จากเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (จังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส และอำเภอจะนะ เทพา สะบ้าย้อย นาทวี ) ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๗ มีการฆ่าพระสงฆ์ และชาวพุทธ ประชาชนถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทำลายทรัพย์สิน อันเป็นเหตุให้ชาวพุทธในพื้นที่ตรงนี้ ต้องหนีออกจากพื้นที่ เพราะหวาดกลัวกับความรุนแรงที่เกิดขึ้นทำให้ชาวพุทธนั้นลดน้อยลงจากพื้นที่
เครือข่ายพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนใต้นั้น เกิดขึ้นโดยดำริของเจ้าประคุณฯ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เจ้าประคุณฯ ได้ให้ความสำคัญกับปัญหาภาคใต้จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งพระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ขึ้น โดยการกำกับดูแลของสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นหน่วยงานของพระสงฆ์ ในการสนับสนุนการดำเนินภารกิจด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาเชิงรุก ตามมติมหาเถรสมาคมที่ ๔๑๒ / ๒๕๕๖ ในคราวประชุมมาหาเถรสมาคม ครั้งที่ ๒๐/๒๕๕๖
พระธรรมทูตอาสา ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเป็นกลุ่มพระสงฆ์ที่มุ่งเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาสังคม สร้างขวัญกำลังใจให้แก่พุทธศาสนิกชนในพื้นที่มีสถานการณ์ความไม่สงบใน ๕ จังหวัด อันได้แก่จังหวัดสตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และจังหวัดนราธิวาส ซึ่งผ่านการอบรมในหลักสูตร Fa For D (Facilitation for Development of Decency ) เป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในปีพุทธศักราช ๒๕๕๓ โดยมีจุดเน้นของกระบวนการ เพื่อทบทวนแนวคิด หลักการ และพุทธวิธีการเผยแผ่พระพุทธศาสนา องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการกลุ่ม เพื่อฝึกทักษะการเป็นพระวิทยากรกระบวนการ การให้คำปรึกษาเชิงจิตวิทยาแบบกลุ่มด้วยกิจกรรม อาทิ Listening : ฟังอย่างล้ำลึก นึกอย่างลึกล้ำ พูดอย่างมีประสิทธิภาพ : คนพูดได้คิด คนฟังได้คิด และเพื่อฝึกทักษะการจัดทำและบริหารโครงการ จนถึงการสร้างและพัฒนาเครือข่าย
เครือข่ายพระธรรมทูตอาสาได้ดำเนินกิจกรรมผ่านโครงการต่าง ๆ ประกอบด้วย
๑. โครงการเยี่ยมพระพบปะโยม
๒. โครงการศาสนิกสัมพันธ์
๓. โครงการพุทธบุตร อบรมจริยธรรม และปฎิบัติธรรม )
๔. โครงการสร้างขวัญกำลังใจชาวพุทธผู้ประสบเหตุความไม่สงบในพื้นที่ ๕ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ชุมชนของชาวพุทธปัจจุบัน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส)
ได้มีเครือข่ายพระธรรมทูตอาสา ทำงานกันมาอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา และมีการทำงานเข้าถึงชุมชนชาวพุทธในพื้นที่ต่างๆ แบบเชิงรุก โดยการเดินทางเข้าไปในหมู่บ้านต่างๆ เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และให้กำลังใจการใช้ชีวิตในพื้นที่ชายแดนที่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จึงเป็นหน้าที่หลักของพระธรรมทูตที่ต้องยึดหลักปฏิบัติตามแนวทางของพระธรรมทูตต้นแบบตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาล หลังพุทธกาล และพระธรรมทูตในประเทศไทยจนมาถึงปัจจุบัน
ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาบทบาทพระธรรมทูตอาสากับการพัฒนาชุมชนชาวพุทธ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ (สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส ) โดยมีบทบาทที่เป็นรูปธรรมชัดเจนถึงการทำงานแบบเชิงรุกเข้าไปในพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดชายแดนภาคใต้
กล่าวคือ ทุกพื้นที่ที่มีชุมชนของชาวพุทธก็จะมีพระธรรมทูตอาสาเข้าไปเพื่อเผยแผ่ธรรมะ และพัฒนาชุมชนร่วมกันทั้งทางด้านจิตใจและทางด้านวัตถุต่างๆ ซึ่งบทบาทการทำงานแบบนี้ ในพื้นที่เสี่ยงนั้น ก็แทบจะไม่ค่อยมีใครกล้าเข้าไป เนื่องด้วยเกรงต่อความไม่ปลอดภัย ทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
การสืบต่อพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและเป็นประโยชน์เกื้อกูลและความความสุขแก่ชาวโลก เป้นหน้าที่ของพระภิกษุสามเณรทุกรูป ที่จะต้องปฏิบัติตามกำลังความสามารถ โดยฐานานุรูปพระภิกษุ สามเณรมีความสำนึกและปฏิบัติกันมาโดยลำดับ
พระพุทธศาสนาจึงเป็นมรดกสืบมาจนถึงทุกวันนี้
โลกวิวัฒนาการมากขึ้น
การปฎิบัติหน้าที่สืบต่อพระพุทธศาสนา
จึงมีวิธีการต่างๆ ที่เหมาะสม โดยไม่ทิ้งหลักการ คือ พระธรรมวินัย
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
เป็นที่น่าชื่นชมยินดีที่พระสงฆ์แห่งสังฆมณฑลไทย ที่ออกไปประกาศพระศาสนาในประเทศต่างๆ มีความรู้ความสามารถสูง จึงปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกาศพระศาสนา (พระธรรมทูต) ได้ดังที่ปรากฏอยู่ทั่วโลก ( สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ), พระธรรมทูตสายต่างประเทศ รุ่นที่ ๑๔ กรุงเทพมหานคร : นิติธรรมการพิมพ์, ๒๕๕๑ หน้า ๕))