หลังจากที่พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย พระธรรมทูต กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ฯ เดินทางถึง วัดพุทธเมตตามหาบารมี​ ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังไม่ทันได้พักหายเหนื่อย ท่านและพระสงฆ์ที่มาด้วยกันก็ต้องเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจสำคัญแรก ณ วัดปากน้ำอเมริกา​  รัฐโอไฮโอ ด้วยความยินดีอย่างยิ่งของท่านเจ้าอาวาส

งานนี้ไม่ใช่ใครๆ ก็ทำได้ ยกเว้นพระที่มีความสามารถทางช่างอยู่บ้าง

มาเรียนรู้การเจริญสติกับการสร้างฐานพระพุทธรูปประธาน

เมื่อโต๊ะ และเก้าอี้แสดงธรรม อะไรจะเกิดขึ้น…

ธรรมลิขิต

โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย

พระพุทธศาสนากำลังต้องการกำลังสติปัญญาจากพระหนุ่มเณรน้อยพอดี”

จาริกธรรมในอเมริกา​ ตอนที่​ ๓​

วันที่​ ๒๓​ มิถุนายน​ ๒๕๖๒​ เดินทางมาถึงอเมริกาสนามบินนิวออรีน​ มีอุบาสกมานะขับรถไปรับส่งที่วัดพุทธเมตตามหาบารมี​ รัฐมิสซิสซิปปี มาถึงเวลา​ ๓​  ทุ่ม​ ได้กราบพระสมุห์พิสิษฐ์​  จิตตปัญโญ​​  เจ้าอาวาสวัดพุทธเมตตามหาบารมี​

พรุ่งนี้จะเดินทางไปช่วยงานเจ้าอาวาสวัดปากน้ำอเมริกา​  รัฐโอไฮโอ จัดงานฉลองสมโภชยกช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ศาลาการเปรียญ​  เราไปช่วยกัน… พักผ่อนนอนพักเอาแรงก่อนเวลา๘:๐๐ น.​ ออกเดินทางหลังจากฉันอาหารเช้าเสร็จเรียบร้อยพร้อมเพียงกันแล้วเดินทางเลยนะ​

พระอาทิตย์ขึ้นส่องแสงบ่งบอกให้เราได้ตื่นเตรียมตัวทำหน้าที่ของตนกับควันหมอกสีขาวมัวๆ รับแสงแดดสวยงาม บรรยากาศพาให้ใจมันสดชื่นในวันใหม่กับชีวิตใหม่ที่อเมริกาวันที่สองได้เวลาเดินทางแล้ว

เก็บของใช้ส่วนตัว ผู้โดยสารพร้อม โชว์เฟอร์พร้อม อ้าว… เดินทางล้อรถเคลื่อนวิ่งไปตามเส้นทางถนนยามเช้าอยู่ที่​เมืองมิสซิสซิปปี วัดพุทธเมตตามหาบารมี​ แวะเข้าห้องน้ำเป็นจุดพักจอดรถและทานข้าว​ ได้เวลาฉันเพลพอดีก็ตระเตรียมจัดอาหารฉันด้วยกันสามรูป​ เป็นอาหารเพลมื้อแรกได้บรรยากาศมากที่ศาลาในสวนพักรถเหมือนกับว่าเราได้ไปฉันข้าวในป่าเลย​

ฉันเสร็จแล้วเก็บปัดกวาดเข้าห้องน้ำเรียบร้อยแล้วเดินทางต่อไปจุดมุ่งหมายคือ “วัดปากน้ำอเมริกา” ​ใช้เวลาเดินทางประมาณ​ ๑๒​ ชั่วโมง​ก็มาถึงวัดปากน้ำ จากนั้นก็เริ่มมืดค่ำประมาณ​ ๑ ทุ่ม​ ได้เข้าไปกราบเจ้าอาวาสวัด​ พระวิเทศวิสุทธิคุณ​ (สมัคร​ สมัคโค)​ หรือ ท่านเจ้าคุณสมัคร​  ​ท่านได้ต้อนรับพระอาคันตุกะมาเยี่ยมเยือนช่วยงานวัดเป็นอย่างดียิ่ง​ ถวายน้ำปานะพูดคุยสนทนาปราศรัย​กัน​

อาจารย์เจ้าอาวาสวัดเมตตามหาบารมีได้แนะนำพระลูกวัดมาช่วยงานในวัดมีสามรูปด้วยกัน​  คือ​ พระมหาเอกรินทร์​ มหาปัญโญ​ เมืองไทยอยู่วัดเพลง​  บางพลัด​  กรุงเทพฯ​  พระมหาบุญศรี​  วิสุทธิญาโณ​  วัดเทวีวรญาติ​  ป้อมปราบศัตรูพ่าย​ กรุงเทพฯ​ และพระสุพัฒน์​  อนาล​โย​ วัดพระยาทำ​ บางกอกน้อย​ กรุงเทพฯ

อาจารย์เจ้าคุณว่า​ ดีแล้วมาช่วยงานกัน​ พระพุทธศาสนากำลังต้องการกำลังสติปัญญาจากพระหนุ่มเณรน้อยพอดี​ พระพุทธศาสนาจะได้เจริญแผ่หลายยิ่งขึ้นไป​ ที่วัดนั้นก็กำลังก่อสร้างใหม่มีพระหนุ่มมีกำลังแรงเยอะช่วยกันสร้างแปลงวัดใหม่สวยงามอันมรดกของพระพุทธศาสนาต่อไป

หลังจากนั้นก็ได้ไปพักผ่อนเตรียมตัวกายและใจทำความดีกันฝากผลงานไว้ในพระบวรพระพุทธศาสนาให้รุ่นลูกหลานสืบต่อกัน​

วันแรก… พระธรรมทูตหลับบนหลังคาศาลาในเวลาทำงาน

จากงานที่วางแผนกันไว้ วันที่หนึ่ง…เราช่วยกันติดตั้งใบระกาและช่อฟ้าด้านหลังศาลาเป็นอันแรก ช่วงเช้าก็ทำเสร็จก่อนที่จะฉันเพล​  ในช่วงบ่ายก็ลุยงานต่อนำโดยอาจารย์พิษฐ์​ และพระลูกวัดอีกสามรูป​คนละไม้คนละมือจับเล็งติดด้วยสกรูน็อตให้แน่นออกมาสวยงาม ในระหว่างนี้มีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นกับผู้เขียนเอง เนื่องจากรับหน้าที่ขึ้นบนหลังคาศาลา รอรับใบระกาหางหงส์ติดขอบจั่วหลังคา นั่งรอคอยเพื่อนที่จะส่งใบระกามาให้ ต้องวัดระยะให้พอดีแล้วก็ตัดส่งยื่นขึ้นมาให้ข้างบน​

 ซึ่งผู้เขียนรออยู่ข้างบน บรรยากาศแดดร่มลมตกลมพัดเย็นสบาย เพื่อนบ้านก็เปิดเพลงกล่อมเสียงเข้ามาสัมผัสกับหูชวนให้ใจคิดเพลิดเพลินคิดตามเสียง(ไม่เข้าใจภาษาอังกฤษ)​  แต่ทำให้เรามีจินตนาการตามเสียงดนตรีเคลิ้มตามเผลอหลับบนหลังคาศาลา​ เคยได้ยินแต่แอบหลับในห้องเรียนและเผลอหลับในระหว่างขับรถ​  นี่เราเผลอหลับในเวลาทำงาน สงสัยจะเพลียหนักก็เลยหลับแบบไม่รู้ตัว…ระหว่างนั้นเหมือนฝันได้ยินเสียงเรียกว่า ​”จ๊อดๆ” สะดุ้งตื่นขึ้นมาอ้าว… เราหลับไปหรือนี่​ อายก็อาย ลุยขึ้นมาทำงานต่อด้วยน้ำใจของคนทำงาน​

หลังจากนั้นผู้เขียนก็ได้รับฉายาใหม่ว่า​ “พระธรรมทูตหลับบนหลังคาศาลาในเวลาทำงาน”  ตั้งแต่นั้นมา พระอาจารย์เจ้าคุณและเพื่อนก็แซวตลอด​ คงเป็นเรื่องเล่ากล่าวขานอีกนานแสนนานทีเดียว

