จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ
ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน
ญาณวชิระ
ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช
(ตอนที่ ๓๓)
บรรพ์ที่ ๕ (จบ ) การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น
โดย ญาณวชิระ
: พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น
๑. ตัวอักษรเดี่ยวๆ ไม่มีสระปรากฏให้อ่านออกเสียงเป็นสระอะ
การอ่านภาษาบาลีมีความจำเป็นมากสำหรับพระภิกษุในพระพุทธศาสนา เนื่องจากคัมภีร์ต่างๆ เกี่ยวกับหลักคำสอนทางพระศาสนา ถูกบันทึกไว้ในภาษาบาลี โดยเฉพาะบทสวดมนต์ไหว้พระที่ใช้สวดเป็นกิจวัตรประจำวันล้วนเป็นภาษาบาลี แม้ในปัจจุบันจะนิยมสะกดแบบอักษรไทย แต่ในบางสำนักยังคงใช้วิธีสะกดตามแบบภาษาบาลี เพื่อเป็นอุบายให้พระภิกษุที่บวชใหม่ได้มีโอกาสอ่านภาษาบาลีให้ได้ การอ่านภาษาบาลีมีหลักที่ควรทำความเข้าใจเป็นเบื้องต้น ดังนี้
ตัวอย่างเช่น
นโม ตสฺส ภควโต อ่านว่า นะ-โม-ตัส-สะ-ภะ-คะ-วะ-โต
(๒) วิธีอ่าน ( _ํ ) ( อัง)
นิคหิต ( _ํ ) ได้แก่ วงกลมด้านบนพยัญชนะ มีลักษณะการอ่านอยู่ ๒ แบบ คือ
๒.๑ ถ้าไม่มีสระอื่น ๆ ให้อ่านเหมือนไม้หันอากาศ _ั แล้วตัวสะกด เป็น ง
ตัวอย่างเช่น
อหํ อ่านว่า อะ-หัง
อรหํ อ่านว่า อะระหัง
พุทฺธํ อ่านว่า พุทธัง
๒.๒ ถ้ามีสระให้ออกเสียงสระนั้น แล้วตัวสะกดเป็น ง
ตัวอย่างเช่น
ตหึ , อ่านว่า ตะ-หิง
สทฺธึ อ่านว่า สัทธิง
ภิคิตึ อ่านว่า ภิคิติง
(๓) จุดด้านล่าง (—ฺ )
จุดด้านล่าง (—ฺ ) แสดงถึงพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดมีลักษณะการอ่านอยู่ ๔ แบบ คือ
๓.๑ ถ้าไม่มีสระอื่นๆ ให้อ่านเหมือนมีสระ อะ (ไม้หันอากาศ _ั ) แล้วพยัญชนะที่มีจุดอยู่ด้านล่างออกเสียงเป็นตัวสะกด
ตัวอย่างเช่น
นตฺถิ ภนฺเต อ่านว่า นัต-ถิ — ภัน-เต
๓.๒ ถ้ามีสระให้ออกเสียงสระนั้น แล้วพยัญชนะที่มีจุดอยู่ด้านล่างออกเสียงเป็นตัวสะกด
ตัวอย่างเช่น
อุปฺปชฺชติ อ่านว่า อุบ-ปัด-ชะ-ติ
๓.๓ พยัญชนะ พ ม ว ร ห ฬ หากมีจุดอยู่ด้านล่าง อ่านกล้ำกับพยัญชนะอื่น
ตัวอย่างเช่น
พฺรหฺมา อ่านว่า พรัม-มา
พฺยญฺชนํ อ่านว่า พยัญ-ชะ-นัง
ตุมฺเห อ่านว่า ตุม-เห
อมฺเห อ่านว่า อำ-เห
๓.๔ พยัญชนะ ต ท ส ที่มีจุดอยู่ด้านล่าง และนำหน้า ว ม อ่านออกเสียงครึ่งเสียง และกล้ำกับพยัญชนะอื่น
ตัวอย่างเช่น
ตสฺมา อ่านว่า ตัด-สะ-หมา
เทฺว อ่านว่า ทะ-เว
สุตฺวา อ่านว่า สุด-ตะ-วา
(๔)การอ่านออกเสียงครึ่งเสียง
ตัวอย่างเช่น
สูปพยัญชนะ… อ่านว่า สู-ปะ-พยัน-ชะ-นะ …
(๕) การอ่านคำบางคำ
สะพรัหมะกัง อ่าน สะ-พรำ-มะ-กัง
กัตวา อ่าน กัด-ตะ-วา
กัลยาณัง อ่าน กัน-ละ-ยา-นัง
สะพยัญชะนัง อ่าน สะ-พะ-ยัน-ชะ-นัง
พรัหมะจะริยัง อ่าน พรำ-มะ-จะ-ริ-ยัง
เนยโย,เณยโย อ่าน ไน-โย
สุเขตตาภยะ อ่าน สุ-เขด-ตา-พะ-ยะ
สุตวา อ่าน สุด-ตวา
เสยยะถีทัง อ่าน ไส-ยะ-ถี-ทัง
อะคารัสมา อ่าน อะ-คา-รัด-สะ-หมา
ตัสมิง อ่าน ตัด-สะ-หมิง
อุณหัสสะ อ่าน อุน-หัด-สะ
ยาตรา อ่าน ยาด-ตรา
เวยยาพาธิกานัง อ่าน ไวย-ยา-พา-ทิ-กา-นัง
ธาตุปฏิกูลปัจจะเวกปัตวา อ่าน ทา-ตุ-ปะ-ติ-กู-ละ-ปัด-จะ-เหวก- ปัด-ตวา
อัตระชัง อ่าน อัด-ตระ-ชัง
จาปยะทิฏฐา อ่าน จา-ปะ-ยะ-ทิด-ถา
โลกัสมิง อ่าน โล-กัด-สะ-หมิง
วัตตัตวะสัชชัง อ่าน วัด-ตัด-ตวะ-สัด-ชัง
ตัตระ อ่าน ตัด-ตระ
อะสัมมุฬโห อ่าน อะ-สำ-มุน-โห
พรัหมัง อ่าน พรำ-มัง
ปูเรตวา อ่าน ปู-เรด-ตวา
สักยานัง อ่าน สัก-กะ-ยา-นัง
กายัสมิง อ่าน กา-ยัด-สะ-หมิง
โอมาตยารัทธัสสะ อ่าน โอ-มาด-ตยา-รัด-ทัด-สะ
ระตะนัตตยัสสะ อ่าน ระ-ตะ-นัด-ตะ-ยัด-สะ
วัตถุตตยัสสะปิ อ่าน วัด-ถุด-ตะ-ยัด-สะ-ปิ
วิธิมหิ อ่าน วิ-ทิม-มหิ
อะสีตยานุพยัญชนะ อ่าน อะ-สี-ตยา-นุบ-พะ-ยัน-ชะ-นะ
ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๓๓) บรรพ์ที่ ๕ (จบ ) “การอ่านภาษาบาลีเบื้องต้น” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
(โปรดติดตามตอนต่อไป …)
ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติแก้ทุกข์ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับ คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด