ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ชุดความรู้จากกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม”

โดยพระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

แนวคิด โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

"คัมภีร์พระวิทยากร หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม"  สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ พุทธศักราช ๒๕๖๐
“คัมภีร์พระวิทยากร หลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม” สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ พุทธศักราช ๒๕๖๐
พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น ,พระราชอุปเสนาภรณ์ คณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์, พระราชกิจจาภรณ์ เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ในขณะนั้น, พระศรีคุณาภรณ์ และพระครูสิริวิหารการ ทีี่ปรึกษา โครงการพัฒนาศักยภาพพระวิทยากร ในขณะน้ัน ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
พระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานคณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น ,พระราชอุปเสนาภรณ์ คณะกรรมการโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์, พระราชกิจจาภรณ์ เลขานุการสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ในขณะนั้น, พระศรีคุณาภรณ์ และพระครูสิริวิหารการ ทีี่ปรึกษา โครงการพัฒนาศักยภาพพระวิทยากร ในขณะน้ัน ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๑. แนวคิด

       ๑.๑ แนวคิดเรื่องต้นแบบ

การดำเนินชีวิตต้องการบุคคลที่เป็นต้นแบบ ในทางพระพุทธศาสนาถือว่าบุคคลที่ช่วยแนะนำช่วยเหลือ สั่งสอนชักนำสัมมาทิฎฐิให้แก่ผู้อื่น เรียกว่า กัลยาณมิตร ดังข้อความในพระไตรปิฎกว่า “ภิกษุทั้งหลาย เมื่อดวงอาทิตย์กำลังจะอุทัย ย่อมมีแสงอรุณขึ้นมาก่อน เป็นบุพนิมิต ฉันใด กัลยาณมิตตตา (ความเป็นผู้มีมิตรดี) ก็เป็นตัวนำ เป็นบุพนิมิตเพื่อความเกิดขึ้นแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ฉันนั้น  ภิกษุผู้มีกัลยาณมิตร (มิตรดี) พึงหวังข้อนี้ได้ว่า จักเจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ ทำอริยมรรคมีองค์ ๘ ให้มาก” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙) อานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์กึ่งหนึ่ง”

 พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “อย่ากล่าวอย่างนั้น อานนท์ อย่ากล่าวอย่างนั้นอานนท์ ที่จริง ความเป็นผู้มีมิตรดี มีสหายดี มีเพื่อนดี เป็นพรหมจรรย์ทั้งหมด” (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙)

กัลยาณมิตรจึงถือเป็นบุคคลสำคัญและสามารถเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตเราได้  โดยเป็นผู้มีคุณธรรมในฐานะที่ไม่นิ่งเฉย ไม่ทอดธุระ และเสียสละประโยชน์สุขของตนเพื่อยังสังคมให้เกิดประโยชน์สุข

ดังประวัติของพระพุทธเจ้าในครั้งที่เป็นสุเมธดาบส แม้จะสามารถสำเร็จประโยชน์ตนเองได้ แต่ก็ยังก้าวข้ามเพื่อสร้างประโยชน์สุขให้แก่บุคคลอื่นโดยทั่วกัน

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        สุเมธดาบสถือว่าเป็นผู้มีอุดมการณ์ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือในยุคสมัยพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร สุเมธดาบสบรรลุอภิญญาและใช้เวลาไปกับความสุขอันเกิดจากสมาบัติ ในเวลานั้นพระทีปังกรพุทธเจ้า มีพระขีณาสพสี่แสนห้อมล้อมแล้ว เสด็จจาริกไปตามลำดับเสด็จถึงนครชื่อรัมมกะ เสด็จประทับที่สุทัสนมหาวิหาร

      พวกชาวรัมมกนครได้กล่าวกันว่า “พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกร เสด็จจาริกไปโดยลำดับ เสด็จถึงรัมมกนครแล้ว เสด็จประทับอยู่ที่สุทัสนมหาวิหาร” ต่างพากันถือเภสัชมีเนยใสและเนยข้นเป็นต้นนี้ และผ้าเครื่องนุ่งห่ม มือถือของหอมและดอกไม้ หลั่งไหลพากันไปที่นั้น เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วถวายบังคม บูชาด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้นแล้วนั่งที่ควรข้างหนึ่ง ฟังพระธรรมเทศนาแล้วทูลนิมนต์เพื่อเสวยในวันรุ่งขึ้นพากัน ลุกจากที่นั่งแล้วหลีกไป 

