ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖

“สุวรรณภูมิ แผ่นดินแห่งพุทธศิลป์ (Suvarnabhumi : The land of Buddhist art)”

(ตอนที่ ๖)

จาก ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ตามประวัติคร่าวๆ   เราคงพอนึกภาพตามได้ว่า  ศิลปะนั้นมีความสำคัญกับศาสนาเพียงใด  เมื่อย้อนกลับเข้ามาดูพระพุทธศาสนาในสยามประเทศ  พระพุทธศาสนาได้เข้ามาในดินแดนแถบนี้  เดิมที่เรียกว่า “สุวรรณภูมิ” ซึ่งรวมดินแดนไทย  พม่า  ญวน กัมพูชา  ลาว  และมาเลเซีย  ในรัชสมัยที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงส่งพระสมณทูต  คือ พระโสณะ และพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางจากชมพูทวีป มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาจนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ได้เกิดศิลปะในรูปแบบต่างๆ ตามมา เริ่มจากศิลปะแบบทวาราวดี สร้าางสถูปทรงฟองน้ำ ที่มีลักษณะคล้ายสถูปสาญจีในอินเดีย ศิลปะสมัยศรีวิชัยทางตอนใต้ ศิลปะสมัยลพบุรี ศิลปะเชียงแสนในดินแดนล้านนา ศิลปะสุโขทัย ศิลปะอยุธยา เรื่อยมาจนถึงศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

สมเด็จเกี่ยว : ศิลปินโดย ปัญญา เพ็ชรชู : สีชอล์คบนกระดาษ : ๔๙ X ๖๑ ซม. แนวคิด : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จเกี่ยว : ศิลปินโดย ปัญญา เพ็ชรชู : สีชอล์คบนกระดาษ : ๔๙ X ๖๑ ซม. แนวคิด : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ศิลปะในแต่ละยุคก็มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันไป ตามความเชื่อทางศาสนา เหตุการณ์ทางบ้านเมือง รวมถึงอิทธิพลจากศาสนาอื่นๆ จากการเข้ามาของกลุ่มชนต่างชาติพันธุ์ และนำพาเอารูปแบบศิลปะ พิธีกรรม และวัฒนธรรมเข้ามาด้วย

พระมหากษัตริย์ไทยในแต่ละยุคสมัย ทรงมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงมี และทรงมีส่วนสำคัญในการทำนุบำรุงพระศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสืบมาเช่นกัน การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเป็นไปควบคู่กับการแผ่ขยาย และการปกป้องพระราชอาณาจักร วัดวาอารามจึงถูกสร้างขึ้นมากมาย ทั้งบูรณะและปฏิสังขรณ์ รวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎก โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ตรากฎหมายคณะสงฆ์ ตั้งโรงเรียนหลวง เพื่อเป็นแหล่งให้การศึกษาเล่าเรียน ในครั้งอดีต อีกทั้งเป็นการเผยแผ่พระศาสนา เพื่อให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของผู้คนในอาณาจักรไปพร้อมๆ กัน

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายวัดสระเกศ สยามพุทธศิลป์ โดย คุณอิทธิพล
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายวัดสระเกศ สยามพุทธศิลป์ โดย คุณอิทธิพล

หลักธรรมคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา จึงเข้ามามีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตประชาชน เป็นที่พึ่งทางจิตใจสร้างสมดุลให้กับผู้คน ก่อเกิดพิธีกรรมต่างๆ กำหนดแบบแผน การมองโลกให้ผู้คนระลึกถึงหลักธรรมทางศาสนา ความดีงาม และปฏิบัติตนให้สอดคล้องไปกับหลักธรรมคำสั่งสอน เพื่อให้สังคมสงบสุขเรียบร้อย รวมไปถึงวัดยังเป็นแหล่งให้การศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้วิทยาการต่างๆ ตั้งแต่โบราณกาล

"บัว ๒" (สีน้ำมันบนผ้าใบ)  โดยศิลปิน สมวงศ์ ทัพพรัตน์ : แนวความคิด ดอกบัว ตามหลักในพระพุทธศาสนาอุปมาดั่งคน ๔ จำพวก  ซึ่งทำให้มนุษย์แต่ละคนล้วนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน
“บัว ๒” (สีน้ำมันบนผ้าใบ) โดยศิลปิน สมวงศ์ ทัพพรัตน์ : แนวความคิด ดอกบัว ตามหลักในพระพุทธศาสนาอุปมาดั่งคน ๔ จำพวก ซึ่งทำให้มนุษย์แต่ละคนล้วนมีวิถีชีวิตที่แตกต่างกัน

คนไทยในอดีตมักส่งลูกหลานให้บวชเรียน ฝึกหัดอ่านเขียน เป็นที่ปฏิบัติธรรม รวมไปถึงการพบปะจัดงานบันเทิงรื่นเริงมหรสพต่างๆ

