พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งประชาธิปไตย

โดย สมพร เทพสิทธา

ดังนั้น การกล่าวหาพระและจับพระไปขังคุกโดยมิได้ให้คณะสงฆ์ดูแลและไต่สวนจึงไม่ใช่วิถีประชาธิปไตย และไม่เป็นธรรม

ดังนั้น พระเถระทั้ง ๗ รูป ยังคงเป็นพระอยู่ตามพระธรรมวินัย

ทั้งๆ ที่พระพุทธเจ้า ได้มอบให้คณะสงฆ์เป็นผู้บริหารกิจการคณะสงฆ์ โดยถือความเห็นและมติของสงฆ์ส่วนใหญ่ ซึ่งต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย

ดังนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับพระสงฆ์ จะต้องให้คณะสงฆ์ดูแลไต่สวนก่อน และอยู่ในความดูแลคุ้มครองของคณะสงฆ์ มิใช่ฆราวาสไปแจ้งความ แล้วตำรวจก็ไปจับพระเข้าคุกโดยมิได้ไต่สวน เพราะทำให้เสียหายต่อพระผู้บริสุทธิ์ไปแล้ว 

จากเพจ สมพร เทพสิทธา วันอังคารที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒

กัลยาณมิตรท่านหนึ่งเล่าให้ผมฟังเรื่องที่พระเถระ ๗ รูปถูกจับไปขังคุกปีกว่า โดยมิได้ไต่สวน เมื่อได้รับการประกันตัวออกมา ก็ยังถูกตำรวจตามประกบ กล่าวหาว่าแต่งกายเลียนแบบสงฆ์ มิให้นุ่งห่มจีวร ทั้งๆ ที่ท่านมิได้มีความปรารถนาจะลาลิกขา และเพียงแค่ถูกกล่าวหาเท่านั้น แต่เจ้าหน้าที่ในหลายหน่วยงานกลับทำเกินกว่าเหตุ จับท่านไปขัง สร้างความทุกข์ทรมานให้กับท่านเป็นอย่างมาก ทั้งๆ ที่ท่านเพียงแค่ถูกกล่าวหาเท่านั้น  แล้วก็บังคับให้ท่านถอดจีวรอันเป็นร่มกาสาวพัสตร์

พระพุทธเจ้าได้ทรงมอบให้พระสงฆ์เป็นเครื่องคุ้มกันแดดฝน ท่านมีเพียงจีวรเท่านั้น ก็ยังไม่ให้ท่านสวมแล้วก็จับท่านไปอีก

ผมฟังแล้วก็รู้สึกเจ็บปวดมาก หากท่านไม่ผิด ก็เท่ากับว่าทำร้ายท่านไปแล้ว พระผู้บริสุทธิ์ไม่มีใครเป็นปากเสียงให้เลย

ทั้งๆ ที่ พระพุทธเจ้า ได้มอบให้คณะสงฆ์เป็นผู้บริหารกิจการคณะสงฆ์ โดยถือความเห็นและมติของสงฆ์ส่วนใหญ่ ซึ่งต้องเป็นไปตามพระธรรมวินัย

ดังนั้น ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นกับพระสงฆ์ จะต้องให้คณะสงฆ์ดูแลไต่สวนก่อน และอยู่ในความดูแลคุ้มครองของคณะสงฆ์ มิใช่ฆราวาสไปแจ้งความ แล้วตำรวจก็ไปจับพระเข้าคุกโดยมิได้ไต่สวน เพราะทำให้เสียหายต่อพระผู้บริสุทธิ์ไปแล้ว 

นี้คือ “บทบาทของพระพุทธศาสนา ในการแก้ไขภาวะวิกฤติของชาติ”

 พระพุทธศาสนาได้แบ่งอธิปไตยเป็น ๓ อย่าง คือ ๑ อัตตาธิปไตย –ถือตนเป็นใหญ่ ๒. โลกาธิปไตย-ถือโลกเป็นใหญ่ ๓. ธรรมาธิปไตย ถือธรรมเป็นใหญ่ ในอธิปไตย ๓ อย่าง ธรรมาธิปไตยดีที่สุด

จึงอยากให้มีธรรมาธิปไตย กับพระสงฆ์ด้วยเป็นเรื่องสำคัญมาก  เพราะพระสงฆ์คือผู้นำทางปัญญา หากไปทำร้ายพระสงฆ์โดยที่ท่านไม่สามารถพูดอะไรได้ ก็เท่ากับทำร้ายผู้ที่ให้ปัญญากับสังคมไปเสียแล้ว ซึ่งจะทำให้สังคมเสื่อมทรามลงยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ *พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งวิทยาศาสตร์

เป็นศาสนาแห่งเหตุผล เป็นศาสนาแห่งปัญญา ไม่สอนให้คนเชื่ออย่างงมงาย โดยไม่มีเหตุผลและปัญญา

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ นักวิทยาศาสตร์แห่งศตวรรษที่ ๒๐ ผู้ได้รับรางวัลโนเบล ได้กล่าวว่า “วิทยาศาสตร์ที่ปราศจากศาสนา คือความพิการ ศาสนาที่ปราศจากวิทยาศาสตร์ คือ การตาบอด (Science without religion is lame, religion without science is blind) คนที่นับถือศาสนาด้วยความเชื่องมงายโดยปราศจากเหตุผล จึงเป็นเสมือนคนตาบอด อาจถูกชักจูงให้คิดผิด ทำผิด ในการเบียดเบียนตนเอง ผู้อื่น และสังคมได้

ยิ่งกว่านั้น พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาแห่งเหตุผล พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า ทุกสิ่งเกิดจากเหตุปัจจัย เมื่อมีเหตุปัจจัยแล้วจะมีผลตามมา อริยสัจ ซึ่งเป็นความจริงอันประเสริฐที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ เป็นเรื่องของเหตุผล ทุกข์เป็นผลที่มาจากตัณหา ซึ่งเป็นเหตุ มรรค ๘ เป็นเหตุที่จะให้เกิดผลคือ นิโรธ การพ้นจากทุกข์

 อีกคุณลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา คือ กฎแห่งกรรมเป็นหลักคำสอนที่สำคัญของพระพุทธศาสนา ตามคำสอนในพระพุทธศาสนา ชาวพุทธควรมีศรัทธาหรือความเชื่อ ๔ ประการ คือ ตถาคตโพธิสัทธา-เชื่อในการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า, กัมมสัทธา –เชื่อในเรื่องกรรม ,วิปากสัทธา – เชื่อผลของกรรม และ กัมมัสสกตาสัทธา –เชื่อว่าสัตว์มีกรรมเป็นของตน ในความเชื่อ ๔ ประการ เป็นความเชื่อเกี่ยวกับกรรมถึง ๓ อย่าง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ว่า “ความเชื่อในกรรม ข้าพเจ้าเห็นว่าเป็นของประเสริฐยิ่ง ควรเพาะให้มีขึ้นในใจของคนทุกคน และถ้าคนทั้งโลกเชื่อมั่นใน ‘กรรม’ แล้ว ข้าพเจ้าเชื่อว่า มนุษย์ในโลกจะได้รับความสุขใจขึ้นมาก”

อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธศาสนา มีเป้าหมายสูงสุดผิดกับศาสนาอื่น ศาสนาส่วนมาก จะสอนให้ศาสนิกชนประพฤติดี เมื่อตายไปแล้วจะได้ไปอยู่บนสวรรค์ หรือไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ส่วนพระพุทธศาสนามีเป้าหมายสูงสุด คือ ความพ้นทุกข์ได้แก่นิพพาน นอกจากการละเว้นความชั่ว การประพฤติดี ซึ่งเป็นธรรมะขั้นศีลธรรมแล้ว พระพุทธเจ้ายังสอนให้ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ให้พ้นจากกิเลสตัณหาทั้งหลาย จะได้พ้นจากสังสารวัฏ –การเวียนว่ายตายเกิด ซึ่งเป็นโลกุตตรธรรม คือ ธรรมที่เหนือโลก นิพพาน คือการดับทุกข์สิ้นเชิง และคำว่า อรหันต์ ซึ่งหมายถึงผู้หมดสิ้นแล้วซึ่งกิเลสอาสวะทั้งปวง จึงมีแต่เฉพาะในพระพุทธศาสนา

อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธศาสนายังเป็นศาสนาแห่งความเมตตา นอกจากมีความเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกันแล้ว พุทธศาสนิกชนจะต้องมีความเมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นเพื่อนร่วมทุกข์ ร่วมสุข ร่วมเกิด แก่ เจ็บ ตาย ศีลข้อแรกของพระพุทธศาสนาได้แก่ การงดเว้นจากการฆ่าสัตว์และเบียดเบียนสัตว์

พระพุทธศาสนา ยังเป็นศาสนาแห่งอิสรภาพและเสรีภาพ ไม่สนับสนุนการนำมนุษย์มาเป็นทาส พระพุทธเจ้าสอนให้พุทธศาสนิกชนทำตนให้มีอิสรภาพ และเสรีภาพจากกิเลส คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง ผู้ใดที่ยังตกเป็นทาสของความโลภ ความโกรธ ความหลง เรียกว่า ยังไม่มีอิสรภาพและเสรีภาพที่แท้จริง

คุณลักษณะพิเศษของพระพุทธศาสนา อีกข้อหนึ่งก็คือ พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความเสมอภาค ถือว่าทุกคนมีศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน พระพุทธศาสนาจึงไม่เห็นด้วยกับการแบ่งชั้นวรรณะในศาสนาพราหมณ์ พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนว่า คนเราจะดีหรือชั่ว อยู่ที่ความประพฤติและการกระทำ คนเราไม่เป็นคนดีเพราะมีชาติตระกูลที่ดี หรือมีชั้นวรรณะที่สูง พระพุทธเจ้าจึงสอนไม่ให้ดูถูกเหยียดหยามกันในเรื่องตระกูล และเชื้อชาติ วรรณะ

*จากหนังสือ “บทบาทของพระพุทธศาสนา ในการแก้ไขภาวะวิกฤติของชาติ” โดย สมพร เทพสิทธา อดีตประธานคณะทำงานการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม /สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และประธานสภายุวพุทธกสมาคมแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์

จากเพจ สมพร เทพสิทธา วันอังคารที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here