เนื่องในวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒ เป็นวันครบรอบ ๓ ปีแห่งการเสด็จสวรรคตของ “พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร” …
พระราชาผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย

ข้าพระพุทธเจ้าน้อมเศียรเกล้า ขอเล่าเรื่องแห่งความงดงาม “พระราชาแห่งแผ่นดิน”

จากการอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ด้านการเขียน (โครงการพระนักเขียน๒๕๖๐) เรื่อง “การเขียนบทความทั่วไป” โดย สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์   วันที่ ๒๓ – ๒๔  เดือน สิงหาคม  ๒๕๖๐ ณ  ศาลาสุวรรณบรรพต (หลวงพ่อโชคดี) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ด้านการเขียน (โครงการพระนักเขียน๒๕๖๐) เรื่อง “การเขียนบทความทั่วไป”   วันที่ ๒๓ – ๒๔  เดือน สิงหาคม  ๒๕๖๐ ณ  ศาลาสุวรรณบรรพต (หลวงพ่อโชคดี) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร
การอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาศักยภาพพระสงฆ์ด้านการเขียน (โครงการพระนักเขียน๒๕๖๐)
เรื่อง “การเขียนบทความทั่วไป” วันที่ ๒๓ – ๒๔ เดือน สิงหาคม ๒๕๖๐
ณ ศาลาสุวรรณบรรพต (หลวงพ่อโชคดี) วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

ก่อกำเนิดคอลัมน์ เขียนธรรมให้ถึงโลก หน้าธรรมวิจัย นสพ. คมชัดลึก มาจนถึงปัจจุบัน

ราชาผู้อ่อนโยน

โดย พระปลัดวีรพล  วีรพโล  วัดเสมาเมือง  นครศรีธรรมราช

หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๐

ราชาผู้อ่อนโยน โดย พระปลัดวีรพล วีรพโล วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช
ราชาผู้อ่อนโยน โดย พระปลัดวีรพล วีรพโล วัดเสมาเมือง นครศรีธรรมราช

หากจะหยิบยกพระนามพระราชาพระองค์ใดสักองค์หนึ่ง   ขึ้นมาเปรียบเทียบเรื่องความอ่อนโยนให้ชาวโลกได้รู้จักเป็นพระองค์ที่สอง  เทียบเท่ากับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชพระองค์นี้แล้ว  ข้าพเจ้ายังไม่สามารถนึกถึงพระองค์ใดได้เลย 

เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือในหลวงของปวงชนชาวไทยพระองค์นี้ ทรงมีความอ่อนโยนในพระจริยวัตรคือ ความประพฤติ  ท่วงท่าการวางพระองค์ ทั้งพระราชดำรัสที่อ่อนโยน ประกอบด้วยพระเมตตา มีกิริยามารยาทที่ดีงาม ในทางพระราชอัธยาศัยก็ทรงให้ความเป็นกันเองเป็นอย่างมากต่อราษฎรทุกคน  ทรงมีความอ่อนโยนในทุกอย่างที่ทรงกระทำ  และกับทุกคนที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไป  

เชื่อว่าหลายท่านคงจะเคยเห็นภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชปฏิสันถารกับหญิงชราคนหนึ่ง  ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถทรงพระราชดำเนินไปเยี่ยมพสกนิกรที่จังหวัดนครพนมเป็นครั้งแรก  ในบ่ายวันที่ ๑๓ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๘  

บรรดาราษฎรก็พากันมารับเสด็จบริเวณข้างทางลาดพระบาท  พระองค์ท่านก็ทรงพระราชดำเนินพร้อมกับทรงปฏิสันถารกับประชาชนเหล่านั้น  จนไปถึงคุณยายท่านหนึ่งซึ่งภายหลังทราบชื่อว่าเป็นคุณยายตุ้ม  จันทนิตย์ อายุ ๑๐๒ ปีเป็นชาวบ้าน บ้านธาตุน้อย ตำบลพระกลางทุ่ง อำเภอธาตุพนม  ซึ่งพอทราบข่าวว่าพระเจ้าแผ่นดินเสด็จพระราชดำเนิน  คุณยายก็ให้ลูกสะใภ้พามาเข้าเฝ้ารับเสด็จด้วย  ในมือของคุณยายนั้นถือดอกบัวสีชมพู ๓ ดอกเพื่อนำมาสักการะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ด้วยอากาศที่ร้อนจัดในวันนั้นทำให้ดอกบัวในมือคุณยายได้เหี่ยวเฉาลง  เมื่อพระองค์เสด็จมาถึงทรงทอดพระเนตรเห็นแล้วก็เข้าไปหา   ทรงน้อมพระวรกายและพระพักตร์เข้าไปเกือบจะชิดใบหน้าของหญิงชราคนนั้นพร้อมใช้พระหัตถ์แตะที่มืออันหยาบกร้านของคุณยายและมีพระอาการเหมือนจะทรงตรัสอย่างหนึ่งอย่างใดกับคุณยาย 

เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพมหานคร  ทางสำนักพระราชวังได้ส่งภาพถ่ายและพระบรมรูปของพระองค์พระราชทานกับคุณยายตุ้มผ่านทางอำเภอธาตุพนม  สร้างความปราบปลื้มยินดีให้กับคุณยายและบรรดาญาติพี่น้องรวมทั้งชาวนครพนมเป็นอย่างมาก 

พระราชกรณียกิจในครั้งนี้เป็นหนึ่งในหลายๆ ครั้งที่พระองค์ทรงแสดงความอ่อนโยนของพระองค์ต่อประชาราษฎร ทำให้พระทรงสถิตอยู่ในดวงใจของพสกนิกรชาวไทยอย่างไม่มีวันเสื่อมคลาย  นับได้ว่าเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงธรรมแห่งราชธรรม  คือ  “มัททวะ” ความอ่อนโยน ได้อย่างดียิ่ง สมเป็นมหาราชผู้บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้กับไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินอย่างแท้จริง 

เมื่อชาวไทยทุกคนได้ทราบอย่างเป็นที่ประจักษ์ถึงความอ่อนโยนที่พระราชาพระองค์นี้มีต่อประชาชนของพระองค์  ครองพระองค์เป็นแบบให้กับปวงชนเป็นเวลา ๗๐ ปี ๔ เดือน ที่ทรงครองราชย์  เราในฐานะเป็นพสกนิกรผู้มีความจงรักภักดีต่อพระองค์ควรนำพระจริยาวัตรและพระราชอัธยาศัยอันดีงามนี้น้อมนำมาปฏิบัติเพื่อเป็นสิริมงคลแด่ตนเอง  ตลอดถึงประเทศชาติให้ร่มเย็นเป็นสุขตราบนานเท่านาน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here