สำหรับกรณีตามมาตรา ๒๙ นี้ในประเด็นเรื่องของอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมที่ได้รับการประกันตัว เป็นประเด็นอยู่ตอนนี้เป็นการลาสิกขาหรือไม่อย่างไรนั้น จากสามบทความที่ผ่านมาอาตมาได้อธิบายให้เห็นชัดแล้วว่าทั้งหลักการของพระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง อดีตกรรมการมหาเถรสมาคมคือ พระพรหมดิลก วัดสามพระยา, พระพรหมสิทธิ วัดสระเกศ พร้อมท่านเจ้าคุณอีกหลายรูปที่ต้องถูกจับถอดจีวร และไม่ได้กล่าวคำลาสิกขาในขณะนั้น

“ท่านมีความชอบทั้งพระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายฝ่ายบ้านเมืองที่จะใส่จีวรได้ตามปกติวิถีของพระสงฆ์ทั่วไป เพราะก่อนเข้าเรือนจำ ระหว่างอยู่ในเรือนจำ และหลังจากได้รับการประกันตัวท่านก็มีสถานะเป็นพระภิกษุตามพระธรรมวินัยและโดยชอบด้วยกฎหมายทุกประการที่ไม่สามารถปฏิเสธได้”

ซึ่งในประเด็นนี้อาตมาจะไม่อธิบายอีก แต่ก่อนท่านจะอ่านบทความนี้ อยากให้ท่านย้อนกลับไปหาอ่านสามบทความที่ผ่านมาในคอลัมน์นี้ เพราะจะทำให้ท่านเข้าใจในบทความนี้มากยิ่งขึ้น

“ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”  นุ่งห่มจีวรหลังออกจากเรือนจำ  กับ “พระพิมลธรรมโมเดล” พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง" จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒)โดย  พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“ธรรมะย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม”
นุ่งห่มจีวรหลังออกจากเรือนจำ กับ “พระพิมลธรรมโมเดล”
พระธรรมวินัย จารีต และกฎหมายบ้านเมือง”
จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์
(หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก
วันพฤหัสบดีที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๖๒)
โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

“วิพากษ์ แนวคิดการสละสมณเพศ มาตรา ๒๙ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕

ของ พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. กับกรณีรัฐมนตรีฯ ให้สัมภาษณ์”

โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

"การลาสิกขาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕" จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒  โดย   พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม
“การลาสิกขาตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕” จากคอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๕ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

           ก่อนอื่นอาตมาต้องขออนุโมทนาท่านผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (ผอ.พศ.) ที่มีจิตเป็นกุศล มีสัมมาทิฐิ ต่อคณะสงฆ์และพระพุทธศาสนาโดยเฉพาะการที่ท่านได้เขียนหนังสือขึ้นมาหนึ่งเล่ม “สาระ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕” เป็นการให้ความรู้กับสังคม และให้พระสงฆ์ได้มีหลักปฏิบัติที่ถูกธรรมในทางกฎหมาย

           สิ่งที่อาตมาจะกล่าวจากนี้ไปก็ด้วยความเป็นกัลยาณมิตรต่อท่าน ผอ.พศ. และมีเจตนาที่เป็นห่วงต่อพระพุทธศาสนา เพราะถ้าหลักการบางอย่างที่เขียนขึ้นโดย ผอ.พศ. ออกไปสู่สังคมแล้ว เกรงว่าถ้าหลักการนั้นมันไม่ชัดเจน และมีการนำฏีกามาอ้างแบบไม่แยกแยะประเด็นที่เกิดขึ้น จะทำให้สังคมเข้าใจผิด และเกิดความสับสนว่าอันไหนถูก หรืออันไหนผิด เพราะด้วยตำแหน่งหน้าที่เป็น ผอ.พศ. ก็สร้างความเชื่อถือให้กับสังคมไประดับหนึ่งแล้ว ถ้าแนวความคิดนั้นเป็นแนวทางที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้สังคมเข้าใจผิด และสับสนถูกเป็นผิดได้

           ซึ่งโดยหลักการแล้วประเทศไทยใช้ระบบกฎหมาย ซีวิลลอว์ (Civil law) คือใช้ระบบกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษ์อักษร มีประมวลกฎหมายบัญญัติไว้ชัดเจน และเป็นระบบที่ไม่ได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล เพราะนั้นเป็นแนวทางปฏิบัติของระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (Common law)  

