จากจดหมายเล็กๆ ๓๔ ฉบับ ที่ “ธรรมรตา” เขียนถึงน้องชายที่จากไป

กลายมาเป็นหนังสือ “The Letter ถึงที่รัก ก่อนที่เธอจะพักผ่อน”

ที่ทำให้ผู้เขียนกลับมาใคร่ครวญว่า…

หากเราหันกลับมาเขียนจดหมายถึงคุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูง หรือแม้แต่เขียนถึงเพื่อนในสังคมบนโลกออนไลน์กันบ้างก็น่าจะดีนะ เป็นการเขียนจดหมายรักถึงมวลเพื่อนมนุษย์ในทุกมุมมองที่เรารู้สึกว่า ควรจะช่วยกันดูแล รักษา หรืออะไรที่ควรจะเปลี่ยนแปลง อะไรที่ควรจะแนะนำกันก็ค่อยๆ แนะนำด้วยความเมตตากรุณา เชื่อว่า การฟังกันและกันอย่างแท้จริงจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในทุกด้านของสัมคมที่เราอยากจะช่วยกันพัฒนา ซึ่งต้องหันมาพัฒนาที่จิตใจให้เข้าใจตนเองก่อนเป็นอันดับแรกก่อนที่จะขีดเขียนอะไรออกไป นอกจากเป็นการทบทวนแล้ว บางที ก็อาจเกิดความคิดสร้างสรรค์และพลังแห่งชีวิตในการที่จะช่วยเหลือผู้อื่นต่อไป จากการเริ่มต้นเล็กๆ ที่เรามาหัดเขียนจดหมายถึงตนเองและคนที่เรารัก

หนังสือ "Fhe Letter ถึงที่รัก...ก่อนที่เธอจะพักผ่อน" โดย ธรรมรตา
หนังสือ “Fhe Letter
ถึงที่รัก…ก่อนที่เธอจะพักผ่อน”
โดย ธรรมรตา

“บางครั้ง…เพียงหันหลังกลับก็พบทางออก !

” จากบันทึกถึงน้องชายของ “ธรรมรตา”

สู่หนังสือที่สร้างพลังแห่งชีวิต… “The Letter ถึงที่รัก ก่อนที่เธอจะพักผ่อน”

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

ก็เลยขอเชิญชวน…กลับมาเขียนจดหมายรักกัน

กลับมาเขียนอะไรบนกระดาษที่สัมผัสได้ด้วยดินสอ ปากกา มีเสียงขูดขีดบนกระดาษ อ่านแล้วอ่านอีก ก็อาจะลบบ้าง แล้วเขียนใหม่ การได้พิจารณาอะไรๆ ก่อนส่งออกไปให้ผู้รับในสมัยนี้ก็น่าจะดีกับจิตใจของผู้เขียนเองก่อน

ดังในคอลัมน์ “โชคดีที่มีพระ” โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป  ท่านยังคงเมตตาให้ข้อคิดธรรมะจากการฝึกตนเองมาประยุกต์ใช้ในชีวิต จนเกิดเป็นองค์ความรู้ How to การพัฒนาจิตใหม่ๆ อ่านแล้วสะกิดใจ นำไปใช้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที หากเรามีสติจดจ่อในการอ่าน ทำให้เห็นว่า หน้าหนังสือพิมพ์ ยังมีคุณค่ามหาศาลกับผู้คนในยุคนี้ แม้สื่อออนไลน์จะปรากฏธรรมะทุกแห่งหน มากเพียงพอที่จะดับทุกข์ทางใจได้ แต่บางครั้งผู้ใช้สื่อเองกลับไม่รู้ว่าจะใช้เครื่องมือในการดับทุกข์อย่างไร

เพียงหันหลังกลับก็จะพบทางออก !

