จากคำอธิบายอัตลักษณ์พระวิทยากรกระบวนธรรม นอกจากที่เราเรียนรู้พระพุทธศาสนาเพื่อการขัดเกลากิเลสในตนเองแล้ว ก็ต้องช่วยผู้อื่นให้มีความรู้ในการดับทุกข์ในใจด้วยตนเองต่อไป เป็นการพึ่งตนพึ่งธรรมอย่างแท้จริง  สำหรับในด้านการเผยแผ่จะต้องทำอย่างไรจึงจะทำความเข้าใจอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาให้เด่นชัดขึ้นสำหรับพระวิทยากรที่จะทำหน้าที่เผยแผ่ธรรมต่อไป กิจกรรมจุดเทียนอุดมการณ์จึงเกิดขึ้นโดย

๑. มีหลักการ (ability)

๒. ประสานศรัทธา (confidence)

และ ๓. บ่มเพาะปัญญาตื่นรู้ (awareness)

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ  วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

เปิดห้องเรียนธรรมะ บ่มเพาะปัญญาให้ตื่นรู้

สานอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาให้มีลมหายใจ

โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร.

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ  วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

“กิจกรรมจุดเทียนอุดมการณ์”  

เป็นอีกหนึ่งกิจกรรมหลักของคัมภีร์พระวิทยากร : หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม ถอดบทเรียนโดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี, ป.ธ.๙,ดร. ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร มีแนวคิดที่เน้นการเสียสละ ตามหลักประโยชน์ หรืออัตถะ ๓ อย่างคือ อัตตัตถะ ประโยชน์ตน, ปรัตถะ ประโยชน์ผู้อื่น และ อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย โดยประโยชน์เหล่านี้มีการขยายให้เห็นชัดขึ้นตามคำที่เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ว่า “เราได้ สำนักไม่ได้ พระศาสนาไม่ได้ ไม่เอา ไม่ทำ เราไม่ได้สำนักได้ พระศาสนาได้  เอา ทำได้ เราได้ สำนักได้ พระศาสนาได้ เอา ทำได้”

คัมภีร์พระวิทยากร : หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม
คัมภีร์พระวิทยากร : หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม

           สอดคล้องกับที่พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงเที่ยวจาริกไปเพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์สัตว์โลก

จากแนวคิดนี้นำไปสู่การทำงานของพระวิทยากรในการจัดเตรียมกิจกรรมจุดเทียนอุดมการณ์ ซึ่งต้องเตรียมอุปกรณ์มากพอสมควร ทั้งเตรียมสัญลักษณ์ที่สื่อถึงงานพระพุทธศาสนา เทียน  กระดาษสี และสถานที่ บางแห่งอยู่นอกอาคารก็ต้องเสี่ยงกับสภาพอากาศที่เลือกไม่ได้ (ที่เมืองโบราณในโครงการพระวิทยากรกระบวนธรรมรุ่น ๒ ทำกิจกรรมนี้ที่ลานกว้าง  ส่วนที่จังหวัดน่าน เราจัดที่ลานธรรม วัดดอนมูล ในโครงการพระวิทยากรกระบวนธรรมภาคเหนือ จ.น่าน รุ่น ๑) และจากกิจกรรมนี้ทำให้เราได้ลักษณะของพระวิทยากร คือ

๑. มีหลักการ (ability)

ทุกอย่างที่ทำต้องมีแนวคิดหรือหลักการที่ก่อเกิดเป็นอุดมการณ์สำคัญ นั่นคือ “ความเสียสละ” อย่างในขั้นตอนการเตรียมกิจกรรมจุดเทียนอุดมการณ์ เราได้ประชุมเตรียมสัญลักษณ์อันจะสื่อให้เห็นอุดมการณ์ในการเผยแผ่ โดยครั้งนี้จังหวัดน่าน เราทำเป็นรูปใบโพธิ์ ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ มองด้านบนเป็นรูปหัวใจ

