คงเคยได้ยินคำพูดประโยคที่ว่า​ “ทรัพย์สินเงินทองโจรสามารถขโมยไปได้​ แต่อริยทรัพย์ภายในไม่มีใครขโมยไปได้”

วัตถุภายนอกก็เพื่ออำนวยความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตวันหนึ่งที่แลกเปลี่ยนด้วยหยาดเหยื่อทั้งแรงกายแรงใจให้ได้เงินมาเลี้ยงครอบครัว​ เมื่อเราซื่อสัตย์ต่ออาชีพตน ขยันทำมาหากินก็จะไม่อดกินอดใช้ทรัพย์สินเงินทองเป็นแน่แท้

แต่บ่อยครั้งคนซื่อสัตย์ถูกกลั่นแกล้งก็มากมาย ​เราต้องยืนหยัดในในความถูกต้อง ถูกธรรม และรักษาจุดยืนของเราไว้ คือความซื่อสัตย์

เหมือนคำสอนของผู้รู้ว่า​ “ซื่อกินไม่หมด​ คดกินไม่นาน”

วิธีการ​หาทรัพย์​ภายนอกมาไว้ครอบครองเลี้ยงชีวิตและครอบครัว​ คือ  ขยันหา​ รักษาดี​ มีกัลยาณมิตร​ คบคนดี​ ห่างไกลอบายมุข

ทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องราวของทรัพย์ภายนอกที่บทบาทสำคัญต่อกายและชีวิต​  แต่ทรัพย์ภายในมีผลต่อจิตใจที่ไม่มีใครสามารถปล้นขโมยไปจากจิตใจเราได้เลย

จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๒๒) “อริยทรัพย์ภายใน” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย
จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๒๒) “อริยทรัพย์ภายใน” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

ในพระพุทธศาสนาได้กล่าวทรัพย์ภายในไว้ได้แก่ อริยทรัพย์​ ๗​ ทรัพย์อันประเสริฐ​ ทรัพย์คือคุณธรรมประจำใจอย่างประเสริฐ

 ๑. ศรัทธา  ความเชื่อที่มีเหตุผล มั่นใจในหลักที่ถือและในการดีที่ทำ เช่น​ การเจริญสติแบบเคลื่อนไหวตามแนวทางของหลวงพ่อเทียน​ จิตตสุโภ​  เป็นต้น

พระครูปลัดทรัพย์ชู มหาวีโร และ พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย ผู้เขียน
พระครูปลัดทรัพย์ชู มหาวีโร และ
พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย ผู้เขียน

 ๒. ศีล การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย ประพฤติถูกต้องดีงาม​ เช่น​ ศีล​ ๕ ​และ ศีล ๘​ เป็นต้น      

๓. หิริ ความละอายใจต่อการทำความชั่ว เช่น​ ไม่ทำความผิดซ้ำแล้วซ้ำอีก​

 ๔. โอตตัปปะ ความเกรงกลัวต่อความชั่ว​  เช่น​ กระทำชั่วทางกาย​ วาจา​ ใจ​ ย่อมรับผลของการกระทำชั่วทางกาย​วาจาและใจ​ คิดกลัวต่อผลของการกระทำเลยไม่ทำ

๕. พาหุสัจจะ ความเป็นผู้ได้ศึกษาเล่าเรียนมาก เช่น​ เล่าเรียนกับครูบาอาจารย์ให้ได้แนวทางในการปฏิบัติและวิธีรักษาใจให้ทุกข์น้อยที่สุด

 ๖. จาคะ ความเสียสละ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เช่น​ เสียสละเรื่องเลวร้ายของจิตใจให้ออกไป​ ไม่กักขังตนกับอดีตที่แสนจะปวดร้าว​ กับอนาคตที่มายังไม่ถึงมากนัก

ทำตอนนี้ปัจจุบันให้ดีที่สุด

. ปัญญา ความรู้ความเข้าใจถ่องแท้ในเหตุผล ดีชั่ว ถูกผิด คุณโทษ ประโยชน์ มิใช่ประโยชน์ รู้คิด รู้พิจารณา และรู้ที่จะจัดทำ​ เช่น​ ฉลาดในการใช้ชีวิตเรียนรู้อดีต​ที่เป็นประสบการณ์​ ทำตอนนี้ให้สุดความสามารถ​  เพื่ออนาคตที่มั่นคง

จะเห็นได้ว่า​ ทรัพย์ภายนอกช่วยให้อำนวยความสะดวกทางกายก่อนใจ​  ส่วนทรัพย์ภายในรักษาจิตใจก่อนกาย​

อย่างไรก็ตาม​  ทรัพย์ภายนอกเป็นเพียงวัตถุที่อำนวยความสะดวกแก่ชีวิตมนุษย์​  หามาได้ใช้สอยก็หมดไปและหามาใหม่หรือเก็บไว้ใช้ในเวลาจำเป็นต่อชีวิต​เท่านั้น​ แม้แต่โจรสามารถขโมยก็มาปล้นแย่งชิงไปได้​ 

แต่ทรัพย์ภายในคือคุณธรรมดังกล่าวข้างต้นไม่มีใครสามารถแย่งชิงปล้นไปได้​  นอกจากตนเองจะคิดไม่ซื่อต่อตนเอง​

“จ๊อด” ๑​ กุมภาพันธ์​  ๒๕๖๓

จาริกธรรมในอเมริกา ตอนที่ ๒๒ “อริยทรัพย์ภายใน” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย
จาริกธรรมในอเมริกา ตอนที่ ๒๒ “อริยทรัพย์ภายใน” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

จาริกธรรมในอเมริกา (ตอนที่ ๒๒) “อริยทรัพย์ภายใน” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here