         จากจดหมายเล็กๆ ๓๔ ฉบับ ที่ “ธรรมรตา” เขียนถึงน้องชายที่จากไป กลายมาเป็นหนังสือ The Letter ถึงที่รัก ก่อนที่เธอจะพักผ่อน” ที่ทำให้ผู้เขียนกลับมาใคร่ครวญว่า หากเราหันกลับมาเขียนจดหมายถึงคุณพ่อคุณแม่ พี่น้อง เพื่อนฝูงกันบ้างก็น่าจะดี กลับมาเขียนอะไรบนกระดาษที่สัมผัสได้ด้วยดินสอ ปากกา มีเสียงขูดขีดบนกระดาษ อ่านแล้วอ่านอีก ก็อาจะลบบ้าง แล้วเขียนใหม่ การได้พิจารณาอะไรๆ ก่อนส่งออกไปให้ผู้รับในสมัยนี้ ไม่ค่อยแน่ใจว่ายังมีมากน้อยเพียงใด เพราะสื่อออนไลน์ได้เบียดพื้นที่การเขียนจดหมาย การสื่อสารทางอื่นไปแทบจะหมดเวลาแล้ว …แต่ “โชคดีที่มีพระ” คอลัมน์หนึ่งในหน้านี้ โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป  ท่านยังคงเมตตาให้ข้อคิดธรรมะประยุกต์ใช้ในชีวิต จนสะกิดใจ ให้ผู้อ่านน้อมนำมาปฏิบัติทุกสัปดาห์ ทำให้เห็นว่า หน้าหนังสือพิมพ์ ยังมีคุณค่ามหาศาลกับผู้คนในยุคนี้ แม้สื่อออนไลน์จะปรากฏธรรมะทุกแห่งหน มากเพียงพอที่จะดับทุกข์ทางใจได้ แต่บางครั้งผู้ใช้สื่อเองกลับไม่รู้ว่าจะใช้เครื่องมือในการดับทุกข์อย่างไร

อย่างหนึ่งอาจเป็นเพราะว่า สื่อออนไลน์ เป็นคลื่นร้อน ที่ต้องรีบอ่าน รีบเข้าใจ แล้วก็รีบลืมเลย เวลาเกิดปัญหาอะไร ไม่พอใจอะไร ก็ตามรู้ช้าไป ความโกรธก็ชนะจนบางทีเราก็ไม่รู้ตัวว่า เรารู้ธรรมะนั้น รู้เพียงสัญญา คือจำข้อความได้ แต่กลับนำไปใช้ไม่ทัน เพราะสติมาไม่ทันนั่นเอง   

แต่หากเราได้มีเวลาใคร่ครวญตัวหนังสือธรรมะที่อธิบายการฝึกสติง่ายๆ ในชีวิตประจำวันผ่านหนังสือพิมพ์ หรือหนังสือ ซึ่งเป็นสื่อเย็นๆ สามรถอ่านแล้วอ่านอีกได้ และไม่มีผลกับสายตามากเท่ากับแสงจากจอมือถือ หรือ จอคอมพิวเตอร์ บ้างในแต่ละวัน วันเล็กนิดหน่อยก็ยังดี แล้วก็ใช้เวลาปกติทำหน้าที่ในชีวิตประจำวันไปอย่างรู้ตัวทั่วพร้อม การปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวันก็เป็นไปได้

แม้ฉบับนี้ โชคดีที่มีพระเว้นวรรคหนึ่งสัปดาห์ เพราะท่านพระอาจารย์พระมหาประสิทธิ์ ผู้เขียนท่านกำลังปฏิบัติศาสนกิจและจำพรรษาอยู่ในประเทศกำเนิดพระพุทธเจ้า แต่ก็ยังมีหนังสือเล่มน้อยนี้มาฝากท่านผู้อ่านกัน จึงเห็นว่า แม้ไฟดับไปทั่วเมือง แต่หากมีหนังสือธรรมะสักเล่มอยู่ข้างๆ  เราก็ยังอ่านได้ อ่านดี เพราะมีธรรมปรากฏสอนใจเราให้อยู่กับปัจจุบันแม้ว่าอะไรๆ จะไม่ได้ดั่งใจเราก็ตาม

ดังจดหมายฉบับที่ ๒๕ เรื่อง “ดูให้เห็น” ที่ธรรมรตาเขียนให้กำลังใจน้องชาย ตอนหนึ่งว่า น้องพี่ …ที่รัก เคยมีคนบอกพี่ว่า   “อย่ามัวแต่ค้นหาความผิดพลาด จงมองหาหนทางแก้ไข” ฟังแล้วนึกถึง เวลาที่เราเดินแล้วไปเจอซอยตัน หากว่ามัวแต่ไปค้นหาว่า จะไปต่ออย่างไรดี ทั้งๆ ที่มันเป็นทางตัน ทั้งๆ ที่เพียงหันหลังกลับก็จะพบทางออก แม้จะออกทางเดิม แต่มันก็ทำให้เราได้กลับมาเริ่มต้นใหม่ได้อีกและเปิดทางให้เราได้เลือกเพิ่มขึ้น

