โครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน “ศากยพุทธบุตร” เฉลิมพระเกียรติ รุ่นที่ ๑
ถวายเป็นพระราชกุศล
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
ณ พุทธสถานฮ่องธรรม (ฮ่องธรรม ฮ่องคำอิสาน)
“ฝึกฝนกาย พัฒนาจิตใจ สร้างบุญบารมี”
น้อมนำศาสตร์พระราชา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
ตั้งแแต่วันที่ ๓๑ มีนาคม – ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗ จำนวน ๕๐ รูป
คณะสงฆ์ผู้จัดงาน
พระมหาติ่ง มหิสฺสโร,ดร.
ประธานสงฆ์ และ ประธานมูลนิธิบุญพระศาสนาสงเคราะห์
พระมหาสิทธิชัย สิทฺธิญาโณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
และ พระบุรินทร์ ฐานสมฺปนฺโน สำนักสงฆ์ พุทธสถานฮ่องธรรม อีสาน
อนุโมทนาบุญกับ พลตำรวจเอก เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส
ประธานในพิธี โครงการบรรพชาสามเณรพุทธศากยบุตร รุ่นที่ ๑
“ฮ่องธรรม ฮ่องคำอิสาน”
“ฝึกฝนกาย พัฒนาจิตใจ สร้างบุญบารมี”
“การบวช” อาจกล่าวได้ว่า เป็นนวัตกรรมที่ล้ำยุคที่เหนือกาลเวลาของมนุษยชาติ ที่พระพุทธเจ้าค้นพบความลับในธรรมชาติจากการบำเพ็ญเพียรอย่างอุกฤษฏ์ในวันวิสาขบูชาเมื่อสองพันหกร้อยกว่าปีก่อนจนบรรลุสัจธรรม พบความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจสี่ประการที่สามารถนำจิตเราออกจากสังสารวัฏอันเวียนวนได้ด้วยอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ ที่สรุปย่อลงมาคือ ทาน ศีล ภาวนา
พระพุทธเจ้าเสด็จมาเพื่อบอกกับเราว่า มนุษย์พัฒนาได้ และไปถึงที่สุดของความเป็นมนุษย์ได้ คือไม่ต้องกลับมาเวียนว่ายตายเกิดในสังสารววัฏอีก ทรงไขความลับของธรรมชาติให้เราค้นพบว่า ตัวเราคือความสืบเนื่องของกิเลส กรรม และวิบากไหลวนอยู่ในกระแสของชีวิตไม่จบสิ้น และเราจะลาออกจากวงจรแห่งการเกิดแก่เจ็บตายได้ ก็ด้วยเส้นทางแห่งการตื่นรู้อย่างแท้จริง คือ การบวชตามรอยพระพุทธเจ้าเข้าสู่การเรียนรู้ชีวิตด้านในอย่างถ่องแท้ว่า เราเกิดมาทำไม มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร และจะจากโลกนี้ไปอย่างไม่หวนคืนกลับมาอีกได้อย่างไร
ในธรรมนิพนธ์เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” เรียบเรียงโดย ญาณวชิระ (พระมหาเทอด ญาณวชิโร อดีตพระราชกิจจาภรณ์) กล่าวถึง “สามเณรราหุล” สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ไว้ในบรรพ์ที่ ๔ ตอนหนึ่งว่า
สามเณรราหุลเป็นสามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา ท่านเกิดในวรรณะกษัตริย์ ตระกูลศากยราช เป็นพระโอรสของเจ้าชายสิทธัตถะกับพระนางยโสธรา หรือพิมพา เป็นพระราชนัดดาของพระเจ้าสุทโธทนะ กษัตริย์ผู้ครองเมืองกบิลพัสดุ์ ประสูติวันที่เจ้าชายสิทธัตถะเสด็จออกผนวช
วันนั้น เจ้าชายสิทธัตถะทรงได้สดับข่าวพระโอรสประสูติ จึงออกพระโอษฐ์ว่า
“ราหุลัง ชาตัง ราหุลัง ชาตัง”
แปลว่า “บ่วงเกิดขึ้นแล้ว บ่วงเกิดขึ้นแล้ว เครื่องพันธนาการเกิดขึ้นแล้วแก่เรา”
ตั้งแต่นั้นมาพระราชกุมารจึงได้พระนามว่า “ราหุล” ท่านออกบรรพชาขณะมีอายุได้ ๗ ขวบ ภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระญาติที่กรุงกบิลพัสดุ์ และเป็นผู้ที่ทำให้เกิดข้อกำหนดในการบวชว่า ผู้ที่จะบวชต้องได้รับอนุญาตจากบิดามารดาก่อน
