แม้โลกกลับตาลปัตร ใจเราก็ไม่กลับตาลปัตรไปด้วย เพราะมีสติประคองใจ จึงทำให้เห็นธรรมะในทุกสถานการณ์ เมื่อใจอยู่กับปัจจุบัน …

โชคดีที่มีพระสุปฏิปันโน พระดี พระแท้ให้เราได้เรียนรู้ตามรอยพระพุทธเจ้าตรงตามพระธรรมวินัย พระพุทธศาสนาจึงอยู่รอดปลอดภัยมาจนถึงทุกวันนี้เพื่อช่วยคนทุกข์ในทุกแห่งหน

ท่านอาจารย์เจ้าคุณเทอด

ที่ผู้เขียนเคารพบูชาอย่างสูงสุดกล่าวว่า

อยู่ที่ไหนอย่าหายใจทิ้ง

นอกจากฝึกตนจนกว่าจะเห็นความจริงในกายใจตนแล้วว่ามันไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ในระหว่างการฝึกตนก็ช่วยผู้อื่นต่อไปด้วย แบ่งปันความเมตตากรุณาให้กับผู้คนและสรรพชีวิตต่อไปจนกว่าลมหายใจสุดท้ายมาเยือน

“เพราะการบวช ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนา เพราะช่วงเวลาของการบวชเรียน จะต้องใช้ชีวิตอย่างสมถะ สงบเสงี่ยมเรียบง่าย ไม่กล่าวร้าย ไม่ว่าร้าย ไม่ทำร้ายใครๆ อย่างที่เรียกว่า บรรพชิต คือ เป็นผู้ที่ละเว้นในสิ่งที่ไม่ควร ไม่เหมาะสม การดำเนินชีวิตเช่นนี้ ชื่อว่า เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป เพื่อประโยชน์แก่คนในรุ่นหลัง เปรียบเสมือนการนำชีวิตของเราเข้าไปเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา…”

และพ่อแม่ก็ได้ชื่อว่า ได้สืบต่ออายุพระพุทธศาสนาด้วย เพราะชีวิตที่ลูกไปบวช ก็เป็นชีวิตที่เกิดจากพ่อแม่ เลือดเนื้อที่เจริญเติบโตอยู่ในร่างกาย เป็นตัวตนของลูก ก็เป็นเลือดเนื้อจากอกของพ่อแม่นั่นเอง

“พระบรมศาสดาพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสกับพระเจ้าปเสนทิโกศลว่า ผู้ใดสำนึกในบุญคุณพ่อแม่แล้ว มีความปรารถนาจะตอบแทนคุณท่านอันมากล้น ต้องได้บวชในพระพุทธศาสนาจึงได้ชื่อว่า ตอบแทนบุญคุณท่านอย่างแท้จริง”

? จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “หลักการทำบุญและการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน” โดยพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๕๙ ฉบับธรรมทาน สำนักพิมพ์อนันตะ

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน" เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ฉบับธรรมทาน พิมพ์ครั้ง ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย สำนักพิมพ์อนันตะ
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ฉบับธรรมทาน พิมพ์ครั้ง ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ โดย สำนักพิมพ์อนันตะ

วันนี้วันพระ วันจันทร์ที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๙ น้อมรำลึกถึงพระรัตนตรัย ศึกษาธรรมจากธรรมนิพนธ์เรื่อง “หลักการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน” เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ตอน “เพราะการบวช ในทางพระพุทธศาสนาถือว่า เป็นการช่วยสืบอายุพระพุทธศาสนา “

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here