หนังสือ "ลูกผู้ชายต้องบวช " โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ /อุปถัมภ์การจัดพิมพ์โดย บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน ขอรับหนังสือได้ที่ ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด
หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช ” โดย ญาณวชิระ จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ /อุปถัมภ์การจัดพิมพ์โดย บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน ขอรับหนังสือได้ที่ ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๑๐)

ความมุ่งหมาย และอุดมการณ์แห่งการบวช

โดย ญาณวชิระ

เตรียมบวชเเณรเอิร์ต ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
เตรียมบวชเเณรเอิร์ต ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
เตรียมบวชเเณรเอิร์ต ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
เตรียมบวชเเณรเอิร์ต ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

           การบวชมาจากคำภาษาบาลีว่า ปัพพัชชา  หรือ ปวช  

เราคุ้นเคยกับคำว่า บรรพชา หรือ บวช   เป็นคำผสมระหว่างคำว่า ป+วช  = ปวช  แปลว่า ทั่ว,เป็นเบื้องหน้า  หรือ สิ้นเชิง ส่วนคำว่า วช แปลว่า ไป หรือ เว้น  รวมกันแล้วได้ความว่า  ไปทั่ว,ไปเป็นเบื้องหน้า หรือ ไปโดยสิ้นเชิง, เว้นทั่ว, เว้นเป็นเบื้องหน้า หรือ เว้นโดยสิ้นเชิงก็ได้

            คำว่า ไปทั่ว ไปโดยสิ้นเชิง หรือ ไปเป็นเบื้องหน้า  หมายถึง ไปใช้ชีวิตตามรอยบาทพระศาสดา เพื่อมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นอิสรภาพอย่างแท้จริง ไม่พะวักพะวงอยู่กับความสุขที่สุขๆ ดิบๆ ไปจากการมีวิถีชีวิตอย่างชาวบ้าน คือ ไปจากการครองเรือนสู่ความเป็นผู้ไม่มีเรือน  ไปจากความเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติ สู่ความไม่เป็นผู้ไม่มีทรัพย์สมบัติ  แม้แต่เครื่องนุ่งห่มก็เปลี่ยนไป คำพูดก็เปลี่ยนไป ไม่มีความสนุกสนานรื่นเริง ไร้ญาติ ไร้สมบัติ เลิกขาดแม้กระทั่งกิริยามารยาทและความนึกคิดอย่างชาวบ้าน ชีวิตความเป็นพระภิกษุจึงเป็นชีวิตที่ไปจากเรือนโดยสิ้นเชิง 

ดังปรากฏในบททำวัตรเช้าว่า

จิรปรินิพฺพุตมฺปิ  ตํ  ภควนฺตํ  อุทฺทิสฺส  อรหนฺตํ  สมฺมาสมฺพุทธํ  สทฺธา  อคารสฺมา  อนคาริยํ ปพฺพชิตา 

ตสฺมึ  ภวคติ  พฺรหฺมจริยํ  จราม 

ภิกฺขูนํ  สิกขาสาชีวสมาปนฺนา

เราอุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

แม้ปรินิพพานนานแล้วพระองค์นั้น

มีศรัทธาจึงออกจากเรือนบวช เป็นผู้ไม่มีเรือน

ประพฤติพรหมจรรย์ ในพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น 

ถึงพร้อมด้วยสิกขาและการดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุทั้งหลาย

          คำว่า ถึงพร้อมด้วยสิกขานี้หมายถึงชีวิตที่ต้องศึกษา ฝึกหัด ขัดเกลา   พัฒนาตนเอง   ดำเนินชีวิตอย่างพระภิกษุ   ไม่มีญาติ  เป็นอนาคาริก คือ ไม่มีเรือน กิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่คนครองเรือนทำกัน กิจกรรมเช่นนั้นเป็นสิ่งที่บรรพชิตทำไม่ได้ ต้องงดเว้นโดยสิ้นเชิง การอยู่ครองเรือนชื่อว่าจะประพฤติปฏิบัติธรรมให้สมบูรณ์

