พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๕๙
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๕๙

จิรํ ติฏฺฐตุ พุทธสาสนํ ฯ

ขอพระพุทธศาสนาจงดำรงอยู่ตลอดกาลนาน

ญาณวชิระ

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช

(ตอนที่ ๒๖)

บรรพ์ที่  ๔ ขั้นตอนการบรรพชา  และ อุปสมบท

(๙) “การอุปสมบท : การบวชเป็นพระภิกษุ ”

โดย ญาณวชิระ

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมื่อครั้งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า "ญาณวชิโร" แปลว่า ผู้มีปัญญาประดุจเพชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมื่อครั้งอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ได้รับฉายาว่า “ญาณวชิโร” แปลว่า ผู้มีปัญญาประดุจเพชร โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถระ) เป็นพระอุปัชฌาย์

การอุปสมบท :การบวชเป็นพระภิกษุ

ต่อจากนี้ไป เป็นการเริ่มขั้นตอนการอุปสมบทเป็นพระภิกษุ  มีข้อที่ควรทำความเข้าใจอีก  คือ ถึงแม้จะบวชเป็นพระภิกษุ แต่ก็ต้องเริ่มต้นด้วยการบรรพชาเป็นสามเณรก่อนทุกครั้ง เพราะสามเณรภูมิเป็นที่รองรับภิกษุภาวะ ผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุต้องขอนิสัยจากพระอุปัชฌาย์  มีลำดับขั้นตอนดังต่อไปนี้

การจะอุปสมบทเป็นพระภิกษุ บริขารต้องครบทุกอย่างที่เรียกว่าบริขาร ๘ จึงจะสามารถบวชได้   สามเณรรับบาตรจากบิดามารดาที่นำมาประเคนเดินด้วยเข่าเข้าไปหาพระอุปัชฌาย์ น้อมบาตรถวายท่าน กราบลง ๓ หน  แล้วยืนขึ้นว่า

อุกาสะ  วันทามิ  ภันเต //สัพพัง  อะปะราธัง  ขะมะถะ  เม  ภันเต  //มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา อนุโมทิตัพพัง  // สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง  // สาธุ  /สาธุ / อนุโมทามิฯ

อุกาสะ การุญญัง  กัตะวา  /นิสสะยัง  เทถะ เม ภันเตฯ

คำแปล   

  ขอโอกาสขอรับ  กระผมขอกราบไหว้   ท่านขอรับ ขอท่านจงยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวง   ขอท่านพึงอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ  และขอท่านพึงให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย   สาธุ  สาธุ  กระผมขออนุโมทนา ฯ

ท่านขอรับ  ขอโอกาส   ขอท่านจงมีความกรุณาให้นิสสัยผมด้วยขอรับ ฯ

อะหัง  ภันเต  นิสสะยัง  ยาจามิ  // 

ทุติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  นิสสะยัง  ยาจามิ //

ตะติยัมปิ  อะหัง  ภันเต  นิสสะยัง  ยาจามิ // 

คำแปล 

ท่านขอรับ  กระผมขอนิสสัย   แม้ครั้งที่สองฯ  แม้ครั้งที่สาม  ท่านขอรับ  กระผมขอนิสสัยฯ

(ว่าต่อ)  อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ //

อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ //

อุปัชฌาโย  เม  ภันเต  โหหิ //

คำแปล

ท่านขอรับ  ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผมท่านขอรับ ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผมท่านขอรับ  ขอท่านจงเป็นพระอุปัชฌาย์ของกระผม

พระอุปัชฌาย์ว่า   “ปฎิรูปัง”    คำแปล   สมควรแล้วหรือ

   สามเณรว่า  อุกาสะ  สัมปะฏิจฉามิ   คำแปล  ขอโอกาส ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ว่า“โอปายิกัง”   คำแปล  ชอบด้วยอุบายแน่หรือ

