วันนี้วันพระ วันอาทิตย์ที่ ๘ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๓ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ ขออาราธนา พระพุทธมนต์บท “ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร” พระธรรมเทศนากัณฑ์แรกที่พระพุทธเจ้าโปรดปัญจวัคคีย์ พอพระองค์แสดงธรรมจบลง พระโกณฑัญญะก็ดวงตาเห็นธรรม อันปราศจากธุลี และเปล่งอุทานว่า

“สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น สิ่งเหล่านั้นทั้งหมด ก็มีความดับไปเป็นธรรมดา”

พระพุทธองค์ได้ทรงทราบด้วยพุทธญาณว่า บัดนี้ท่านโกณฑัญญะได้บรรลุพระโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลชั้นต้นแล้วเป็นองค์แรกในพระพุทธรัตนะของพระองค์ จึงทรงเปล่งพระวาจาว่า “โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอๆ” แต่นั้นมาคำว่าอัญญาโกณฑัญญะจึงเป็นชื่งของท่าน

ท่านอัญญาโกณฑัญญะ ครั้งได้บรรลุโสดาปัตติผลแล้ว จึงทูลขออุปสมบทต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า และพระพุทธองค์ได้ประทาน เอหิภิกขุอุปสัมปทา ให้แก่ท่านอัญญาโกณฑัญญะซึ่งเป็นพระอริยสงฆ์องค์แรกในพระพุทธศาสนา และทรงจำพรรษา ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น

จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศฯ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ ฉบับธรรมทาน

และ อานิสงส์การสาธยายพระพุทธมนต์ คือ การเจริญสมาธิภาวนา จากหนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์” เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เรียบเรียงโดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ฉบับธรรมทาน

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร 

พระสูตรว่าด้วยเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้า

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นพระสูตรที่มีความสำคัญในฐานะเป็นพระธรรมเทศนากัณฑ์แรกของพระพุทธเจ้าซึ่งบันทึกไว้ในพระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ เล่มที่ ๑๙ และเล่มที่ ๓๑ โดยคำว่า ธรรมจักร มีความหมายว่า “กงล้อคือพระธรรม”

ในพระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงประกาศหลักการของพระพุทธศาสนาว่าเป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมที่ไม่เชื่อการเนรมิตของพระเจ้า ด้วยการตรัสเหตุแห่งทุกข์ว่า คือ ตัณหา ทั้งปฏิเสธอาตมันหรือวิญญาณ ด้วยการตรัสทุกขสัจว่า คืออุปทานขันธ์ ๕

พระพุทธเจ้าทรงแสดง แนวทางแห่งความพ้นทุกข์ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ และตรัสผลของการปฏิบัติว่าคือความดับตัณหา

ธัมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ซึ่งพระอัณญาโกญธัญญาะ ดวงตาเห็นธรรม ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ธัมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ซึ่งพระอัณญาโกญธัญญาะ ดวงตาเห็นธรรม ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

มีประวัติความเป็นมาดังนี้ ในวันเพ็ญเดือน ๘ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี พระพุทธเจ้าทรงแสดงพระสูตรนี้แก่นักบวชปัญจวัคีย์ ท่านอัญญาโกณฑัญญะสดับ พระธรรมเทศนานี้แล้วบรรลุธรรมเป็นโสดาบัน พรหม ๑๘ โกฏิกับเทวดาจำนวนมากก็บรรลุธรรมด้วยพระสูตรนี้

ดวงตาอันเห็นธรรม ปราศจากธุลีปราศจากมลทิน ก็ได้เกิดขึ้นแก่ท่านพระอัญญาโกณฑัญญะ ท่านนับเป็นพระสงฆ์สาวกองค์แรกในพระพุทธศาสนา วันนี้จึงเป็นวันแห่งพระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นในโลกเป็นครั้งแรก คือมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ครบบริบูรณ์

ธัมมจักกัปปวัตนสูตร มีเนื้อหาแสดงถึงการปฏิเสธส่วนที่สุดสองอย่าง และเสนอแนวทางดำเนินชีวิตโดยสายกลางอันเป็นแนวทางออกจากทุกข์ให้มนุษย์ มีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนและการปฏิบัติเพื่อบรรลุถึงอริยสัจทั้ง ๔ คือ ให้กำหนดรู้ทุกข์ เห็นเหตุแห่งทุกข์ และการดับทุกข์ โดยมีอริยมรรคมีองค์ ๘ เป็นหนทางในการดำเนินจิตเพื่อความดับทุกข์ โดยเริ่มจากข้อแรกคือ สัมมาทิฏฐิ ทำความเห็นให้ถูกตรงทางสายกลางก่อนคือไม่สุดโต่งไปทั้งสองข้างที่ทรมานตนเอง หรือตามใจกิเลสไปอีกทาง แล้วดำเนินจิตตามขั้นตอนการปฏิบัติรู้สภาวะการเปลี่ยนแปลงของจิต แต่ไม่ตามจิตไป เพื่อละทุกข์อันเกิดจากกิเลสตัณหาที่มาบงการจิตได้ จากการฝึกฝนบนหนทางอริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ จนถึงสัมมาสมาธิในข้อสุดท้าย เพื่อความดับทุกข์ อันได้แก่พระนิพพาน ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา และเป็นจุดมุ่งหมายของมนุษย์ผู้แสวงหาความพ้นทุกข์อันประเสริฐที่พึงจะได้รับผลอย่างแน่แท้ จากการบำเพ็ญเพียรอย่างไม่ท้อถอยในการขัดเกลากิเลสบนหนทางแห่งศีล สมาธิ และปัญญานี้ด้วยความเคารพในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์และการเคารพตนเอง เชื่อมั่นตนเองว่าจะสามารถพากเพียรไปจนถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้

ใน ปัจฉิมพากษ์แห่งพุทธานุภาพ การท่องบ่นสาธยายพระพุทธมนต์ คือ การเจริญสมาธิภาวนา จาก หนังสือ “พุทธานุภาพ อานุภาพแห่งพระพุทธองค์” เรียบเรียงโดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ(เทอด ญาณวชิโร) อธิบายว่า การเจริญสมาธิภาวนา คือ การที่จิตผูก หรือเพ่งอยู่กับคำใดคำหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่เปิดโอกาสให้นิวรณ์ (นิวร คือ สิ่งที่ขวางกั้นจิต ไม่ให้ทำความดี มี ๕ ประการคือ (๑) ความพอใจใจกาม (๒) ความพยาบาท (๓) ความหดหู่เศร้าซึม (๔) ความ ฟุ้งซ่านรำคาญ (๕) ความลังเลสงสัย ) คือ ความรัก โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน รำคาญ เบื่อหน่าย เข้ามาแทรกเข้ามาครอบงำจิตได้ ทำให้จิตมีความผ่องใส เป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา มีความฉับไวต่อการรับรู้อารมณ์ และคมต่อการแยกแยะความถูกผิด

การเจริญพระพุทธมนต์ เป็นรูปแบบของการเจริญสมาธิภาวนาอย่างหนึ่ง แต่แทนที่จะใช้วิธีนั่งบริกรรมให้จิตเกาะเกี่ยวอยู่กับคำใดคำหนึ่ง หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพียงอย่างเดียว เพื่อเป็นสื่อให้เข้าถึงความสงบ ก็ใช้วิธีให้จิตเกาะเกี่ยวไปกับอักขระเป็นกระแสไปเช่นนี้ ไม่ปล่อยให้ความรัก โลภ โกรธ หลง กามราคะ อาฆาตพยาบาท ได้โอกาสแทรกเข้ามาครอบงำจิต ทำให้จิตมีความผ่องใสเป็นจิตมีพลังในการต้านทานกิเลสที่จะเข้ามามีอำนาจเหนือสติปัญญา จิตเช่นนี้ เป็นจิตสงบ คือ สงบจากกามราคะ อาฆาตพยาบาท หงุดหงิดฟุ้งซ่าน รำคาญ เบื่อหน่าย จึงชื่อว่า “จิตเป็นสมาธิ”