จึงมิใช่เรื่องง่าย ตามที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ฆราวาสเป็นที่คับแคบเป็นทางมาแห่งธุลี ส่วนการบรรพชาเป็นโอกาสสว่าง ผู้อยู่ครองเรือน จะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริสุทธิ์ด้วยดี เหมือนสังข์ที่เขาขัดดีแล้วไม่ได้ ถ้าไฉนเราพึงปลงผมและหนวดครองผ้าย้อมฝาดออกจากเรือน บวชเป็นผู้ไม่มีประโยชน์เกี่ยวข้องด้วยเรือน” (๑๓/๖๖๙/๗๓๘ )

ชีวิตการครองเรือนเป็นชีวิตที่มากไปด้วยความครุ่นคิดปรารถนา  เต็มไปด้วยความเร่าร้อน ดิ้นรนแสวงหา มากไปด้วยความทะเยอทะยาน ระคนไปด้วยพวกพ้อง  ยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไป ผู้อยู่ครองเรือนก็ต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งที่เป็นค่านิยมของสังคม  ชีวิตจึงหมุนอยู่ตลอดเวลา

           แต่บรรพชิตเป็นชีวิตที่ตรงกันข้าม เป็นชีวิตที่เรียบง่ายสงบเสงี่ยม  เต็มไปด้วยความสำรวมระวังอยู่ตลอดเวลา ตัดสายใยแห่งอดีต ไม่หมกมุ่นครุ่นคิดถึงอนาคต ระงับความเร่าร้อน สยบการดิ้นรนแสวงหา ปลีกตัวอยู่ท่ามกลางความสงบสงัดเงียบ ไม่ระคนด้วยหมู่คณะ ทรมานตนด้วยศีล ฝึกหัดขัดเกลาจิตใจด้วยสมาธิและปัญญา เป็นชีวิตที่(เสมือนว่า)ไร้ญาติขาดมิตร  ไร้แม้เรือนนอน ชีวิตพระสงฆ์จึงเป็นชีวิตที่เหมือนถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยวท่ามกลางยุคสมัย  

             คำว่า ไร้ญาติขาดมิตรไร้แม้เรือนนอนนี้ ยังมีสิ่งที่จะต้องกล่าวเพิ่มเติมอีก  ความจริงก็ไม่ได้หมายความว่าบวชแล้วจะต้องตัดพ่อตัดลูกตัดแม่ตัดลูก ตัดพี่ตัดน้องไม่ต้องมองหน้าไม่ต้องนับญาติกันอีก เพราะหลักธรรมญาติสังคหะ หรือหลักการสงเคราะห์ญาตินั้นเป็นธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงสรรเสริญ แต่หมายความว่าผู้บวชต้องตัดความอาลัยในญาติพี่น้อง ตัดอาลัยในกิจการบ้านเรือนอันจะเป็นเหตุให้เกิดปลิโพธ คือ ความกังวล เครื่องผูกพันหรือหน่วงเหนี่ยวเป็นเหตุให้ใจพะวักพะวน ไม่อาจบำเพ็ญสมณธรรมให้เจริญงอกงามไพบูลย์ได้

โดยปกติคนเรามักคิดถึงญาติพี่น้อง ร่ำร้องถึงคนที่รัก หมกมุ่นครุ่นคิดถึงคนคุ้นเคย รัญจวนถึงเหตุการณ์ในอดีต คิดถึงบ้านเรือนและกิจกรรมต่างๆ ที่เคยกระทำในบ้านเรือน   การที่ท่านให้ตัดความอาลัยในญาติพี่น้องซึ่งเป็นเรื่องที่ทำได้ยากยิ่งในทางปฏิบัตินั้น       ก็เพื่อเป็นอุบายสอนให้รู้จักการฝึกหัดควบคุมจิตใจของเราเป็นเบื้องต้นนั่นเอง  พระพุทธเจ้าตรัสว่า

