ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖

“ศรัทธา กำเนิดพุทธศิลป์

(Faithful : The birth of buddhist art)”

(ตอนที่ ๕)

: ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์

เขียนโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ภาพถ่ายภูเขาทอง โดย ช่างภาพสุกัลยา : ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ภาพถ่ายภูเขาทอง โดย ช่างภาพสุกัลยา : ขอขอบคุณ ภาพถ่ายจาก จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖

ศรัทธา กำเนิดพุทธศิลป์ (Faithful : The birth of buddhist art)

ศิลปะ นับว่าเป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ตั้งแต่โบราณกาล ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช จักรพรรดิราชวงศ์โมริยะทรงปกครองแคว้นมคธในอินเดีย พระองค์เป็นผู้หนึ่งที่ได้ชื่อว่า เป็นองค์อุปถัมภ์พระพุทธศาสนาให้มีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุด โดยได้ส่งสมณทูตออกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนา ในดินแดนต่างๆ

พระองค์ทรงสร้างเสาหินทรายเพื่อเป็นพุทธบูชา เป็นสัญลักษณ์ถวายองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อีกทั้งยังเป็นการระบุสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาด้วย ต่อมา จึงมีชื่อเรียกว่า “เสาอโศก” หรือ “เสาหินพระเจ้าอโศกมหาราช” (Pillars of Ashoka) มีลักษณะเป็นหัวสิงห์แกะสลัก ประดิษฐานอยู่ เป็นสัญลักษณ์ถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖
รุ่งอรุณ โดยศิลปิน ประหยัด พงษ์ดำ
รุ่งอรุณ โดยศิลปิน ประหยัด พงษ์ดำ

ในช่วงต้นของการเกิดพระพุทธศาสนา ยังไม่ปรากฏรูปเคารพ ต่อมา พระเจ้ามิลินท์ กษัตริย์เชื้อสายกรีก ได้เข้ามาครอบครองดินแดนแคว้นคันธาราฐ ปัจจุบันเป็นดินแดนอัฟกานิสถาน และได้มีเรื่องราวการปุจฉาวิสัชนากับพระนาคเสน มีบันทึกไว้ในหนังสือเรื่อง “มิลินทปัญหา”

“ในการสนทนาธรรมครั้งนั้น ทำให้พระเจ้ามิลินท์ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา และได้ก่อสร้างสถาปัตยกรรมและประติมากรรมทางพระพุทธศาสนามากมายในแคว้นคันธาราฐ”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระพุทธรูปยุคแรกจึงเกิดขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ เรียกว่า “พระพุทธรุปแบบคันธาราฐ” มีลักษณะใบหน้าคล้ายฝรั่ง จีวรเป็นริ้วเหมือนประติมากรรมเทวรูปกรีก

ดวงตะวันภาวนา โดยศิลปิน ประเทือง เอมเจริญ
ดวงตะวันภาวนา โดยศิลปิน ประเทือง เอมเจริญ

แม้ว่า เหตุผลของการเข้ามาจะเป็นการยึดครองอาณานิคม ถึงกระนั้นก็ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมของแต่ละดินแดน เกิดการผสมผสานปรับเปลี่ยนพัฒนาจนกลายเป็นรูปแบบศิลปกรรมที่หลากหลายตามมาด้วย

สภาวะสุนทรีย์ โดย ศิลปินธงชัย รักปทุม
สภาวะสุนทรีย์ โดย ศิลปินธงชัย รักปทุม

เส้นทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนายังไปตามเส้นทางการค้าเก่าแก่ ที่รู้จักกันในชื่อ “เส้นทางสายไหม” จากดินแดนเปอร์เซียโบราณเข้าสู่แผ่นดินจีน เส้นทางสายไหม เป็นเส้นทางการเดินทางค้าขายของขบวนคาราวานพ่อค้าต่างถิ่น รวมทั้งพระสมณทูตพระพุทธศาสนา ที่เข้าสู่แผ่นดินจีน ข้ามภูเขาทะเลทราย ผ่านเมืองกลางทะเลทรายตามเส้นทางการค้าเก่าแก่ จึงยังปรากฏหลงเหลือศาสนสถานที่สำคัญมากมาย ที่ไม่ได้มีเฉพาะพระพุทธศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังมีศาสนสถานพราหมณ์ ฮินดู และอิสลาม