   สามเณรว่า สัมปะฏิจฉามิ  คำแปล  ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ว่า “ปาสาทิเกนะ  สัมปาเทหิ”  คำแปล  เธอจงปฏิบัติตัวให้ถึงพร้อมด้วยอาการที่น่าเลื่อมใสเถิด

          สามเณรว่า  สัมปะฏิจฉามิ   คำแปล   ขอรับกระผม

แล้วสามเณรว่าต่อไปอีก  ดังนี้

อัชชะตัคเคทานิ/ เถโร มัยหัง ภาโร//  อะหัมปิ  เถรัสสะ ภาโร

อัชชะตัคเคทานิ/ เถโร  มัยหัง ภาโร// อะหัมปิ  เถรัสสะ ภาโร

อัชชะตัคเคทานิ/ เถโร มัยหัง  ภาโร// อะหัมปิ  เถรัสสะ ภาโร 

คำแปล

ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  พระเถระเป็นภาระของกระผม  แม้กระผมเองก็เป็นภาระสำหรับพระเถระ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  พระเถระเป็นภาระของกระผม  แม้กระผมเองก็เป็นภาระสำหรับพระเถระตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป  พระเถระเป็นภาระของกระผม  แม้กระผมเองก็เป็นภาระสำหรับพระเถระ

จบแล้วกราบ ๑ หน ยืนประณมมือว่า

วันทามิ  ภันเต  // สัพพัง  อะปะราธัง ขะมะถะ  เม  ภันเต  //  มะยา  กะตัง  ปุญญัง  สามินา  อนุโมทิตัพพัง  //  สามินา  กะตัง  ปุญญัง  มัยหัง  ทาตัพพัง  // สาธุ / สาธุ / อนุโมทามิฯ

คำแปล

ท่านขอรับ  กระผมขอกราบไหว้   ท่านขอรับ  ขอท่านจงยกโทษที่ได้ล่วงเกินทั้งปวงให้กระผมด้วย   ขอท่านพึงอนุโมทนาบุญที่กระผมได้กระทำ  และขอท่านพึงให้บุญที่ท่านได้ทำแก่กระผมด้วย   สาธุ  สาธุ  กระผมขออนุโมทนาฯ

นั่งคุกเข่า กราบ ๓ หน ขยับเข้ามาใกล้ๆ พระอุปัชฌาย์ นั่งประณมมือฟัง ท่านกล่าวสอน ตั้งชื่อเป็นภาษาบาลีให้ และบอกชื่อพระอุปัชฌาย์

ต่อไปนี้เป็นคำกล่าวสอนโดยย่อให้สามเณรตั้งใจฟัง ในที่นี้จะขอนำคำกล่าวที่ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร  กรุงเทพมหานคร กล่าวสอนในเวลาบวชนาคมาแสดงไว้เป็นตัวอย่าง  ดังนี้

บัดนี้ได้ขอนิสัยแล้ว  ขอนิสัยคือขออยู่ในสำนักและยินดีปฏิบัติตามหน้าที่ระหว่างกันและกัน พระอุปัชฌาย์มีหน้าที่ในการแนะนำ  อบรม  ตักเตือน สั่งสอน  ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย  สัทธิวิหาริกก็คือศิษย์นั่นเอง  มีหน้าที่ในการปฏิบัติตามคำแนะนำ  อบรม  ตักเตือน  สั่งสอน  ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย 

เมื่อได้ยืนยันความตั้งใจที่จะปฏิบัติตามคำแนะนำ  อบรม  ตักเตือน  สั่งสอน  ชอบด้วยธรรมชอบด้วยวินัย ต่อไปพระสงฆ์จะได้ยกขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา  ต้องสวดประกาศเป็นภาษาบาลี  จึงขอให้ชื่อในภาษาบาลีว่า “ญาณะวะชิโร” ถ้าพระอาจารย์ทั้งสองสวดถามว่า  กินนาโมสิ  แปลว่า  ท่านชื่ออะไร  ให้เรียนตอบกับท่านว่า  “อะหัง  ภันเต ญาณะวะชิโร นามะ” 

