ธรรมนิพนธ์ "ลูกผู้ชายต้องบวช" โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ธรรมนิพนธ์ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ

ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ญาณวชิระ

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช

(ตอนที่ ๓๑) บรรพ์ที่ ๕ (๓)

วินัยกรรมที่พระภิกษุใหม่พึงทำเกี่ยวกับบริขารเครื่องใช้

(๑) การทำพินทุ

โดย ญาณวชิระ

: พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

วินัยกรรม

กิจที่พระภิกษุใหม่พึงทำเกี่ยวกับบริขารเครื่องใช้

ภายหลังจากเสร็จพิธีอุปสมบท เมื่อกลับมาถึงกุฏิแล้ว กิจที่พระภิกษุใหม่จะต้องทำเป็นเบื้องต้นเกี่ยวกับบริขารเครื่องใช้ และกิจอย่างอื่นที่ควรทราบเป็นเบื้องต้น เพื่อให้ถูกต้องตามวินัย  คือ

· การทำพินทุ

· การทำวิกัปป์

· อธิษฐาน

· การถอนอธิษฐาน

· การเสียสละบริขาร

การทำพินทุ

พินทุ แปลว่า หยดน้ำ, จุด หรือ เครื่องหมาย  การทำพินทุ คือ การทำจุด หรือ เครื่องหมายลงบนผ้าจีวร   ที่พระภิกษุจะใช้ เป็นบริขารเครื่องใช้  โดยใช้สีเขียวคราม สีโคลน หรือสีดำคล้ำทำเป็นจุดวงกลม

ขนาดของจุดหรือเครื่องหมายพินทุที่ระบุไว้ในวินัย อย่างใหญ่เท่าแววตานกยูง อย่างเล็กเท่าตัวเลือด  จุดมุ่งหมายของการทำพินทุตามพุทธประสงค์มี  ๒ ประการด้วยกัน  คือ

(๑) เพื่อทำจีวรที่ได้มาใหม่ให้เสียสีจากของเดิม  หรือทำจีวรที่ได้มาใหม่ให้มีตำหนิ  เป็นการป้องกันไม่ให้พระภิกษุเกิดความยึดติดในจีวรว่าเป็นของใหม่เป็นของสวยงามหาที่ติมิได้

(๒)เพื่อเป็นเครื่องหมายให้พระภิกษุจดจำจีวรบริขารเครื่องใช้ของตน ในกรณีที่จีวรเกิดการสูญหาย  หรือมีการสับเปลี่ยนกับจีวรของพระภิกษุอื่นในกรณีที่อยู่ด้วยกันหลายรูป 

            วิธีทำพินทุ  พระภิกษุใช้ปากกาสีเขียว  สีคราม  สีโคลน  สีดำหรือวัสดุอย่างอื่นที่ใช้แทนกันได้ทำจุดเป็นวงกลมลงบนลงบนมุมใดมุมหนึ่งของจีวร

วิธีปฏิบัติจริงๆ ขนาดของจุดให้ดูตามความเหมาะสม อย่าให้ถึงกับเล็กเกินไปจนมองไม่เห็น หรือใหญ่เกินไปจนถึงกับเลอะเทอะ นอกจากนั้น ยังสามารถเขียนชื่อพระภิกษุกำกับลงไปข้างจุดด้วยก็ได้   เพื่อเป็นเครื่องหมายที่ชัดเจนลงไปอีก  ในกรณีที่อาจจะซ้ำกับพินทุของพระภิกษุรูปอื่น

คำพินทุกัปป์

เมื่อจะทำพินทุกัปปะ  พระภิกษุพึงตั้ง “นโม” ๓ จบแล้วเปล่งวาจา หรือผูกใจในขณะที่ทำอยู่ว่า

อิมัง   พินทุกัปปัง  กะโรมิ  (ทำจุดหนึ่ง)

ทุติยัมปิ        อิมัง   พินทุกัปปัง   กะโรมิ (ทำจุดหนึ่ง)

  ตะติยัมปิ        อิมัง   พินทุกัปปัง   กะโรมิ (ทำจุดหนึ่ง)

คำแปล

ข้าพเจ้าทำเครื่องหมายนี

้ แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าทำเครื่องหมายนี้

  แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าทำเครื่องหมายนี้

ขอขอบคุณ ภาพจาก  โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ในขณะนั้น ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๓๑) บรรพ์ที่ ๕ (๓ ) “วินัยกรรม : กิจที่พระภิกษุใหม่พึงทำเกี่ยวกับบริขารเครื่องใช้ ๑ การทำพินทุ” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

โปรดติดตามตอนต่อไป 

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติแก้ทุกข์ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับ คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ : พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เรียบเรียง

ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here