถ้าไม่เหลือเฟือกลัวเขาดูถูกว่าไม่มีเงิน เป็นค่านิยมที่ไม่ถูก

มีโยมคนหนึ่ง สั่งอาหารมาทานเหลือไว้ในจาน พนักงานภายในร้านเห็นจึงเดินเข้ามาบอกว่า

“สั่งมาแล้วต้องทานให้หมด”

เวลานั่งรถอย่าอ่านหนังสือ จะเป็นหนังสือพิมพ์ หรือหนังสืออ่านเล่นอย่างอื่นก็ตาม สมเด็จพระสังฆราช (อยู่) เคยสอนว่า เวลานั่งรถอย่าอ่านหนังสือ ถ้าจะอ่านให้กลับมาอ่านที่วัด

“เวลานั่งรถความรู้อยู่ข้างถนน ให้ดูสองข้างทาง”

โปรดติดตามตอนต่อไป “ใช้สติปัญญาปรับตัวให้เข้ากับสังคม”

“มองอนาคตพระพุทธศาสนาในประเทศไทย” ผ่านสายตาหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) ตอนที่ ๓ “ วิสัยทัศน์ผู้นำพระพุทธศาสนา” จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “เย็นหิมะในรอยธรรม”

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here