ถ้าพระอาจารย์ทั้งสองสวดถามต่อไปว่า  “โก  นามะ  เต  อุปัชฌาโย  แปลว่า พระอุปัชฌาย์ ของท่านชื่ออะไร  ให้เรียนตอบกับท่านว่า อุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสะมา อุปะเสโณ  นามะ   ต่อไปนี้ขอให้ฟังบอกบาตรและจีวรบริขารสำหรับพระ

จากนั้นพระอุปัชฌาย์แนะนำบริขารเครื่องใช้ให้ทราบเป็นเบื้องต้น โดยสวดเป็นภาษาบาลีว่า

ปะฐะมัง อุปัชฌัง คาหาเปตัพโพ / อุปัชฌัง คาหาเปตะวา / ปัตตะจีวะรัง อาจิกขิตัพพัง //

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่บาตร พร้อมกับบอกว่า อะยัน เต ปัตโตฯ  คำแปล  นี่บาตรของเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า  อามะ  ภันเตฯ  คำแปล  ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่ผ้าสังฆาฏิ พร้อมกับบอกว่า  อะยัง สังฆาฏิฯ  คำแปล  นี่ผ้าสังฆาฏิของเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า   อามะ  ภันเตฯ คำแปล  ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่ผ้าจีวร พร้อมกับบอกว่า   อะยัง

อุตตะราสังโคฯ  คำแปล  นี่ผ้าจีวรของเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า   อามะ  ภันเต  คำแปล  ขอรับกระผม

พระอุปัชฌาย์ชี้มาที่สบง พร้อมกับบอกว่า  อะยัง อันตะระวาสะโก   คำแปล   นี่ผ้าสบงของเธอนะ

สามเณรตอบรับว่า  อามะ  ภันเต  คำแปล  ขอรับกระผม

จากนั้น พระกรรมวาจารย์และอนุสาวนาจารย์คล้องบาตรให้ สามเณรประณมมือเดินเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นแนวพระสงฆ์แล้วยืนขึ้นหันหน้ากลับ เดินตามพระไปยืนในที่ห่างจากสงฆ์ออกไปประมาณ ๑๒ ศอก ประณมมือหันหน้ามาทางพระสงฆ์ บางแห่งจะมีอาสนะสำหรับพระคู่สวดปูไว้ด้านหน้า ให้เดินวนขวาอาสนะนั้น ไม่ให้เหยียบ เพราะเป็นอาสนะของพระกรรมวาจารย์และอนุสาวนาจารย์  (แต่บางวัดพระคู่สวดจะถืออาสนะไปเอง)

การไม่ยืน ไม่เหยียบ ไม่นั่ง ไม่นอน หรือวางสิ่งของบนอาสนะของครูบาอาจารย์ เป็นการแสดงความเคารพอีกวิธีหนึ่งของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา

ต่อจากนั้น พระคู่สวดนั่งคุกเข่า หันหน้าไปทางพระประธาน กราบ ๓ หน ว่า นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ จบ) แล้วเริ่มสวดกรรมวาจา  ดังนี้

สุณาตุ/ เม ภันเต สังโฆ// ญาณะวะชิโร/ อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ  อุปสัมปทาเปกโข// ยะทิ/ สังฆัสสะ  ปัตตกัลลัง// อะหัง/ ญาณะวะชิรัง   อะนุสาเสยยัง ฯ

คำแปล

ขอรับ  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า   ท่านญาณะวะชิระ  เป็นอุปสัมปทาเปกขะ[๑]ของท่านอุปเสณะ   ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว  กระผมจะพึงกล่าวสอนท่านญาณะวะชิระ

พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์ลุกเดินมายืนอยู่บนอาสนะที่วางอยู่เบื้องหน้าสามเณร พร้อมสวดซักซ้อมการถามตอบอันตรายิกธรรมต่อไป

