ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“อัตตัญญู”

หลัก ๖ ประการในการรู้จักตัวเอง

โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

          “ทำอย่างไรผมจึงจะโอเคกับตัวเอง?”

          เป็นคำถามของหนุ่มคนหนึ่ง แม้หน้าตาไม่ได้หล่อเหลามากนัก แต่สีผิวและการแต่งกายก็ไม่ได้ขี้เหร่อะไรเลย ก่อนที่จะตอบอะไรก็ได้ถามไถ่เพิ่มเติม ทำให้พบว่า เขาไม่โอเคกับตัวเอง ไม่ใช่เพราะมีน้อยกว่าคนอื่น แต่เพียงเพราะมองเห็นตัวเองน้อยไปเท่านั้นเอง  จึงชวนให้เขามองหาสิ่งดีที่ตนเองมีอยู่  ปรากฏว่า เขาค้นพบจุดเด่นของตนเองมากขึ้น และรู้สึกว่า ตัวเองนั้นมีความโชคดีกว่าคนอื่นหลายเท่า จากที่เคยมองตัวเองว่าไร้ค่า กลับมาเห็นคุณค่าในตนเองมากขึ้น ก็ทำให้รู้สึกชื่นใจไปด้วยเหมือนกัน

          “การคิดว่าตัวเองด้อย มันพลอยทำให้คนวัยหนุ่มทำอะไรถ่อยๆ ได้”  เป็นข้อค้นพบจากการสนทนา เมื่อถอดบทเรียนร่วมกัน เพราะคนหนุ่มหลายคนในยุคนี้ มีช่องทางให้เปรียบเทียบกับคนอื่นมากและรวดเร็วในสังคมออนไลน์ เห็นคนอื่นที่อวดโชว์สิ่งของและการใช้ชีวิตที่ชวนให้อิจฉา  การเสพสิ่งเหล่านั้นมากเกินไปทำให้หลายคนประเมินคุณค่าของตนเองต่ำกว่าความเป็นจริง  ถูกสังคมจอมปลอมหลอกหลอมให้หลง มองตนผิดไป มองคนที่ประสบความสำเร็จในวันที่เขาโชว์ถ้วยรางวัล แต่ไม่ได้เห็นการทุ่มเทฝึกซ้อมของเขา ก็เลยเข้าใจว่า ความสำเร็จมันได้มาง่าย อยากได้เหมือนเขาแต่ไม่ได้ทุ่มเทเท่าเขา ก็เลยเอาตัวเองทาบแล้วมันไม่เท่า ก็เลยเข้าใจว่าตัวเองนั้นด้อย น้อยค่า โชคชะตาไม่เป็นใจ ไร้วาสนา เลยละความพยายาม แต่ถ้าบางคนเกิดอยากได้มาก แต่ไม่อยากเหนื่อย เลยเลือกวิธีการที่ผิด คิดแต่จะได้โดยไม่สนวิธีการ วิชามารเลยถูกขุดขึ้นมาใช้

          ในทางพระพุทธศาสนามีหลักอัตตัญญู คือการรู้จักตัวเอง เพื่อให้เราประเมินตนเองว่าเห็นสิ่งที่ตนเองมี และเป็นอยู่มากน้อยแค่ไหน และจะพัฒนาต่อยอดหรือทำให้ดีขึ้นกว่าเดิมได้อย่างไร มีอยู่ ๖ ประการคือ

ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

          ๑. ศรัทธา   

เราประเมินตนเองว่า มีศรัทธา เชื่อมั่น และมั่นคงในพระรัตนตรัยมากน้อยแค่ไหน มีความเชื่อมั่นเห็นคุณค่าชีวิตตนเองมากแค่ไหน เราได้ฝึกฝนอบรมตนตามแนวทางแห่งวิถีพุทธอย่างไรบ้าง 

ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๒. ศีล

เราประเมินตนเองว่า ความประพฤติอยู่ในร่องรอยแห่งศีลธรรมอันดีงาม หรือบทกฎหมายอันเป็นระเบียบของสังคมมากน้อยแค่ไหน เราดูแลชีวิตของเราที่เกี่ยวข้องกับคนอื่นในสังคม สิ่งแวดล้อม และตัวเราเองอย่างตรงไปตรงมาถูกต้องเหมาะสม เป็นไปเพื่อความสงบ สันติ และสร้างสรรค์อย่างยั่งยืนของสังคมและทรัพยากรมากแค่ไหน

