Q มนสิกุล ถาม : กราบนมัสการค่ะ พระอาจารย์ ทำอย่างไรจึงจะฝึกระวังวาจาของตนเอง และทำอย่างไร จึงจะฝึกฟังให้จบก่อนที่จะตอบออกไป หรือ จะมีสติในการพูด และการฟังอย่างไรคะ พระอาจารย์

A พระมหาขวัญชัย ตอบ : ก่อนจะตอบคำถามนี้ ขอเริ่มด้วยการทำความเข้าใจอะไรสักอย่างก่อน คือว่ามนุษย์เรามีการแสดงออกที่เรียกว่า กรรม อยู่ ๓ แบบ คือ

๑. การแสดงออกทางกาย เรียกว่า กายกรรม

๒. การแสดงทางวาจา เรียกว่า วจีกรรม

และ ๓ การแสดงออกทางใจ เรียกว่า มโนกรรม

ก่อนจะแยกให้ชัดออกไปอีก คือ กายกรรม ได้แก่ การทำร้าย การลักขโมย การล่วงละเมิด ส่วนวจีกรรม คือพูดปด พูดส่อเสียด พูดเพ้อเจ้อ พูดคำหยาบ และมโนกรรม คือการคิดอยากได้ของเขา คิดประทุษร้ายเขา มีความเห็นผิด

          การพิจารณาว่าสิ่งทั้งหมดที่แสดงออกมานี้ล้วนเป็นสิ่งไม่ดีหรือเป็นอกุศล ที่ยึดโยงกันระหว่างกาย วาจา และใจ ที่พระพุทธศาสนาอธิบายถึงการละการกระทำเหล่านี้ผ่านโอวาทปาฎิโมกข์ว่า “การไม่ทำบาปทั้งปวง” “การยังกุศลให้ถึงพร้อม” และ “การชำระจิตของตน”

แต่การจะทำได้ …

อย่างที่ ๑ คือ ต้องมีขันติหรือความอดทนที่จะไม่ว่าทำร้าย ไม่ว่าร้าย หรือคิดร้ายต่อใคร จะพบว่า “การอดทน” คือการนิ่งไม่ตอบโต้ทั้งทางกาย วาจา หรือใจ เท่ากับว่าเรามีสติไปพร้อมกับการมีเวลาได้พิจารณาแง่มุมต่างๆ ของเรื่องราวเหล่านั้นได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

          อย่างที่ ๒ ต้องยอมรับความจริง มักจะมีคนมองว่า “๑. เป็นเรื่องง่ายที่เราจะนิ่งฟังได้กับเรื่องที่ถูกใจ ชอบใจเรา หรือตรงกับเรื่องที่เราอยากฟัง และ ๒. เราจะอดทนไม่ได้ที่จะฟัง อดทนไม่ได้ที่จะนิ่งเฉยไม่ตอบโต้เมื่อคนอื่นที่พูดขัดใจเรา เราไม่ชอบ” ถ้าเรามองอย่างเข้าใจจะพบว่า เรื่องเหล่านี้มาจากฐาน “ความรู้สึก” มากกว่า “ความจริง”

ลองดูก็ได้ว่า เวลาที่เราเดินท่ามกลางแดดร้อน เราพยายามปัดป้องกันความร้อนด้วยการกางร่มหรือหาร่มไม้ที่มีเงาหนาๆ ปกคลุม หรืออาบน้ำเพื่อคลายร้อน การแสดงอาการอย่างนี้แสดงว่าเราไม่ชอบที่สิ่งทำร้ายเรา และเราปกป้องจากสิ่งเหล่านั้น

ขณะที่ความเย็นของน้ำ หรือร่มเงากลับกลายเป็นสิ่งที่เราชื่นชมหรือทนได้ง่ายกว่า

แต่ทั้งความร้อนของแดดหรือความเย็นของน้ำ ไม่ได้ต้องการให้เราชอบใจหรือไม่ชอบใจ แต่เราเลือกจะชอบหรือเกลียดมาจากความรู้สึกที่สั่งสมไว้จนละเอียด และยากที่เราจะมองเห็นได้ เพราะเราไม่เคยมองความจริงว่าแดดก็ร้อนอย่างนั้น น้ำก็เย็นอย่างนั้น เป็นเช่นนั้นเอง เรื่องที่ชอบหรือเกลียดก็เท่านั้นเอง

พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ปธ.๙ ดร.

Q&A Quickly Dhrama Healing
กับ พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี ปธ.๙ดร.

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here