การแสดงความคิดเห็นในกลุ่มเพื่อน หรือกลุ่มต่างๆ ในวันนี้ จำเป็นอย่างมาก ที่จะต้องอาศัยการฟังอย่างลึกซึ้ง เพื่อความเข้าใจในตนเองก่อนเลย แล้วค่อยไปเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามประสบการณ์ที่แต่ละคนพบเจอ จากนั้น เรานำมาใคร่ครวญพิจารณาในใจ ก็อาจพบความเข้าใจคนอื่นใหม่ ที่ไม่บาดเจ็บ เมื่อต้องปะทะกับความคิดเห็นที่ไม่ตรงกับใจเรา…

เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๖๔ ที่ผ่านมา กลุ่ม ธรรมสัญจร ออนไลน์ ที่มีอาจารย์ นพพร เทพสิทธา ดำเนินการสนทนาเป็นไปอย่างราบรื่น มีบทสรุปเล็กๆ จากการฟังมาแบ่งปันกัน ในยามที่เราอาจอยากให้ใครสักคนฟังอย่างไม่ตัดสิน ขณะเดียวกัน เราก็ไม่อายที่จะแสดงความคิดเห็นของเราออกไปที่ต่างจากคนอื่น

“เพราะความคิดเห็นเป็นการแสดงธรรมที่ออกมาจากใจ” เมื่อโควิดระบาดกับการฟังอย่างลึกซึ้งของกลุ่มธรรมสัญจร โดย อาจารย์นพพร เทพสิทธา


“ขอขอบคุณความคิดเห็นที่หลากหลาย

ของทุกท่าน

ทุกความคิดเห็นไม่มีผิด ไม่มีถูก …

เพราะความคิดเห็น

เป็นการแสดงธรรมที่ออกมาจากใจ

ของแต่ละคน

ไม่เปรียบเทียบ

เป็นมุมมองที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียของโควิด

จากประสบการณ์เฉพาะตนของแต่ละคน”

นพพร เทพสิทธา


เพระแท้จริงแล้ว หรือถึงที่สุดแล้ว มันเป็นเรื่องของเหตุปัจจัย โควิดไม่ได้เพิ่งมาวันนี้ แต่มีมานานแล้ว โลกกำลังบอกให้มนุษย์หยุด คือ กลับมาอยู่กับตนเองบ้าง หยุดที่จะทบทวนตัวเองบ้าง แต่มนุษย์ไม่เคยหยุด มีแต่ทำลายธรรมชาติ อย่างรู้ตัว และไม่รู้ตัว จึงเกิดปัญหาอย่างที่เป็นอยู่เป็นลูกโซ่ เป็นโดมิโน ไม่ได้เป็นประเทศเราประเทศเดียว แต่เป็นกันทั้งโลก

ผู้นำ เป็นเรื่องสำคัญมาก


ใช่ คนส่วนใหญ่บนโลกเดือดร้อน และแต่ละประเทศก็ต้องมีผู้นำที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาและเยียวยาประชาชนให้ทันท่วงที แต่สำหรับประเทศไทยเล่า ก็ต่างมีมุมมองที่สะท้อนภาวะของผู้นำที่กำลังเป็นอยู่ เรื่องผู้นำ ก็สำคัญมาก ที่มีคนถามเกี่ยวกับผู้นำ ซึ่งในกลุ่มก็ยังมีความคิดเห็นที่หลากหลาย แต่การอธิบายของอาจารย์นพพรก็เรียกเสียงฮาได้ไม่น้อยเลย

