จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ

ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ญาณวชิระ

หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด
หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๑๖)

ความเข้าใจ เรื่อง สงฆ์

ผู้ทำหน้าที่ในการบวชให้กุลบุตร

โดย ญาณวชิระ

โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน”  ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐  โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย  สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย
โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” ๖๕ ท่าน ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยเริ่มต้นพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และเดินทางไปบรรพชาอุปสมบท ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย จัดโดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย

ปัจจุบันมีความเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับคำว่า “สงฆ์” มาก เรามักจะเอาสงฆ์ที่ต้องทำกิจตามวินัยไปปะปนกับพระภิกษุสงฆ์จนเกิดความเข้าใจผิดว่า  ถ้าถวายสังฆทานกับพระภิกษุไม่ครบจำนวน ๔ รูป  ไม่เป็นสังฆทาน  ทำแล้วได้บุญน้อย

คำว่า “สงฆ์” มีความหมาย ๒ นัย

คือ สงฆ์ตามธรรมะกับสงฆ์ผู้ทำกิจตามวินัย

· สงฆ์  ตามความหมายธรรมะ

สงฆ์ตามความหมายธรรมะ หมายถึง หมู่ภิกษุสงฆ์ จะเป็นภิกษุก็ตาม เป็นสามเณรก็ตาม รูปเดียวก็ตาม  หลายรูปก็ตาม รวมเรียกว่า  “สงฆ์” ตามนัยนี้ คือ พระภิกษุสงฆ์ผู้เป็นตัวแทนของพระสงฆ์ทั้งมวล 

การถวายสังฆทาน  แปลว่า ทานเพื่อสงฆ์  ไม่ได้หมายความว่าจะต้องถวายแก่พระภิกษุ ๔ รูปจึงจะเป็นสังฆทาน  แต่ภิกษุรูปเดียวก็เป็นสังฆทานได้  เพราะเป็นการถวายทานให้เป็นไปในหมู่สงฆ์  มิใช่เจาะจงรูปใดรูปหนึ่ง พระภิกษุที่รับสังฆทานเป็นเพียงตัวแทนสงฆ์ เมื่อท่านรับแล้วจะเอาแจกจ่ายหมู่คณะอย่างไรก็แล้วแต่ท่าน ผู้ถวายทานน้อมใจไปในหมู่ภิกษุสงฆ์ ทั้งพระสงฆ์ในอดีต ในปัจจุบัน และในอนาคต ทั้งที่เคยเห็นและไม่เคยเห็น ทานนั้นก็เป็น “สังฆทาน”  

การที่เราถืออาหารไปตักบาตรตอนเช้า  โดยไม่ได้เจาะจงพระภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง  พระสงฆ์รูปใดเดินผ่านมา จะเป็นภิกษุก็ตามเป็นสามเณรก็ตาม  ไม่เลือกตักบาตร  อย่างนี้นับว่าเป็นสังฆทานเพราะเป็นทานที่ไม่เจาะจง  พระสงฆ์ที่รับเป็นเพียงตัวแทนพระภิกษุสงฆ์เท่านั้น

แม้ทานที่ถวายระบุพระภิกษุจำนวน ๔ รูป หากจิตใจจำเพราะเจาะจงถวายพระภิกษุ ๔ รูปนี้เท่านั้น  โดยอานิสงส์ก็ไม่ได้เป็นสังฆทาน  เพราะจิตใจคับแคบผูกติดอยู่กับพระแค่  ๔ รูปนี้เท่านั้น  ใจไม่เปิดกว้างไปในสงฆ์ทั้งมวล  ทางมาแห่งบุญก็น้อย อานิสงส์จึงไม่ได้เป็นสังฆทาน  เพราะได้เพียงการปฏิบัติตามรูปแบบการถวายสังฆทานเท่านั้น