ผู้มากไปด้วยกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจไร้การบังคับควบคุมตนเอง ไม่มีสัจจะ ถึงนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ก็หาคู่ควรแก่เขาไม่เลย”

“ผู้สำรอกกิเลสเครื่องเศร้าหมองใจ มั่นคงในศีล รู้จักบังคับควบคุมตนเอง และมีสัจจะนั่นแหละ จึงควรนุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์” (๒๕/๑๖/๑๑)

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            การบวชจึงเป็นเรื่องของการฝึกบังคับควบคุมจิตใจ แม้ในครั้งพระพุทธกาลเคยมีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่ง บวชแล้วเกิดความรู้สึกว่าตัวเองโดดเดี่ยวเหมือนถูกทอดทิ้ง   ทั้งๆ มีญาติก็เหมือนคนที่ไร้ญาติ มีสมบัติก็เหมือนคนไร้สมบัติ พระภิกษุรูปดังกล่าวเป็นราชบุตรของกษัตริย์วัชชี  ละทิ้งชีวิตวัยหนุ่มของตนเองซึ่งพรั่งพร้อมบริบูรณ์อย่างลูกกษัตริย์ทั้งหลาย ออกบวชในพระพุทธศาสนา 

วันหนึ่งท่านออกไปปฏิบัติธรรมอยู่กลางป่า  ท่ามกลางราตรีอันเงียบสงัด   ท่านได้ยินเสียงมหรสพเฉลิมฉลองอยู่ภายในเมืองไพศาลีดังสะท้อนผ่านค่ำคืนเข้ามาสู่ป่าที่ท่านกำลังบำเพ็ญสมณธรรมอยู่  ท่านเกิดความรู้สึกหงอยเหงาเปล่าเปลี่ยวใจ ว่าตนเองเหมือนคนถูกทอดทิ้งให้โดดเดี่ยวอยู่กลางป่า ในขณะที่ผู้คนเป็นอันมากในเมืองกำลังสนุกสนานรื่นเริงไปกับการใช้ชีวิตอย่างสำเริงสำราญ ท่านเองกลับมาอยู่ท่ามกลางป่าคนเดียว พลันความคิดก็กระหวัดนึกไปถึงเครื่องประดับผ้าโพกที่เคยใช้เมื่อครั้งเป็นราชกุมาร จึงรำพึงออกมาเป็นบทกวีว่า 

            “เราคนเดียวโดดเดี่ยวอยู่กลางดงลึก   เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้กลางป่า    ในยามราตรีที่เขาสนุกสนานรื่นเริงกันเช่นนี้ ใครหนอ! จะโง่เขลาไปกว่าเรา” (๒๕/๒๙๖/๗๘๔)

           รุกขเทวดาผู้รักษาป่าแห่งนั้น เฝ้าเอาใจช่วยในการบำเพ็ญสมณธรรมของท่านอยู่ รู้ใจพระภิกษุหนุ่มที่กำลังกลัดกลุ้มรุ่มร้อนเช่นนั้น จึงกล่าวเชิงเตือนสติเป็นบทกวีตอบออกไปว่า

             “ท่านอยู่ป่าคนเดียว  เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้กลางป่าก็จริงหรอก    แต่คนเป็นอันมากก็ชื่นชมยินดีต่อท่าน เหมือนสัตว์นรกชื่นชมยินดีต่อคนที่ไปสวรรค์”  (๒๕/๒๙๗/๗๘๕)

            เมื่อได้ฟังดังนั้นท่านจึงเกิดฉุกคิดขึ้นมาได้ เพ่งพินิจพิจารณาตรึกตรองโดยแยบคาย บำเพ็ญเพียรจนได้บรรลุสมณธรรมแล้ว  จึงทราบข้อความที่รุกขเทวดากล่าวอย่างแจ่มแจ้งด้วยตัวท่านเอง 