      ในวันรุ่งขึ้นต่างพากันตระเตรียมมหาทานประดับ ประดานคร ตกแต่งหนทางที่จะเสด็จมาของพระทศพล ในที่มีน้ำเซาะก็เอาดินถมทำพื้นที่ดินให้ราบเสมอ โรยทรายอันมีสีดังแผ่นเงิน โปรยปรายข้าวตอก และดอกไม้ ปักธงชายและธงแผ่นผ้า พร้อมด้วยผ้าย้อมสีต่างๆ ตั้งต้นกล้วยและหม้อน้ำ เต็มด้วยดอกไม้เรียงรายเป็นแถว

      กาลนั้นสุเมธดาบสผ่านมาเห็นชาวบ้านพากันประดับบ้านเรือน จึงถามแล้วทราบเรื่อง โดยสุเมธดาบสคิดว่า แม้เพียงคำประกาศว่าพระพุทธเจ้า ก็หาได้ยากในโลก อย่าว่าไปถึงการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าเลย แม้เราก็ควรจะร่วมกับมนุษย์เหล่านั้นตกแต่งทางเพื่อพระทศพลด้วย”

    ท่านจึงกล่าวกะพวกมนุษย์เหล่านั้นว่า “ถ้าพวกท่านตกแต่งทางนี้เพื่อพระพุทธเจ้า ขอจงให้โอกาสส่วนหนึ่งแก่เราบ้าง แม้เราก็จักตกแต่งทางเพื่อพระทศพลพร้อมกับพวกท่าน”  พวกชาวบ้านก็รับปากเพราะทุกคนต่างรู้ว่าสุเมธดาบสมีฤทธิ์ จึงมอบที่ว่างซึ่งมีน้ำเซาะให้แล้วกล่าวว่า “ท่านจงทำที่นี้เถิด” สุเมธดาบสถือเอาปีติในพระพุทธเจ้าจึงคิดว่า “เราสามารถจะตกแต่งที่ว่างนี้ด้วยฤทธิ์ได้ แต่เมื่อเราตกแต่งเช่นนี้ ใจก็จะไม่ยินดีนัก วันนี้เราควรจะกระทำการรับใช้ด้วยกาย” จึงขนดินมาเทลงในที่ว่างนั้น

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

      เมื่อที่ว่างแห่งนั้น ยังตกแต่งไม่เสร็จเลย พระทศพลทีปังกร มีพระอรหันต์ผู้ได้อภิญญา มีอานุภาพมาก สี่แสนรูปห้อมล้อม เสด็จเยื้องกรายบนพื้นมโนสิลา ด้วยพระพุทธลีลาอันหาที่สุดมิได้ ประดุจราชสีห์เสด็จดำเนินมาสู่ทางที่ตกแต่งประดับประดาแล้วนั้น

     สุเมธดาบสลืมตาทั้งสองขึ้นมองดูพระวรกายของพระทศพลผู้เสด็จดำเนินมาตามทางที่ตกแต่งแล้ว ซึ่งถึงความเลิศด้วยพระรูปโฉม ประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ สวยงาม แวดวงด้วยแสงสว่างมีประมาณวาหนึ่ง เปล่งพระพุทธรัศมีหนาทึบ ประการออกนาดูประหนึ่งสายฟ้าหลายหลาก ในพื้นท้องฟ้ามีสีดุจแก้วมณี ฉายแสงแปลบปลาบอยู่ไปมาและเป็นคู่ๆ กัน จึงคิดว่า  “วันนี้เราควรกระทำการบริจาคชีวิตแด่พระทศพล ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่าได้ทรงเหยียบเปือกตม แต่จงทรงย่ำหลังของเรา เสด็จพร้อมกับพระขีณาสพสี่แสนเหมือนทรงเหยียบสะพานแก้วมณีเถิด ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เพื่อความสุขแก่เราตลอดกาลนาน”

            จึงแก้ผมออก ลาดหนังเสือ ชฎาและผ้า เปลือกไม้วางลงบนเปือกตม ซึ่งมีสีดำ นอนบนหลังเปือกตมเหมือนสะพานแผ่นแก้วมณี สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นแล ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกรจึงคิดว่า “ถ้าเราพึงต้องการ ก็พึงเผากิเลสทั้งปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกะนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลสด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่งแล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานภายหลัง ข้อนี้สมควรแก่เรา” ต่อจากนั้นกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้าแล้วนอนลง