ราหุลกุมารได้รับคำชี้แนะจากพระมารดา ให้ไปขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า ขณะนั้นพระพุทธองค์พร้อมทั้งภิกษุสงฆ์จำนวนมากกำลังเสด็จออกบิณฑบาตอยู่ในพระนคร ราหุลกุมารได้ติดตามพระพุทธองค์ไปจนถึงนิโครธาราม วัดที่พระญาติสร้างถวายในโอกาสที่พระองค์เสด็จกลับพระนคร
พระพุทธเจ้าทรงเห็นว่า ราหุลกุมารขอทรัพย์สมบัติที่เป็นโลกิยะอันเป็นของชาวโลก จะต้องประสบกับความยากลำบากไม่มีสิ้นสุด พระองค์ประสงค์ที่จะให้พระราหุลได้ทรัพย์สมบัติที่เป็นโลกุตตระ ที่เที่ยงแท้ยั่งยืน จึงมอบให้พระสารีบุตรเป็นพระอุปัชฌาย์บรรพชาให้พระราหุลกุมาร
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” เรียบเรียงโดย ญาณวชิระ
(พระมหาเทอด ญาณวชิโร อดีตพระราชกิจจาภรณ์)
พระสารีบุตรบรรพชาให้พระราหุลกุมารด้วยวิธีติสรณคมนูปสัมปทา คือ ให้เปล่งวาจาขอถึงไตรสรณคมน์ว่าเป็นที่พึ่งที่ระลึก และได้ใช้เป็นรูปแบบการบรรพชาสามเณรมาจนถึงปัจจุบัน
นับตั้งแต่วันที่บวช สามเณรราหุลเป็นผู้สนใจในการศึกษา เป็นผู้ว่าง่ายอยู่ง่าย ไม่ถือตนเองเป็นโอรสของพระพุทธเจ้า มีความเคารพในพระสงฆ์เป็นอย่างมาก สามเณรราหุลลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ลงมากอบทรายเต็มกำมือ แล้วตั้งจิตอธิฐานว่า “วันนี้ขอให้เราได้ฟังคำแนะนำสั่งสอนจากพระพุทธเจ้าและพระอุปัชฌาย์มากเท่าเม็ดทรายในกำมือของเรานี้”
ความเป็นผู้ไม่ถือตัวว่าง่ายอยู่ง่ายของพระราหุล ปรากฏตามประวัติของท่านว่า ครั้งหนึ่งพระสงฆ์จากชนบทจำนวนหนึ่งมาพักที่วัดเชตวัน เพื่อเข้าเฝ้าฟังธรรมจากพระพุทธเจ้า เนื่องจากพระวินัยห้ามพระภิกษุนอนในที่เดียวกันกับผู้ที่ไม่ใช่พระภิกษุ สามเณรราหุลไม่มีที่นอน จึงต้องหลบไปนอนในห้องส้วมของพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ไปพบเข้ากลางดึกจึงนำท่านกลับมาพักที่พระคันธกุฎีของพระองค์ และทรงลดหย่อนผ่อนปรนสิกขาบทข้อที่ว่า ห้ามพระภิกษุนอนในที่มุงบังเดียวกันกับผู้ที่ไม่ใช่พระภิกษุเกินหนึ่งคืน โดยทรงขยายเวลาออกไปเป็น ๓ คืน และพระพุทธเจ้าได้ให้โอวาทแก่สามเณรราหุล ให้เห็นโทษของการพูดเท็จ โดยพระองค์ทรงนำน้ำมาเป็นตัวอย่าง
พระองค์ทรงยกภาชนะสำหรับใส่น้ำล้างพระบาทขึ้น เทน้ำลงนิดหนึ่งแล้วตรัสถามว่า “เห็นน้ำที่เราเทลงนิดหนึ่งนี้ไหม ราหุล” สามเณรราหุลกราบทูลว่า “เห็นพระเจ้าข้า”
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ ก็คือคนที่เทคุณความดีออกจากตนทีละนิด เหมือนเทน้ำออกจากภาชนะนี้”
ครั้นแล้วพระองค์ก็เทน้ำจนหมด แล้วตรัสถามอีกว่า “เห็นน้ำที่เราเทออกหมดนี้ไหม ราหุล”
สามเณรราหุลกราบทูลว่า “เห็นพระเจ้าข้า”
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ ย่อมเทคุณความดีออกหมด เหมือนน้ำที่เราเทออกหมดนี้”
เสร็จแล้วทรงคว่ำภาชนะลง ตรัสว่า “ราหุล เห็นไหมภาชนะที่เราคว่ำลงนี้”
“เห็นพระเจ้าข้า” ราหุลกราบทูลพระพุทธเจ้า
“ราหุล คนที่พูดเท็จทั้งๆ ที่รู้ ย่อมคว่ำคุณธรรมของตนออกหมด เหมือนภาชนะคว่ำนี้” เสร็จแล้วทรงหงายภาชนะเปล่าขึ้น แล้วตรัสถามว่า “ราหุล เห็นไหม ภาชนะเปล่าที่เราหงายขึ้นนี้ ไม่มีน้ำเหลือเลย” “เห็นพระเจ้าข้า” “ราหุล คนที่พูดเท็จทั้ง ๆ ที่รู้ ย่อมไม่มีคุณความดีเหลืออยู่เลย ดุจภาชนะเปล่านี้”