การซักซ้อมอันตรายิกธรรม

อันตรายิกธรรม  แปลว่า  ธรรมที่เป็นอันตรายต่อการบวช  การซักซ้อมอันตรยิกธรรม  หมายถึง การซักซ้อม สอบถามสิ่งที่เป็นข้อห้ามสำหรับผู้ที่จะบวชเป็นพระภิกษุ  เช่น  ไม่เป็นโรคน่ารังเกียจ  ไม่ทุพพลภาพจนช่วยเหลือตนเองไม่ได้  ไม่มีหนี้สินติดตัว  มีอายุครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์  เป็นต้น

การซักซ้อมอันตรายิกธรรม ต้องซักซ้อมนอกที่ประชุมสงฆ์เป็นการทำความเข้าใจระหว่างพระคู่สวดกับผู้ที่ขอบวชเป็นพระภิกษุ เมื่อถูกถามท่ามกลางสงฆ์จะตอบอย่างไร เหมือนเป็นการแนะนำว่า  หากมีข้อห้ามเหล่านี้แล้วบวชเป็นพระภิกษุไม่ได้   ซึ่งผู้ขอบวชจะต้องตอบคำถามเหล่านี้ตามความเป็นจริง ท่ามกลางสงฆ์    เพราะสงฆ์ในสันนิบาตจะเป็นผู้ลงความเห็นว่า ควรจะยกขึ้นเป็นพระภิกษุได้หรือไม่

คำสวดซักซ้อมอันตรายิกธรรม

สุณาสิ ญาณะวะชิระ อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล ยัง ชาตัง ตัง สังฆะมัชเฌ ปุจฉันเต// สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง//อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง// มา โข วิตถาสิ// มาโข มังกุ อะโหสิ// เอวันตัง ปุจฉิสสันติ// สันติ๊/ เต/ เอวรูปา/ อาพาธา

คำแปล

ดูก่อนญาณะวชิระ  ขอท่านจงฟัง    เวลานี้เป็นเวลาที่ท่านต้องกล่าวแต่ความเป็นจริง  กล่าวแต่สิ่งที่มีอยู่จริง    ท่ามกลางสงฆ์     สิ่งใดเป็นจริงก็พึงกล่าวว่ามี   สิ่งใดไม่เป็นจริงก็จงกล่าวว่าไม่จริงอย่าได้เก้อเขินตกประหม่า…ท่านมีโรค(ข้อห้าม)ดังต่อไปนี้หรือไม่  

สวดถามว่าสวดตอบว่าคำถามคำตอบ
กุฏฐัง     นัตถิ  ภันเต   เป็นโรคเรื้อนหรือไม่?ไม่ขอรับ
คัณโฑ นัตถิ  ภันเต   เป็นโรคฝีหนองหรือไม่?ไม่ขอรับ
กิลาโสนัตถิ  ภันเต   เป็นโรคกลากหรือไม่?ไม่ขอรับ
โสโสนัตถิ  ภันเต เป็นโรคผอมแห้ง,วัณโรคฯลฯ หรือไม่?ไม่ขอรับ
อะปะมาโรนัตถิ  ภันเต เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่?ไม่ขอรับ
มะนุสสะโสสิ๊อามะ  ภันเตเป็นมนุษย์หรือไม่?ครับผม
ภุชิสโสสิ๊อามะ  ภันเตไม่ได้เป็นทาสใครใช่ไหม?ครับผม
อะนะโณสิ๊อามะ  ภันเตไม่ได้เป็นหนี้ใช่ไหม?ครับผม
นะสิ๊ ราชะภะโฏอามะ  ภันเตไม่ได้หนีราชการมาใช่ไหม?ครับผม
อนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิอามะ  ภันเตมารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ?ครับผม
ปริปุณณะวีสติวัสโสสิ๊อามะ  ภันเตอายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ?ครับผม
ปริปุณณันเต ปัตตะจีวะรังอามะ  ภันเตมีบาตรจีวรครบหรือไม่?ครับผม
กินนาโมสิอะหัง  ภันเต ญาณะวะชิโร[๒] นามะท่านชื่ออะไร?ท่านขอรับผมชื่อ ญาณะวะชิระ
โก นามะ เต อุปัชฌาโยอุปัชฌาโย เม ภันเตอายัสะมา อุปะเสโณ[๓] นามะพระอุปัชฌาย์ของท่านชื่ออะไร?ท่านขอรับพระอุปัชฌาย์ของผมชื่อ อุปเสณะ

