ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ลมหายใจชายแดนใต้ บนเส้นทางแห่งศรัทธา"  เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ พิมพ์ครั้งแรก มกราาคม พ.ศ.๒๕๖๑
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลมหายใจชายแดนใต้ บนเส้นทางแห่งศรัทธา” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ พิมพ์ครั้งแรก มกราาคม พ.ศ.๒๕๖๑

ลมหายใจชายแดนใต้ บนเส้นทางแห่งศรัทธา (ตอนที่ ๔)

จิตอาสา งานที่ขับเคลื่อนด้วยรัก

เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม / สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
"จิตอาสา งานที่ขับเคลื่อนด้วยรัก"เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จากคอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐)
“จิตอาสา งานที่ขับเคลื่อนด้วยรัก”เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จากคอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐)

จิตอาสา งานที่ขับเคลื่อนด้วยรัก

อีกวันหนึ่งของการทำกิจกรรมลงชุมชน  พระทำหน้าที่เป็นผู้นำจิตวิญญาณเป็นตัวเชื่อมใจให้สงบเย็น เพียงแค่คนแก่คนเจ็บป่วยได้เห็นพระก็เย็นใจอุ่นใจแล้ว เข้าทำนองคนโบราณว่า การได้เห็นพระเป็นบุญตา การได้สนทนาเป็นบุญปาก การได้อุปถัมภ์อุปัฏฐากเป็นบุญใจ การที่พระไปเป็นเนื้อนาบุญให้โยมที่ไม่สามารถไปวัดได้พูดคุยสนทนาธรรม ให้พร ก็เป็นความสุขใจของผู้รับอย่างบอกไม่ถูกแล้ว หลายคนน้ำตาไหลออกมาด้วยความตื้นตันใจ

การที่เด็กๆ เยาวชนจิตอาสาลงพื้นที่ด้วยเป็นการทำหน้าที่เชื่อมความสุข กำลังใจ สร้างเสียงหัวเราะ และรอยยิ้มให้ผู้ที่เราได้ไปเยี่ยม ดังเช่น นางสาวชลธิชา เพ็งเพ่งพิศ  โรงเรียนทุ่งหว้าวรวิทย์ เยาวชนจิตอาสาจังหวัดสตูล เล่าความประทับใจในการลงชุมชนว่า ไปเจอตายายคู่หนึ่ง ชื่อยายเฟือนกับตาแคล้ว ปานเพ็ชร อายุ ๙๓ ปีเท่ากัน แต่งงานกันมา ๗๐ ปี

“ หนูเห็นสายตาของคุณตาเวลาที่มองไปที่คุณยายราวกับว่ายังสวยเหมือนวัยแตกเนื้อสาวอยู่เลย ยังคงมีความรักมอบให้เหมือนตอนแรกเจอ จนถึงเวลานี้แม้จะไม่ได้บอกรักกัน แต่สายตาคู่นั้นก็พูดแทนความรู้สึกทุกอย่างที่ตาจะมีให้ยายได้ ซึ่งหนูคิดว่า ในปัจจุบัน มันยากที่จะได้เห็นการใช้ชีวิตคู่แบบคู่ชีวิตจริงๆ ลูกคนแรกของคุณตายายอายุ ๗๐ ปี คุณตาอาจจะสุขภาพไม่ค่อยดี แต่ยายยังแข็งแรงดี ท่านทั้งสองก็ดูแลกันดีมาก ลูกหลานก็เอาใจใส่ เป็นความรู้สึกที่ใครๆ ก็อยากมี ไม่ต้องรวยมาก ไม่ต้องสมบูรณ์แบบทุกอย่าง แต่เข้าใจกันตลอดมันเป็นสิ่งที่มีความสุขที่สุดแล้วค่ะ”