"ห่มผ้าแดง" โดยศิลปิน มงคล ชัยวงศ์ (สีอะคริลิคบนผ้าใบ : ๓๐ x ๔๐ ซม. แนวคิด : พิธีห่มผ้าแดง)
“ห่มผ้าแดง” โดยศิลปิน มงคล ชัยวงศ์ (สีอะคริลิคบนผ้าใบ : ๓๐ x ๔๐ ซม. แนวคิด : พิธีห่มผ้าแดง)

นอกจากพระพุทธศาสนาจะเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ วัดยังเป็นศูนย์กลางของศิลปวัฒนธรรมที่รวบรวมและแสดงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ เอกลักษณ์ท้องถิ่นที่จำเพาะเจาะจง เราสามารถสัมผัสได้จากรูปแบบศิลปกรรมตามที่พูดถึงช่วงต้น

“พระพุทธบาท”

ในศาสนสถานเหล่านั้น ยังปรากฏภาพจิตกรรมฝาผนังที่แสดงเรื่องราวเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา รวมไปถึงภาพแสดงวิถีชีวิต เหตุการณ์เรื่องราวที่แสดงยุคสมัยในขณะนั้น

"สมเด็จพระพุฒาจารย์" โดย ศิลปิน สมวงศ์ทัพ พรัตน์ (ดินสอบนกระดาษ : ๓๐ x ๔๐ ซม.) แนวความคิด : สมเด็จพระพุฒาจารย์
“สมเด็จพระพุฒาจารย์” โดย ศิลปิน สมวงศ์ทัพ พรัตน์ (ดินสอบนกระดาษ : ๓๐ x ๔๐ ซม.) แนวความคิด : สมเด็จพระพุฒาจารย์

อีกทั้งภาพวาดจิตกรรมฝาผนังยังสามารถสะท้อนอินธิพลความเชื่อของชนชาติ วัฒนธรรมอื่นๆ ที่เข้ามาในช่วงเวลาของการเกิดขึ้นของภาพนั้นๆ รวมไปถึงความรู้สึกนึกคิดของช่างศิลป์ ศิลปินเองก็มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานศิลปะไทยในจิตกรรมฝาผนังอีกด้วย

"ความเมตตา" โดย ศิลปิน มานิตย์ นิเวศน์ศิลป์  (สีอะคริลิคบนผ้าใบ : ๘๐ x ๑๐๐ ซม.
“ความเมตตา” โดย ศิลปิน มานิตย์ นิเวศน์ศิลป์ (สีอะคริลิคบนผ้าใบ : ๘๐ x ๑๐๐ ซม.

ดังเช่น ภาพ “ความเมตตา” โดยศิลปิน มานิตย์ นิเวศน์ศิลป์

*ภาพนี้ ท่านเขียนภาพหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) นั่งอยู่ในป่าท่ามกลางสัตว์น้อยใหญ่ที่ต่างมีความสุขที่ได้อยู่แวดล้อมท่าน ด้านหลังไกลๆ เป็นภาพพระมหาเจดีย์สุวรรณบรรพต หรือ ภูเขาทอง วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า โดยมีแนวคิดของศิลปินเป็นบทกลอนดังนี้ (ขยายความโดย admin : manasikul.com)

ความเมตตา

อันความเมตตาปรานี เป็นสิ่งดีมีมงคลต่อผู้ให้ ผู้ได้รับก็อบอุ่นทั้งกายใจ สิ่งที่ได้ปลาบปลื้มลืมไม่ลง
เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ท่านประทานความสุขสมประสงค์ แม้สิงห์สา ลา ม้า ช้างยังมั่นคง สงบลงถวายจิตมิตรไมตรี
ท่านเป็นพระผู้เยี่ยมเปี่ยมเมตตา ใครได้มากราบไหว้ได้สุขี ให้ยึดมั่นคุณธรรมและความดี ชีวิตนี้จะสุขสันต์นิรันดร์กาลฯ
และอีกภาพหนึ่ง…”บูชาพระมหาเจดีย์”
"บูชาพระมหาเจดีย์" โดย ศิลปิน มานิตย์  นิเวศน์ศิลป์  (สีอะคริลิคบนผ้าใบ : ๓๐ x ๔๐ ซม.)
“บูชาพระมหาเจดีย์” โดย ศิลปิน มานิตย์ นิเวศน์ศิลป์ (สีอะคริลิคบนผ้าใบ : ๓๐ x ๔๐ ซม.)

บูชาพระมหาเจดีย์

เห็นบัวขาวพราวอยู่ในบึงใหญ่ ดอกไสวใบพ้นบนอากาศ ขึ้นบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ด้วยหัวใจมุ่งมาดปรารถแรงบุญ เห็นสูงสุดเสียดฟ้ามหาเจดีย์ จิตใจนี้มีศรัทธาพาเกื้อหนุน ขออธิษฐานด้วยใจได้แรงบุญ ขอค้ำจุนคุณความดีที่ใจเอย
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์" เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ สำนักพิมพ์อนันตะ
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์” เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ สำนักพิมพ์อนันตะ

“สุวรรณภูมิ แผ่นดินแห่งพุทธศิลป์ (Suvarnabhumi : The land of Buddhist art)” ตอนที่ ๖ : จากธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here