การท่องบ่นสาธยายพระพุทธพจน์ ในอีกด้านหนึ่ง ก็คือการเจริญสมาธิภาวนา ที่ได้นำเอาพระพุทธพจน์มาเป็นบทบริกรรมภาวนาให้จิตเกาะเกี่ยวไปกับทุกขณะของอักขระที่กำลังสาธยาย ไม่ปล่อยให้นิวรณ์แทรกเข้ามาทำให้จิตเศร้าหมองได้นั่นเอง

พระสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล นอกจากจะมีหน้าที่ในการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อนำตนออกจากทุกข์แล้ว ยังมีภาระหน้าที่ในการทรงจำพระพุทธพจน์ เพื่อสืบต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ควบคู่กันไปอีกด้วย

พระสงฆ์สาวกสมัยพุทธกาล นอกจากจะมีหน้าที่ในการเจริญสมาธิภาวนาเพื่อนำตนออกจากทุกข์แล้ว ยังมีภาระหน้าที่ในการทรงจำพระพุทธพจน์ เพื่อสืบต่อคำสั่งสอนของพระพุทธองค์ควบคู่กันไปอีกด้วย พระสาวกในสมัยพุทธกาลจึงถือเป็นหน้าที่สำคัญยิ่งที่จะต้องท่องบ่นสาธยายพระพุทธพจน์ เพื่อรักษาคำสอนของพระพุทธองค์ ในขณะเดียวกันก็ต้องเร่งความเพียรเพื่อนำตนออกจากทุกข์ในสังสารวัฏ จึงหาวิธีที่จะทรงจำพระพุทธพจน์ให้เป็นกิจกรรมในการดำเนินชีวิตควบคู่ไปกับการเจริญสมาธิภาวนา

การเจริญพระพุทธมนต์ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการรักษาพระพุทธพจน์ ซึ่งกระทำควบคู่ไปกับการเจริญสมาธิภาวนา เป็นกิจกรรมในการดำเนินชีวิตของพระสงฆ์สาวกในสมัยพุทธกาล ที่ถ่ายทอดสืบต่อมาสู่สาวกในยุคปัจจุบัน

อานุภาพที่เกิดจากการเจริญพระพุทธมนต์ เกิดจากจิตที่ประกอบด้วยเมตตา เป็นสมาธิแน่วแน่แล้วทำสัจกิริยา คือการน้อมเอาความจริงมาตั้งสัจจะ มีปรากฏมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล เป็นอานุภาพที่ไม่อาจคัดค้านได้ในโลก ไม่ต่างจากอานุภาพที่เกิดจากธรรมะของพระพุทธองค์ที่มีพลังในการถอนความทุกข์ ความเศร้าโศกเสียใจ ความคับแค้นใจ ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ ได้อย่างยอดเยี่ยม

อานุภาพดังกล่าว จะยังคงมีความศักดิ์สิทธิ์ มีเดชานุภาพ แผ่ไพศาล ไปเป็นประโยชน์เกื้อกูลต่อมวลมนุษย์ ซึ่งยังต้องเผชิญกับความผันผวนของชะตาชีวิตตลอดไป ตราบเท่าที่พุทธศาสนิกชนยังศึกษาท่องบ่นสาธยายทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามหลักการนำพระพุทธพจน์มาเจริญสมาธิภาวนาให้เกิดเป็นพุทธานุภาพอย่างเชื่อมั่น

ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร

พระวินัยปิฎก มหาวรรค, พระสุตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค, พระสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรค

เอวัมเม สุตัง ฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา พาราณะสิยัง วิหะระติ อิสิปะตะเน มิคะทาเยฯ ตัตฺระ โข ภะคะวา ปัญจะวัคคิเย ภิกขู อามันเตสิฯ

เทฺวเม (อ่านว่า ทะเว ม) ภิกขะเว อันตา ปัพพะชิเตนะ นะ เสวิตัพพา โย จายัง กาเมสุ กามะสุขัลลิกานุโยโค หีโน (อ่านว่า ฮีโน) คัมโม โปถุชชะนิโก อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโต โย จายัง อัตตะกิละมะถานุโยโค ทุกโข อะนะริโย อะนัตถะสัญหิโตฯ

เอ เต เต ภิกขะเว อุโภ อันเต อะนุปะคัมมะ มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

กะตะมา จะ สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิฯ

อะยัง โข สา ภิกขะเว มัชฌิมา ปะฏิปะทา ตะถาคะเตนะ อะภิสัมพุทธา จักขุกะระณี ญาณะกะระณี อุปะสะมายะ อะภิญญายะ สัมโพธายะ นิพพานายะ สังวัตตะติฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขัง อะริยะสัจจัง ชาติปิ ทุกขา ชะราปิ ทุกขา มะระณัมปิ ทุกขัง โสกะปะริเทวะทุกขะ โทมะนัสสุปายา สาปิ ทุกขา อัปปิเยหิ สัมปะโยโค ทุกโข ปิเยหิ วิปปะโยโค ทุกโข ยัมปิจฉัง นะ ละภะติ ตัมปิ ทุกขัง สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขาฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ยายัง ตัณหา โปโนพภะวิกา นันทิราคะสะหะคะตา ตัตฺระตัตฺราภินันทินี เสยยะถีทัง กามะตัณหา ภะวะตัณหา วิภะวะตัณหาฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง โย ตัสสาเยวะ ตัณหายะ อะเสสะวิราคะนิโรโธ จาโค ปะฏินิสสัคโค มุตติ อะนาละโยฯ

อิทัง โข ปะนะ ภิกขะเว ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจังฯ

อะยะเมวะ อะริโย อัฏฐังคิโก มัคโค เสยยะถีทัง สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสะติ สัมมาสะมาธิฯ

อิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญเญยยันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขัง อะริยะสัจจัง ปะริญญาตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

อิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะสะมุทะโย อะริยะสัจจัง ปะหี (อ่านว่า ฮี) นันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

อิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกาตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรโธ อะริยะสัจจัง สัจฉิกะตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

อิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาเวตัพพันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ตัง โข ปะนิทัง ทุกขะนิโรธะคามินี ปะฏิปะทา อะริยะสัจจัง ภาวิตันติ เม ภิกขะเว ปุพเพ อะนะนุสสุเตสุ ธัมเมสุ จักขุง อุทะปาทิ ญาณัง อุทะปาทิ ปัญญา อุทะปาทิ วิชชา อุทะปาทิ อาโลโก อุทะปาทิฯ

ยาวะกีวัญจะ เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง นะ สุวิสุทธัง อะโหสิฯ

เนวะ ตาวาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรัหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงฯ

ยะโต จะ โข เม ภิกขะเว อิเมสุ จะตูสุ อะริยะสัจเจสุ เอวันติปะริวัฏฏัง ทฺวาทะสาการัง ยะถาภูตัง ญาณะทัสสะนัง สุวิสุทธัง อะโหสิฯ

อะถาหัง ภิกขะเว สะเทวะเก โลเก สะมาระเก สะพฺรหฺมะเก สัสสะมะณะพฺราหฺมะณิยา ปะชายะ สะเทวะมะนุสสายะ อะนุตตะรัง สัมมาสัมโพธิง อะภิสัมพุทโธ ปัจจัญญาสิงฯ

ญาณัญจะ ปะนะ เม ทัสสะนัง อุทะปาทิ อะกุปปา เม วิมุตติ อะยะมันติมา ชาติ นัตถิทานิ ปุนัพภะโวติฯ

