ธรรมนิพนธ์เรื่อง "ธรรมะให้ลูกดี" : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ธรรมะให้ลูกดี” : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

“ชาติ” : ความรู้สึกที่ดีงามต่อแผ่นดิน

(ตอนที่ ๒)

“การบวช เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป”

จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “ธรรมะให้ลูกดี”

: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

การบวช

การบวช เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นความดี เมื่อเกิดเป็นบุญกุศล เป็นความดีขึ้นแล้ว นอกจากจะได้ส่วนตัว ยังจะเป็นบุญ เป็นกุศลไปถึงมารดา บิดาผู้มีพระคุณ เป็นต้น อีกด้วย

เมื่อบุญกุศลไปถึงแก่ท่าน ก็ชื่อว่าเป็นการตอบแทนพระคุณของท่าน โบราณจึงกล่าวว่า

“การบวชเป็นการตอบแทนพระคุณของมารดาบิดา”

และเมื่อบวชไปแล้ว ได้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ก็ชื่อว่าเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป แม้ชั่วระยะเวลาของการบวช ก็เป็นการทำชีวิตของผู้บวชให้ดีตามไปด้วย

ใจจะดีได้ต้องอาศัยการฝึกหัด

การบวชนั้น ต้องทำตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้ในเบื้องต้น ท่านได้นำผ้ากาสาวพัสตร์เข้ามา กล่าวคำขอบรรพชาว่า

“อะหังภันเต ปัพพัชชัง ยาจามิ”

แปลว่า

“ข้าแต่ท่านผู้เจริญ กระผมขอบรรพชา”

หมายถึง การบรรพชาเป็นสามเณรก่อนที่จะบวชเป็นพระ การบวชเป็นสามเณรจะสำเร็จได้ ต้องอาศัยคุณสมบัติ ๒ ประการ คือ “มีความเข้าใจในพระรัตนตรัย” และ “มีความเชื่อ ความเลื่อมใสอย่างแรงกล้า”

เมื่อมีคุณสมบัติ ๒ ประการนี้แล้ว เปล่งวาจารับไตรสรณคมน์ จบวาระที่ ๓ ก็สำเร็จเป็นสามเณร

เป็นสามเณรก็ดี เป็นพระก็ดี จะต้องรักษาข้อปฏิบัติ ซึ่งมีอยู่มาก จะรักษาได้ก็ต้องอาศัยใจ ใจต้องดี ใจจะดีได้ก็ต้องอาศัยการฝึกหัด เพราะฉะนั้น ผู้บวชใหม่จึงนิยมเรียนพระกรรมฐาน มีบทภาวนา ๕ ประการ ดังนี้

เกสา (ผม)

โลมา (ขน)

นะขา (เล็บ)

ทันตา (ฟัน)

ตะโจ (หนัง)

พระพรหมของบุตรธิดา

พระพุทธองค์ทรงสอน เรื่อง ความสำคัญของบิดา มารดา ปรากฏใน “พระไตรปิฎก” ทั้งใน “พระวินัย” “พระสูตร” และ “พระอภิธรรม” เช่น ใน “สพรหมสูตร” เป็นต้น ทรงยกย่อง บิดา มารดา ไว้ในฐานะที่สูง เช่น ทรงยกย่องว่า …

“เป็นพระพรหมของบุตร ธิดา”

ทรงปฏิบัติด้วยพระองค์เอง ตามที่ทรงสอน เช่น ทรงปฏิบัติใน “พระเจ้าสุทโธทนะ” พรุะพุทธบิดา เป็นเหตุให้ผู้นับถือพระพุทธศาสนา ปฏิบัติต่อบิดา มารดา ตามที่ทรงสอน และปฏิบัติตามพระพุทธจริยา ที่พระองค์ทรงปฏิบัติ

สังคมไทยตั้งแต่ระดับครอบครัว ที่ปฏิบัติตามที่กล่าวมาแล้ว จึงมีความมั่นคง แนบแน่น ดังความมั่นคง แนบแน่น ระหว่างบิดา มารดา กับบุตรธิดา

“เป็นเหตุให้ความมั่นคง ร่มเย็นเป็นสุข แก่ชาติบ้านเมือง โดยส่วนรวม”

ตราบใดที่สังคมไทยยังปฏิบัติตามที่พระพุทธเจ้าทรงสอน และตามที่พระพุทธองค์ทรงปฏิบัติ ประเทศชาติบ้านเมืองก็จะมั่นคง และร่มเย็นเป็นสุขอยู่ตราบนั้น

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงศ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงศ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ธรรมนิพนธ์เรื่อง "ธรรมะให้ลูกดี" : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ธรรมนิพนธ์เรื่อง “ธรรมะให้ลูกดี” : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

“ชาติ” : ความรู้สึกที่ดีงามต่อแผ่นดิน (ตอนที่ ๒) “การบวช เป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวออกไป” จากธรรมนิพนธ์เรื่อง “ธรรมะให้ลูกดี” : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here