           แต่ก็ได้มีนักวิชาการทางด้านนิติศาสตร์หลายท่านให้ความเห็นว่าประเทศไทยเราไม่ใช่ระบบซีวิลลอว์สมบูรณ์เป็นระบบผสม เพราะในทางปฏิบัติตั้งแต่การเรียนระดับ น.บ., น.บ.ท. หรือสอบอัยการผู้ช่วย, ผู้ช่วยผู้พิพากษา ตลอดถึงการตัดสินคดีของศาลก็ยังยึดตามแนวคำพิพากษาของศาลฏีกาอยู่ดี

           ด้วยความเคารพต่อศาลฏีกา บางครั้งฎีกาแย้งกันเองก็มีหรือมีการกลับฏีกาก็มี กล่าวคือมีคำพิพากษาของศาลฏีกาที่สวนทางกับฏีกาเดิม ซึ่งอาตมาเข้าใจว่ามันก็ไม่แปลก เพราะสภาพของสังคมเปลี่ยนไป กฎหมายก็เปลี่ยนแปลงตามสภาพของสังคมที่เปลี่ยนไป ฏีกาก็ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา เพื่อรักษาไว้ซึ่งประโยชน์แห่งความยุติธรรม

           อนึ่ง ในหนังสือ “สาระ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕” เรียบเรียงโดย พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จัดพิมพ์และพิมพ์ที่ โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เมื่อเดือน มิถุนายน ๒๕๖๒  หน้า ๕-๖ ได้มีการนำฏีกามากล่าวอ้าง ดังนี้

           “๓. การสละสมณเพศ ตาม ม.๒๙

         จำเลยยอมสึกโดยถอดจีวรออก เพราะถูกจับและ พงส. ไม่ให้ประกัน ต่อมาได้ประกัน กลับมาแต่งเป็นพระภิกษุอีกโดยมิได้อุปสมบทผิดฐานแต่งกายเป็นพระภิกษุ ตาม ปอ.ม.๒๐๘ (ฏ.๑๗๙๘/๒๕๔๒) การถอดจีวรออก ถือเป็นการสละสมณเพศ ตาม ม.๒๙ เป็นเหตุให้พ้นจากการเป็นพระภิกษุแล้ว จะแต่งเป็นพระภิกษุได้อีกเมื่อเข้าอุปสมบท จากพระอุปัชฌาย์เท่านั้น (ม.๕ ทวิ) พระอุปัชฌาย์จะถูกถอน เมื่อละเมิดจริยาโดยจงใจอุปสมบทบุคคลต้องห้าม เช่น คนหนีคดีอาญา/ต้องหาคดีอาญา (กฎ มส. ฉบับ ๑๗ ข้อ ๓๓-๓๔ และ ๑๔)

         ๔. ปัญหา

         ยอมสละสมณเพศ ตาม ม.๒๙ โดยถอดจีวร แต่ไม่เปล่งวาจาพ้นจากการเป็นพระภิกษุหรือไม่ (พ้นแล้ว ฎ.๑๗๙๘/๒๕๔๒) เข้าอุปสมบทโดยพระภิกษุที่มิใช่พระอุปัชฌาย์ เป็นพระภิกษุหรือไม่ (ไม่เป็นตาม ม.๕ ทวิ) ต้องคดีอาญาแต่เข้าอุปสมบท โดยพระอุปัชฌาย์ เป็นพระภิกษุหรือไม่ (เป็นแต่พระอุปัชฌาย์อาจละเมิดจริยา ตาม ฏก มส. ฉบับ ๑๗)”

         จากประเด็นการเขียนหนังสือดังกล่าว อาตมาจะขอกล่าวถึงเฉพาะประเด็นการนำฏีกาที่ ๑๗๙๘/๒๕๔๒ มากล่าวอ้างไว้ในหนังสือเท่านั้น เพราะประเด็นดังกล่าวนี้อาตมาตั้งข้อสังเกตว่าการนำฏีกามากล่าวอ้าง เพราะการอธิบายกฎหมาย ข้อเท็จจริง ประกอบกับฏีกา มีความไม่ชัดเจน และไม่แยกแยะประเด็นให้ตรงกับฏีกา แต่การเขียนดังกล่าวมีลักษณะเป็นประเด็นที่คลุมเครือ อาจทำให้ผู้อ่านเกิดการตีรวน เข้าใจเจตนาของฎีกาผิดเพี้ยนไป ซึ่งการเขียนในลักษณะดังกล่าวนี้ มีเจตนาซ้อนเร้น หรือแรงจูงใจอะไรหรือไม่