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าทีปังกรเสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า “ดาบสนี้กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ล่วงสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม” ยังประทับยืนอยู่นั่นแหละทรงพยากรณ์แล้วด้วยตรัสกับเหล่าพระภิกษุว่า “ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้ เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม”  

                สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า “ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ” พอทำการตกลงใจจะเป็นพระพุทธเจ้า เหล่าบารมีธรรมก็ปรากฎตามมานับต่อแต่นั้นในการดำเนินไปตลอดอสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป

        การที่สุเมธดาบสได้ต้นแบบที่ดีจึงเป็นที่มาของการได้เป็นพระพุทธเจ้าที่เราได้ทราบมาในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

       ๒. ต้นธรรม

คุณสมบัติของผู้จะเป็นต้นแบบได้นั้น ต้องประกอบไปด้วยธรรมะหรือหลักที่เป็นต้นธรรมในการที่ทำให้เราเกิดศรัทธา และสามารถดำเนินตามแบบอย่างบุคคลนั้นได้ โดยลักษณะของบุคคลที่เป็นต้นธรรมนั้น คือธรรมที่ทำให้คนนั้นเป็นต้นแบบให้กับเราได้ มี ๒ หมวดคือ

๒.๑ สัปปุริสธรรม ธรรมของสัตบุรุษ, ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ, คุณสมบัติของคนดี, ธรรมของผู้ดี มี ๗ ประการคือ

       ๑. ธัมมัญญุตา ความรู้จักธรรม รู้หลัก หรือ รู้จักเหตุ คือ รู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล เช่น ภิกษุรู้ว่าหลักธรรมข้อนั้นๆ คืออะไร มีอะไรบ้าง พระมหากษัตริย์ทรงทราบว่าหลักการปกครองตามราชประเพณีเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง รู้ว่าจะต้องกระทำเหตุอันนี้ๆ หรือกระทำตามหลักการข้อนี้ๆ จึงจะให้เกิดผลที่ต้องการอันนั้นๆ เป็นต้น

       2. อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ รู้จักผลที่จะเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการกระทำหรือความเป็นไปตามหลัก เช่น รู้ว่าหลักธรรมหรือภาษิตข้อนั้นๆ มีความหมายว่าอย่างไร หลักนั้นๆ มีความมุ่งหมายอย่างไร กำหนดไว้หรือพึงปฏิบัติเพื่อประสงค์ประโยชน์อะไร การที่ตนกระทำอยู่มีความมุ่งหมายอย่างไร เมื่อทำไปแล้วจะบังเกิดผลอะไรบ้างดังนี้เป็นต้น

       ๓. อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลังความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสม และรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป

       ๔. มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่ คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ พระมหากษัตริย์รู้จักประมาณในการลงทัณฑอาชญาและในการเก็บภาษี เป็นต้น

       ๕. กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือ รู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่จะต้องใช้ในการประกอบกิจ กระทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา ให้เหมาะเวลา เป็นต้น

       ๖. ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือ รู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กิริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่า ชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกิริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น

       ๗. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา (ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่า โดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น ใครๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นๆ ด้วยดี ว่าควรจะคบหรือไม่ จะใช้จะตำหนิ ยกย่อง และแนะนำสั่งสอนอย่างไร เป็นต้น (พระพรหมคุณาภรณ์ (พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต), ๒๕๕๘)

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๒.๒ กัลยาณมิตรธรรม คือองค์คุณของกัลยาณมิตร, คุณสมบัติของมิตรดีหรือมิตรแท้ คือท่านที่คบหรือเข้าหาแล้วจะเป็นเหตุให้เกิดความดีงามและความเจริญ ในที่นี้มุ่งเอามิตรประเภทครูหรือพี่เลี้ยงเป็นสำคัญ มี ๗ ประการคือ

       ๑. ปิโย น่ารัก ในฐานเป็นที่สบายใจและสนิทสนม ชวนให้อยากเข้าไปปรึกษา ไต่ถาม

      ๒. ครุ น่าเคารพ ในฐานประพฤติสมควรแก่ฐานะ ให้เกิดความรู้สึกอบอุ่นใจ เป็นที่พึ่งใจ และปลอดภัย

       ๓. ภาวนีโย น่าเจริญใจ หรือน่ายกย่อง ในฐานทรงคุณคือความรู้และภูมิปัญญาแท้จริง ทั้งเป็นผู้ฝึกอบรมและปรับปรุงตนอยู่เสมอ ควรเอาอย่าง ทำให้ระลึกและเอ่ยอ้างด้วยซาบซึ้งภูมิใจ