๓. สุตะ

เราประเมินตนเองว่า ความรู้  ข้อมูล หรือทักษะที่มีอยู่ของเรานี้เพียงพอต่อการใช้ชีวิตและ พัฒนาตนเองทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคมมากน้อยแค่ไหน การเรียนรู้ของเรามีขีดจำกัดหรือปิดกั้นตนเองเพียงเพราะคิดว่า รู้แล้ว เก่งแล้ว หรือ โง่จัง ขี้เกียจ ซึ่งตามหลักแล้ว เราจะต้องเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เพราะกาลเวลาทำให้หลายๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว บีบคั้นให้คนสมัยนี้ต้องมีทักษะต่างๆ มากกว่าคนยุคก่อนอย่างยิ่ง ทั้งอุปกรณ์ที่ทันสมัยและระบบการจัดการยุคใหม่ ซึ่งเราจะต้องปรับตัว ด้วยการเรียนรู้และพัฒนาตนเองให้รู้เท่าทัน

ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๔. จาคะ

การเสียสละ เราสามารถที่จะประเมินตนเองว่า สามารถที่จะเสียสละอะไรได้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นสิ่งของ  ความสบายส่วนตัว หรือแม้แต่อารมณ์ความรู้สึกของเรา  คือ การประเมินว่า เราสามารถที่จะปล่อยวาง ไม่ยึดติดกับสิ่งที่ตนเองมี สิ่งที่ตนเองเป็นมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เราเป็นคนที่เบาใจ ปล่อยวาง และสามารถที่จะสร้างสรรค์จากสิ่งที่มีให้เกิดคุณค่า คุณประโยชน์ต่อส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตนนั่นเอง

ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

๕. ปัญญา

เป็นการประเมินสิ่งที่เราได้เรียนรู้ และสั่งสมความเข้าใจมาว่า เรานั้น มีปัญญาดูแลคุ้มครองกายและใจของตนเองอย่างไรบ้าง  และสามารถที่จะพัฒนาเพิ่มพูนปัญญาความรู้ความเข้าใจของเราในช่องทางไหนได้บ้าง ซึ่งจะนำไปสู่การบ่มเพาะนิสัยแห่งการเรียนรู้และทักษะการคิดเชิงเหตุผล วิเคราะห์ และสังเคราะห์สร้างสรรค์ปัญญาเพื่อพัฒนาชีวิตและจิตใจต่อไป

๖.  ปฏิภาณ

ไหวพริบ จะประเมินอย่างไร? จริงๆ ก็คือ การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า การจัดการตนเองและนำพาไปสู่เส้นทางที่ดีงาม ท่ามกลางอุปสรรคและปัญหา ถ้าจะให้ประเมินเชิงรูปธรรมหน่อย ก็คือ การประเมินแผนกลยุทธ์  การบริหารความเสี่ยง และการจัดการให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ให้ก้าวข้ามอุปสรรคปัญหาไปได้นั่นเอง

ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมตุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เราประเมินตนเองให้สอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด  ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับใคร แต่เป็นการมองตนให้ตรงตามที่ตนเป็น และเห็นตนเองชัดอย่างที่ตนมี เพื่อนำไปสู่การวางแผนหรือกำหนดแนวทางการพัฒนาตน ให้สามารถดูตนออก  บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด และบริหารจัดการตนเองได้เหมาะสม

เพราะฉะนั้น  อย่ามองตนต่ำ อย่าทำตนด้อย อย่าคอยลิขิตฟ้า อย่าพึ่งพายาเสพติด อย่าคิดเชิงลบ อย่าคบคนพาล และอย่าผ่านวันเวลาโดยไม่คิดพัฒนาตน

“อัตตัญญู” หลัก ๖ ประการในการรู้จักตัวเอง

โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

จากคอลัมน์ โชคดีที่มีพระ

(หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here