"ลมหายใจของพระพุทธศาสนา" จากคอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐) เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
“ลมหายใจของพระพุทธศาสนา” จากคอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐) เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

จากบทความที่ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ “คมชัดลึก” เป็นธรรมทานผ่านมาสามปีกว่า สู่บการเดินทางครั้งใหม่ของคอลัมน์ “จาริกบ้าน จารึกธรรม” ใน Manasikul.com ที่ยังคงเป็นธรรมทานเช่นเดิม จากผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตอาสา และพระนักเขียนจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ เป็นความสืบเนื่องของลมหายใจพระไตรสรณคมน์ จากหนังสือพิมพ์คมชัดลึกที่ปิดตัวไปแล้วเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๕๖๓

บันทึก จาริกบ้าน จาริกธรรม

ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา

(ตอนที่ ๑)

ลมหายใจของพระพุทธศาสนา”

เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ธรรมนิพนธ์ เรื่อง "ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา" : พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์
ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา” : พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์
“ลมหายใจของพระพุทธศาสนา” หนึ่งในบทความที่รวมเล่มอยู่ใน ธรรมนิพนธ์ เรื่อง “ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ลมหายใจของพระพุทธศาสนา

         “ขอให้คิดเสมอว่า

วันนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ได้

 ขอให้เราอย่าได้ประมาท”

พระครูวิสิฐพรหมคุณ

         ทุกๆ เช้า-เย็น หลังจากทำวัตรสวดมนต์  เจริญจิตภาวนาเสร็จ หลวงพ่อเจ้าอาวาสให้โอวาทเตือนสติพระภิกษุ-สามเณรเป็นประจำทุกๆ วัน

ย้อนกลับไปเมื่อประมาณ ๑๐ ปีที่แล้ว หลายท่านคงเคยได้ยินข่าวพระสงฆ์ถูกระเบิดขณะออกบิณฑบาต ในถนนหลักติดตลาด เขตอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส   ผู้เขียนยังจำภาพนั้นจากข่าวติดตาอยู่เลย ภาพพระสงฆ์จำนวน ๔ -๕ รูปนอนเกลื่อนถนน บาตรกระจัดกระจาย ลูกศิษย์ถือปิ่นโต นอนจมกองเลือดด้วยความเจ็บปวด แต่ก็จำไม่ได้ว่าพระสงฆ์แต่ละรูปนั้นเป็นใคร

วันหนึ่งผู้เขียนมีโอกาสเดินทางไปที่วัดพรหมนิวาส อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส แล้วนั่งฟังพระสงฆ์รูปหนึ่ง ท่านเล่าถึงเหตุการณ์เกี่ยวกับพระสงฆ์โดนระเบิดขณะออกบิณฑบาตให้ฟัง หลายรูปก็ฟังด้วยใจจดใจจ่อ  ท่านเล่าเหตุการณ์แต่ละฉากๆ เสมือนว่าท่านอยู่ในเหตุการณ์จริง  ผู้เขียนนั่งฟังอยู่ก็นึกภาพไปตาม สัมผัสได้ถึงความเจ็บ ทุกข์ทรมานกายใจ

ตอนนั้น พระครูวิสิฐพรหมคุณ หลวงพ่อเจ้าอาวาส ท่านก็นั่งฟังอยู่ด้วย สักพักหนึ่งท่านก็เปิดภาพข่าวหนังสือพิมพ์เก่าๆ  ฉบับหนึ่งในโทรศัพท์ให้ดู ซึ่งเป็นภาพของท่านเองที่ถูกระเบิด วันนี้เรามาเจอผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรง

ท่านเล่าย้อนให้ฟังว่า วันที่เกิดเหตุไม่ได้มีลางบอกเหตุอะไรมาก่อน ก็เดินออกไปบิณฑบาตตามปกติ  สิ้นเสียงระเบิดก็เห็นทุกคนล้มลง รวมถึงตัวเองด้วย ตอนนั้นมีสติดี อยากจะช่วยเหลือทุกคน  แต่ได้ยินแต่เสียงตะโกนบอกว่า ระวังดีๆ อาจจะมีระเบิดซ้ำ ตอนนั้นไม่รู้จะระวังอย่างไร  เพราะขยับตัวไปไหนไม่ได้  เป็นบุญอยู่ที่ไม่มรณภาพ ปัจจุบันจีวรชุดนั้นผมยังเก็บไว้อยู่ กราบก่อนนอนจำวัดทุกวัน บาตรที่เป็นรูถูกสะเก็ดระเบิดก็ยังเก็บไว้เป็นอนุสรณ์เตือนสติ ถึงความไม่แน่นอนของชีวิต ความตายเกิดขึ้นได้ทุกวินาที