           สาระสำคัญของฏีกานี้คือจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุได้กระทำความผิดอาญา และพนักงานสอบสวนเห็นว่าไม่เห็นสมควรให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตามมาตรา ๒๙ จึงได้นำตัวไปพบเจ้าคณะเขตและพระภิกษุผู้ใหญ่อีกหลายรูป เพื่อทำการสอบสวนจำเลย จึงได้ความว่าจำเลยไม่มีวัดสังกัด พร้อมทั้งไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือต้องปาราชิกจะขาดจากความเป็นพระโดยไม่ต้องกล่าวคำลาสิกขา

         เมื่อจำเลยได้กลับมาใส่ผ้าจีวรอีกจึงผิดแต่งกายเลียนแบบพระภิกษุตาม ปอ.มาตรา ๒๐๘ แม้จะยกเหตุผลว่าไม่ได้กล่าวคำลาสิกขา ความเป็นพระภิกษุยังคงอยู่ ก็ฟังไม่ขึ้น

           ตามหลักปฏิบัติของฏีกานี้ถือว่าพนักงานสอบสวนได้ยึดหลักปฏิบัติตามกฎหมายและพระธรรมวินัย ตลอดถึงจารีตคณะสงฆ์ เพราะได้นำตัวพระภิกษุที่ถูกล่าวหาไปหาเจ้าคณะผู้ปกครองคือเจ้าคณะเขตพร้อมพระผู้ใหญ่อีกหลายรูป เมื่อทำการสอบสวนแล้วจึงมีมีมติให้ลาสิกขา ถือว่าเป็นอำนาจของคณะสงฆ์ที่กระทำได้ตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรม ประกาศในคณะสงฆ์ เล่ม ๖๖ ตอนพิเศษ วันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๒๑ ซึ่งโดยหลักแล้วถ้าพระภิกษุไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยหรือต้องปาราชิกจะขาดจากความเป็นพระทันทีโดยเจ้าคณะเขต เจ้าคณะแขวง สามารถให้พระภิกษุรูปนั้นสึกได้โดยไม่ต้องกล่าวคำลาสิกขา

           แต่ในหนังสือเล่มนี้ก็ได้อธิบายเพียงแต่ว่าการสละสมณเพศ ตามมาตรา ๒๙ ถ้าถอดจีวรโดยไม่ได้กล่าวคำลาสิกขา เมื่อกลับมาใส่จีวรอีกถือว่าผิดแต่งกายเลียนแบบพระภิกษุตาม ปอ. มาตรา ๒๐๘ โดยนำฏีกา ๑๗๙๘/๒๕๔๒ นี้มาเทียบเคียง ซึ่งโดยหลักแล้วในทางวิชาการก็สามารถนำมาเทียบเคียงได้

           ในการอธิบายจะต้องอธิบายให้ชัดว่าฏีกาดังกล่าวพนักงานสอบสวนได้นำพระภิกษุที่ถูกกล่าวหาไปให้เจ้าคณะผู้ปกครอง ซึ่งมีอำนาจตามกฎมหาเถรสมาคมสอบสวน และทำการลาสิกขากับประเด็นการถอดจีวรโดยไม่ได้กล่าวคำลาสิกขาแล้วไปอยู่ในเรือนจำ เมื่อได้รับการประกันตัวออกมาจากเรือนจำ ความเป็นพระภิกษุของท่านก็ยังคงอยู่

เช่น กรณีของพิมลธรรม (อาจ อาสโภ) หรือกรณีของอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมที่เป็นข่าวอยู่ตอนนี้ซึ่งเกิดจากการที่ ผอ.พศ. เป็นโจทย์ไปยื่นฟ้องกรรมการมหาเถรสมาคมนั่นเอง ซึ่งมันเป็นคนละประเด็นกันกับฎีกานี้


“การใช้ดุลยพินิจให้สละสมณเพศ
ตามมาตรา ๒๙ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์”
 คอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์
หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก
วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒
โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม

ทั้งนี้ ในประเด็นเรื่องการถอดจีวรโดยไม่ได้กล่าวคำลาสิกขา ตามมาตรา ๒๙ ก็มีนักกฎหมายให้ความเห็นในทางกฎหมายเรื่องนี้ไว้ในหนังสือพิมพ์แนวหน้า วันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๖๑ สำนักกฎหมายมารุต บุนนาค โดย ดร.รุจิระ บุนนาค ได้ให้ความเห็นทางกฎหมายในกรณีการจับกุมพระเถระชั้นผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับกรณีการทุจริตในเงินทอนวัดตามมาตรา ๒๙ ว่า