       ๔. วตฺตา จ รู้จักพูดให้ได้ผล รู้จักชี้แจงให้เข้าใจ รู้ว่าเมื่อไรควรพูดอะไรอย่างไร คอยให้คำแนะนำว่ากล่าวตักเตือน เป็นที่ปรึกษาที่ดี

       ๕. วจนกฺขโม อดทนต่อถ้อยคำ คือ พร้อมที่จะรับฟังคำปรึกษาซักถามคำเสนอแนะวิพากษ์วิจารณ์ อดทน ฟังได้ไม่เบื่อ ไม่ฉุนเฉียว

       ๖. คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา แถลงเรื่องล้ำลึกได้ สามารถอธิบายเรื่องยุ่งยากซับซ้อน ให้เข้าใจ และให้เรียนรู้เรื่องราวที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป

       ๗. โน จฏฺฐาเน นิโยชเย ไม่ชักนำในอฐาน คือ ไม่แนะนำในเรื่องเหลวไหล หรือชักจูงไปในทางเสื่อมเสีย (มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๓๙)

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๒. ขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม

       ๑) พระวิทยากรที่นำกิจกรรมหน้าเวทีอธิบายและชี้แจงเกี่ยวกับกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” ให้ผู้เข้าอบรมทราบและเข้าใจ หลังจากนั้นก็แจกกิจกรรม ให้ลงกลุ่มพร้อมแจกอุปกรณ์ทำกิจกรรมให้ทุกกลุ่ม (๕ นาที)

        ๒) ผู้เข้าอบรมแต่ลงกลุ่ม และพระวิทยากรแจ้งให้ทุกคนในกลุ่ม นั่งวงกลม พร้อมกราบผู้มีพรรษาสูงสุดในกลุ่ม และพระวิทยากรกล่าวทักทายสมาชิกในกลุ่มสร้างความเป็นกันเอง และอธิบายกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” ให้สมาชิกในกลุ่มเข้าใจ พร้อมแจกกระดาษและอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม ( ๕ นาที)

        ๓) ทุกคนในกลุ่มได้บันทึกเรื่องราวของผู้ที่เป็นต้นแบบต้นธรรมของตนเอง โดยมีประเด็นต่าง ๆ ของบุคคลที่จะเป็นต้นแบบต้นธรรม เช่น ประวัติการทำงาน, อุดมการณ์, วิธีคิด, และที่สำคัญต้องอธิบายถึงเหตุใด เพราะอะไร ทำไมเรานำบุคคลนี้มาเป็นต้นแบบต้นธรรม ( ๑๕ นาที)

๔) สมาชิกทุกคนในกลุ่มเปลี่ยนกันเล่า ถึงบุคคลผู้เป็นต้นแบบต้นธรรมของตนเองให้สมาชิกในกลุ่มได้ร่วมกันฟัง (๔๕ นาที)

       ๕) เมื่อสมาชิกทุกคนในกลุ่มพูดถึงบุคคลต้นแบบต้นธรรมครบทุกคนแล้ว ให้กลุ่มตกลงกันว่าเราจะเลือกบุคคลใดที่ทุกคนเล่ามา เพื่อมาเป็นต้นแบบต้นธรรมของกลุ่มเรา เพื่อจะได้ไปนำเสนอสรุปหน้าเวที (เวลา ๑๕ นาที)

        ๖) พระวิทยากรประจำกลุ่มนำเข้าสู่การสรุปช่วงสุดท้ายของการทำกิจกรรมกลุ่ม โดยให้สมาชิกช่วยกันสรุปว่าจากการทำกิจกรรมครั้งนี้ได้แง่คิด และนำไปปรับใช้ได้อย่างไร และพระวิทยากรประจำกลุ่มสรุปปิดท้าย     ( ๑๐ นาที)

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๓. บรรยากาศการดำเนินกิจกรรม

        บรรยากาศการดำเนินกิจกรรมในกลุ่มระหว่างพระวิทยากระประจำกลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม แบ่งออกเป็นหลายช่วงด้วยกันดังนี้