พร้อมกับได้รำพึงเป็นบทกวีว่า     

            “แม้ดีจริงหนอ เราคนเดียวโดดเดี่ยวอยู่กลางดงลึก เหมือนท่อนไม้ที่เขาทิ้งไว้กลางป่า     แต่คนเป็นอันมากกลับยินดีต่อเรา เหมือนสัตว์นรกชื่นชม ยินดีต่อคนผู้ไปสวรรค์

(๒๖/๒๗๔/๑๙๙)

            การบวชจึงเป็นการดำเนินชีวิต ตามเบื้องรอยบาทพระบรมศาสดา เพื่อแสวงหาอิสรภาพทางจิตวิญญาณ  ปลดปล่อยจิตใจให้อยู่เหนือการบีบคั้นตามแรงเหวี่ยงของกระแสสังคม และการจะปลดปล่อยจิตใจให้เป็นอิสรภาพได้ต้องเริ่มด้วยการฝึกหัดควบคุมจิตใจตามกระบวนการของศีล สมาธิ และปัญญา

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

            รูปแบบของการฝึกควบคุมจิตใจในสมัยพุทธกาล สำหรับผู้บวชใหม่ ท่านเรียกกัมมัฏฐานนี้ว่า “ตจปัญจกกัมมัฏฐาน”  หรือ “มูลกัมมัฏฐาน” คือ กัมมัฏฐานเบื้องต้นสำหรับผู้บวชใหม่ใช้ฝึกสมาธิ ด้วยการเอาสติไปแยกพิจารณาส่วนประกอบต่างๆ ของร่างกาย เริ่มโดยพิจารณา ผม (เกสา) ขน(โลมา) เล็บ(นะขา) ฟัน (ทันตา) และหนัง (ตะโจ) เป็นคำบริกรรมว่าทวนกลับไปกลับมาเพื่อให้จิตเป็นสมาธิ  วิธีดังกล่าวเป็นรูปแบบที่ใช้มาแต่พุทธกาล แม้ในปัจจุบัน พระอุปัชฌาย์ก็ยังสอนผู้บวชใหม่ 

            การบวชจึงเป็นการสละความเป็นผู้มีทรัพย์สมบัติ  หมายถึง การยอมรับในการดำเนินชีวิตที่ไม่ต้องประกอบอาชีพเพื่อพอกพูนทรัพย์  ดำเนินชีวิตโดยอาศัยปัจจัยเครื่องเลี้ยงชีพที่เกิดจากศรัทธาของผู้อื่นตามแต่จะหาได้ เป็นผู้เลี้ยงง่าย ไม่ให้เกิดความลำบากแก่ผู้อื่น

            เป็นการสละวงศาคณาญาติ  หมายถึง  ตัดความอาลัยในหมู่ญาติ ไม่เกี่ยวข้องด้วยการสงเคราะห์อย่างชาวโลก อันทำให้เกิดความกังวล ไม่สามารถบำเพ็ญกิจสงฆ์ได้

เป็นการเลิกละการนุ่งห่มประดับประดาอย่างฆราวาส  หมายถึง การใช้เครื่องนุ่งห่มอย่างพระภิกษุต้องมุ่งที่ประโยชน์ของสิ่งนั้น  ถึงแม้ห่มจีวรแต่มุ่งว่าต้องสวยงาม นุ่มนวล ก็ผิดวัตถุประสงค์ของการนุ่งห่มอย่างพระภิกษุ

            เป็นการเลิกละการกินอย่างฆราวาส  หมายถึง  การฉันไม่ใช่เพียงเพื่ออิ่ม เพื่อความเอร็ดอร่อย หรือเข้ากับค่านิยมของยุคสมัย แต่จุดมุ่งหมายอยู่ที่ให้ร่างกายดำรงอยู่ได้เพื่อทำหน้าที่ของตนให้สมบูรณ์