จากนั้น สามเณรประณมมือยืนอยู่ก่อน ส่วนพระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์จะกลับเข้ามาท่ามกลางที่ประชุมสงฆ์ และสวดกรรมวาจาต่อไป  ดังนี้

                        คำขอเรียกอุปสัมปทาเปกขะเข้ามา

     (คำกล่าวเรียกให้ผู้ขออุปสมบทเข้ามาในท่ามกลางสงฆ์)

            สุณาตุ/ เม ภันเต สังโฆ// ญาณะวะชิโร/ อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ  อุปะสัมปะทาเปกโข// อะนุสิฏโฐ โส มะยา// ยะทิ/ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง// ญาณะวะชิโร / อาคัจเฉยยะ//   อาคัจฉาหีติ  วัตตัพโพ (อาคัจฉาหิ) ฯ

คำแปล

ท่านขอรับ ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ญาณะวะชิระเป็นอุปสัมปทาเปกขะของท่านอุปเสณะ   ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว  ญาณะวะชิระพึงเข้ามา  พึงกล่าวว่า  ขอท่านจงเข้ามา ฯ

จากนั้นพระอุปัชฌาย์เรียกให้สามเณรเข้ามาสู่ท่ามกลางสงฆ์ ผู้ขออุปสมบทประณมมือเดินวนรอบอาสนะเข้ามา ถึงแนวพระสงฆ์แล้วนั่งคุกเข่าลงกราบ ๓ หน แล้วเปล่งวาจาขออุปสมบท   ดังนี้

คำขออุปสมบท

สังฆัมภันเต  อุปะสัมปะทัง  ยาจามิ  //  อุลลุมปะตุ  มัง  ภันเต  สังโฆ  //  อนุกัมปัง  อุปาทายะ//

ทุติยัมปิ  ภันเต  สังฆัง  อุปสัมปะทัง  ยาจามิ // อุลลุมปะตุ  มัง  ภันเต  สังโฆ // อนุกัมปัง อุปาทายะ//

ตะติยัมปิ  ภันเต สังฆัง อุปสัมปะทัง  ยาจามิ // อุลลุมปะตุ  มัง  ภันเต  สังโฆ // อนุกัมปัง อุปาทายะ//

คำแปล

ท่านขอรับ  กระผมขออุปสมบทกับสงฆ์   ขอสงฆ์จงอนุเคราะห์เกื้อกูลกระผม  แม้ครั้งที่สอง   ท่านขอรับ  กระผมขออุปสมบทกับสงฆ์   ขอสงฆ์จงอนุเคราะห์เกื้อกูลกระผม  แม้ครั้งที่สาม   ท่านขอรับ  กระผมขออุปสมบทกับสงฆ์   ขอสงฆ์จงอนุเคราะห์เกื้อกูลกระผม

กราบ ๑ หน แล้วประณมมือเดินเข่าเข้าไปท่ามกลางสงฆ์วางเข่าตรงที่พระสงฆ์บอก  จากนั้น พระกรรมวาจาจารย์และพระอนุสาวนาจารย์สวดสมมติตนเพื่อเป็นตัวแทนสงฆ์ถามอันตรายิกธรรมดังต่อไปนี้

คำสวดเพื่อถามอันตรายิกธรรม

            สุณาตุ/ เม ภันเต สังโฆ// อะยัง ญาณะวะชิโร/ อายัสมะโต

อุปะเสณัสสะ  อุปะสัมปะทาเปกโข// ยะทิ/ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง//อะหัง/ ญาณะวะชิรัง/ อันตะรายิเก ธัมเม ปุจเฉยยังฯ

คำแปล

ท่านขอรับ  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า   ญาณะวะชิระนี้  เป็นอุปะสัมปะทาเปกขะของท่านอุปเสณะ  ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว  กระผมจะพึงถามญาณะวะชิระ ฯ

เสร็จแล้วนั่งฟังพระคู่สวดถามอันตรายิกธรรมเหมือนเดิม

คำสวดถามอันตรายิกธรรม

สุณะสิ ญาณะวะชิระ อะยันเต สัจจะกาโล ภูตะกาโล ยัง ชาตัง ตัง  ปุจฉามิ  สันตัง อัตถีติ วัตตัพพัง//อะสันตัง นัตถีติ วัตตัพพัง// สันติ๊/ เต/ เอวรูปา/ อาพาธา

คำแปล

ดูก่อนญาณะวะชิระ  ขอท่านจงฟัง    เวลานี้เป็นเวลาที่ท่านต้องบอกแต่ความจริง  บอกแต่สิ่งที่มีอยู่    สิ่งใดเป็นความจริงก็บอกว่า มี   สิ่งใดไม่เป็นความจริงก็บอกว่า ไม่มี…ท่านมีโรค(ข้อห้าม) ดังต่อไปนี้หรือไม่  

สวดถามว่าสวดตอบว่าคำถามคำตอบ
กุฏฐังนัตถิ  ภันเต  เป็นโรคเรื้อนหรือไม่?ไม่ขอรับ
คัณโฑนัตถิ  ภันเต  เป็นโรคฝีหนองหรือไม่?ไม่ขอรับ
กิลาโสนัตถิ  ภันเต  เป็นโรคกลากหรือไม่?ไม่ขอรับ
โสโสนัตถิ  ภันเตเป็นโรคผอมแห้ง, วัณโรคฯลฯ  หรือไม่?ไม่ขอรับ
อะปะมาโรนัตถิ  ภันเต เป็นโรคลมบ้าหมูหรือไม่?ไม่ขอรับ
มะนุสสะโสสิ๊อามะ  ภันเตเป็นมนุษย์หรือไม่?ครับผม
ภุชิสโสสิ๊อามะ  ภันเตไม่ได้เป็นทาสใครใช่ไหม?ครับผม
อะนะโณสิ๊อามะ  ภันเตไม่ได้เป็นหนี้ใช่ไหม?ครับผม
นะสิ๊ ราชะภะโฏอามะ  ภันเตไม่ได้หนีราชการมาใช่ไหม?ครับผม
อนุญญาโตสิ๊ มาตาปิตูหิอามะ  ภันเตมารดาบิดาอนุญาตแล้วหรือ?ครับผม
ปริปุณณะวีสติวัสโสสิ๊อามะ  ภันเตอายุครบยี่สิบปีแล้วหรือ?ครับผม
ปริปุณณันเต ปัตตะจีวะรังอามะ  ภันเตมีบาตรจีวรครบหรือไม่?ครับผม
กินนาโมสิอะหัง  ภันเต  ญาณะวะชิโร นามะท่านชื่ออะไร?ท่านขอรับท่านผู้เจริญผมชื่อ ญาณะวะชิโร
โก นามะ เต อุปัชฌาโยอุปัชฌาโย เม ภันเต อายัสะมา อุปะเสโณ นามะพระอุปัชฌาย์ของท่านชื่ออะไร?ท่านขอรับพระอุปัชฌาย์ของผมชื่อ อุปเสโณ

จากนั้น ฟังสวดญัตติจตุตถกรรมวาจาเพื่อยกสามเณรขึ้นเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา ถือว่าเป็นช่วงที่สำคัญที่สุด

การสวดญัตติเป็นการสวดเพื่อขอมติสงฆ์ว่าควรจะยกผู้ขอบวชขึ้นเป็นพระภิกษุหรือไม่  โดยมีพระกรรมวาจารย์ และพระอนุสาวนาจารย์เป็นผู้สวดประกาศคำปรึกษาสงฆ์ ในญัตติเกี่ยวกับการขอบวช ขณะกำลังสวดญัตติ หากมีผู้ไม่เห็นด้วยก็ให้คัดค้านขึ้นท่ามกลางสงฆ์ หากไม่มีผู้คัดค้านให้ถือเอาอาการนิ่งเป็นการยอมรับญัตตินั้น

คำสวดญัตติจตุตถกัมมวาจา

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ญาณะวะชิโร, อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ญาณะวะชิโร สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปะสัมปาเทยยะ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, เอสา ญัตติ

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ญาณะวะชิโร,  อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ญาณะวะชิโร  สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยน, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสมะโต ขะมะติ, ญาณะวะชิรัสสะ อุปะสัมปะทา, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ โสภาเสยยะฯ

ทุติยัมปิ เอตะมัตถัง  วะทามิ
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ญาณะวะชิโร,  อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปะทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ญาณะวะชิโร  สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยน, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสมะโต ขะมะติ, ญาณะวะชิรัสสะ อุปะสัมปะทา, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ โสภาเสยยะฯ

ตะติยัมปิ เอตะมัตถัง วะทามิ   
สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ, อะยัง ญาณะวะชิโร,  อายัสมะโต อุปะเสณัสสะ อุปะสัมปทาเปกโข, ปะริสุทโธ อันตรายิเกหิ ธัมเมหิ, ปะริปุณณัสสะ ปัตตะจีวะรัง, ญาณะวะชิโร  สังฆัง อุปะสัมปะทัง ยาจะติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง, สังโฆ ญาณะวะชิรัง อุปะสัมปาเทติ, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, ยัสสายัสมะโต ขะมะติ, ญาณะวะชิรัสสะ อุปะสัมปะทา, อายัสมะตา อุปะเสเณนะ อุปัชฌาเยนะ, โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นะ ขะมะติ โสภาเสยยะฯ

อุปะสัมปันโน  สังเฆนะ, ญาณะวะชิโร  อายัสมะตา อุปะเสเณนะ  อุปัชฌาเยนะ, ขะมะติ  สังฆัสสะ, ตัสมา  ตุณหี เอวะเมตัง  ธาระยามิฯ

คำแปล

ท่านขอรับ  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า   ญาณะวะชิระนี้  เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่านอุปเสณะ  เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบท  มีบาตรและจีวรครบบริบูรณ์  ญาณะวะชิระจึงขออุปสมบทกับสงฆ์  โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์   ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว   ขอสงฆ์พึงให้ญาณะวะชิระอุปสมบท   โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์   นี่เป็นญัตติ

       ท่านขอรับ  ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า   ญาณะวะชิระนี้  เป็นอุปสัมปทาเปกขะ ของท่านอุปเสณะ  เป็นผู้บริสุทธิ์จากธรรมที่เป็นอันตรายต่อการอุปสมบท  มีบาตรและจีวรครบบริบูรณ์  ญาณะวะชิระจึงขออุปสมบทกับสงฆ์  โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์   ถ้าสงฆ์มีความพร้อมเพรียงกันดีแล้ว   ขอสงฆ์พึงให้ญาณะวะชิระอุปสมบท   โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์ ฯลฯ  แม้ครั้งที่สองฯลฯ  แม้ครั้งที่สาม ฯลฯ

ญาณะวะชิระได้อุปสมบทจากสงฆ์แล้ว  โดยมีท่านอุปเสณะเป็นพระอุปัชฌาย์   สงฆ์ยอมรับ  เพราะเหตุนั้น จึงเป็นผู้นิ่ง ข้าพเจ้า  ย่อมทรงญัตติไว้ตามนั้นฯ