อีกอย่างหนึ่ง  การถวายสังฆทานไม่เกี่ยวกับวินัย   เพราะการถวายสังฆทานไม่ได้เป็นสังฆกรรม ไม่ได้เป็นไปตามวินัยบัญญัติ การทำกิจสงฆ์ด้วยจำนวนสงฆ์ ๔ รูปขึ้นไป เป็นข้อกำหนดทางวินัยที่เกี่ยวกับสังฆกรรมโดยเฉพาะ  หากทำสังฆกรรมโดยที่พระสงฆ์ไม่ครบจำนวนตามที่ระบุไว้ผิดวินัย   เช่น รับกฐินพระสงฆ์ไม่ครบ ๕  รูปผิดวินัย คือ ไม่เป็นกฐิน  บวชพระภิกษุจำนวนพระสงฆ์ไม่ถึง ๕ รูป ผิดวินัย และผู้บวชก็ไม่สำเร็จเป็นพระภิกษุ

· สงฆ์ตามความหมายวินัย

            สงฆ์ตามวินัย  หมายถึง สงฆ์ที่ร่วมกันทำกิจสงฆ์ตามข้อบัญญัติทางวินัย   สงฆ์ตามวินัยจะต้องมีจำนวนตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป  หากมีไม่ถึง ๔ รูปถือว่าไม่ครบองค์สงฆ์ ไม่สามารถทำกิจสงฆ์ตามพุทธบัญญัตินั้นๆ ให้สมบูรณ์ได้  กลายเป็นสังฆกรรมวิบัติไป   สงฆ์ตามวินัยมีดังนี้

สงฆ์ผู้ร่วมทำสังฆกรรมมีจำนวน ๔ รูป เรียกว่าจตุรวรรค สำหรับประกอบวินัยกรรมทั่วๆ ไป

สงฆ์ผู้ร่วมทำสังฆกรรมมีจำนวน ๕ รูป เรียกว่า ปัญจวรรค สำหรับรับกฐิน และประกอบพิธีบวชในต่างจังหวัด ซึ่งเป็นถิ่นที่หาพระได้ยาก  เป็นต้น

สงฆ์ผู้ร่วมทำสังฆกรรมมีจำนวน ๑๐รูป เรียกว่า ทศวรรค  สำหรับประกอบพิธีบวชในภาคกลาง ซึ่งเป็นถิ่นที่หาพระได้ง่าย   เป็นต้น

สงฆ์ผู้ร่วมทำสังฆกรรมมีจำนวน  ๒๐ รูปเรียกว่า วีสติวรรค  สำหรับสังฆกรรมในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสของพระภิกษุ  เป็นต้น

ข้อควรสังเกตเกี่ยวกับสงฆ์ตามธรรมะกับสงฆ์ตามวินัย จะเห็นได้ว่า กิจที่เกี่ยวเนื่องกับสงฆ์ตามพระวินัย  ที่เรียกว่า  สังฆกรรมนั้น  ไม่มีการถวายสังฆทานอยู่ด้วย  เหตุเพราะการถวายสังฆทาน  ไม่ใช่กิจตามวินัยที่จะต้องใช้สงฆ์ ๔ รูปขึ้นไปในการประกอบพิธี

คุณสมบัติเกี่ยวกับการบวช

คุณสมบัติของผู้บวช

          ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา  จะต้องทำความเข้าใจข้อห้ามในการบวชให้ละเอียด  เพื่อการบวชจะได้ไม่สูญเปล่า  ซึ่งข้อห้ามไม่ได้มีเฉพาะในพระพุทธศาสนาเท่านั้น  แม้ในที่อื่นก็มีข้อห้ามเช่นเดียวกัน

·  คุณสมบัติที่เป็นข้อห้ามเด็ดขาด

            บุคคลมีคุณสมบัติที่เป็นความผิดร้ายแรงไม่สามารถบวชเป็นพระภิกษุได้ ถ้าสงฆ์บวชให้บุคคลเหล่านี้โดยไม่รู้ความจริง   การบวชของผู้นั้น  ไม่สำเร็จเป็นพระภิกษุ   เมื่อรู้ภายหลังจะต้องให้สึกเสีย  เพราะถึงบวชก็ไม่สำเร็จเป็นพระภิกษุ  บุญกุศลที่จะเกิดจากความเป็นพระภิกษุก็ไม่เกิด นอกจากบุญกุศลไม่เกิดแล้ว ยังเป็นการสร้างบาปกรรม เพราะไม่มีคุณสมบัติแห่งความเป็นพระภิกษุ แต่ดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุ อาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีพ เหมือนหลอกลวงชาวบ้านเลี้ยงชีพ คุณสมบัติที่เป็นความผิดร้ายแรง  มีดังนี้