           “…การกล่าวหาว่าพระภิกษุรูปใดกระทำความผิดอาญา และมีการบังคับให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ (จับสึก) ถ้าพระภิกษุรูปนั้นไม่ได้กระทำความผิดตามที่ถูกกล่าวหา และไม่ยอมเปล่งวาจาบอกคืนลาสิกขาบท ตามนัยดังกล่าวข้างต้น  แม้จะมีการบังคับให้พระภิกษุรูปนั้นถอดจีวรและเปลี่ยนชุดขาวให้ พระภิกษุรูปนั้นยังไม่ขาดจากความเป็นพระภิกษุ…”

         พร้อมกันนี้ ดร.รุจิระ บุนนาค ยังได้ยกเหตุการณ์ในอดีตมากรณีที่ดังไปทั่วประเทศคือ พระพิมลธรรมที่ถูกลั่นแกล้งเกิดขึ้นในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี นำเทียบเคียงด้วยว่า “นอกจากนั้น พระพิมลธรรม ยังถูกทางการกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ และถูกบังคับสึกเป็นฆราวาส และถูกจำคุกที่กองบังคับการตำรวจสันติบาลอยู่หลายปี จนกระทั่งศาลทหารสามารถพิสูจน์ว่าข้อกล่าวหาดังกล่าวเป็นความเท็จ และตัดสินยกฟ้องเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระพิมลธรรมคืนสู่สมณศักดิ์เดิมตั้งแต่วันที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๘”

           จากคำอธิบายข้อกฎหมายมาตรา ๒๙ พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ ตามแนวความคิดในหนังสือเล่มนี้ได้ไปตรงกับคำสัมภาษณ์ของท่านรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ต้องถือว่าส่งผลเสียต่อคณะสงฆ์เป็นอย่างมากเพราะทำให้สังคมเข้าใจในหลักการที่ไม่ถูกต้อง

         ตามข่าวสยามรัฐออนไลน์ และโพสต์ดูเดย์ วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๖๒   นายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะที่กำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวถึงกรณีนี้ว่า

           “…จากการที่ตนได้สอบถามสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) ได้แจ้งว่า เมื่อเข้าไปอยู่ในเรือนจำแล้วก็เท่ากับเป็นการสึก และแม้ได้รับการประกันตัวออกมาสู้คดี สมณเพศก็ได้ขาดไปแล้ว แต่สมณศักดิ์หรือยศนั้นเป็นพระราชอำนาจ ดังนั้นเรื่องนี้จึงหมดจากสำนักงานพุทธฯไปแล้ว ดังนั้นถือว่าได้ขาดจากความเป็นพระแล้ว”

         ในขณะเดียวกัน วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๖๒ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา อดีตเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จำนง ทองประเสริฐ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาสนา ได้กล่าวผ่านทาง https://thesender.co ถึงประเด็นท่านรัฐมนตรีฯ ให้สัมภาษณ์ว่า

ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จำนง ทองประเสริฐ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา อดีตเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน
ศาสตราจารย์ (พิเศษ) จำนง ทองประเสริฐ ปราชญ์ทางพระพุทธศาสนา อดีตเลขาธิการราชบัณฑิตยสถาน

           “…ผมมีความกังวลใจ ว่ารัฐมนตรีที่กำกับดูแลศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย ถ้าเข้าใจคลาดเคลื่อนจากหลักก็จะเสียหลักก็จะเกิดความเสียหายต่อพระพุทธศาสนาได้ เพราะสำนักงานพุทธที่คุณเทวัญอ้างนั้นก็ไม่ได้เข้าใจพระธรรมวินัยในเรื่องการสละสมณเพศกับการลาสิกขาที่ถูกต้อง

         เพราะสำนักงานพุทธศาสนาถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกป้องคุ้มครองให้พุทธบริษัทของพระพุทธศาสนา, ยืนหยัดอยู่คู่สังคมไทยไปอีกนาน

         แต่ความเข้าใจคลาดเคลื่อนของรัฐมนตรีและสำนักพุทธศาสนาอาจจะทำให้ศาสนาพุทธในประเทศไทยถึงเวลาที่จะล่มสลาย

         ผู้บริหารที่ไม่เข้าใจวัฒนธรรมไม่เข้าใจจารีตประเพณีไม่เข้าใจพระธรรมวินัยย่อมไม่สามารถบริหารราชการกำกับดูแลสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติได้

         ผมรู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่คนไทย ประเทศไทย หาบุคคลที่มีความรู้ความสามารถมาสนองงานพระพุทธศาสนา ไม่ได้”