การยกตัวอย่างผู้นำอย่างจีน เป็นตัวอย่างที่ดี และก็มีตัวอย่าง ผู้นำประเทศอื่นๆ อีกที่แก้ปัญหาเรื่องโควิดได้ดี เช่น ไต้หวันก็มีนโนบายที่รัดกุม ในเรื่องการป้องกันและรักษา เยียวยา ตลอดจนฟื้นฟู อย่างเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ผู้นำอีกหลายประเทศ เช่น สิงคโปร์ ก็ไปไกลแล้ว ว่าจะอยู่ร่วมกันโควิดอย่างไร เค้าก็นำเสนอวิถีชีวิตความเป็นอยู่ในประเทศของเขาให้เราดู ส่วนอีกหลายประเทศ ก็เริ่มผ่อนคลาย ไปพร้อมๆ กับมาตรการเยียวยา

ประเด็น วัคซีน โควิด อาจารย์นพพร มองให้เห็นอย่างเป็นธรรมว่า แมสก็คือ การที่เราต้องปิดอายตนะของเรา กลับคืนสู่การเรียนรู้ โลกภายในเราได้แล้ว เจลแอลกอฮอล์ ก็คือ ลมหายใจ ความรู้สึกตัว เป็นต้น ซึ่งเป็นวัคซีนที่ดีที่สุด ก็คือ สติ ปัญญาของเราเอง เมื่อเกิดมีขึ้นแล้ว ก็จะมองสถานการณ์ และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่าง เป็นธรรม
“โควิด อาจเป็นตัวเร่งความเพียรปฏิบัติ นำจิตไปสู่ความพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ ให้เร็วขึ้น ดังที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่า อย่าประมาท นั้นจริงเลย หลายคนกลับมาเร่งความเพียรจนให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ในจิตได้ไวขึ้น “

ประเด็นนี้ ก็จะทำให้ผู้ที่ไม่ได้เดือดร้อนเรื่องเศรษฐกิจ ให้กำลังใจตนเองได้ และมุ่งมั่น ในการปฏิบัติธรรมในช่วงวิกฤตินี้อย่างตั้งใจ แต่สำหรับผู้ที่เดือดร้อนทางเศรษฐกิจ ก็ต้องหาทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจก่อน เรียกว่า ทุกอย่าง ไม่ใช่เรื่องที่จะแก้ไขปัญหาทุกคนเหมือนกันในแบบเดียวกัน แต่ต้องดูว่า ปัญหาของแต่ละคนคืออะไร แล้วแก้ตามจุดที่เกิดปัญหานั้นของคนนั้นๆ ให้ออกจากปัญหาได้

สำหรับบทสวดมนต์ที่อาจารย์นพพรยกมา นอกจาก ธัมมจักกัปวัตนสูตร พระสูตรแห่งการนำจิตให้เดินอยู่บนทางสายกลาง ไม่สุดโต่งไปข้างใดข้างหนึ่งแล้ว ยังมีพระสูตร รัตนสูตร และโพชฌังคปริตร ด้วย ทำให้เห็นว่า เรามีพระพุทธคุณที่ดีมากหลาย ทุกบทเลยก็ว่าได้ ให้เรากลับมาหาตัวเรา กลับมาเยียวยารักษาตัวเรา ด้วยการฝึกเจริญสติ สมาธิ กับบทสวดมนต์จนกว่าจะเกิดความสงบในจิต เลือกบทที่เราชอบ แล้วสวดออกมาด้วยกำลังเสียงที่ชัดถ้อยชัดคำ มีสติไปกับอักขระ แล้วปัญญาจะเกิดขึ้น

นอกจากการเข้าใจความหมายในพระพุทธมนต์แล้ว ก็จะมองเห็นความจริงแท้คือ อนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา จากจิตที่เกิดปัญญาของเราเอง เราจะขอบคุณทุกวิกฤติ ที่เป็นโอกาสให้เราเรียนรู้ว่าไม่มีอะไรเป็นของเราจริงๆ แม้แต่กายเรา ใจเรา ก็ต้องแตกสลายไปในวันหนึ่ง แปรรูปไป เป็นอื่น คืนสู่ธรรมชาติ และอาจกลับมาใหม่