        ช่วงแรก พระวิทยากรได้อธิบายถึงเงื่อนไข และแนวทางการดำเนินกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” โดยอธิบายว่าต่อไปนี้พวกเราจะมาค้นหาผู้ที่จะเป็นแรงบันดาลใจ เป็นแบบอย่างให้ชีวิตเราเดินตาม ถ้าพูดภาษาสมัยใหม่ก็คือเราต้องมี “ไอดอล” หรือเป็นถ้าเปรียบเสมือนการสร้างพระพุทธรูปก็ต้องมีบล็อก บล็อกสวยงาม บล็อกเป็นเช่นใด พระพุทธรูปก็จะออกมาเช่นนั้น

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เฉกเช่นชีวิตของเราควรมีผู้เป็นต้นแบบต้นธรรมให้กับชีวิตของเรา โดยมีกระดาษให้ ๑ แผ่น เพื่อทุกท่านจะได้เขียนออกมาว่าบุคคลต้นแบบต้นธรรมของท่านที่เลือกมามีประวัติการทำงาน วิธีคิดในการทำงาน อุดมการณ์ในการทำงานเพื่อพระศาสนาเป็นเช่นใด ที่สำคัญต้องถอดชีวิตบุคคลนั้นออกมาให้ได้ว่าเพราะเหตุใด ทำไมท่านถึงเลือกบุคคลนั้นมาเป็นต้นแบบต้นธรรมของท่าน

หลังจากนั้นในกลุ่มก็ดูเงียบสงบ แต่ทรงพลังที่แฝงไปด้วยอุดมการณ์บุคคลต้นแบบต้นธรรมของสมาชิกในกลุ่ม กล่าวคือ ทุกคนในกลุ่มได้ตั้งใจในการถอดบทเรียนชีวิตของบุคคลที่จะนำมาเป็นต้นแบบต้นธรรมลงในกระดาษเอ ๔ 

ช่วงที่สอง เมื่อทุกคนได้ถอดบทเรียน ถอดชีวิตบุคคลที่เป็นต้นแบบต้นธรรมเสร็จแล้ว พระวิทยากรในกลุ่มก็ได้นำเข้าสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมโดยกล่าวว่า ต่อจากนี้ไปนับเป็นช่วงที่พระอาจารย์ทุกท่านจะได้เติมเต็มอุดมการณ์ของพระนักเผยแผ่ ให้มีใจที่หนักแน่น มั่นคงในทุกย่างก้าวของการเป็นพระวิทยากรกระบวนธรรม

หลังจากนั้นผู้เข้าอบรมในกลุ่มก็เริ่มพูดคุยแรกเปลี่ยนกันไปทีละคน ช่วงระหว่างนั้นก็จะสังเกตเห็นได้ถึงความตั้งใจของผู้พูด เสียงที่หนักแน่น ใบหน้าที่อิ่มเอิบกับอุดมการณ์จากบุคคลที่ตนพูด ส่วนสมาชิกในกลุ่มก็ตั้งใจฟัง ซึ่งในขณะผู้ที่ฟังนั้นดูเหมือนได้รับพลังใจ และแรงขับเคลื่อนจากเรื่องเล่าที่ได้ฟังเป็นอย่างยิ่ง

        ช่วงสุดท้าย เมื่อทุกคนในกลุ่มเล่าจบ พระวิทยากรในกลุ่มก็ได้ช่วยให้ทุกคนพูดสะท้อนถึงความรู้สึก และสิ่งที่ได้รับจากกาเข้าร่วมกิจกรรมต้นแบบต้นธรรมในครั้งนี้ว่าในขณะที่เราได้ค้นพบบุคคลที่เป็นต้นแบบต้นธรรมของตนเอง และได้ฟังเพื่อนในกลุ่มพูดได้อะไรบ้าง และก็จบด้วยพระวิทยากรประจำกลุ่มก็สรุปกิจกรรม

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๔. ความรู้สึกของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

        เมื่อผู้เข้าอบรมเข้าร่วมกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” ก็จะมีความรู้สึก หรือได้มุมองแง่คิดจากการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ โดยการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ดังนี้

        ๑) เมื่อได้เข้าร่วมกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” ทำให้เราได้มีแบบอย่างของชีวิต เพราะต้นแบบต้นธรรมของแต่ละคนในกลุ่มที่นำมาเล่าล้วนเป็นผู้ที่สามารถเป็นแบบอย่างให้ชีวิตของเราเดินตามได้ เพราะการทำงานหากเรามีแบบอย่างที่ดีให้เราเดินตาม ก็เหมือนเราเดินป่าถ้ามีเข็มทิศเราก็จะไม่หลงป่า สามารถเดินไปสู่เป้าหมายของเรานั้นได้อย่างปลอดภัยและรวดเร็ว เฉกเช่นต้นแบบต้นธรรม ถ้าเรามีแบบอย่างก็จะทำให้เราได้นำมาเป็นบล็อกของชีวิต มาเป็นเข็มทิศให้เราได้เดินตามเพื่อทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาได้อย่างงดงาม

        ๒) จากการได้ร่วมกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” เมื่อฟังเรื่องเล่าต้นแบบต้นธรรม กล่าวคือ สมาชิกในกลุ่มแต่ละท่านได้มีต้นแบบต้นธรรม ได้เล่าถึงบุคคลอันเป็นต้นแบบต้นธรรมของตนเอง จากที่ทุกคนได้เล่ามาทำให้เห็นอย่างหนึ่งเหมือนกันคือ แต่ละท่านที่เป็นต้นแบบต้นธรรม เป็นบุคคลที่เสียสละ มีเมตตา และที่สำคัญการกระทำของท่านนอกจากจะทำงานเพื่อพระศาสนาในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นผู้ที่เป็นผู้นำของสังคมที่พัฒนาหมู่บ้าน ชุมชน หรือสังคม โดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมและสังคมเป็นที่ตั้งในการดำรงชีวิต

        ๓) เมื่อได้ฟังแต่ละท่านในกลุ่มได้เล่าถึงต้นแบบต้นธรรมรวมทั้งตัวเราด้วยที่ได้เล่าต้นแบบต้นธรรมแลกเปลี่ยนกับเพื่อนในกลุ่ม ทำให้เราได้เห็นและเรียนรู้วิธีคิดบุคคลที่เป็นต้นแบบต้นธรรมแต่ละท่าน เพราะบุคคลที่เป็นต้นแบบต้นธรรมแต่ละท่านนั้น จะมีวิธีคิดในการทำงาน วิธีคิดในการเข้าถึงชุมชน โดยเฉพาะวิธีคิดในการแก้ปัญหา ฯ เพราะวิธีคิดของผู้ที่เป็นบุคคลต้นแบบต้นธรรมผ่านการลองผิดลองถูก ทดลองใช้จนได้ผล ดังนั้นวิธีคิดของบุคคลเหล่านี้ก็เหมือนอาหารสำเร็จรูป ที่เราสามารถนำมาใช้ได้เลย เพียงแต่นำมาปรับหรือบูรณาการให้เข้ากับสังคมเหตุการณ์เท่านั้น

        ๔) การจัดกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” และได้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ถือว่าเป็นประสบการณ์ของชีวิตมากที่สุด เพราะได้ในกลุ่มมีสมาชิก ๙ ท่าน ได้ฟังบุคคลอันเป็นต้นแบบต้นธรรม ๙ ท่าน เมื่อฟังเรื่องราวของชีวิตแต่ละท่าน ก็อดทำให้เราต้องย้อนกลับมาดูชีวิตตนเองไม่ได้ เราว่าตนเองทำงานมากแล้ว ขยันแล้ว และสิ่งที่เราทำมันยิ่งใหญ่แล้ว แต่เมื่อไปเทียบกับต้นแบบต้นธรรมแต่ละท่านมันเทียบกับท่านไม่ได้เลย เราจึงต้องบอกตนเองว่าต่อจากนี้ไปเราต้องเพียรและทำงานให้มากกว่าเดิม โดยเฉพาะการทำงานเผยแผ่พระศาสนา เราต้องตั้งหลักให้มั่น และมีเป้าหมายที่ชัดเจน และจงใช้ลมหายใจที่เหลือของชีวิตในเพศสมณะทำเพื่องานเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป

        ๕) เมื่อได้ฟังเรื่องเล่าผู้ที่เป็นต้นแบบต้นธรรมของแต่ละท่านแล้ว ทำให้มีกำลังใจ มีแรงผลักดัน แรงขับเคลื่อนที่จะทำงานเผยแผ่พระศาสนาอย่างมาก เพราะเวลาเราทำงาน หรือจัดทำโครงการต่าง ๆ หรือการทำหน้าที่เป็นพระนักเผยแผ่ เราต้องเข้าไปเกี่ยวข้องกับบุคคลหลากหลาย สิ่งที่ตามมาก็คือปัญหา

