จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต  เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย
จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

จาริกธรรมในอเมริกา

(ตอนที่ ๔๗)

ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต

เขียนโดย  พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม

พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย
พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

คำว่า นิทาน  คือ เรื่องเล่า เรื่องราวต่างๆ นานาปะปนที่แอบแฝงคติธรรมประจำชีวิต

ตอนเป็นเด็กหลายท่านคงเคยได้ยินได้ฟังคุณปู่ย่า คุณตายาย คุณพ่อแม่เล่านิทานให้ฟังก่อนนอนหลับฝันดี  ในเวลากลางคืนนับไม่ถ้วนมากมายมาแล้ว

ในเรื่องมีทั้งเรื่องสนุกสนานฮามัน  ความรัก  อกหัก  สมหวัง  ผิดหวัง  ผจญภัย  ความรู้  ประเพณีวัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆ  คติธรรมสอนใจของพระพุทธศาสนา และอื่นๆ อีก

เราเคยแต่ฟังนิทานชีวิตของคนอื่นๆ  แล้วก็ประทับใจยกย่องเชิดชูเขาว่าเล่าเรื่องได้ดีมีความรู้  ความสามารถ ให้คติธรรมสอนใจดี

หรือบางครั้งก็นำไปใช้กับชีวิตประจำวัน  ไม่ก็นำเอาเรื่องเล่าเหล่านี้ไปช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตของคนอื่นได้ก็ไม่น้อย

นี่คือประโยชน์ของการฟังและจดจำเป็นประสบการณ์โดยตรง ก็มีแนวทางรูปแบบของตัวปัญหาแล้วแก้ไขได้ถูกจุดก็คี่คลายปัญหาได้ถูกต้อง  ชีวิตก็มีความสุขสดชื่นใจนั้น  น่าจะเป็นชีวิตนิทานที่ได้ยินได้ฟังมาแล้วมาเล่าสืบต่อกันมาตั้งอดีตจนมาถึงปัจจุบันนี้

ลองมาฟังนิทานของชีวิตตนเองบ้างว่าเป็นเช่นไร

เราได้ฟังได้อ่านนิทานของคนอื่นมาแล้ว หันมาฟังนิทานของชีวิตของตนที่ใจเล่าให้ฟังบ้างสิน่าสนุกไม่เบาเลยนะ

เพียงนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีแสงแดดอ่อนสีทองส่องลงมาสัมผัสกายอันอ่อนไหวนุ่มนวลที่หลายคนที่เห็นว่าสวยและหล่อ

จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

นั่งแบบผ่อนคลายหายใจเข้าลึกๆ  ปล่อยลมหายใจออกยาวๆ  สอง  สามครั้ง  ค่อยหลับตาลงเบาๆ ดูลมหายใจเข้าออกรู้สึกตัวเบาให้เป็นธรรมชาติ

แล้วอ่านนิทานของชีวิตในใจของตนเองตั้งแต่เด็กเท่าที่จำความได้  ผ่านเรื่องราวต่างๆ มีทั้งพอใจและไม่ใจ  เคยด่าใคร  เถียงใครต่อใครมาแล้ว  จุดจบของการด่าและเถียงเป็นอย่างไร

การท้อแท้น้อยใจตนและคนอื่นมันช่วยให้เราดีขึ้นได้บ้างไหม  สุดท้ายใครคือผู้แพ้ และเป็นทาสของการท้อแท้น้อยใจ

โทษตนตอกย้ำใจตนเอง  ไม่ดี  ไม่เก่ง  ไม่รวย  ทำไมจึงจน  ทำไมชีวิตเราต้องเจอะเจอแต่ปัญหา  ทำดีไม่ได้ดี  ชีวิตเราทำไมไม่เหมือนคนอื่นบ้าง  ทำไมเราเป็นคนที่ขี้อายอย่างนี้  ทำไมเราไม่กล้าทำ  พูด คิดให้ได้อย่างเขาบ้าง

จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต  เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย
จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

การโทษตอกย้ำตนเอง  บทสุดท้ายเราเป็นคนอย่างไร  อยากให้มันเป็นเหมือนเขาหรืออยากให้เราเป็นตนเราล่ะ 