ภายหลังการสวดญัตติจบก็สำเร็จเป็นพระภิกษุเรียบร้อยสมบูรณ์บริบูรณ์ จากนั้นพระภิกษุผู้บวชใหม่กราบ ๓ หน นำบาตรออกตั้งไว้ด้านหน้า นั่งพับเพียบฟังพระอุปัชฌาย์บอกอนุศาสน์  ในกรณีที่พระอุปัชฌาย์ไม่บอกอนุศาสน์ โดยที่ท่านมอบให้พระคู่สวดเป็นผู้บอกอนุศาสน์ พระภิกษุผู้บวชใหม่ประณมมือคลานเข่าถอยหลังออกไป พอพ้นพระสงฆ์แล้วลุกขึ้นไปยืนอยู่ที่เดิม พระคู่สวดเดินตามไปยืนบนอาสนะสวดบอกอนุศาสน์  

การสวดบอกอนุศาสน์ ท่านจะบอกเป็นภาษาบาลีไว้ก่อนพระภิกษุผู้บวชใหม่ฟังสวดอนุศาสน์ไปจนจบ   เมื่อกลับถึงที่พักแล้ว  พระอาจารย์จะแนะนำรายละเอียดเกี่ยวกับอนุศาสน์อีกครั้ง

อนุศาสน์ทั้ง ๘ ข้อนี้ท่านจะสวดเป็นภาษาบาลี สวดจบแต่ละข้อให้พระภิกษุผู้บวชใหม่รับว่า “อามะ ภันเต


[๑] อุปสัมปทาเปกขะ แปลว่า ผู้มุ่งอุปสมบท หรือ ผู้ขออุปสมบท เป็นคำเรียกกุลบุตรผู้ขอบวชเป็นพระภิกษุ ในหนังสือเล่มนี้ขอใช้คำว่า “ผู้ขอบวช” แทน คำว่า อุปสัมปทาเปกขะ”  เพื่อจะเข้าใจได้ง่ายขึ้น

ปัพพัชชาเปกขะ แปลว่า ผู้มุ่งบรรพชา  หรือ ผู้ขอบรรพชา  เป็นคำเรียกกุลบุตรผู้ขอบวชเป็นสามเณร

[๒]  นามฉายา (ชื่อภาษาบาลี) นี้ แล้วแต่พระอุปัชฌาย์จะตั้งให้  แต่บางท้องถิ่นที่พระสงฆ์ไม่ชำนาญภาษาบาลี  นิยมสมมติตั้งฉายาผู้ขอบวชว่า “นาโค” เหมือนกันหมด เพื่อให้ง่ายต่อการสวดญัตติ

[๓] ฉายาพระอุปัชฌาย์เปลี่ยนไปตามแต่ว่าองค์ไหนเป็นพระอุปัชฌาย์ บางท้องถิ่นที่พระสงฆ์ไม่ชำนาญในภาษาบาลี  นิยมสมมติตั้งฉายาพระอุปัชฌาย์ว่า “ติสโส” ตามนามฉายาพระสารีบุตร เพื่อให้ง่ายต่อการสวดญัตติ

(โปรดติดตามตอนต่อไป )

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๕๙
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ปีพ.ศ.๒๕๕๙

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติแก้ทุกข์ได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หนังสือทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับ คณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร , หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น

หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์เป็นธรรมทานโดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ / ที่ปรึกษา : พระเทพรัตนมุนี , พระครูอมรโฆสิต (ปรีชา สาเส็ง) และพระมหาธีระศักดิ์ ธีรปญฺโญ /บรรณาธิการ โดย พระมหาขวัญชัย กิตติเมธี และ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ / ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพวาดประกอบโดย หมอนไม้ / แบบปก – รูปเล่ม โดย พระมหาเดชา ปญฺญาคโม และ พระมหาสมบัติ ภูริปญฺโญ / ภาพปกโดย ศิลปิน พีร์ ขุนจิตกร/ ผู้อุปถัมภ์การจัดพิมพ์ บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด / ขอรับหนังสือได้ฟรีที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here