           อย่างไรก็ตามจากที่อาตมากล่าวมาทั้งหมดจึงมีข้อสังเกตด้วยความเป็นกัลยาณมิตรต่อผู้เขียนหนังสือเล่มนี้ และเป็นความปรารถนาดีต่อสถาบันพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้

           ๑.) หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่มุ่งประสงค์ต่อผล ให้คนอ่านหนังสือแล้วเข้าใจว่าอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมขาดจากความเป็นพระภิกษุตามมาตรา ๒๙ และย่อมเล็งเห็นผล คือเล็งเห็นได้ว่าผลนั้นจะเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน เพราะหนังสือเล่มนี้ได้ถูกเขียนขึ้นโดยบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือทางสังคม ใช่หรือไม่

           ๒.) หนังสือเล่มนี้มีรูปแบบการอธิบายกฎหมาย เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด โดยมีเจตนาพิเศษ  มีมูลเหตุจูงใจในการกระทำ หรือไม่ กล่าวคือ อธิบายกฎหมายแบบนั้น เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด โดยให้คนอ่านหนังสือแล้วเข้าใจว่าอดีตกรรมการมหาเถรสมาคมขาดจากการเป็นพระภิกษุตามมาตรา ๒๙ เพราะหนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นและตีพิมพ์ ในเดือน มิถุนายน ๒๕๖๒  ซึ่งเป็นเวลาที่ใกล้เคียงกับการได้ประกันตัวของอดีตมหาเถรสมาคม อาจทำให้ผู้อ่านเกิดความเข้าใจผิดในการปฏิบัติภายหลังได้รับประกันตัว ใช่หรือไม่

           ๓) มหาเถรสมาคม ในฐานะที่เป็นองค์กรปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ตามกฎหมาย ควรมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้หรือไม่

           ๔) รัฐมนตรีฯ สื่อมวลชน หรือผู้ที่สนใจในประเด็นนี้ ถ้าอยากทราบว่าความถูกต้องเป็นอย่างไร ควรจะถามไปยังมหาเถรสมาคมโดยตรงจะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง เพราะหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนาอาจจะไม่สามารถให้คำตอบได้ชัดเจนถูกต้องตามหลักพระธรรมวินัย

           และประเด็นสุดท้ายที่อาตมาจะกล่าวถึงในบทความนี้เพื่อตั้งเป็นโจทย์ให้สังคมได้มาร่วมกันค้นหาความจริงคือ สืบเนื่องจากที่มี ส.ส. ท่านหนึ่งได้ยื่นกระทู้ถามสดว่ากรณีสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โอนงบให้ ป.ป.ช., สำนักงานศาลยุติธรรม, และสำนักงานอัยการสูงสุด ว่าชอบด้วย พ.ร.บ.วิธีการงบประมาณ, พ.ร.บ. งบประมาณรายจ่ายประจำปี ฯ หรือไม่ หรือเรื่องดังกล่าวนี้กรมบัญชีกลางมีความเห็นไว้อย่างไร

         เมื่อเทียบเคียงกับกรณีวัดรับงบอุดหนุนซึ่งเป็นงบประมาณก้อนเดียวกันที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โอนไปให้กับหน่วยงานราชการที่กล่าวไปนั้น แต่วัดกลับถูกฟ้องว่าฟอกเงิน หรือใช้เงินผิดวัตถุประสงค์ เช่น กรณีพระพรหมดิลก อดีตกรรการมหาเถรสมาคม วัดสามพระยา ได้ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 6 ปี ไปเมื่อไม่นานมานี้ แต่ทำไมกรณีการโอนงบประมาณเดียวกันนี้ ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรเลย เพราะอะไร ? ซึ่งประเด็นดังกล่าวนี้อาตมาจะเขียนในโอกาสต่อไป

บทความพิเศษ ตอนที่ ๕ “วิพากษ์ แนวคิดการสละสมณเพศ มาตรา ๒๙ พ.ร.บ. คณะสงฆ์ ๒๕๐๕ ของ พ.ต.ท. พงศ์พร พราหมณ์เสน่ห์ ผอ.พศ. กับกรณีรัฐมนตรีฯ ให้สัมภาษณ์” โดย พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม จาก คอลัมน์ หมายเหตุพระไตรสรณคมน์ หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมทชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ.๒๕๖๒

 พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์ ผู้เขียน
พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม พระธรรมทูต ประเทศสกอตแลนด์ ผู้เขียน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here