วันนี้ได้งานด้วยได้เรื่องเล่าด้วย​ เหลือแต่ติดช่อฟ้าและทำคานติดตั้ง​เชือกลอกชักดึงช่อฟ้าขึ้นไปบนหลังคาเพื่อทดลองติดตั้งแก้ไข เมื่อถึงเวลางานจริงๆ จะไม่พลาดถ้าจะพลาดก็ให้น้อยที่สุด

วันที่สอง…จำวัดอย่างมีสติ

 หลวงพ่อเคนและอาจารย์บุญศรีช่วยกันทำฐานพระพุทธรูป​อยู่ข้างในศาลาทั้งวัด​ ตัด​ ประกอบต่อ​ ขัด​ ทาสี​ ช่วยกันทำ​ ๖​ รูป​ ขั้นตอนสุดท้ายทาสี ช่วยกันทาสีสามรอบเสร็จสรรพเรียบร้อยเวลาผ่านไปถึงสามทุ่มกว่า เก็บอุปกรณ์เสร็จ แล้วแยกย้ายกันเข้าที่พักผ่อนจำวัดอย่างมีสติ

วันที่สาม…โต๊ะปิกนิกแสดงธรรม

ตั้งเป้าไว้ว่า วันนี้จะทำโต๊ะปิกนิกนั่งรับประทานอาหาร  ๒๐​ ตัว​  เจ้าอาวาสท่านเก่งมีความสามารถหลายทางโดยเฉพาะช่างไม้​  หลายปีที่แล้วท่านก็มาทำโต๊ะให้วัดปากน้ำ​อเมริกา​นี้ไว้​  ๓๐​ ตัว​

ระยะเวลาผ่านไปทุกสิ่งทุกอย่างต้องเป็นไปนามกฎไตรลักษณ์​ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ​เป็นธรรมดาร่วม ทั้งสิ่งที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ​  เช่น​ โต๊ะนั่งรับประทานอาหารนี้ก็มีการเสื่อมโทรมชำรุดผุพังไปตามการใช้งานและกาลเวลาก็ต้องซ่อมแซม ปรับเปลี่ยนใหม่แทนที่ที่มันผุพังให้ดูดีขึ้นมาอีกครั้ง​

โต๊ะนี่สอนธรรมะว่า​ อย่าประมาทในชีวิตที่อันสั้นน้อยนิด​  ชีวิตเปรียบเสมือนเส้นด้ายพร้อมที่จะขาดได้ตลอดเวลา​ ในตัวเราก็เปรียบเหมือนลมหายใจเข้า-ออก ตลอดเวลาจะหมดลมหายใจวันไหนก็ไม่รู้​  อย่าประมาทว่าตนยังเป็นหนุ่ม เส้นผมยังดำอยู่ไม่ตายง่ายหรอก​ มัจจุราชความตายไม่เลือกเวลา​ เพศวัย​ รวยจน​ พระโยม​ ทุกหน่วยงานนี้ไม้พ้นทุกราย​”

ดังนั้น รีบสร้างบุญกุศล​ ในกรอบสามอย่างได้แก่​ ให้ทาน​  รักษาศีล​ และเจริญสติ บริหารชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากความชั่ว​ ชีวิตที่ดีคือรู้สึกตัว รักษาสติให้อยู่ในตนให้ได้ ชีวิตก็ปลอดภัยจากอบายภูมิหรือนรกเป็นต้น

กลับมาหาโต๊ะอีกครั้งได้ซ่อมแซมโต๊ะประมาณ​ ๑๐​ ตัว​ เปลี่ยนที่นั่งแผ่นที่เสียหายให้ใหม่​ หรือที่แผ่นบนวางอาหารด้านบนก็เปลี่ยนให้บางชิ้น​

ตอนเช้า… อาจารย์พิษฐ์​  เจ้าอาวาส  อาจารย์เอก​ อาจารย์บุญศรี​ และผู้เขียน​  ทั้งห้ารูปช่วยกันตัดไม้ทำแบบของโต๊ะ​  เพื่อประกอบได้เร็วขึ้น ช่วงที่ตัดไม้อยู่นั้นพระอาจารย์เอกท่านหมดแรง​ก็ไปรับข้าวต้มมัดมานั่งฉันอยู่รูปเดียวเพิ่มพลังสู้​

