หนังสือ "ลูกผู้ชายต้องบวช" โดย ญาณวชิระ
หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ

ทำไม…ลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๔)

“การบวชช่วยขัดเกลาอุปนิสัยให้อ่อนโยน”

โดย ญาณวชิระ

กราบขอบพระคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
กราบขอบพระคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ลูกผู้ชายต้องบวช โดย ญาณวชิระ ภาพประกอบโดย หมอนไม้
ลูกผู้ชายต้องบวช โดย ญาณวชิระ
ภาพประกอบโดย หมอนไม้

๔. การบวชช่วยขัดเกลาอุปนิสัยให้อ่อนโยน 

ชีวิตภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ เป็นชีวิตที่มุ่งไปสู่การทำลายกิเลสให้หมดสิ้นไป ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุดของหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา  แม้เป้าหมายนั้นอาจอยู่ห่างไกล และก้าวไปได้ยาก ในความรู้สึกของชาวบ้าน  ถึงอย่างนั้น  การบวชก็เป็นการฝึกหัดขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยนงดงาม ไม่หยาบกระด้าง  ไม่ก้าวร้าวรุนแรง  มีความโอบอ้อมอารี  เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  ซึ่งเมื่อบวชแล้วนอกจากจะได้เห็นใจตนเอง ยังได้เห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วย  

เป้าหมายที่เกี่ยวกับจิตใจและการละกิเลส  เป็นประโยชน์โดยตรงต่อจิตใจของผู้บวช  ถึงแม้จะไม่สามารถทำลายกิเลสลงได้อย่างราบคาบ แต่การบวชก็เป็นการสร้างบารมี เพื่อความสมบูรณ์แห่งจิตยิ่งขึ้นในภายหน้า 

ทำให้ได้เห็นใจตนเอง

คือได้เห็นความรู้สึกนึกคิดของตนเองชัดเจนมากยิ่งขึ้น

เนื่องจากชีวิตภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ มีเวลาในการปฏิบัติฝึกหัดขัดเกลาจิตมาก  จึงมีโอกาสได้เห็นตัวตนที่แท้จริงว่าเราเป็นคนอย่างไร ทำให้ความก้าวร้าวรุนแรงในจิตใจลดน้อยลง จิตใจที่ผ่านการฝึกหัดเช่นนี้เป็นจิตที่อ่อนโยนละเอียดประณีต

กราบขอบพระคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
กราบขอบพระคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

การบวชเป็นการสนองความหวังดีของพ่อแม่

ชีวิตภายใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ ได้ชื่อว่าเป็นการตอบแทนบุญคุณพ่อแม่  เพราะพ่อแม่เห็นว่าเป็นทางที่จะช่วยเสริมชีวิตลูกให้ดีขึ้น เสริมบุญ เสริมบารมี  เสริมจิตใจ เสริมความเจริญก้าวหน้า เสริมเกราะป้องกันจากผู้จองเวร ฯลฯ

โดยเฉพาะส่งเสริมทางด้านจิตใจ เช่น พ่อแม่เห็นว่าลูกเป็นคนไม่ละเอียดอ่อน ใจร้อน  วู่วาม หุนหันพลันแล่น  เจ้าโทสะ ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ ก็ต้องการให้ลูกเป็นคนสุขุมเยือกเย็น  รู้จักยับยั้งชั่งใจ จึงอยากให้บวชในพระพุทธศาสนา เพื่ออบรมขัดเกลาจิตใจให้เย็นลง เป็นการแสดงถึงความปรารถนาดีของพ่อแม่ เมื่อลูกได้บวช  จึงกล่าวได้ว่า เป็นการตอบสนองความปรารถนาดีของพ่อแม่

ลูกที่รู้จักตอบสนองความปรารถนาดีพ่อแม่นั้น  ถือได้ว่าเป็นการตอบแทนพระคุณท่านอีกทางหนึ่ง  เมื่อลูกบวช พ่อแม่เกิดความเบาใจและยังมีโอกาสได้ทำบุญทำทาน มีโอกาสได้เข้าวัดสวดมนต์ฟังเทศน์รักษาศีล หรือที่ทำอยู่แล้วก็ได้ทำมากขึ้นเป็นพิเศษ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแก่พ่อแม่ ล้วนมาจากการบวชของลูก  เท่ากับว่าลูกเป็นสื่อให้พ่อแม่ได้ทำบุญ

คนไทยจึงถือกันว่า ลูกบวชแล้วทำให้พ่อแม่เกาะชายผ้าเหลืองขึ้นสวรรค์ เพราะเมื่อลูกบวชแล้ว ทำให้พ่อแม่มีโอกาสได้ทำบุญให้ทานรักษาศีล  สวดมนต์ไหว้พระเจริญภาวนามากขึ้นเป็นพิเศษ  ในขณะที่ลูกบวชเป็นพระ จิตใจพ่อแม่ก็อยู่กับลูกตลอดเวลา

ล้อมกรอบ

“การบวชเป็นการฝึกหัดขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยนงดงาม ไม่หยาบกระด้าง ไม่ก้าวร้าวรุนแรง  มีความโอบอ้อมอารี  เห็นอกเห็นใจผู้อื่น  ซึ่งเมื่อบวชแล้วนอกจากจะได้เห็นใจตนเอง ยังได้เห็นอกเห็นใจผู้อื่นด้วย”   ญาณวชิระ

ของขวัญแห่งชีวิต หนังสือ “ลูกผู้ชายต้องบวช” โดย ญาณวชิระ พิมพ์แจกเป็นธรรมทาน โดยสถาบันพัฒนาพระวิทยากร ติดต่อรับได้เป็นธรรมบรรณาการ (ฟรี) จนกว่าหนังสือจะหมด ที่ศาลาหลวงพ่อดวงดี วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
ญาณวชิระ เป็นนามปากกาของ พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น

ทำไมลูกผู้ชายต้องบวช (ตอนที่ ๔) “การบวชช่วยขัดเกลาอุปนิสัยให้อ่อนโยน” โดย ญาณวชิระ( จาก หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒)

กราบขอบพระคุณ พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพถ่าย และ พระมหาสิทธิชัย กราฟฟิก
กราบขอบพระคุณ พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส ภาพถ่าย และ พระมหาสิทธิชัย กราฟฟิก

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here