หลวงพ่อเจ้าอาวาสเล่าให้ฟังเพิ่มเติมว่า  ทุกวันนี้หลังจากทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น แผ่เมตตาเสร็จแล้ว ก็ให้โอวาทแก่พระภิกษุ-สามเณรตลอดเวลาว่า “ ขอให้คิดเสมอว่า วันนี้อาจจะเป็นวันสุดท้ายของชีวิตก็ได้ ขอให้เราอย่าได้ประมาท”

ท่านพูดไปยิ้มไป เล่าถึงจังหวัดนราธิวาสว่า  มีแต่ของดีทั้งนั้น ธรรมชาติดี อากาศดี อาหารดี ทุกอย่างดีหมด แต่บางครั้งคนอารมณ์ไม่ดี ก็เลยมีวางระเบิดบ้าง

ผู้เขียนได้ฟังหลวงพ่อแล้วก็รู้สึกผ่อนคลายไปเยอะ นึกถึงท่านว่าอยู่ในพื้นที่เสียงอย่างนี้ ท่านก็ยังมีอารมณ์ขัน อารมณ์ขันมันดีอย่างนี้นี่เอง แต่อารมณ์ไม่ดี ไม่ดีเลย

ได้ยินเรื่องของอารมณ์ไม่ดี ตั้งแต่เดินทางมาเข้ามาในเขตของพื้นที่จังหวัดนราธิวาส คนขับรถเป็นผู้มีความชำนาญเส้นทางเป็นพิเศษ  รู้เรื่องเหตุการณ์เยอะมาก พอแต่รถวิ่งผ่านไปที่ตรงไหนจะมีเรื่องเล่าให้ฟังตลอดว่า เส้นทางนี้เคยเกิดเหตุระเบิดแล้วกี่ครั้งแล้ว ตรงนี้มีการยิงแล้วทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนกี่ศพอะไรทำนองนี้  ตรงนี้เขาชอบวางตะปูเรือใบเจ้าหน้าที่ ฯลฯ ซึ่งมองในมุมหนึ่งก็เป็นการฝึกมรณานุสติได้เป็นอย่างดี ให้ระลึกถึงความตายอยู่เสมอ แต่ในระหว่างนั้นผู้เขียนมีความตื่นเต้นไม่ค่อยมองเป็นมรณานุสติเท่าไหร่ ส่วนใหญ่จะถูกความกลัวครอบงำ

วันหนึ่งผู้เขียนมีธุระไปในตัวเมืองนราธิวาสจึงได้ขอติดรถโยมท่านหนึ่งไปด้วย  โยมเล่าให้ฟังว่า  โยมเป็นคนจังหวัดเชียงใหม่ มาอยู่ที่นี่นานพอสมควรแล้ว  ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ใหม่ๆ ก็มีความกลัวอยู่บ้าง แต่ทุกวันนี้มีความรู้สึกเป็นปกติแล้ว  มีความเข้าใจเหตุการณ์  โยมคิดอย่างนี้ ถ้ามันถึงคราวของเราอยู่ที่ไหนก็ตาย  ซึ่งในขณะนั้นรถวิ่งไปถึงตรงจุดที่เกิดเหตุการณ์ระเบิดพระสงฆ์บิณฑบาตในครั้งนั้นพอดี  

โยมพูดไปด้วยพร้อมกับชี้บอกว่า ที่ตรงนี้แหละที่หลวงพ่อโดนระเบิด เห็นไหมขนาดโดนระเบิด ถ้ายังไม่ถึงคราวตายก็ไม่ตาย  ทุกวันนี้โยมคิดอย่างนี้  ไปไหนมาไหนสบายหน่อย