ส่วนผู้เขียนก็หมดเรี่ยวแรงกำลังลดถอยลง​  ก่อนทำงานตอนเช้าฉันข้าวต้มไปแล้วมันไม่อยู่ท้องหมดแรง ที่จะยกไม้หน้าก็มืดแล้ว​  ก็เดินไปหาพระอาจารย์เอกนั่งฉันข้าวต้มมัด ท่านว่า “พระอาจารย์ผมหมดพลังเข้มกุ๋ยแล้วครับ​ เรารอดตายได้​  เพราะข้าวต้มมัดแท้ๆ ถึงแม้มันจะเล็กก็อิ่มท้องสู้งานต่อไปจนถึงเวลาฉันเพล​”

พอฉันเสร็จแล้วก็มาทำโต๊ะปิกนิกเพิ่มอีก​ ๒๐​ ตัว​ ในภาคบ่ายวันนี้จนถึงสองทุ่มได้โต๊ะ​เพียงแค่​ ๑๒​ ตัว​เท่านั้น​

พระช่วยกันสร้างโต๊ะอยู่ ๖​ รูป​ เราไม่ทำงานเกินสามทุ่ม เพราะจะรบกวนเพื่อนบ้านเขาอาจโทรศัพท์ไปแจ้งเจ้าหน้าที่ของเมืองได้​ ซึ่งที่นี่เรียกว่า”ซิตี้” เป็นหน่วยงานในอำเภอหรือ​ นายอำเภอบ้านเราประมาณนี้​ 

วันนี้ก็ผ่านไปได้ด้วยดีพักผ่อนตามอัธยาศัย จำวัดอย่างมีสติ หลับง่ายนอนสบาย​  เพราะเราจำวัดฝึกสติไปด้วย​ ดูลมหายใจเข้าออกรู้สึกตัวหายใจเข้าออก​ หรือคลึงมือข้างใดข้างหนึ่งให้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้แตะกันและหมุนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะหลับ​ นี่คือการจำวัดแบบอย่างมีสติรู้สึกตัว

วันที่​สี่…บุญสำเร็จด้วยความเพียร

 ตอนเช้าหลังฉันข้าวแล้วก็ลุยทำโต๊ะปิกนิกต่อครบ​ ๒๐​ ตัว​แล้ว​ ตอนบ่ายช่วยกันประดับผ้าสี ผ้าใส่คานยกช่อฟ้าใบระกาบนหลังคาศาลาเสร็จก็ลงมาทำมาประดับผ้าด้านล่างสำหรับตั้งช่อฟ้า เพื่อให้ญาติโยมมาทำบุญร่วมกันติดทองและผ้าสามสี​ แล้วทำล้อเลื่อนช่อฟ้าขึ้นไปติดตั้งไว้ข้างบน​หลังคาศาลา​เสร็จเรียบแล้วเวลาก็ปาเข้าไปสามทุ่ม

ในที่สุด​… วันนี้ได้ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้​ ได้โต๊ะปิกนิก​ ๒๐​ ตัว​ และคานที่ติดตั้งช่อฟ้าไว้บนหลังคาศาลา​ ที่ตั้งฉลองบูชาติดทองผูกผ้าสามสี ความพยายามอยู่ที่ไหนความสำเร็จเสร็จแล้วก้อยู่ในที่นั้น งานทุกชิ้นที่เราทำแล้วคือความภาคภูมิใจ​

พระจ๊อดส์​  ๗​ กรกฎาคม​ พ.ศ. ๒๕๖๒

พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย พระธรรมทูต กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ
พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
 ผู้เขียน
“พระพุทธศาสนากำลังต้องการกำลังสติปัญญาจากพระหนุ่มเณรน้อยพอดี”
จาริกธรรมในอเมริกา​ ตอนที่​ ๓​
บทความเตรียมไว้ลงใน นสพ.คมชัดลึก หน้าธรรมวิจัยในอนาคตอันใกล้

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here