๑.  ต้องเป็นมนุษย์เพศชายมีอายุครบ  ๒๐ ปีบริบูรณ์เท่านั้น

๒. ต้องไม่เป็นมนุษย์วิบัติ ได้แก่ คนมีเพศบกพร่อง ๒ จำพวก  คือ 

      (๑) บัณเฑาะก์   ได้แก่ ชายมีราคะกล้า ประพฤตินอกรีตในการเสพกาม  สามารถยั่วยวนให้ชายอื่นเกิดราคะได้  ชายที่เป็นกระเทยโดยกำเนิด   ชายที่ถูกตอน รวมทั้งผู้ผ่าตัดแปลงเพศ   

      (๒) อุภโตพยัญชนก คนมีสองเพศ  ทำหน้าที่เพศชายก็ได้    ทำหน้าที่เพศหญิงก็ได้   

คนมีสองเพศ ท่านอธิบายว่า  เวลาต้องการทำหน้าที่ผู้ชาย  ความต้องการแบบเพศชาย ก็จะปรากฏชัด เวลาต้องการทำหน้าที่ผู้หญิง  ความต้องการแบบเพศหญิง ก็จะปรากฏชัด  

การที่พระพุทธองค์ ทรงห้ามไม่ให้คนมีเพศบกพร่องบวช ไม่ได้หมายความว่า  เป็นการกีนกัดทางเพศ หรือเขาเหล่านั้นไม่มีคุณสมบัติที่เข้าถึงธรรมได้  คนเหล่านั้นมีคุณสมบัติที่จะบรรลุธรรมได้ทุกประการ เพียงแต่หากอนุญาตให้คนมีเพศบกพร่องบวช  อาจจะทำให้ศาสนาเกิดความปั่นป่วนวุ่นวายได้   เพราะผู้มีเพศบกพร่องเป็นคนมีราคะกล้าและมีจิตใจอ่อนไหวไม่มั่นคง 

นอกจากนั้น บุคคลเหล่านี้ เมื่อบวชแล้วจะลำบากในการดำรงชีพอย่างพระภิกษุ  เพราะการเป็นพระภิกษุต้องอาศัยชาวบ้านเลี้ยงชีพ  เมื่อทำตัวไม่เหมาะสมชาวบ้านก็ไม่มีใครถวายอาหารพระ ทำให้เกิดความลำบากได้ 

แท้จริง การห้ามคนมีเพศบกพร่องบวชเป็นพระภิกษุ  ไม่ใช่พระพุทธศาสนารังเกียจบุคคลประเภทนี้ แต่เพราะเพื่ออนุเคราะห์   ป้องกันความลำบากที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้บวชเอง และป้องกันอกุศลกรรมที่อาจจะเกิดขึ้น  จากความเป็นผู้มีราคะกล้าและมีจิตใจอ่อนไหวไม่มั่นคง อันเป็นธรรมชาติของบัณเฑาะก์และอุภโตพยัญชนก            

  ๓. ต้องเป็นผู้ไม่เคยทำอนันตริยกรรม

คือ กรรมหนัก ได้แก่ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่  ต้องเป็นคนที่ไม่เคยทำผิดร้ายแรงต่อศาสนา ได้แก่ ฆ่าพระอรหันต์  ข่มขืนนางภิกษุณี   ต้องเป็นคนไม่เคยต้องอาบัติปาราชิกมาแล้วตั้งแต่บวชครั้งก่อน  เมื่อก่อนขณะที่ยังเป็นพระภิกษุอยู่  ได้ไปบวชเป็นพระในศาสนาอื่น โดยที่ไม่ลาสิกขา ภายหลังเปลี่ยนใจจะมาขอบวชเป็นพระอีกครั้ง  แต่หากลาสิกขาก่อนแล้วไปบวชในศาสนาอื่น เปลี่ยนใจมาขอบวชเป็นภิกษุอีกได้    คนปลอม

บวชเป็นภิกษุ(พระปลอม)  ภิกษุผู้ทำสังฆเภท คือ ทำลายสงฆ์ให้แตกจากกัน และ คนที่ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนถึงห้อพระโลหิต

