พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจากศิษยานุศิษย์  หลวงปู่สุข โกวิโท
พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจากศิษยานุศิษย์ หลวงปู่สุข โกวิโท

เมื่อวันศุกร์ที่ ๑๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๓๐ น. พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) เจ้าอาวาสวัดป่าพรหมนิมิต จังหวัดศรีสะเกษ ละสังขารที่โรงพยาบาลศรีสะเกษ หลังจากท่านอาพาธด้วยโรคหัวใจและปอดมากว่า ๑๓ ปี แล้วเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษอยู่ระยะหนึ่ง จนกระทั่งมรณภาพอย่างสงบ สิริรวมอายุ ๘๗ ปี ๕๗ พรรษา

โดยจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันอาทิตย์ที่ ๒๑ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๓

พระครูพิสุทธิพรหมวิหาร หรือ หลวงปู่สุข  โกวิโท มีนามเดิมว่า “สุข” นามสกุล “เสาศิริ” เกิดเมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๖  ตรงกับวันจันทร์ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑๐  ปีระกา ณ บ้านหนองเตา  ตำบลสำโรงใหญ่ ในขณะนั้น ปัจจุบันได้ขึ้นกับตำบลหนองไฮ อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ

บิดาชื่อ นายช่วย เสาศิริ และมารดาชื่อ นางผัด เสาศิริ เมื่อหลวงปู่สุขอายุ ๑๒ ปี คุณพ่อของท่านก็เสียชีวิต ทำให้คุณแม่ของท่านต้องดูแลลูกๆ เพียงลำพัง ครอบครัวท่านมีฐานะยากจนมาก  คุณแม่ของหลวงปู่จึงได้บวชชีที่วัดป่าพรหมวิหาร และนำหลวงปู่ในวัยเยาว์ไปดูแลอยู่ที่วัดด้วยจนกระทั่งท่านแม่ชีถึงแก่กรรมด้วยโรคชราเมื่ออายุ ๑๑๙ ปี

หลวงปู่สุขมีพี่น้องร่วมท้องทั้งหมด ๙  คน ท่านเป็นบุตรคนที่ ๕  พี่ๆ ทุกคนถึงแก่กรรมกันหมด ปัจจุบันคงเหลือนางคำวัน ผู้เป็นน้องสาวของหลวงปู่เพียงท่านเดียว

พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจากศิษยานุศิษย์  หลวงปู่สุข โกวิโท
พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจากศิษยานุศิษย์ หลวงปู่สุข โกวิโท

การอุปสมบท

อุปสมบทครั้งแรกเมื่ออายุ ๒๗ ปี

อุปสมบทครั้งที่สองเมื่ออายุ ๒๙ ปี  ณ วัดสระกำแพงใหญ่  อำเภออุทุมพรพิสัย  จังหวัดศรีสะเกษ  

พระอุปัชฌาย์  :  หลวงปู่เครื่อง  สุภัทโท  

พระกรรมวาจาจารย์  : พระครูวิกรม ธรรมโสภิญ

พระอนุสาวนาจารย์  :  พระอาจารย์ที ธัมมทีโป 

การศึกษา

สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ พ.ศ. ๒๔๙๒                                                       
สอบได้ น.ธ. ตรี  พ.ศ. ๒๕๐๕
สอบได้ น.ธ. โท  พ.ศ. ๒๕๑๑ 
สอบได้ น.ธ.เอก  พ.ศ. ๒๕๑๒

พระอาจารย์ที่สอนพระกัมมัฎฐาน 


หลวงปู่คำมี พุทธสาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์  จังหวัดลพบุรี 

หลวงปู่คำมี พุทธสาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์  จังหวัดลพบุรี
หลวงปู่คำมี พุทธสาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี

หลวงปู่เครื่อง  สุภัทโท  วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ     

หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

หลวงปู่ชา  สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี     

หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี
หลวงปู่ชา สุภัทโท วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี

หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ  วัดธารน้ำไหล ( สวนโมกขพลาราม)  จังหวัดสุราษฎร์ธานี

หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ วัดธารน้ำไหล ( สวนโมกขพลาราม) จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หลวงพ่อพุทธทาส อินทปัญโญ วัดธารน้ำไหล ( สวนโมกขพลาราม) จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ  สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม  จังหวัดชลบุรี

พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ  สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม  จังหวัดชลบุรี
พระอาจารย์ภัททันตะ อาสภมหาเถระ สำนักวิปัสสนาวิเวกอาศรม จังหวัดชลบุรี

หลวงพ่อสอน     
หลวงปู่ขาว  อนาลโย     
หลวงปู่ฝั้น    อาจาโร  
และเคยฝึกกัมมัฏฐานจากสำนักปฏิบัติในประเทศพม่า และลาว