แล้วโยมก็หันหน้ามาถามผู้เขียนว่า แล้วพระอาจารย์คิดอย่างไง ไม่กลัวหรือจึงลงมาถึงจังหวัดนราธิวาส ?  ผู้เขียนตอบว่า  เรื่องความกลัวเป็นเรื่องธรรมดา ที่สุดของความกลัวก็คือความตาย  

โยมก็พูดขึ้นประโยคหนึ่งบอกว่า ท่าน ไม่ต้องกลัวหรอก โยมรับรองเรื่องความปลอดภัย แต่เรื่องความไม่ปลอดภัย โยมไม่กล้ารับรอง  พอโยมพูดประโยคนี้ขึ้นมา มันทำให้หวนระลึกถึงคำว่า มรณานุสติได้อย่างแท้จริง

วันนั้นโยมพาไปสัมผัสพื้นที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ พร้อมมีเรื่องเล่าประกอบให้เห็นความเป็นอยู่ของวิถีชีวิตของคนที่นี่  ทำให้ผู้เขียนได้เข้าใจความรู้สึกของคนในพื้นที่ว่า เวลาเกิดเหตุการณ์แล้วรู้สึกอย่างไร ไม่มีเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งไหนที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ทำความรู้สึกให้เกิดความเจ็บปวด  

การดำรงอยู่ได้ของกิจวัตรของพระสงฆ์ในพื้นที่

คือการดำรงอยู่ได้ของพระพุทธศาสนา

" ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา" (ตอนที่ ๑)  "ลมหายใจของพระพุทธศาสนา" เขียนโดย  พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
” ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา” (ตอนที่ ๑) “ลมหายใจของพระพุทธศาสนา” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ในพื้นที่ซึ่งชาวพุทธเหลืออยู่น้อย อย่างเช่นในพื้นที่ของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้นั้น  ถ้าสถานการณ์ยังเป็นอยู่ในลักษณะนี้ อีกไม่นานคงจะหมดไป เพราะในหลายๆ พื้นที่ไม่มีผู้สืบต่อแล้ว พูดถึงคนที่จะบวชก็มีน้อยลงเต็มที ที่วัดก็มีหลวงปู่ หลวงตาที่ทำหน้าที่ในการดูแลวัด ดูแลพระพุทธศาสนา

คำว่า ที่พึ่งอันสงบแห่งใจ อันได้แก่ พระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ๆ ก็ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ ดูเหมือนว่า พระสงฆ์ในพื้นที่ก็อยู่ลำบากมากขึ้น จะไปไหนมาไหน ก็ยากลำบาก เสี่ยงเป็นเสี่ยงตาย ถ้าสถานการณ์เป็นอย่างนี้  ในไม่ช้าพระสงฆ์ก็คงหมดไปในพื้นที่

จะเหลือแต่เพียงซากกุฏิ  ศาลา  วิหาร ลานเจดีย์ที่มีแต่จะผุพังไปตามกาลเวลา และมีสัญลักษณ์เพียงแค่สีจีวรให้ได้ระลึกถึงว่า ณ ดินแดนแห่งนี้เคยมีพระสงฆ์ เคยมีชาวพุทธอาศัยอยู่ ทุกๆ เช้าชาวบ้านจะมาค่อยใส่บาตรพระสงฆ์ แสงอาทิตย์สาดส่องกระทบจีวรให้เหลืองอร่าม คิดแล้วก็ได้แต่สังเวชใจ

ผู้เขียนได้ยินเรื่องราวแล้วทำให้เกิดความสะเทือนใจเป็นอย่างมาก

มีครั้งหนึ่งทางโรงพยาบาลต้องการจะนิมนต์พระสงฆ์ไปโปรดญาติโยมที่ป่วยหนักที่อยู่ในโรงพยาบาล คนป่วยหวังอยากจะเห็นพระสงฆ์ผู้เป็นเนื้อนาบุญของชีวิต ครั้งสุดท้ายก่อนที่จะหมดลมหายใจ แล้วก็ไปนิมนต์พระสงฆ์ที่วัดแห่งหนึ่งแต่ก็ไม่มีรูปไหนที่จะเดินทางไปได้