สามเณรราหุลเป็นผู้กตัญญูรู้คุณยิ่ง
ครั้งหนึ่งสามเณรทราบว่า พระมารดาที่ออกบวชเป็นนางภิกษุณีประชวรโรคลม จะสงบระงับได้ด้วยการเสวยน้ำมะม่วงผสมน้ำตาลกรวด จึงรับอาสาหามาถวาย เข้าไปแจ้งพระสารีบุตร รุ่งเช้าพระสารีบุตรเข้าเฝ้าพระเจ้าปเสนทิโกศล โดยให้สามเณรรอที่โรงฉันแห่งหนึ่ง ก็ได้ตามความประสงค์โดยที่ไม่ต้องเอ่ยปากขอ
สามเณรราหุลมีความเคารพและความกตัญญูต่อพระสารีบุตร ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์มาก นอกจากท่านจะถือมารดาพระสารีบุตรเหมือนญาติผู้ใหญ่ โดยเรียกขานโยมมารดาของพระสารีบุตรว่า โยมย่า แล้ว เมื่อทราบว่า พระสารีบุตร องค์อุปัชฌาย์อยู่ทางทิศไหน ท่านก็จะนอนหันศีรษะไปทางทิศนั้นด้วย
ในพรรษาที่ ๕ หลังการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ วันหนึ่งพระเจ้าสุทโธทนมหาราช ประชวรหนัก ทรงปวดตลอดพระวรกาย จึงทรงระลึกถึงพระราชโอรส และพระราชนัดดา
ขณะพระบรมศาสดา นำพระนันทะ พระอานนท์ ตลอดจน พระอรหันต์ ๕๐๐ รูป เสด็จกลับกรุงกบิลพัสดุ์ สามเณรราหุลก็ได้ตามเสด็จด้วย พระพุทธเจ้าทรงลูบพระศิระเกล้า พระนันทะลูบพระสรีระกายข้างขวา พระอานนท์ลูบพระสรีระกายข้างซ้าย ส่วนสามเณรราหุลลูบพระปฤษฎางค์ เมื่อพระโรคาพาธทั้งปวงระงับสิ้น พระพุทธองค์จึงตรัสอนิจจาทิสังยุตต์ตลอดคืนโปรดพระพุทธบิดา จนบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์*
*”พระอรหันต์” นั้นหมายถึง ไม่มีอัตตาตัวตนอีกต่อไป เป็นผู้ไกลจากกิเลสโดยสิ้นเชิง กำจัดกิเลสได้หมดสิ้นไปจากใจ ลาออกจากสังสารวัฏแล้ว คือ ไม่กลับมาเวียนว่ายตายเกิดอีกต่อไป เรียกว่า เรียนจบหลักสูตรชีวิตที่พระพุทธเจ้าค้นพบเพื่อไม่ต้องกลับมาทุกข์อีกอนันตกาล และเมื่อยังไม่ละสังขารก็อาศัยกายและใจที่หมดจด สะอาด สว่าง สงบ คอยบอกทาง แนะทางออกจากทุกข์ในสังสารวัฏตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้มนุษย์ไปสู่ความพ้นทุกข์ได้อย่างสิ้นเชิง
เมื่อสามเณรราหุลมีอายุได้ ๒๐ ปี ได้ฟังธรรมของพระพุทธเจ้าพลางพิจารณาตามพลาง เมื่อจบพระธรรมเทศนาท่านก็ได้บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์
และจุดเริ่มต้นของโครงการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน “ศากยพุทธบุตร” รุ่นที่ ๑ ถวายเป็นพระราชกุศล สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ พุทธสถานฮ่องธรรม จังหวัดศรีสะเกษ ก็เพื่อ การเรียนรู้เพื่อเพิ่มทักษะแห่งการใช้ชีวิตในกระแสของความสงบ
คือจุดเริ่มต้นที่ดีคือการ ควบคุมจิตใจของตนเองให้เป็นกุศล ไม่เบียดเบียนใคร ไม่คิดห่มเหงใคร และสิ่งสำคัญ ไม่ลดทอนความตั้งใจของใคร ตั้งมั่นในความเพียร สิ่งเหล่านี้เรียกว่า
“สร้างบุญ สร้างบารมี ฮ่มธรรม ฮ่องคำอิสาน”
—————
โครงการบรรพชาสามเณรพุทธศากยบุตร
“ฮ่องธรรม ฮ่องคำอิสาน”
“ฝึกฝนกาย พัฒนาจิตใจ สร้างบุญบารมี”
โครงการบรรพชาสามเณรฤดูร้อน
๓๑ มีนาคม – ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๖๗
ณ พุทธสถานฮ่องธรรม ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
ติดต่อสอบถามได้ที่ พระมหาติ่ง มหิสฺสโร,ดร. ๐๘๓-๗๒๙-๘๒๙๗