เส้นทางธรรมการพบครูบาอาจารย์

พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจากศิษยานุศิษย์  หลวงปู่สุข โกวิโท
พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพจากศิษยานุศิษย์ หลวงปู่สุข โกวิโท

ศึกษากับพระอุปัชฌาย์

หลวงปู่สุข โกวิโท มอบตัวเป็นศิษย์หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท หรือ พระมงคลวุฒ อดีตเจ้าอาวาสวัดสระกำแพงใหญ่ ตำบลสระกำแพงใหญ่ อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งเป็นพระกัมมัฏฐานผู้เข้มข้นในข้อวัตรและเป็นพระนักพัฒนาที่ชาวอีสานใต้ต่างให้ความเลื่อมใสศรัทธากันเป็นอย่างดียิ่ง ด้วยความเป็นพระเถระที่มีเมตตาธรรมขั้นสูง เคร่งครัดในพระธรรมวินัย และมีวิชาในวิทยาคมศักดิ์สิทธิ์ด้านเมตตามหานิยม เป็นที่พึ่งพิงทางจิตใจของญาติโยมผู้แสวงหาความพ้นทุกข์ในสังสารวัฏ  หลวงปู่เครื่อง ท่านได้ไปศึกษามาหลายสำนัก อาทิเช่น หลวงปู่คำมี พุทธสาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์  จังหวัดลพบุรี หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ  ครูบาอาจารย์สายพระกรรมฐานอีกหลายรูป และอาจารย์ฆราวาสผู้เรืองเวทฝั่งลาวแถบเทือกเขาภูเขาควาย

หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท  จึงเป็นดั่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์แรก และเป็นพระอุปัชฌาย์ ของหลวงปู่สุข  โกวิโท  ตอนที่หลวงปู่ท่านบวชใหม่ๆ ก็จำพรรษาอยู่ที่วัดสระกำแพงใหญ่   คอยปฎิบัติดูแลอุปัฏฐากหลวงปู่เครื่องอย่างใกล้ชิด เพราะขณะนั้นหลวงปู่เครื่องท่านมีอาการอาพาธป่วยเป็นอัมพฤกษ์ เดินไม่ได้ หลวงปู่สุข ซึ่งเป็นพระสุข ในขณะนั้น จึงดูแลอย่างใกล้ชิดอยู่หลายปี จนหลวงปู่เครื่องท่านมีอาการดีขึ้น  ช่วงเวลาที่อยู่ดูแล ก็ได้ศึกษาวิชาความรู้ทางด้านวิทยาคมไสยเวทย์ และแนวทางการปฏิบัติเจริญภาวนากรรมฐาน

พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพ จากศิษยานุศิษย์หลวงปู่สุข โกวิโท
พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท) ขอขอบคุณ เรื่องและภาพ จากศิษยานุศิษย์หลวงปู่สุข โกวิโท

หลวงปู่สุขเล่าว่า ช่วงบวชใหม่ๆ ใช้วิธีการสร้างพระเนื้อดินถวายหลวงปู่เครื่องเพื่อฝังกรุบ้าง แจกบ้างในสมัยนั้น โดยการกำหนดจิตให้เป็นสมาธิในการกดแม่พิมพ์พระให้มีสติอยู่ตลอดเวลาเป็นการฝึกของท่านวิธีหนึ่งในสมัยนั้น

ช่วงพรรษาใหม่ท่านจะถูกดูถูก หาว่าเป็นพระบ้าบ้าง ทำเป็นเคร่งครัดบ้าง แต่หลวงปู่ท่านก็มิได้สนใจคำเหล่านั้น ตั้งหน้าตั้งตาทำงาน และปฎิบัติอย่างเดียว

หลวงปู่เครื่องท่านจึงถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ แต่ช่วงเวลานั้นก็ยังไม่สะดวกเท่าที่ควร เพราะหลวงปู่เครื่องท่านอาพาธหนักอยู่ ท่านจึงได้ส่งให้หลวงปู่สุข ไปเรียนรู้เพิ่มเติมกับพระอาจารย์ของท่านอีกรูปหนึ่ง คือ หลวงปู่คำมี พุทธสาโร วัดถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี 

หลวงปู่สุข ท่านเคารพและนอบน้อมต่อองค์หลวงปู่เครื่องเป็นอย่างมาก เพราะหลวงปู่เครื่องท่านเป็นทั้งพระอุปัชฌาย์ที่เป็นดั่งพ่อแม่ครูบาอาจารย์องค์แรกของหลวงปู่  และคอยประคับประคองสอนให้ปู่อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์มาโดยตลอดช่วงแรกๆ 

หลวงปู่เครื่องท่านเรียกใช้งานหลวงปู่สุขอยู่เสมอ โดยเฉพาะงานก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดสระกำแพงใหญ่ในสมัยนั้น  เพราะหลวงปู่สุขท่านลงมือทำมากกว่าพูด ท่านมีอุปนิสัยพูดน้อย  จึงทำให้หลวงปู่เครื่องท่านเมตตาหลวงปู่เป็นพิเศษ  แม้กระทั่งหลวงปู่สุขได้ไปเป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่จังหวัดพิจิตรแล้วก็ตาม หลวงปู่เครื่องท่านก็จะเรียกใช้งานหลวงปู่อยู่เป็นประจำ

หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ
หลวงปู่เครื่อง สุภัทโท วัดสระกำแพงใหญ่ จังหวัดศรีสะเกษ

ทุกปีหลวงปู่จะขึ้นลงไปกลับพิจิตร-ศรีสะเกษ ปีละหลายๆ ครั้ง  จนคำสั่งขอสุดท้ายของหลวงปู่เครื่องที่มีต่อหลวงปู่สุขนั้นคือ ให้ท่านกลับขึ้นมาช่วยสร้างวัดให้กับบ้านเกิดของหลวงปู่เครื่อง ที่บ้านหนองแปน คือ วัดสุเทพนิต ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐

มารผจญคิดลาสิกขา

หลวงปุ่สุขสมัยยังเป็นพระภิกษุหนุ่ม คิดจะลาสิกขาหลายครั้งหลายคราในช่วงบวชใหม่ๆ เพราะมีโยมผู้หญิงมาขอร้องให้สึกออกไปอยู่ด้วยกัน ถึงขั้นเตรียมเสื้อผ้ามาให้พร้อมสึกไปช่วยกันประกอบอาชีพค้าขาย และช่วงนั้นมีการเปิดสอบตำรวจบรรจุพลใหม่ แต่หลวงปู่เครื่องท่านมิให้สึกว่า “ตำรวจมันสอบยาก”

หลวงปู่สุขท่านจึงว่า “งั้นก็จะสึกไปสอบครู” หลวงปู่เครื่องก็บอกว่า “พูดกับเด็กมันพูดยาก สอนยาก” หลวงปู่เครื่องท่านจึงไล่หลวงปู่ให้เข้าป่าไป ให้จิตมันหายฟุ้งซ่านที่คิดจะสึกจนกว่ามันจะหายไป หลวงปู่เครื่องท่านพูดดึงสติหลวงปู่ไว้ว่า “เป็นโยมมันมีแต่ทุกข์ยังอยากจะออกไปอีกหรือ บ่อยากพ้นทุกข์บ่ ”

พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท)
พระครูพิสุทธิ์พรหมวิหาร (หลวงปู่สุข โกวิโท)

หลวงปู่จึงตัดสินใจไม่สึกแล้วออกเดินธุดงค์มุ่งหน้าสู่จังหวัดอุบลราชธานีต่อไป นับได้ว่าหลวงปู่เครื่องท่านเป็นดังพ่อแม่ครูบาอาจารย์ที่ค่อยประคับประคองหลวงปู่สุขให้อยู่ในร่มกาสาวพัสตร์มาโดยตลอด ในช่วงที่บวชใหม่ๆ

หลังจากหลวงปู่สุข โกวิโท ละสังขารอย่างสงบ ศิษยานุศิษย์ซึ่งเป็นพระรูปหนึ่งเล่าว่า …

แม้หลวงปู่สุขมีวิชาอาคมที่ได้รับถ่ายทอดจากครูอาจารย์ จนเป็นที่มาของการสร้างพระเครื่องมากมาย แต่ก็เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ด้วยเหตุผลในการสร้างศาสนวัตถุ และศาสนสถานก็เพื่อเป็นประโยชน์ในบวรพระพุทธศาสนา เป็นที่พึ่งทางใจให้ผู้คนได้มีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจคือพระธรรมแล้วน้อมนำมาประพฤติปฏิบัติที่จิตตนจนกว่าจะสามารถพึ่งตนเองได้ เพื่อความร่มเย็นผาสุขของตน ครอบครัวและสังคมต่อไป

และแม้ว่าพระเครื่องของท่านได้รับความนิยมมาก แต่ตัวท่านก็ไม่มีของสะสมไว้แม้แต่น้อย เหรียญและสมบัติเป็นของผู้อื่นหมดเลย ท่านทรงแค่อัฐบริขารเพียงเท่านั้นตลอดชีวิตแห่งสมณสัญญา สมเป็นพุทธบุตรแห่งพระพุทธองค์ผู้ดำรงอยู่เรือนว่างทั้งภายในและภายนอก เป็นพระผู้สานสร้าง…เส้นทางพระพุทธศาสนา นำผู้คนออกจากกองทุกข์ในสังสารวัฏ เป็นผู้สลัดทิ้งจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงทางโลกแล้วอย่างสิ้นเชิง


น้อมเศียรเกล้า อาเศียรวาท
กราบสรีรสังขาร “หลวงปู่สุข โกวิโท”

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

ขอขอบคุณ เรื่องและภาพ จากศิษยานุศิษย์ หลวงปู่สุข โกวิโท

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here