            เป็นการเลิกละการใช้สอยอย่างฆราวาส  หมายถึง เครื่องใช้ของพระภิกษุ(บริขาร ๘) นั้นมิใช่มีจุดมุ่งหมายเพื่อโอ้อวด หรือแสดงถึงฐานะความเป็นอยู่ แต่การใช้ของสิ่งใดนั้นจะมุ่งประโยชน์ที่เกิดจากการใช้บริขารนั้น

            เป็นการเลิกละกิริยาวาจาอย่างฆราวาส  หมายถึง  เลิกละกิริยาวาจาอันเป็นสื่อให้เกิดกิเลสตัณหา วาจาอันหยาบกระด้างกระทบกระทั่งผู้อื่นให้เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน อันไม่เหมาะแก่สมณะ เป็นการเลิกละความรู้สึกนึกคิดอย่างฆราวาส  หมายถึง ไม่คิดไปในทางเหย้าเรือน ในทางกามคุณอันจะทำให้ชีวิตพรหมจรรย์เศร้าหมอง

ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

          โลกปัจจุบันเต็มไปด้วยความสับสน เงื่อนไขของชีวิตสลับซับซ้อนมากขึ้น ผู้คนต่างอ่อนล้ากับการยืนหยัดบนเส้นทางชีวิต  การบวชเป็นสิ่งงดงามท่ามกลางความสับสนของโลกปัจจุบัน  แม้บางท่านอาจตั้งใจบวชในระยะสั้นๆ โดยไม่ได้มุ่งไปสู่ความหลุดพ้นจากกิเลสโดยสิ้นเชิง  แต่การหลุดพ้นจากโลกแห่งความสับสนชั่วขณะหนึ่ง ก็เป็นสิ่งที่ทำให้ผู้บวชเกิดความเอิบอิ่มใจอย่างประหลาดว่า อย่างน้อย เรายังมีอีกเส้นทางหนึ่งให้เดินออกจากความสับสน  เว้นวรรคชีวิตมาอยู่กับตัวเองในมุมที่สงบของโลกปัจจุบัน 

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย  พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
สามเณรเอิร์ต และ พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
สามเณรเอิร์ต และ พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ท่านเขียนหนังสือธรรมะมากมาย แต่ละเล่มล้วนเต็มไปด้วยสารัตถะแห่งธรรมที่เข้าใจง่าย และนำมาปฏิบัติได้ในชีวิตประจำวัน อาทิ หลักแห่งการทำบุญและปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน , พุทธานุภาพ อานุภาพของพระพุทธองค์ , มหาสมัยสูตร ,การ์ตูนแอนนิเมชั่น เรื่อง ปาฏิหาริย์พระบรมสารีริกธาตุ ,ทฤษฎีเบื้องต้นแห่งปรัชญาไทย, ประทีปแห่งแม่น้ำมูล , ทศชาติ ปณิธานมหาบุรุษไม่เปลี่ยนแปลง ,ตำนานภูเขาทอง , ลูกผู้ชายต้องบวช , สมาธิเบื้องต้นสำหรับชาวบ้าน ,หนึ่งหน้าประวัติศาสตร์แห่งการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ,บามิยัน ดินแดนแห่งประวัติศาสตร์อันรุ่งเรือง และมืดมนยาวนานแห่งพระพุทธศาสนา, สุวรรณบรรพต สยามพุทธศิลป์ , พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า และ ความเป็นมาของพระอภิธรรม เป็นต้น

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๑๐) ความมุ่งหมาย และอุดมการณ์แห่งการบวช โดย ญาณวชิระ จากหนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” จัดพิมพ์โดย สถาบันพัฒนาพระวิทยากร วัดสระเกศ /อุปถัมภ์การจัดพิมพ์โดย บริษัท โตโยต้าบัสส์ จำกัด จัดพิมพ์เป็นธรรมทาน ขอรับหนังสือได้ที่ ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศ จนกว่าหนังสือจะหมด

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here