“การกลับมาสู่จุดเริ่มต้นไม่ใช่เรื่องน่าอาย เพราะท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นผู้แพ้หรือชนะ ก็จะมาเริ่มกันใหม่ในแมตซ์ หรือนัดต่อไป จุดสตาร์ทมีให้เราเริ่มใหม่เสมอ มันจึงน่าเสียดาย หากว่า คนเราจะหยุดเดินต่อเพียงเพราะล้มแค่ครั้งเดียว นึกถึงเวลาที่เราเขียนหนังสือ เมื่อสิ้นสุดพยัญชนะหนึ่งก็ต้องเริ่มวางอีกจุด เพื่อเขียนต่อไปเสมอ แล้วคำต่อไปก็อยู่ที่เราจะเลือกเขียนว่า “ก้าวต่อไปเพื่อฝันที่เป็นจริง” หรือ “เก็บฝันไว้ให้เป็นสิ่งที่เคยคิดได้เท่านั้น”

“ถ้าฝันนี้ไม่อาจเป็นจริง แต่มันก็มีอีกนับแสนสิ่งให้ใฝ่หา พระอาจารย์ประสงค์ ปริปุณโณ เคยเล่าถึงชายคนหนึ่งเขาเป็นช่างไฟฟ้าประสบอุบัติเหตุโดนไฟช็อตจนขาทั้งสองข้างไหม้เกรียม หมอจึงต้องตัดขาทิ้ง และเมื่อภรรยามาเจอแต่รับสภาพไม่ไหว จึงทิ้งเขาไปอีก เมื่อรักษาจนแผลหายดี แต่ไม่มีขาจะเดิน เขาจึงกลายเป็นมนุษย์ล้อ แต่ก็ยังแจ่มใสเบิกบานเหมือนเดิม จึงมีคนถามเขาว่า “ต้องพิการและภรรยาทิ้งไม่เสียใจบ้างเหรอ?”  เขาตอบว่า “ขนาดขาของผมแท้ๆ ยังทิ้งผมได้  นับประสาอะไรกับเมีย” เรียกว่า  “แม้ถูกทิ้งแต่ไม่ท้อ”

“เขาคนนั้นไม่ได้มองหาสิ่งที่หายไป แต่มองเห็นสิ่งที่เหลืออยู่ และเพียรสู้อย่างสร้างสรรค์  นำความสุขสู่ตนเอง และผู้คน ก่อนเกิดอุบัติเหตุเขาคงเป็นแค่ช่างไฟธรรมดา เวลาไฟดับถึงเรียกหา แต่ว่าตอนนี้ เขากลายเป็นไฟดวงหนึ่งที่สว่างส่องทางเดินให้ใครหลายคน  อย่างน้อยๆ ก็ผ่านพระอาจารย์ ผู้นำเรื่องเขามาเล่าให้เราได้ฟัง และพี่ก็ได้เขียนให้น้องไปอ่าน

“น้องพี่ …โลกนี้มีอุทาหรณ์เตือนใจ และเป็นตัวอย่างให้เป็นกรณีศึกษามากมาย ขอเพียงเราเปิดใจจะมองเห็นมุมดี และนำมาเป็นแง่คิดให้ใจเราเรียนรู้…”

อ่านจดหมายของ “ธรรมรตา” เขียนถึงน้องชายฉบับนี้แล้วรู้สึกมีพลัง อยากจะเขียนจดหมายถึงแม่ขึ้นมาบ้างละ  และก็ขอเชิญชวนท่านผู้อ่านว่า “มาเขียนจดหมายกันเถอะ” เขียนแล้วไม่รู้ว่าจะส่งไปที่ไหน ส่งมาให้ผู้เขียนอ่านบ้างก็ได้ค่ะ

แวะพักใจได้ที่ Manasikul.com กับบทความธรรมะสร้างสรรค์จากพระสงฆ์ “ สื่อธรรมให้ถึงโลก” เพื่อการฝึกตนจนกว่าจะพึ่งธรรมได้ในตนเอง  

คอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์

หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here