·  คุณสมบัติที่เป็นข้อห้ามไม่เด็ดขาด

บุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ร้ายแรงเหล่านี้  แม้จะเป็นข้อห้าม  แต่ก็ไม่ใช่ข้อห้ามเด็ดขาดจนถึงกับบวชไม่ได้   ควรมีการพิจารณาอนุเคราะห์ตามสมควรเป็นกรณีๆ ไป  บุคคลที่มีคุณสมบัติไม่ร้ายแรงเหล่านี้ อาทิ

โจรที่มีชื่อเสียงโด่งดัง คนที่หนีอาญาแผ่นดิน คนที่มีร่างกายพิการ  คนที่พ่อแม่ยังไม่อนุญาต  คนที่เป็นข้าราชการ ยังไม่ได้รับอนุญาตจากพระราชาหรือทางราชการ คนที่หนีมาบวช คนที่เป็นทาสเขา  คนที่เป็นโรคเรื้อรัง  เป็นโรคติดต่อ  เป็นลมบ้าหมู คนไม่มีอัฐบริขาร   คนไม่มีพระอุปัชฌาย์

(โปรดติดตามตอนต่อไป…)

กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น และกราบขอบพระคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ฯ

อธิบายภาพถ่าย : พิธีบรรพชาอุปสมบท พระนวกะโพธิ รุ่นที่ ๗ จำนวน ๖๕ รูป ณ ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ สาธารณรัฐอินเดีย โดยเริ่มพิธีขลิบผมที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพ โดย สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ วัดสระเกศ ร่วมกับ คณะพระธรรมทูต สายประเทศอินเดีย- เนปาล วัดไทยพุทธคยา สาธารณะรัฐอินเดีย ได้จัดโครงการอุปสมบทหมู่ ด้วยเห็นความสำคัญของการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทั้งหลายพึงกระทำร่วมกัน เพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา อันจะนำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่มหาชน จึงได้จัดการอุปสมบทหมู่ ณ ดินแดนพุทธภูมิ ในโอกาสสำคัญต่างๆ ที่เนื่องด้วยสถาบันหลักของชาติ

วัตถุประสงค์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช , เพื่อเฉลิมพระเกียรติ ถวายเป็นพระราชกุศล ถวายพระพรชัยมงคล แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวราลกูร, เพื่อเทิดทูนไว้ซึ่งสถาบันชาติ พระพุทธศาสนา และพระมหากษัตริย์ อันเป็นที่เคารพอย่างสูงสุด ของประชาชนชาวไทย, เพื่อส่งเสริมให้กุลบุตร ได้มีโอกาสปฏิบัติธรรม ถวายเป็นพุทธบูชา ดินแดนถิ่นกำเนิดพระพุทธศาสนา และได้ทดแทนพระคุณบิดา มารดา ตลอดจนผู้มีพระคุณทั้งหลาย


โครงการอุปสมบทหมู่นวกะโพธิ รุ่น ๗ “รวมใจภักดิ์รักแผ่นดิน” มีผู้สมัครเข้าร่วมโครงการจำนวน ๖๕ ท่าน ระยะเวลาดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ ๒๕ มีนาคม – ๒ เมษายน ๒๕๖๐ โดยวันที่ ๒๕ มีนาคม เวลา ๑๕.๐๐ น. ได้จัดพิธีขลิบผมนาค และมอบผ้าไตร ณ ลานโพธิ์ลังกา วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร และ วันอาทิตย์ ที่ ๒๗ มีนาคม ประกอบพิธีบรรพชาสามเณร ณ มณฑลพิธีใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ พุทธคยา และพิธีอุปสมบท ณ วัดไทยพุทธคยา สาธารณรัฐอินเดีย

โดยมีคณะพระธรรมทูตสายประเทศ อินเดีย- เนปาล และพระวิทยากรกลุ่มใต้ร่มพุทธธรรม สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ เป็นพระวิทยากรดูแลรับผิดชอบ ให้การฝึกอบรม นำพระภิกษุนวกะ ปฏิบัติธรรม ถวายเป็นพุทธบูชา ณ สังเวชนียสถาน ทั้ง ๔ แห่งจนจบโครงการ

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติแก้ทุกข์ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับ คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น

หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ

ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ญาณวชิระ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here