เงาพุทธะ โดยศิลปิน ช่วง มูลพินิจ
เงาพุทธะ โดยศิลปิน ช่วง มูลพินิจ

ร่องรอย และลวดลายจิตรกรรม ประติมากรรม บนเส้นทางสายไหม ถูกบันทึกไว้ตามวัด ผนังถ้ำผาต่างๆ มากมายกลางทะเลทราย ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงความรุ่งเรือง พลังแห่งศรัทธาในพระศาสนา คติความเชื่อ เรื่องเล่าานิทานปรำปรา ลวดลายที่ได้รับอิทธิพลมาจากการเดินทางของชนชาติที่หลากหลาย เกิดการแลกเปลี่ยนสินค้า แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ต่างถ่ายเทแลกเปลี่ยนผสมผสาน ปรากฏผ่านศิลปะ และยังคงหลงเหลือเป็นมรดกโลก ที่ประมาณค่าไม่ได้ในปัจจุบัน

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ความอบอุ่น โดยศิลปิน เฉลิมศักดิ์ รามโกมุท  (แนวคิด : ความอบอุ่นที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระบรมบรรพต)
ความอบอุ่น โดยศิลปิน เฉลิมศักดิ์ รามโกมุท (แนวคิด : ความอบอุ่นที่ได้อยู่ใกล้ชิดพระบรมบรรพต)
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) สำนักพิมพ์อนันตะ พิมพ์ครั้งแรก มีนาคม ๒๕๕๖

คำนำผู้เขียน

“ศิลปะ” เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แม้ว่าข้อเท็จจริง ศิลปะจะมีหน้าที่รับใช้สุนทรียะทางจิตใจของปัจเจกชน ซึ่งก็คือศิลปินต้องการสร้างความงาม จึงได้สร้างศิลปะในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมา แต่คุณค่าที่ตามมา คือ ประชาชนที่เสพศิลปะได้เข้าถึงคุณค่าทางศาสนา และดำเนินชีวิตตามหลักแห่งความดีที่ศิลปินเสนอผ่านศิลปะ

คลื่นศรัทธา สีน้ำมันบนผ้าใบ โดยศิลปิน เฉลิมศักดิ์ รามโกมุท
คลื่นศรัทธา สีน้ำมันบนผ้าใบ โดยศิลปิน เฉลิมศักดิ์ รามโกมุท

“ศิลปะ” จึงได้ชื่อว่า “เป็นมงคลสูงสุด” อย่างหนึ่ง

ในโอกาสครบรอบ ๕ ปี สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ และโอกาสอันสำคัญยิ่งที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีอายุวัฒนมงคลครบ ๘๕ ปี สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ จึงได้จัดงานแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม ตลอดระยะเวลา ๕ ปี ที่ผ่านมา

ในงานดังกล่าว ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินมีชื่อเสียงของเมืองไทย ได้ร่วมส่งผลงานภาพเขียน เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ ในชื่อ “สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์” (ระหว่างวันที่ ๑๔ มีนาคม-๒๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ที่ศาลาสุวรรณบรรพต วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร)

โดยมาก เราคุ้นเคยกับการแสดงศิลปะตามหอศิลป์ หรือนิทรรศการภาพเขียนตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมจิตรกรรมฝาผนังในวัดก็คือ นิทรรศการถาวรนั่นเอง แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป สังคมก็หมุนตามโลก การนำเสนอจิตรกรรมฝาผนังก็อนุวัตรตามวิธีการของโลก จึงมีการนำศิลปะออกจากวัดไปอยู่ตามหอศิลป์ ทำให้จิตรกรรมในวัดดูซบเซาลงไป

ภาพวาด พระราชกิจจาภรณ์ โดย ศิลปิน พีระพงษ์ ขุนจิตต์
ภาพวาด พระราชกิจจาภรณ์ โดย ศิลปิน พีระพงษ์ ขุนจิตต์

การจัดนิทรรศการภาพเขียนในวัด ตามวิธีการแสดงศิลปะยุคปัจจุบัน เป็นการนำศิลปะกลับคืนสู่วัด กลับคืนสุ่จุดกำเนิด ก็เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาศิลปะที่เกิดขึ้นในวัด ซึ่งก็เป็นที่มาของการจัดนิทรรศการ เป็นการย้อนกลับไปสู่อดีต ด้วยการใช้วิธีปัจจุบัน

พระราชกิจจาภรณ์

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here