ประธานสงฆ์ และ ประธานมูลนิธิ บุญพระศาสนาสงเคราะห์ จังหวัดศรีสะเกษ
ขอให้ความดีคุ้มครองทุกท่าน
พระมหาติ่ง มหิสฺสโร,ดร.
ปณิธานของการบวช
พระมหาติ่ง มหิสฺสโร,ดร.
ชีวิตนี้เพื่อการอุทิศตน
เผยแผ่พระพุทธศาสนาในด้านสาธารณสงเคราะห์
ประวัติและผลงาน คุณูปการ จริยาวัตร :
พระมหาติ่ง มหิสฺสโร,ดร.
ตำแหน่งปัจจุบัน
ประธานมูลนิธิบุญพระศาสนาสงเคราะห์ และประธานสงฆ์พุทธสถานฮ่องธรรม
๑.
พระมหาติ่ง มีฉายาว่า มหิสฺสโร หมายถึง ผู้มีความเป็นใหญ่ในที่ทั้งปวง หรือ หรือผู้มีศักดิ์ใหญ่ อายุ ๓๖ ปี พรรษาที่ ๑๖ การศึกษา ป.ธ.๓ , น.ธ.เอก และ ปริญญาเอก ปัจจุบันจำพรรษา ณ พุทธสถานฮ่องธรรม ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๒. สถานะเดิม
ชื่อ ติ่ง นามสกุล ทองหล่อ เกิดวันที่ ๑๙ เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๓๐ บิดา นายสมาน ทองหล่อ มารดา นางมะลิวัลย์ ทองหล่อ ณ บ้านบึง เลขที่ ๑๗ หมู่ที่ ๔ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๓. บรรพชา
วันที่ ๑ เดือน เมษายน พุทธศักราช ๒๕๔๖ ณ วัดบ้านบึง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ พระอุปัชฌาย์ พระครูวรรณสารโสภณ วัดนาครินทร์ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๔. อุปสมบท
วันที่ ๒๗ เดือน พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๐ ณ วัดพงพรต ตำบลหนองห้าง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ พระอุปัชฌาย์ พระราชกิตติรังษี เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ วัดเจียงอีศรีมงคลวราราม ตำบลเมืองใต้ อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ปัจจุบันใบสุทธิสังกัดวัดบ้านบึง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๕. วิทยฐานะ
๑) สำเร็จการศึกษาปริญญาเอก สาขาวัฒนธรรมศาสตร์ มหาลัยมหาสารคาม
๒) สอบได้ น.ธ.เอก สำนักเรียนวัดจำปา อ.กันทรารมย์ จ.ศรีสะเกษ
๓) สอบได้ ป.ธ.๓ สำนักเรียนวัดสระกำแพงใหญ่ อ.อุทุมพรพิสัย จ.ศรีสะเกษ
๔) การศึกษาพิเศษ จบหลักสูตรอบรมพระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๒๓
๕) ความชำนาญพิเศษ อาจารย์สอนพิเศษ, วิทยากร, พิธีกร, บริหารการศึกษา ,ออกแบบกิจกรรมการเรียน และ การสอนที่สอดคล้องกับบริบทสถานศึกษา
๕. งานการศึกษาสงเคราะห์
๑) พุทธศักราช ๒๕๕๒-๒๕๖๓ เป็นประธานกรรมการบริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาจุลมณีอุทุมพรพิสัย
๒) พุทธศักราช ๒๕๖๐ เป็นผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดบ้านค้อกำแพง
๓) พุทธศักราช ๒๕๖๔ เป็นที่ปรึกษาโรงเรียนบ้านโนนแดงโนนม่วง
๔) พุทธศักราช ๒๕๔๙- ปัจจุบัน เป็นวิทยากรอบรมและบรรยายสถานศึกษาต่างๆ
๕) พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ นักศึกษาวิศวกรสังคม มหาวิทยาลัยราชภัฎศรีสะเกษ
๖) พุทธศักราช ๒๕๖๕ -ปัจจุบัน จัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนฮ่องคำอิสานโมเดล ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พ่อหลวง รัชกาลที่ ๙
๗) พุทธศักราช ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน เป็นศูนย์อบรมและพัฒนาคุณธรรมเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป
๘) พุทธศักราช ๒๕๖๓ – ปัจจุบัน จัดหาทุนสนับสนุนการศึกษาแก่เด็กนักรียนนักศึกษาที่ขาดแคลน
๙) พุทธศักราช ๒๕๖๐ – ปัจจุบัน จัดหาทุนสนับสนุนสร้างห้องน้ำโรงเรียนในชนบทที่ขาดแคลน
๑๐) พุทธศักราช ๒๕๔๙ – ปัจจุบัน เป็นพระธรรมวิทยากรจิตอาสา บรรยายอบรมป้องกันยาเสพติดแก่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ตามสถานศึกษาต่างๆ ฯลฯ
๖) งานการเผยแผ่
๑) เป็นพระธรรมทูตสายต่างประทศ รุ่นที่ ๒๓
๒) ปัจจุบันเป็นศูนย์อบรมและพัฒนาคุณธรรมเด็กเยาวชนและประชาชนทั่วไป
๓) ปัจจุบัน เป็นวิทยากรอบรมคุณธรรมและอาจารย์บรรยายสถานศึกษาต่างๆ
๔) ปัจจุบันจัดตั้งศูนย์เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนฮ่องคำอิสานโมเดล
๕) ปัจจุบันเป็นประธานดำเนินการก่อตั้งมูลนิธิบุญพระศาสนาสงเคราะห์ และดำเนินการเผยแผ่กิจกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนาและการสาธารณสงเคราะห์
๖) เป็นประธานจัดโครงการบรรพชาสามเณรพุทธศากยบุตร เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐
๗) เป็นประธานสงฆ์พุทธสถานฮ่องธรรม ในการปฏิบัติศาสนกิจเผยแผ่พระพุทธศาสนา
๗.งานการสาธารณูปการ
๑) พุทธศักราช ๒๕๕๐-๒๕๕๖ เป็นเลขานุการคณะกรรมการจัดสร้างวัดสุเทพนิมิต บ้านหนองแปน ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๒) พุทธศักราช ๒๕๕๖-๒๕๖๓ เป็นเลขานุการคณะกรรมการจัดสร้างวัดป่าพรหมนิมิต บ้านหนองเตา ตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๓) พุทธศักราช ๒๕๖๔-๒๕๖๕ เป็นคณะร่วมดำเนินการจัดสร้างเสนาสนะสงฆ์และร่วมพัฒนาวัดป่าพิมลมังคลาราม บ้านโนนแดงโนนม่วง ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๔) พุทธศักราช ๒๕๖๕ – ปัจจุบัน เป็นประธานสงฆ์ดำเนินการจัดสร้างเสนาสนะสงฆ์ ณ พุทธสถานฮ่องธรรม ซึ่งเป็นที่พักสงฆ์ ดังนี้ กุฏิ จำนวน ๕ หลัง ห้องน้ำ จำนวน ๑๐ ห้อง ศาลาโรงธรรม ๒ หลัง
๕) พุทธศักราช ๒๕๖๖– ปัจจุบัน จัดสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพื่ออุปโภคให้ชุมชน ความสูง ๑๕ เมตร
๖) พุทธศักราช ๒๕๖๖ จัดสร้างวิหารสิมน้ำประดิษฐานพระพุทธปุณณวชิรญาณมุนี
๘. งานการสาธารณสงเคราะห์
๑) พุทธศักราช ๒๕๖๐-๒๕๖๒ เป็นคณะกรรมการร่วมก่อตั้งกองทุนหลวงปู่สุข โกวิโท เพื่อพัฒนาโรงพยาบาลอุทุมพรพิสัย ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๒) พุทธศักราช ๒๕๖๓-๒๕๖๔ เป็นประธานคณะกรรมการกองทุนบุญนิธิพระศาสนาสงเคราะห์(เพื่อช่วยเหลือพระชราภาพและผู้ป่วยติดเตียง)
๓) พุทธศักราช ๒๕๖๕- ปัจจุบัน ร่วมสร้างบ้านให้ผู้ยากไร้จำนวน ๖ หลัง
๔) พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทภาคประชาชน ประจำจังหวัดศรีสะเกษ
๕) พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นประธานมูลนิธิบุญพระศาสนาสงเคราะห์
๖) พุทธศักราช ๒๕๖๒ เป็นประธานจัดสร้างหอประชุม หลวงปู่สุข โกวิโท มอบให้กับโรงเรียนอุทุมพรวิทยา ตำบลกำแพง อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๗) พุทธศักราช ๒๕๖๓ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งไชยจำนวน ๕๓ ราย และผู้ยากไร้ จำนวน ๓๐๐ ราย ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย
๘) พุทธศักราช ๒๕๖๓ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกล้วยกว้าง จำนวน ๑๐๐ ราย และผู้ยากไร้ในเขตพื้นที่ตำบลกล้วยกว้าง อำเภอห้วยทับทัน จังหวัดศรีสะเกษ
๙) พุทธศักราช ๒๕๖๓ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุสูง จำนวน ๑๐๐ ราย และผู้ยากไร้ ในเขตพื้นที่ตำบลบุสูง อำเภอวังหิน จังหวัด ศรีสะเกษ
๑๐) พุทธศักราช ๒๕๖๓ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกู่จำนวน ๑๐๐ ราย และผู้ยากไร้ ในเขตพื้นที่ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๑๑) พุทธศักราช ๒๕๖๔ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง ให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งไชยจำนวน ๕๕ ราย และผู้ยากไร้ จำนวน ๑๓๐ ราย ในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
๑๒) พุทธศักราช ๒๕๖๕ มอบสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ในเขตพื้นที่อำเภออุทุมพรพิสัย จำนวน ๖๒๐ หลังคาเรือน
๑๓) พุทธศักราช ๒๕๖๕ มอบสิ่งของผู้สูงอายุ และผู้ยากไร้ขาดแคลน ชาวบ้านบึง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๒ ราย
๑๔) พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นประธานทอดถวายกฐิน แก่วัดที่ไม่มีเจ้าภาพ จำนวน ๓ วัด ดังนี้ ๑.ทอดถวายกฐินที่พักสงฆ์อุทยานธรรมชัยมงคล ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ๒.ทอดถวายกฐินวัดโสนโพธาราม ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ๓.ทอดถวายกฐินวัดบ้านบึง ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
๑๕) พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นประธานดำเนินการบูรณศาลาการเปรียญวัดโสนโพธาราม ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ หลัง
๑๖) พุทธศักราช ๒๕๖๕ เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างห้องน้ำมอบให้โรงเรียนบ้านบึงกระโพธิ์ จำนวน ๒ หลัง เป็นจำนวน ๘ ห้อง
๑๗) พุทธศักราช ๒๕๖๖– ปัจจุบัน เป็นประธานสงฆ์ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนโรงเรียนบ้านโนนแดงโนนม่วง ตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ โครงสร้างคอนกรีต ๒ ชั้น งบประมาณที่ใช้ ๑๐ ล้านบาท ปัจจุบันอยู่ระหว่างกำลังดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ
๑๘) พุทธศักราช ๒๕๖๖– ปัจจุบัน เป็นประธานสงฆ์ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนอนุบาล มอบให้โรงเรียนบ้านเทิน ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งปัจจุบันเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และส่งมอบเรียบร้อยสมบูรณ์
๑๙) พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างถนนคอนกรีต มอบให้ชุมชนบ้านโนนแดงโนนม่วง ระยะทาง ๑๗๐ เมตร งบประมาณ ๔๘๐,๐๐๐ บาท
๒๐) พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นประธานดำเนินการจัดสร้างถนนคอนกรีต มอบให้ชุมชนบ้านหนองโดน อำเภอสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี รวมระยะทาง ๑๖๐ เมตร งบประมาณ ๔๔๐,๐๐๐ บาท