เพราะพระวิทยากรต้องทำงานด้วยใจเสียสละ และยังมีภาระหลักคือมุ่งเน้นเยียวยาจิตใจให้กับคนที่อยู่ในห้วงแห่งความทุกข์ที่กำลังแสวงหาที่พึ่งทางใจอยู่

 อีกส่วนหนึ่งเวลาพระวิทยากรจะไปสอนหรืออบรมต้องเน้นกระบวนการ “ได้หัวใจ ให้หัวคิด” คือ ก่อนจะสอนใครได้ เราต้องได้ใจเขาก่อน จึงจะเริ่มสอนหรือให้ความคิดแก่เขาได้

อีกจุดเด่นหนึ่งของใบโพธิ์ คือสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ และสัญลักษณ์นี้จะไม่มาถึงเรา หากพระพุทธองค์ตรัสรู้แล้วทรงนิ่งเฉยเสีย แต่เพราะพระพุทธองค์ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณ คือพระคุณอันปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ อันเป็นพระคุณที่ยิ่งใหญ่จึงยอมเสียสละออกโปรดแสดงธรรมตลอด ๔๕ พรรษา

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ   วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

อีกส่วนหนึ่งของใบโพธิ์นั้นคือ ก้านใบที่ไม่ต่างจากหนทางที่นำไปสู่ทางตรัสรู้ โดยมีพระพุทธองค์เป็นผู้ชี้ เป็นผู้แนะทาง (มคฺคเทสโก) ไว้ เพียงแต่จะมีคนเดินตามหรือไม่ ทั้งเพื่อการเดินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงชี้แนะไปสู่การดับทุกข์ และการเดินตามทางที่พระพุทธองค์ทรงท่องเที่ยวไปโปรดสรรพสัตว์ให้ดำรงอยู่ในความเห็นที่ถูกต้องและชอบธรรมโดยไม่เห็นแก่ความทุกข์ยากของพระองค์เอง

ระหว่างการดำเนินกิจกรรมเราได้เชิญให้พระเถระผู้เปี่ยมด้วยอุดมการณ์มามอบแนวคิดในการเผยแผ่ และให้อีกท่านช่วยบอกเล่าสัญลักษณ์เพื่อให้เกิดความเข้าใจแนวคิดนั้นร่วมกัน และให้ผู้เข้าอบรมได้มีประสบการณ์ร่วมกันในความหมายเชิงสัญลักษณ์แห่ง “ความเสียสละ”

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ   วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

๒. ประสานศรัทธา (confidence)

ความเชื่อมั่นมาจากการลงมือปฏิบัติให้เป็นแบบอย่าง ในมูสิกาสูตร อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาตว่า “บุคคลเหมือนหนูที่ไม่ขุดรูแล้วไม่อยู่ คือ ไม่เล่าเรียนธรรม จึงไม่ทราบความเป็นจริงว่าอะไรคือทุกข์และการดับทุกข์ บุคคลเหมือนหนูที่ขุดรูแล้วอยู่ คือ เล่าเรียนธรรม จึงทราบชัดว่าอะไรคือทุกข์และความดับทุกข์” ฉะนั้น การแนะนำให้เกิดความเชื่อมั่นใจในบุคคลผู้เป็นพระวิทยากรได้จึงต้องแนะและสอนให้ดู

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นขณะเตรียมกิจกรรมจุดเทียนอุดมการณ์ ช่วยทำให้เห็นชัดขึ้นผ่านคำถามและคำตอบเหล่านี้ คือ

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ   วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

คำถาม “ทำไมท่านไม่เลือกสัญลักษณ์ที่ง่ายกว่านี้”

คำตอบ เพราะผมทำมาแล้วพบว่า อะไรก็ตาม ถ้าไม่ยากและซับซ้อนคนจะจำไม่นานก็ลืม ยิ่งเราละเอียดมาก ผู้เข้ากิจกรรมก็จะได้ความลึกซึ้งหรือมีอะไรให้จดจำในความรู้สึกได้ไม่มากก็น้อย”