อิทะมะโวจะ ภะคะวา อัตตะมะนา ปัญจะวัคคิยา ภิกขู ภะคะวะโต ภาสิตัง อะภินันทุง อิมัสฺมิญจะ ปะนะ เวยยากะระณัสฺมิง ภัญญะมาเน อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ วิระชัง วีตะมะลัง ธัมมะจักขุง อุทะปาทิ ยังกิญจิ สุมุทะยะธัมมัง สัพพันตัง นิโรธะธัมมันติฯ

ปะวัตติเต จะ ภะคะวะตา ธัมมะจักเก ภุมมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พฺรัหฺมุนา วา เกนะจิวา โลกัสฺมินติฯ

ภุมมานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา

จาตุมมะหาราชิกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ จาตุมมะหาราชิกานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา

ตาวะติงสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตาวะติงสานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา

ยามา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ยามานัง เทวานัง สัททัง สุตฺวา

ตุสิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ตุสิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

นิมมานะระตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ นิมมานะระตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา

ปะระนิมมิตะวะสะวัตตี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะระนิมมิตะวะสะวัตตีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา*

(*เมื่อจะสวดย่อเพียงถึงสวรรค์ ๖ ชั้น ครั้นสวดมาถึงตรงนี้แล้วสวด พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมนุสสาเวสุง แล้วลง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเน มิคาทาเย ฯลฯ เหมือนกันไปจนจบ )

พฺรัหฺมะปาริสัชชา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พฺรัหฺมะปาริสัชชานัง เทวานัง สัททัง สุตวา พฺรัหฺมะปะโรหิตา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ พฺรัหฺมะปะโรหิตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา มะหาพฺรัหฺมา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ มะหาพฺรัหฺมานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

ปะริตตาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อัปปะมาณาภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณาภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อาภัสสะรา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อาภัสสะรานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

ปะริตตะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ ปะริตตะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อัปปะมาณะสุภา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อัปปะมาณะสุภานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

สุภะกิณฺหะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุภะกิณฺหะกานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อะสัญญิสัตวา เทวา สัททะมนุสสาเวสุง อะสัญญิสัตตานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

เวหัปผะลา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ เวหัปผะลานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อะวิหา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะวิหานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อะตัปปา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ อะตัปปานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

สุทัสสา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสานัง เทวานัง สัททัง สุตวา

สุทัสสี เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ สุทัสสีนัง เทวานัง สัททัง สุตวา

อะกะนิฏฐะกา เทวา สัททะมะนุสสาเวสุง ฯ

* เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง อิสิปะตะเนมิคะทาเย อะนุตตะรัง ธัมมะจักกัง ปะวัตติตัง อัปปะฏิวัตติยัง สะมะเณนะ วา พฺราหฺมะเณนะ วา เทเวนะ วา มาเรนะ วา พรัหมุนา วา เกนะจิ วา โลกัสฺมินติฯ

อิติหะ เตนะ ขะเณนะ เตนะ มุหุตเตนะ ยาวะ พฺรัหฺมะโลกา สัทโท อัพภุคคัจฉิ อะยัญจะ ทะสะสะหัสสี โลกะธาตุ สังกัมปิ สัมปะกัมปิ สัมปะเวธิ อัปปะมาโณ จะ โอฬาโร โอภาโส โลเก ปาตุระโหสิ อะติกกัมเมวะ เทวานัง เทวานุภาวังฯ

อะถะโข ภะคะวา อุทานัง อุทาเนสิ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญ อัญญาสิ วะตะ โภ โกณฑัญโญติฯ

อิติหิทัง อายัสฺมะโต โกณฑัญญัสสะ อัญญาโกณฑัญโญ เตฺววะ(อ่านว่า ตเว วะ)นามัง อะโหสีติฯ

* เมื่อจะสวดย่อให้มาต่อตรงนี้ “พรัหมะกายิกา เทวา สัททะมนุสสาเวสัง เอตัมภะคะวะตา พาราณะสิยัง” ฯ

ธัมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ซึ่งพระอัณญาโกญธัญญาะ ดวงตาเห็นธรรม ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ธัมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ซึ่งพระอัณญาโกญธัญญาะ ดวงตาเห็นธรรม ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ธัมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ซึ่งพระอัณญาโกญธัญญาะ ดวงตาเห็นธรรม ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ธัมเมกขสถูป ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี สถานที่ซึ่งพระอัณญาโกญธัญญาะ ดวงตาเห็นธรรม ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

คำแปล

 ข้าพเจ้า (หมายถึง พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐาก และทำหน้าที่ในการทรงจำพระสูตรทั้งปวงด้วย) ได้สดับมาอย่างนี้ว่า

           สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี ในกาลนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนพระภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุดสองอย่างนี้ อันบรรพชิตไม่ควรเสพ  คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกาม ในกามทั้งหลายนี้ใดเป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุให้ตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลสหนา ไม่ใช่หนทางที่จะไปจากข้าศึกคือ กิเลส ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ อีกอย่างหนึ่ง คือการประกอบความเหน็ดเหนื่อยให้ตนนี้ใด ไม่ประกอบด้วยประโยชน์

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อปฏิบัติอันเป็นกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั่นนั้น อันตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ทำให้เกิดญาณหยั่งรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อการเข้าไปสงบระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

        ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้นเป็นไฉน ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้เกิดดวงตาเห็นธรรม ทำให้เกิดญาณหยั่งรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

  ทางมีองค์ ๘ อันเป็นหนทางไปจากข้าศึก คือ กิเลส นี้คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันนี้แล ข้อปฏิบัติซึ่งเป็นกลางนั้น ตถาคตได้ตรัสรู้แล้วด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำให้ดวงตาเห็นธรรม ทำให้เกิดญาณหยั่งรู้ ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความดับ

           ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งนี้แล เป็นทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความเกิดก็เป็นทุกข์ ความแก่ก็เป็นทุกข์ ความเจ็บก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความโศก ความร่ำไรรำพัน ความทุกข์โทมนัส และความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ ความประสบด้วยสิ่งไม่เป็นที่รักทั้งหลายก็เป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักทั้งหลายก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดอยู่แต่ไม่ได้นั่นก็เป็นทุกข์ ว่าโดยย่อแล้ว อุปาทานขันธ์ ๕ คือ ความยึดมั่นในขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเป็นทุกข์

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งนี้แล เป็นเหตุให้ทุกข์เกิดขึ้น อย่างจริงแท้ คือ ความทะยานอยากนี้ ทำให้มีภพอีก เป็นไปกับความกำหนัดด้วยอำนาจความเพลินในอารมณ์นั้นๆ กล่าวคือ ความทะยานอยากในอารมณ์ที่ใคร่ คือทะยานอยากในความมีความเป็น คือความทะยานอยากในความไม่มีไม่เป็น

           ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งนี้แล เป็นความดับทุกข์อย่างแท้จริง คือ ความดับโดยสิ้นกำหนัด โดยไม่เหลือแห่งตัณหานั้นอันใด ความสละตัณหานั้น ความวางตัณหานั้น ความปล่อยตัณหานั้น ความไม่พัวพันแห่งตัณหานั้น

            ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งนี้แล เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์อย่างจริงแท้คือ ทางมีองค์ ๘ อันเป็นหนทางไปจากข้าศึก คือ กิเลสนี้ คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ ความเลี้ยงชีวิตชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งจิตชอบ            

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ (ดวงตาเห็นธรรม) ได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้เป็นทุกขอริยสัจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแก่เราในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้เราได้กำหนดรู้แล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ

ดูก่อนภิกษุท้้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้เป็นสิ่งที่ควรละเสีย

ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้ เราได้ละแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เป็นสิ่งที่ควรทำให้แจ้ง

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้ เราได้ทำให้แจ้งแล้วในธรรมทั้งหลายที่เราไม่ได้เคยฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้ เราทำให้แจ้งได้แล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้ เป็นสิ่งที่ควรให้เจริญ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จักษุได้เกิดขึ้นแล้ว ญาณได้เกิดขึ้นแล้ว ปัญญาได้เกิดขึ้นแล้ว วิชชาได้เกิดขึ้นแล้ว แสงสว่างได้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้เราเจริญแล้ว

         ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปัญญาอันรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้วเป็นอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ ยังไม่หมดจดเพียงใดแล้ว

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้ยืนยันตนว่า เป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นจะยิ่งกว่าในโลกเป็นไปกับด้วยเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์  เทวดา มนุษย์ ไม่ได้เพียงนั้น

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใดแล ปัญญาอันรู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างไร ในอริยสัจ ๔ เหล่านี้ของเรา ซึ่งมีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างนี้ หมดจดดีแล้ว

เมื่อนั้น เราจึงได้ยืนยันตนว่าเป็นผู้ตรัสรู้พร้อมเฉพาะ ซึ่งปัญญาเครื่องตรัสรู้ชอบ ไม่มีความตรัสรู้อื่นยิ่งกว่าในโลก เป็นไปกับด้วยเทวดา มาร พรหม ในหมู่สัตว์ ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดามนุษย์

ก็แล ปัญญาอันรู้เห็นได้เกิดขึ้นแล้วแก่เราว่า ความพ้นพิเศษของเรา ไม่กลับกำเริบได้อีก ชาตินี้เป็นชาติสุดท้ายแล้ว บัดนี้ไม่มีภพอีก

พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์มีใจแช่มชื่น ยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้ายิ่งนัก ก็แล เมื่อไวยากรณ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอยู่ ธรรมจักษุอัน ปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน ได้เกิดขึ้นแล้วแก่พระโกณฑัญญะ ว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีอันเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งทั้งปวงนั้น มีความดับไปเป็นธรรมดา

ก็ครั้นเมื่อธรรมจักษุ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว เหล่าภุมมเทวดา ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ว่านั่นคือจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้วที่ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลกยังให้เป็นไปไม่ได้ ดังนี้

เทพเจ้าเหล่าชั้นจาตุมหาราชได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้นดาวดึงส์ ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้น ยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้นดุสิต ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้น ยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้น ยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้น ยามา ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้น นิมมานรดี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

เทพเจ้าเหล่าชั้น ปรนิมมิตวสวัตตี ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นภุมมเทวดาแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น  

       เทพเจ้าเหล่าที่เกิดในหมู่พรหม ได้ฟังเสียงของเทพเจ้า เหล่าชั้นปรนิมมิตวสวัตตีแล้ว ก็ยังเสียงให้บันลือลั่น ว่านั่นคือจักร คือธรรม ไม่มีจักรอื่นสู้ได้ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เป็นไปแล้ว ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี อันสมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม และใคร ๆ ในโลก ยังให้เป็นไปไม่ได้

             โดยในขณะครู่เดียวนั้น เสียงขึ้นไปถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ ทั้งหมื่นโลกธาตุ ได้หวั่นไหวสะเทือนสะท้านลั่นไป ทั้งแสงสว่าง อันยิ่งไม่มีประมาณได้ปรากฏแล้วในโลก ล่วงเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลายเสียหมด

ลำดับนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงเปล่งอุทานว่า โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะเหตุนั้นคำว่า อัญญาโกณฑัญญะ จึงเป็นชื่อของท่านโกณฑัญญะด้วยประการฉะนีี้แล ฯ

วันนี้วันพระ ศึกษาความเป็นมาพระพุทธมนต์ “ธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร” พระสูตรแรกแห่งการประกาศธรรมสู่การพ้นทุกข์ โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน ในขณะนั้น
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ผู้เขียน และผู้เรียบเรียงหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ” และ หนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์” ในขณะนั้น

จากหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศฯ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๔ ฉบับธรรมทาน และ หนังสือ “พุทธานุภาพ : อานุภาพของพระพุทธองค์” เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์ เรียบเรียงโดย พระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๕๒ ฉบับธรรมทาน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here