๒๑) พุทธศักราช ๒๕๖๗ ปัจจุบัน เป็นพระธรรมวิทยากรจิตอาสา บรรยายอบรมป้องกันยาเสพติดแก่นักเรียนนักศึกษาและประชาชนทั่วไป ตามสถานศึกษาต่างๆ ฯลฯ
๒๒) พุทธศักราช ๒๕๖๗ เป็นวิทยากรประจำศูนย์เรียนรู้วิถีวัฒนธรรมชุมชนฮ่องคำอิสานโมเดล ตามรอยพ่ออย่างพอเพียง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พ่อหลวง รัชกาลที่ ๙
๒๓) พุทธศักราช ๒๕๖๗ กำลังดำเนินการก่อสร้างห้องน้ำมอบให้ผู้ยากไร้ บ้านสำโรง ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ หลัง
๒๔) พุทธศักราช ๒๕๖๗ จัดสร้างและติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่มและเครื่องทำน้ำเย็นขนาดกลาง ส่งมอบเสร็จแล้วให้กับโรงเรียนบ้านแซร์สโบวว์ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ ชุด
๒๕) พุทธศักราช ๒๕๖๗ จัดสร้างและติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่มและเครื่องทำน้ำเย็นขนาดกลาง ส่งมอบเสร็จแล้วให้กับโรงเรียนบ้านกะดึ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ ชุด
๒๖) พุทธศักราช ๒๕๖๗ จัดสร้างและติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่มและเครื่องทำน้ำเย็นขนาดกลาง ส่งมอบเสร็จแล้วให้กับโรงเรียนบ้านเกาะกระโพธิ์ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ ชุด
๒๗) พุทธศักราช ๒๕๖๗ จัดสร้างและติดตั้งเครื่องกรองน้ำดื่มและเครื่องทำน้ำเย็นขนาดกลาง ส่งมอบเสร็จแล้วให้กับโรงเรียนบ้านบึงกระโพธิ์ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๑ ชุด
๒๘) พุทธศักราช ๒๕๖๖ เป็นประธานมอบทุนการศึกษา เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนแดงโนนม่วง จำนวน ๔๖ ทุน เพื่อสนับการศึกษา
๒๙) พุทธศักราช ๒๕๖๖ มอบอุปกรณ์การเรียนและมอบอุปกรณ์กีฬาโรงเรียนต่างๆ ดังนี้ โรงเรียนบ้านกระดึ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ, โรงเรียนบ้านเกาะกระโพธิ์ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ, โรงเรียนบ้านบึงกระโพธิ์ ตำบลตูม อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ, โรงเรียนบ้านกู่ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ, โรงเรียนบ้านเทิน ตำบลบัวน้อย อำเภอกันทรารมย์ จังหวัดศรีสะเกษ, โรงเรียนบ้านพันลำ ตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ, ศูนย์การศึกษาเรียนรู้เด็กพิเศษ จังหวัดศรีสะเกษ, โรงเรียนบ้านโคก ตำบลโคกจาน อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และ โรงเรียนบ้านหนองนารีหัววัว ตำบลบุสูง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ
๒๙) พุทธศักราช ๒๕๖๗ มอบสิ่งของผู้ยากไร้และขาดแคลน หน่วยงานต่างๆ ดังนี้ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบุสูง อำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ , โรงพยาบาลอำเภอวังหิน จังหวัดศรีสะเกษ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งไชย อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ และ โรงพยาบาลอำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ
รับรองว่าเป็นประวัติที่ถูกต้อง (พระมหาติ่ง มหิสฺสโร) เจ้าของประวัติ