อดีตที่เป็นหลุมฝังชีวิตให้จมปักอยู่เรื่องที่เลวร้าย  เมื่อรู้ว่ามันไม่ดีสำหรับเราก็เท่ากับว่าเรายังไม่ฝังหลุมอดีตให้เต็ม  ก็มีแต่เรื่องกลุ้มใจร่ำไป

อยู่กับปัจจุบันได้  ไม่ทุกข์ไม่เดือดร้อนใจ  เท่ากับฝังหลุมอดีตเต็มหมดแล้ว

การโกรธโมโหเคียดแค้น  ผูกใจอาฆาต  ผูกใจเจ็บ  ไม่ปล่อยไม่วาง  ไม่อยากเห็นหน้า  ผีไม่เผากัน  เหม็นขี้หน้า  ในที่สุดผลของเหล่านี้คือ  ความหนักอึ้งในภายใจจิตใจ  ส่วนภายนอกก็หน้าบึ้งตึง  บ่งบอกถึงความทุกข์ในใจ  ความทุกข์เป็นของใครกันเล่า  สุดท้ายใครบ้าคิดไปคนเดียว ใครเดือดร้อนใจคนเดียว

ความผิดหวัง  อกหัก  รักซ้อนรัก  รักสามเศร้า  จงคิดให้ดีว่าใครกันผิดใครกันถูก ใครได้เปรียบใครเสียเปรียบ  สุดท้ายใครเป็นคนที่ยิ้มได้  ร้องไห้  หัวเราะ  เข้าใจคำว่ารัก  รอคอย  เศร้าโศก เสียใจ  เหงา  คำว่า สุขเป็นอย่างไร  ทุกข์หนักเท่าไร  เราก็บ้าบิ่นเหมือนกันนะ  เกือบเอาชีวิตไม่รอด  โชคดีที่เรายังมีลมหายใจอยู่ถึงปัจจุบันนี้

คำดูถูกเหยียดหยาม  คนอย่างเอ็งพ่อแม่ไม่มีปัญญาส่งเรียนจบหรอก  คนนี้เขียนตัวหนังสือโครตห่วยเลยนะ  น้ำหน้าอย่างเอ็งไม่มีวันชนะข้าได้หรอก  สุดท้ายอะไรทำให้เราได้ดิบได้ดี อะไรทำให้เราได้มายืน ณ  จุดนี้ได้  เพราะใคร  เขาหรือเรา เราหรือเขา

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า  อะไรจะเกิดขึ้นภายในจิตใจ  หรือภายนอกก็ต้องรู้จักปล่อยวาง

ปล่อยไม่ได้ก็แบกทุกข์ความหนักใจไปจนถึงวันตาย

เรื่องทุกเรื่องจะดีหรือเลวมันเป็นเรื่องของเราหรือของเขา  เรื่องดีควรเก็บรักษาไว้ภายในจิตใจ

เรื่องเลวของเขาก็เรื่องของเขา  มันเป็นบทเรียนสอนใจ  เรื่องเลวของเราควรสละละมันทิ้งเสีย

ถ้าทิ้งไม่ได้เราก็บ้าคิดเข้าข้างตนเองคนเดียว บ้าคิดไปเองคนเดียว

สุดท้าย  การอยู่กับตนในปัจจุบัน  ทำหน้าที่ที่มีอยู่ให้ถูกต้อง  ทำความดี  รู้สึกตัวรับผิดชอบชั่วดีก็พอ  ไม่เดือดร้อนตนเองและคนอื่น  ชีวิตก็ปกติสุขเย็นใจแล้ว

ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิตก็จบลงพอดี

(อวสาน)

จ๊อด

๓ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๔ (ค.ศ.๒๐๒๑)

จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๔๗) ชีวิตนิทาน นิทานของชีวิต เขียนโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย กลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม

                 

ขอขอบพระคุณ ภาพวาดโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
ขอขอบพระคุณ ภาพวาดโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
ขอขอบพระคุณ ภาพวาดโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
ขอขอบพระคุณ ภาพวาดโดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here