คำถาม เราเลือกจัดกิจกรรมนี้กลางแจ้ง และขณะที่เตรียมอุปกรณ์อยู่ฝนตกลงมา ทำไมท่านจึงไม่หลบฝนหรือหาสถานที่ใหม่จัดละ ทำไมต้องทำต่อ”

คำตอบ เพราะผมเชื่อว่าฝนตกไม่นานก็หยุด และก็หยุดจริงๆ ฝนที่ตกลงมาช่วยชำระพื้นที่ดูไม่สะอาด และยังช่วยทำให้ทรายที่เราจัดเตรียมไว้แน่นขึ้นด้วย” 

ผลสัมฤทธิ์ของการไม่หนี ไม่ทิ้งของผู้จัดเตรียมสถานที่ทำให้ผู้เข้าอบรมที่เห็นท่านทำงานเปียกฝนอยู่ ยกร่มขนาดใหญ่มากางและช่วยกันทำ พระวิทยากรที่เตรียมการณ์ทำให้ผู้เข้าอบรมเชื่อมั่นในสิ่งที่ท่านทำได้ และยอมที่จะเข้ามาช่วยทำอย่างไม่กลัวสายฝนที่โปรยปรายลงมา

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ   วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

๓. บ่มเพาะปัญญาตื่นรู้ (awareness)

พระวิทยากรต้องเรียนรู้ว่า ทุกอย่างที่ทำนั้นต้องสร้างความตระหนักรู้ หรือเข้าใจว่าสิ่งที่ทำนั้นเรามองเห็นตัวเราเองมากน้อยแค่ไหน เพราะสิ่งที่สำคัญของการตื่นรู้คือการย้อนกลับมาถามตนเองด้วยว่า “เราได้รู้อะไร” หรือ “เรารู้สึกอย่างไร”

“เราได้รู้อะไร” ในช่วงที่ฝนตกลงมาในระหว่างการเตรียมกิจกรรมนั้น ได้สอนให้เราได้รู้ว่าวิทยากรอย่ามัวสนใจปัญหาที่เกิดขึ้นหรือวิตกกังวลกับตัวเองให้มากนัก แต่ให้มุ่งสนใจงานหรือประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นเป็นหลัก 

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ   วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

“เรารู้สึกอย่างไร” ความรู้สึกนั้นเกิดจากการร่วมกันทำกิจกรรมและรู้สึกถึงการเชื่อมโยงความเป็นหนึ่งเดียว เพราะแสงไฟดวงเดียวแม้ให้แสงสว่างได้ก็ไม่มาก ให้ความอบอุ่นได้ก็น้อยเกินไป จะทำอาหารก็ยังไม่เพียงพอ ในแง่ของความดี มีน้อยไปก็ยากจะยั่งยืน มีพอดีก็ยังใช้ไม่ได้ ต้องมีให้มากสังคมนี้จึงจะอยู่ได้และยั่งยืน

ฉะนั้น การรวมกันได้จึงมาจากรู้สึกภายในที่เข้าใจตนว่ารักสุขเกลียดทุกข์อย่างไร ก็จะเข้าใจคนอื่นก็ไม่ต่างจากเราเช่นกัน  เมื่อเข้าใจความรู้สึกจึงเรียนรู้ที่จะมุ่งหมายประโยชน์ของสังคมมากกว่าของประโยชน์ตนเอง

ขอขอบคุณภาพจาก  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ   วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณภาพจาก สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ
วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

“เปิดห้องเรียนธรรมะ บ่มเพาะปัญญาให้ตื่นรู้ สานอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาให้มีลมหายใจ” โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร.

จากคอลัมน์ ท่องเที่ยวโลกกะธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๓๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๖๒)

“เปิดห้องเรียนธรรมะ บ่มเพาะปัญญาให้ตื่นรู้ สานอุดมการณ์ทางพระพุทธศาสนาให้มีลมหายใจ”
โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร.

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here