พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

คำนำผู้เขียน

” สุวรรณบรรพต : สยามพุทธศิลป์” ศรัทธา กำเนิดพุทธศิลป์ แห่งแผ่นดินทอง

“ศิลปะ” เป็นเครื่องมือสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา แม้ว่าข้อเท็จจริง ศิลปะจะมีหน้าที่รับใช้สุนทรียะทางจิตใจของปัจเจกชน ซึ่งก็คือศิลปินต้องการสร้างความงาม จึงได้สร้างศิลปะในรูปแบบต่างๆ ขึ้นมา แต่คุณค่าที่ตามมา คือ ประชาชนที่เสพศิลปะได้เข้าถึงคุณค่าทางศาสนา และดำเนินชีวิตตามหลักแห่งความดีที่ศิลปินเสนอผ่านศิลปะ

“ศิลปะ” จึงได้ชื่อว่า “เป็นมงคลสูงสุด” อย่างหนึ่ง

พ.ศ.๒๕๕๕ อาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู ได้วาดภาพถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ในนิทรรศการสุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ ในโอกาสครบ ๘๕ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์
พ.ศ.๒๕๕๕ อาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู ได้วาดภาพถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) ในนิทรรศการสุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ ในโอกาสครบ ๘๕ ปี สมเด็จพระพุฒาจารย์

ในโอกาสครบรอบ ๕ ปี สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ และโอกาสอันสำคัญยิ่งที่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช มีอายุวัฒนมงคลครบ ๘๕ ปี สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมฯ จึงได้จัดงานแสดงนิทรรศการเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจกรรม ตลอดระยะเวลา ๕ ปี ที่ผ่านมา

สุวรรรบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๕๖ โดย สำนักพิมพ์อนันตะ
สุวรรรบรรพต : สยามพุทธศิลป์ เขียนโดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) จัดพิมพ์ครั้งแรก : มีนาคม ๒๕๕๖ โดย สำนักพิมพ์อนันตะ

ในงานดังกล่าว ศิลปินแห่งชาติ และศิลปินมีชื่อเสียงของเมืองไทย ได้ร่วมส่งผลงานภาพเขียน เพื่อจัดแสดงนิทรรศการ ในชื่อ “สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์” (ระหว่างวันที่ ๑๔ มีนาคม-๒๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ ที่ศาลาสุวรรณบรรพต วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) และ อาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู (ปีพ.ศ.๒๕๕๙)
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) และ อาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู (ปีพ.ศ.๒๕๕๙)

โดยมาก เราคุ้นเคยกับการแสดงศิลปะตามหอศิลป์ หรือนิทรรศการภาพเขียนตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งแต่เดิมจิตรกรรมฝาผนังในวัดก็คือ นิทรรศการถาวรนั่นเอง แต่เมื่อโลกเปลี่ยนแปลงไป สังคมก็หมุนตามโลก การนำเสนอจิตรกรรมฝาผนังก็อนุวัตรตามวิธีการของโลก จึงมีการนำศิลปะออกจากวัดไปอยู่ตามหอศิลป์ ทำให้จิตรกรรมในวัดดูซบเซาลงไป

การจัดนิทรรศการภาพเขียนในวัด ตามวิธีการแสดงศิลปะยุคปัจจุบัน เป็นการนำศิลปะกลับคืนสู่วัด กลับคืนสุ่จุดกำเนิด ก็เป็นส่วนหนึ่งของการรักษาศิลปะที่เกิดขึ้นในวัด ซึ่งก็เป็นที่มาของการจัดนิทรรศการ เป็นการย้อนกลับไปสู่อดีต ด้วยการใช้วิธีปัจจุบัน

พระราชกิจจาภรณ์

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here