แน่นอนการทำงานก็ย่อมมีปัญหาแต่บางครั้งเมื่อพบเจอปัญหาและอุปสรรคในการทำงาน ก็ทำให้เราเหนื่อยล้า หรือบางครั้งก็อยากจะไม่ทำงานพวกนี้อะไรอีกแล้ว อยู่อย่างสงบ ๆ แต่ในใจก็บอกกับตนเองตลอดว่าเราหยุดไม่ได้ ถ้าเราหยุดพระพุทธศาสนาก็จบ ดังนั้นการที่ได้มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ทำให้ได้รับกำลังใจอย่างเต็มเปี่ยม มีแรงใจ แรงกาย และเกิดอุดมการณ์ ทำให้ใจเราหนักแน่น มั่นคง แน่วแน่ต่องานพระศาสนา และทำงานเผยแผ่พระศาสนาต่อไป

๕. สรุปและข้อเสนอแนะ

๑) สรุป

กิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” มีความมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เข้าอบรมได้มีแบบ หรือแนวทางที่จะนำมาเป็นหลัก

ในการดำเนินชีวิต กล่าวคือ มีบุคคลที่สามารถทำให้ผู้เข้าอบรมได้ศึกษา วิถีชีวิต แนวคิด และวิธีการทำงาน แล้วได้เดินตามในการทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ถ้าเปรียบเหมือนการเดินป่าก็ต้องมีเข็มทิศ การจะทำงานเผยแผ่อันดับแรกเราก็ต้องมีบุคคลต้นแบบเพื่อเป็นเข็มทิศของชีวิตในการทำงาน สิ่งสำคัญสำหรับกิจกรรมนี้คือให้ผู้เข้าอบรมได้มีบุคคลต้นแบบแล้วยังไม่เพียงพอ ได้มีอุดมการณ์การทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริง หากใครมีอุดมการณ์แล้ว ก็จะเป็นการเติมเต็มให้อุดมการณ์หนักแน่นมั่นคงขึ้น ส่วนใครที่ยังไม่มีอุดมการณ์ก็จะเป็นการปลูกฝั่งอุดมการณ์ให้เกิดขึ้นในหัวใจ

อนึ่ง มีคำกล่าวอยู่ว่าคนฉลาดจะเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น ส่วนคนโง่จะเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง แต่ถ้าเราเรียนรู้ได้ทั้งสองอย่างก็เป็นการดี เพราะความผิดพลาด เป็น ครู

และการทำกิจกรรมต้นแบบต้นธรรมทำให้เราได้รู้บุคคลที่เขาลองผิด ลองถูก ในการทำงานมาแล้ว จนเห็นหนทางที่ทำให้เราสามารถเดินตามได้ พระสงฆ์รุ่นหลังถือว่าโชคดีมากตรงที่มีคนได้วางแนวทางที่ดีงามไว้ให้เรา ซึ่งทำให้เราสามารถทำตาม หรือเรียนรู้ในแนวทางนั้นได้ เพราะคนที่จะประสบความสำเร็จก็คือคนที่ดูว่าคนที่เป็นต้นแบบต้นธรรมเขาทำงานอย่างไรถึงประสบผลสำเร็จ แล้วเราก็ลงมือทำตาม ซึ่งเป็นสิ่งที่เราได้เรียนรู้ผ่านกิจกรรมต้นแบบต้นธรรมอีกด้วย

         ดังนั้น เราในฐานะเป็นพระวิทยากร และเป็นพระสงฆ์ในสังคมไทยซึ่งถือว่าเป็นผู้นำทางด้านจิตวิญญาณของสังคม นอกจากเราจะค้นหาบุคคลอันเป็นต้นแบบต้นธรรมของตนเองแล้ว เราก็ต้องเป็นต้นแบบ ต้นธรรม ให้ลูกศิษย์ หรือบุคคลที่พบเจอเราเกิดความศรัทธาไปด้วย คุณสมบัติประการแรกสำหรับเราที่จะเป็นต้นแบบต้นธรรมนั้นก็คือเรื่องเสขิยวัตร ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกิริยาท่าทาง กิริยามารยาท  กิริยาวาจา  แต่สำหรับพระสงฆ์เพียงแค่ปรากฏกายก็สามารถเป็นต้นแบบต้นธรรมให้กับบุคคลที่พบเห็นเกิดความศรัทธาได้ การนุ่งห่ม ให้ดูงดงาม เห็นแล้ว เย็นตา เห็นใจ เกิดความศรัทธาแล้วมีความปรารถนาที่จะน้อมใจเข้าสู่พระรัตนตรัย ดังเช่น พระเจ้าอโศกมหาราชเพียงแค่เห็นสามเณรรูปหนึ่งที่อิริยาบถที่งดงาม จึงเกิดความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและสร้างคุณูปการต่อพระพุทธศาสนา ด้วยความตั้งใจ ทุ่มเท เสียสละ และอุทิศชีวิตเพื่อพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