ประเด็นนี้ ก็น่าเป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจ คุยใน ธรรมสัญจรต่อไป เกี่ยวกับเรื่อง สวดมนต์อย่างไรให้เกิดปัญญา และ ธรรมวิถีใหม่ ชีวิตวิถีชีวิตใหม่ ไม่ใช่ชาตินี้ชาติเดียวซะแล้ว ที่ต้องเตรียมตัว จะทำให้เราไม่ประมาท ในการใช้ชีวิต และไม่อาลัย เวลาความตายมาเยือน เร่งทำวันนี้ให้ดีที่สุด


เพราะเราไม่รู้ว่าจะพบความทุกข์ที่สุดวันใด หรือวันนี้ก็อาจเป็นได้ เมื่อเราได้เตรียมตัวทุกวัน ในวันที่เรามีความทุกข์ที่สุด คือ ความเจ็บปวดจากร่ายกาย ที่จะแตกสลาย อาจมีความสุขในภพใหม่ข้างหน้า ก็เป็นได้ อย่างที่อาจารย์นพพรให้มุมมองไว้ แม้ไม่ได้กล่าวถึงชาติหน้าโดยตรง แต่การเตรียมตัววันนี้ ในวิถีพุทธ พร้อมเผชิญทุกอย่างด้วยสติ และปัญญา ตลอดจนการเกื้อกูลกัน ต่อผู้ที่ประสบความทุกข์ในช่วงนี้ให้ลุกขึ้นมาได้ ไม่ว่าจะช่วยเรื่องปัจจัย การงาน อาหาร หรืออะไรก็ตามจากความเมตตา กรุณา ต่อกัน จากส่วนลึกในหัวใจที่อยากช่วยให้เพื่อนมนุษย์พ้นทุกข์ ที่เราอาจจะรู้หรือไม่รู้ได้ว่า เราอาจจะเคยเป็นพ่อแม่ พี่น้อง กันมาก่อน ก็ช่วยให้หลายคนผ่านช่วงวิกฤติไปได้ และช่วยให้เขาเมื่อลุกขึ้นมาได้ เขาก็ไปช่วยคนอื่นๆ ต่อไปไม่สิ้นสุด

มองเศรษฐกิจพอเพียงแบบใหม่ในวิถีชีวิตใหม่


อีกประเด็นหนึ่ง คือ เศรษฐกิจพอเพียง อาจารย์นพพร สรุปว่า เศรษฐกิจพอเพียง นั้น ไม่ได้มองด้านเดียว แต่เป็นการมองอย่างเป็นองค์รวม และต้องการตลาดด้วย การยกตัวอย่าง สินค้าต้นทุน ๒๐ บาท แต่ทำไมจึงต้องขาย ๑๐๐ บาท เพราะต้องมองหลายอย่าง ต้นทุนที่แท้จริง ไม่ใช่ ยี่สิบบาท แต่มีค่าใช้จ่ายต่างๆ ประกอบอยู่ และต้องจ่าย จึงต้องขายในราคาหนึ่งร้อยบาท เพื่อจะได้มีจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ และมีกำไร เป็นเงินใช้จ่ายและเก็บออมต่อไปในวันข้างหน้า ชีวิตจะเป็นอย่างไรไม่รู้ ทำงานต้องมีเงินออม ตัวอย่างนี้ ชัดเจนมาก ในการทำความเข้าใจกับ คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” อย่างเป็นรูปธรรม นั่นก็คือ การมองเศรษฐกิจพอเพียงแบบใหม่ในวิถีชีวิตใหม่ มองด้วยความเข้าใจตามความเป็นจริง เพื่อการอยู่รอดของผู้ผลิต และผู้บริโภค ในยุคชีวิตวิถีชีวิตใหม่ที่อาจไม่ไกลเกินที่จะเป็นจริง

“เพราะความคิดเห็นเป็นการแสดงธรรมที่ออกมาจากใจ” เมื่อโควิดระบาดกับการฟังอย่างลึกซึ้งของ “กลุ่มธรรมสัญจร” โดย อาจารย์นพพร เทพสิทธา

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here