เช่นเดียวกับ เด็กชายอดิรักษ์ อนันต์ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ เยาวชนจิตอาสาจังหวัดปัตตานี ที่ได้ลงชุมชนชุดเดียวกันกับ เล่าถึงความประทับว่า รู้สึกดีที่ได้ไปเยี่ยมผู้สูงอายุ ทำให้ผมรู้ว่าคนเราก็ต้องมีแก่ ต้องเจ็บ ผมประทับใจตาแคล้วกับยายเฟือง เขาครองรักกัน ๗๐ ปี ตาแคล้วมีโรคประจำตัว แต่ยายเฟือนมีสุขภาพแข็งแรง เพราะชอบกินผักลวกกับน้ำพริก ผมป้อนนมถั่วเหลืองให้ตาแคล้ว ผมอิจฉาตากับยายมาก เพราะทั้งสองรักกันจนแก่เฒ่า 

ในขณะเดียวกัน นางสาวจารุวรรณ เพ็ชรพัฒน์ โรงเรียนแจ้งวิทยา เยาวชนจิตอาสาจังหวัดสงขลา เล่าถึงความประทับใจว่า รู้สึกมีความสุข และรู้สึกสงสาร มีความสุขนั้น เกิดเพราะเราได้เห็นรอยยิ้มจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ที่มีความสุขเพราะมีกลุ่มอาสาอย่างพวกเราได้ไปเยี่ยม ไม่ใช่แค่จากผู้สูงอายุ ผู้ป่วย ซึ่งนั่นก็คือญาติของผู้สูงอายุ ผู้ป่วย

“ส่วนความรู้สึกสงสาร เกิดขึ้นจากมีผู้สูงอายุบางคนป่วยค่อนข้างหนัก… บางบ้านโดนถอดทิ้งให้อยู่แค่สองตายาย และมีหลานไว้ให้เลี้ยงซึ่งมันอาจจะไม่ใช่หน้าที่ของคนชราแล้ว  เวลาของตายายในตอนนี้คือ อยู่เฉยๆให้ลูกหลานเลี้ยงดู”

อีกหนึ่งความรู้สึกจาก เด็กหญิงปนัดดา ไชยวิจิตร โรงเรียนวัดสิตาวาส เยาวชนจิตอาสาจังหวัดยะลา กล่าวถึงความประทับใจว่า มีความสุขมากเลยค่ะ ได้ไปเยี่ยมผู้สูงอายุ คนที่เราไปบริจาคของมา พวกเขามีความสุขมากที่ได้รับของ รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรม ได้เจอเพื่อนที่เราไม่รู้จักมาก่อน

“การที่เราไปเยี่ยมผู้สูงอายุได้เรียนรู้ในเรื่องของการสลัดความตระหนี่ออกจากใจ การที่เราได้เห็นคนที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้นั้น คือบทเรียนทีทำให้เรารู้ว่า ทำอะไรก็ตามควรมีสติและการที่เราเกิดมามีครบทุกอย่างนั้นควรทำสิ่งดีๆให้มากๆ ถ้าเห็นคนอื่นต้องการความช่วยเหลือ เราต้องช่วยเหลืออย่างเต็มใจ และไม่ต้องการสิ่งตอบแทน”

         ในช่วงเย็นหลังจากลงชุมชน ทุกคนมาถอดบทเรียนร่วมกัน ปลูกอุดมการณ์การทำงานจิตอาสาร่วมกัน  เป็นบทสรุปของการทำงานจิตอาสาที่ผ่านมา และจะได้ร่วมกันทำในอนาคต

ประการแรกของการทำงานจิตอาสา คือ กระบวนการลดความเห็นแก่ตัว ทุกคนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ไม่มีการสอนในโรงเรียน

ไปเห็นคนที่ลำบากจริงๆ แล้วทุกคนอยากช่วย ในขณะลงชุมชนผู้เขียนเห็นเยาวชนจิตอาสาจากจังหวัดสงขลาล้วงกระเป๋าหยิบเงิน จำนวน ๔๐ บาท ใส่มือของลุงคนหนึ่งที่เป็นชาวมานิ หรือชาไก ไม่ใช่เพราะเด็กรวยมีเงินทองมากมาย  แต่เพราะเห็นคนที่ลำบากว่า เลยอยากช่วยเหลือ สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเอง ทุกย่างออกมาจากใจจากที่อยากช่วยจริงๆ

ประการที่สอง มนุษย์มีใจที่อยากช่วยอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่มีความลำบากอยู่ตรงหน้า หากฝึกเปิดใจให้กว้าง การเป็นจิตอาสาจะช่วยให้เรากล้าหาญที่จะช่วยเหลือผู้คนได้ไวขึ้น โดยไม่ต้องคิดหาเหตุผลที่จะปฏิเสธ  

ประการที่สาม เป็นการเยียวยาจิตใจ ในการลงชุมชนช่วยเหลือผู้อื่น บางครั้งก็เป็นการเติมเต็มให้กับใจเราเอง ในความหลากหลายของชุมชนคนที่เราไปเยี่ยม มีอะไรให้เรียนรู้มากมาย พระสงฆ์ไปในฐานะของผู้เยียวยาใจ แต่บางครั้งสิ่งที่เกิดขึ้นจากการทำงาน กำลังใจเล็กๆจากผู้ที่เราไปให้ธรรมะ รอยยิ้มอันอบอุ่นของคนที่เราไปเยี่ยมแปรเปลี่ยนเป็นความสุขใจส่งต่อกลับมาเยียวยาใจพระสงฆ์เอง เยียวยาใจเยาวชนที่ไปลงชุมชนด้วย ทำให้เกิดความอิ่มเอมตลอดเวลา

พระสงฆ์หลายรูปถึงกับเอ่ยปากพูดออกมาว่า งานที่ทำเป็นงานที่หล่อเลี้ยงความเป็นพระ

 ทำไมท่านพูดอย่างนั้น เพราะว่า งานที่ท่านทำ ทำแล้วมีความสุข รู้สึกมีคุณค่า เป็นการได้ตอบแทนคุณข้าวน้ำของญาติโยม

ในการสร้างอุดมการณ์จิตวิญญาณของความเป็นจิตอาสา ท่านพระครูโฆสิตสุตาภรณ์ ประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้  สะท้อนให้ฟังว่า

การทำงานของพระธรรมทูตอาสา เมื่อเห็นความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์เกิดขึ้น โดยที่ไม่ได้บอกเลย ทุกรูปช่วยกันให้ความช่วยเหลือ

เช่น ในคราวที่ไฟไหม้บ้านของเยาวชน ๓ พี่น้องที่จังหวัดสตูล เพียงแค่ได้ยินข่าว ทุกรูปก็ช่วยกันบริจาคคนละเล็กคนละน้อย  เป็นความงดงามของการมีน้ำใจ เห็นความทุกข์ของเพื่อนมนุษย์แล้วไม่ให้เลยผ่าน ทุกอย่างเกิดขึ้นจากจิตวิญญาณที่อยากจะช่วยให้เขาได้พ้นทุกข์

ในส่วนตัวของท่านก็ใช้คติในการทำงานตลอดว่า เมื่อเสียสละให้อยู่หน้า เมื่อผลประโยชน์ตามมาให้อยู่หลัง

  บทสรุปของงานจิตอาสาเป็นอุดมการณ์ คือ งานบริการ คือ งานของพระโพธิ์สัตว์ ขอให้มีความสุขกับการรับใช้เพื่อนมนุษย์

เพราะมนุษย์มีความดีงาม มีศักยภาพในการทำงาน มีใจที่อยากช่วยอยู่แล้ว พัฒนาตนเองได้ ช่วยพัฒนาคนอื่นได้ นับว่าเป็นเรื่องราวดีๆที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน
พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน

ลมหายใจชายแดนใต้ บนเส้นทางแห่งศรัทธา (ตอนที่ ๔) “จิตอาสา งานที่ขับเคลื่อนด้วยรัก” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม / สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ลมหายใจชายแดนใต้ บนเส้นทางแห่งศรัทธา" เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ พิมพ์ครั้งแรก มกราาคม พ.ศ.๒๕๖๑
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลมหายใจชายแดนใต้ บนเส้นทางแห่งศรัทธา” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ พิมพ์ครั้งแรก มกราาคม พ.ศ.๒๕๖๑
หน้าพระไตรสรณคมน์ วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ นสพ.คมชัดลึก
หน้าพระไตรสรณคมน์ วันพฤหัสบดีที่ ๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๐ นสพ.คมชัดลึก

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here