        ๒) ข้อเสนอแนะ

        การดำเนินกิจกรรมต้นแบบต้นธรรมซึ่งเป็นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ อาศัยกิจกรรมเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนไปด้วยกัน ในการถอดองค์ความรู้กิจกรรมดังกล่าวนี้ ผู้ถอดบทเรียนจึงมีข้อเสนอแนะสำหรับการทำกิจกรรมในครั้งต่อไปดังนี้

        ๑. ผู้นำกิจกรรมหน้าเวทีก่อนจะแจกกิจกรรมให้ลงกลุ่ม ควรจะเปิดสื่อที่สื่อให้เห็นว่าถึงความสำคัญของบุคคลต้นแบบต้นธรรมสำหรับพระนักเผยแผ่ หรือเล่าถึงประวัติพระสงฆ์ที่เป็นปูชนียบุคคลที่ผู้เข้าอบรมฟังแล้วสามารถมีความรู้สึกร่วมกันว่าเราควรมีบุคคลต้นแบบต้นธรรม เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเกิดแรงจูงใจ และแรงบันดาลใจที่จะได้ค้นหาหรือใครมีแล้วก็จะได้ถอดบทเรียนคนนั้นออกมาอย่างตั้งใจ

๒. ขณะลงกลุ่มทำกิจกรรม ควรมีกระดาษขนาดเอ ๔ พิมพ์ไว้เป็นแนวทางให้เลยว่าสำหรับบุคคลต้นแบบต้นธรรมจะเอาข้อมูลอะไรบ้างเช่น ประวัติการทำงาน, วิธีคิด, อุดมการณ์, การทำงานเผยแผ่ ให้ผู้เข้าอบรมสามารถจดบันทึกตามประเด็นต่าง ๆ ลงในกระดาษเอ ๔ ที่เรากำหนดให้ได้เลย  ก็เพื่อกำหนดแนวทางให้ผู้เข้าอบรมได้เห็นประเด็นชัดเจน และได้นำข้อมูลมาเล่าไปในแนวทางเดียวกัน

        ๓. ผู้นำกิจกรรมกระบวนหรือพระวิทยากรประจำกลุ่มเวลาลงกลุ่มทำกิจกรรมควรบริหารเวลาให้ลงตัวจะให้ถอดบทเรียนบุคคลต้นแบบต้นธรรมกี่นาที่ จะเหลือเวลาพูดเท่าไหร่ เพราะกิจกรรมนี้ควรให้ได้พูดทุกคน และต้องเหลือเวลาไว้สำหรับมาสรุปบุคคลที่จะเป็นต้นแบบต้นธรรมของกลุ่ม พร้อมทั้งสรุปในกลุ่มอีกด้วย ควรบริหารจัดการเรื่องเวลาในกลุ่มให้ลงตัว

        ๔. ในกลุ่มจะมีบางคนที่ไม่มีบุคคลต้นแบบต้นธรรม พระวิทยากรประจำกลุ่มต้องพยายามพูดกระตุ้นให้เขาเกิดการเรียนรู้จากสมาชิกในกลุ่ม และมีแรงบันใจที่จะค้นหาบุคคลต้นแบบต้นธรรมของตนเอง เมื่อผ่านกิจกรรมนี้ทุกคนในกลุ่มควรมีบุคคลต้นแบบต้นธรรมทุกคน

        ๕. กระบวนการของกิจกรรมต้นแบบต้นธรรม เพื่อให้มีบุคคลที่เป็นแรงบันดาลใจให้ได้เดินตามรอยท่าน และเกิดอุดมการณ์ในการทำงานพระศาสนาใจหัวใจ ตรงจุดนี้พระวิทยากรประจำกลุ่มควรกระตุ้น หรือสร้างบรรยากาศให้สมาชิกในกลุ่มเกิดการเรียนรู้และมีแรงบันดาลใจตรงนี้ให้ได้

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เอกสารอ้างอิง : มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (๒๕๓๙). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.,พระพรหมคุณาภรณ์. (๒๕๕๘). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 31. กรุงเทพมหานคร : ผลิธัมม์.

พระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม และ พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี
พระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม และ พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

ชุดความรู้จากกิจกรรม “ต้นแบบต้นธรรม” โดยพระใบฏีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม แนวคิด โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here