โยมผู้มานิมนต์ก็เลยบอกว่า ไม่เป็นไรท่าน  งั้นโยมขอยืมบาตรและจีวรไปให้คนป่วยได้เห็นชายผ้าเหลือง ได้อธิษฐานแทนก็แล้วกัน แล้วโยมก็นำบาตรและจีวรไปให้คนป่วยได้อธิฐานตามที่กล่าวอย่างนั้นจริงๆ

เราทุกคนไม่สามารถจะย้อนเวลากลับไปทำหน้าที่ๆ มันผ่านมาแล้วได้ สิ่งที่เราจะทำได้คือทำปัจจุบันให้ดีที่สุด พูดถึงการทำหน้าที่ของพระธรรมทูตอาสาก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทของพระสงฆ์ในพื้นที่ที่ยืนหยัดอยู่เป็นที่พึ่งให้กับชาวบ้านให้กับชุมชน

" ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา" (ตอนที่ ๑)  "ลมหายใจของพระพุทธศาสนา" เขียนโดย  พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
” ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา” (ตอนที่ ๑) “ลมหายใจของพระพุทธศาสนา” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

         ผู้เขียนได้พูดคุยกับพระธรรมทูตอาสารูปหนึ่งของจังหวัดนราธิวาส  ท่านเล่าให้ฟังว่ามีแรงบันดาลใจในการทำหน้าที่  เมื่อครั้งหนึ่งคณะพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้มากราบเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ผู้ดำริให้จัดตั้งพระธรรมทูตอาสาขึ้น แล้วเจ้าประคุณฯ ก็ได้ให้โอวาท มีความตอนหนึ่งว่า

“เราตายได้ พระพุทธศาสนาตายไม่ได้

หากไม่มีพระสงฆ์ในพื้นที่ชาวพุทธก็หมดที่พึ่ง

แม้วันใดวันหนึ่งข้างหน้า

พระพุทธศาสนา ชาวพุทธจะอยู่ไม่ได้จริงๆ

ก็ขอให้พระสงฆ์เดินออกจากพื้นที่เป็นคนสุดท้าย”

เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และคณะพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) และคณะพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทำให้ในปัจจุบันนี้หลายรูปได้ทำลายกำแพงแห่งความกลัวไป เหลือไว้แต่หัวใจที่เสียสละด้วยความศรัทธาในพระพุทธศาสนา ตามปณิธานของเจ้าประคุณสมเด็จฯ

ผู้เขียนได้เห็นข่าวการออกบิณฑบาตของพระครูปัญญาธนากร เจ้าอาวาสวัดตันติการาม ตำบลตันหยงลิมอ อำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส ซึ่งหยุดการบิณฑบาตมา ๑๒ ปีแล้ว ด้วยความมุ่งหวังอยากให้ลูกศิษย์ที่บวชด้วย ออกไปโปรดญาติโยมเป็นเนื้อนาบุญให้กับโยมพ่อโยมแม่ และญาติพี่น้องบ้าง จึงเป็นภาพที่เป็นนิมิตหมายอันดี สำหรับการคืนลมหายใจให้กับพระพุทธศาสนาในพื้นที่ของสีแดงของ ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นไม่ว่าดีหรือร้าย ชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป การที่เราปล่อยวางภาระหน้าที่ต่อพระศาสนาที่เราอาศัยอยู่ โดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย บางทีเราอาจจะคิดว่า เราเป็นผู้โชคดีที่สุด แต่ถ้าพลันนึกถึงวันสุดท้ายของชีวิต เราจะเป็นคนที่เสียดายที่สุด เสียดายที่ได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนา เกิดมาได้อาศัยร่มเงาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งของชีวิต แต่ไม่ได้ตอบแทนคุณพระพุทธศาสนาเลย เหมือนเราได้อาศัยแม่ผู้ให้กำเนิด แต่ไม่เคยตอบแทนพระคุณท่านเลย 

"ลมหายใจของพระพุทธศาสนา" จากคอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐) เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
“ลมหายใจของพระพุทธศาสนา” จากคอลัมน์ จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๐) เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท
พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน
พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้เขียน

” ลมหายใจชายแดนใต้ : บนเส้นทางแห่งศรัทธา” (ตอนที่ ๑) “ลมหายใจของพระพุทธศาสนา” เขียนโดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท ผู้ประสานงานโครงการพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here