ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพจาก วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ปีนี้วัดสระเกศ จัดงานสวดมนต์ข้ามปี ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ – ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓

ความเป็นมาและอานุภาพแห่งการสวดมนต์ข้ามปี (๒)

“อภัยปริตร” ปริตรแห่งการให้อภัยและอโหสิกรรม พระพุทธมนต์บทสวดสำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์

โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

หนังสือ "ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร " เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (ฉบับธรรมทาน)
หนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (ฉบับธรรมทาน)
หนังสือ "พุทธานุภาพ" อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดยพระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร,วงศ์ขะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘ โดยกองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ มิถุนายน ๒๕๕๒ ฉบับธรรมทาน
หนังสือ “พุทธานุภาพ” อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์เพื่อชีวิตที่ดีงาม
โดยพระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร,วงศ์ขะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๘
โดยกองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ มิถุนายน ๒๕๕๒ ฉบับธรรมทาน

วันนี้วันจันทร์ บทสวดมนต์ สำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ คือ อภัยปริตร

ในหนังสือ “ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ” เรียบเรียงโดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) พิมพ์ครั้งที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๕๔ จัดพิมพ์โดย กองทุนพุทธานุภาพ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร (ฉบับธรรมทาน) อธิบายว่า สำหรับบทอภัยปริตรนี้ ยังไม่สามารถสืบค้นหาที่มาและตำนานที่ชัดเจนได้ โดยผู้ประพันธ์ได้น้อมเอาอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มาเป็นสิ่งขจัดปัดเป่าลางร้ายทั้งมวลให้พินาศไป

เนื้อหาของอภัยปริตรกล่าวถึงการขออานุภาพแห่งพระรัตนตรัย ช่วยบำบัดปัดเป่าลางร้ายอันเกิดจากเสียงนกที่ทำให้ไม่สบายใจ บาปเคราะห์ ฝันร้าย และสิ่งอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวง ให้พินาศไป

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

โยจามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

โยจามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

โยจามะนาโป สะกุณัสสะสัทโท

ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

สังฆังนุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

คำแปล

ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยพุทธานุภาพ ขอความเลวร้ายทั้งปวง จงพินาศไปสิ้น

ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยธรรมานุภาพขอความเลวร้ายทั้งปวง จงพินาศไปสิ้น

ลางร้ายใด อัปมงคลใด เสียงนกที่น่าสะพรึงกลัวใด เคราะห์ร้ายและฝันร้ายที่ไม่น่าปรารถนาใด ด้วยสังฆานุภาพ ขอความเลวร้ายทั้งปวง จงพินาศไปสิ้น

ใน หนังสือ “พุทธานุภาพ” อานุภาพของพระพุทธองค์ เรียนรู้พุทธธรรมจากพระพุทธมนต์เพื่อชีวิตที่ดีงาม โดยพระครูปลัดสุวัฒนธีรคุณ (เทอด ญาณวชิโร,วงศ์ขะอุ่ม) พิมพ์ครั้งที่ ๑๙ โดยสำนักพิมพ์อนันตะ มิถุนายน ๒๕๕๒

อธิบายตำนานและอานุภาพการป้องกันไว้ว่า อภัยปริตร เพื่อขจัดปัดเป่าลางร้ายต่างๆ มีฝันร้าย เป็นต้น เป็นคาถาประพันธ์ของบูรพาจารย์ในยุคหลัง

คาถานี้มีชื่อว่า อภัยปริต ยังไม่สามารถสืบค้นที่มาและตำนานที่ชัดเจนได้ แต่สันนิฐานกันว่า ประพันธ์ขึ้นที่เชียงใหม่ โดยผู้ประพันธ์ได้อ้างเอาอานุภาพแห่งพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ มาเป็นสิ่งขจัดปัดเป่าลางร้ายทั้งมวลให้พินาศไป

เนื้อความบทอภัยปริตรกล่าวถึงการน้อมเอาอานุภาพแห่งพระรัตนตรัยมาช่วยบำบัดปัดเป่าลางร้ายอันเกิดจากเสียงนกที่ทำให้ไม่สบายใจ บาปเคราะห์ ฝันร้ายที่เป็นลางไม่ดี และสิ่งอันเป็นอัปมงคลทั้งหลายทั้งปวงให้พินาศไป

อานุภาพการป้องกัน

“ลาง” คือสิ่งที่ผุดคิดในจิต หรือ สิ่งที่เกิดขึ้นผิดไปจากธรรมชาติของสิ่งนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นสัตว์ สิ่งของ หรือธรรมชาติอื่นๆ ก็สามารถที่จะปรากฏเป็นลางได้ เช่น โดยธรรมชาติของสัตว์บางชนิดจะต้องอยู่กับป่า แต่กลับเข้ามาอยู่ในบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของตน แสดงถึงการผิดธรรมชาติของสัตว์ชนิดนั้น การผิดธรรมชาติเช่นนี้ เรียกว่า “ลาง”

ในการดำเนินชีวิต เมื่อเกิดปรากฏการณ์ที่ผิดไปจากธรรมชาติเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดความไม่สบายอกสบายใจ เป็นวิตก เกิดความไม่เชื่อมั่นในสิ่งที่เกิดขึ้น อันจะส่งผลต่อการตัดสินใจและการดำเนินชีวิต หากเกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า “ลาง” ขึ้นในชีวิต ท่านให้สวดอภัยปริตรเพื่อระงับอัปมงคลอันจะเกิดจากลางนั้น

นอกจากนี้ ท่านยังแสดงว่า หากสวดอภัยปริตรก่อนนอนทุกคืน จะทำให้หลับสบายไม่ฝันร้าย

การสวดอภัยปริตรเชื่อว่า อานุภาพของพระรัตนตรัย จะช่วยขจัดปัดเป่าลางร้ายและสิ่งอัปมงคลทั้งหลายอันเกิดจากเสียงสัตว์ต่างๆ และธรรมชาติอื่นๆ ตลอดจนลางร้ายที่ปรากฏทางความฝันให้พินาศไปสิ้น

ในการสวดมนต์บทอภัยปริตรตามงานต่างๆ บางทีพระท่านก็ตัดออก แต่ถ้างานนั้นเป็นพิธีเกี่ยวกับมิ่งขวัญก็จะสวดเสมอ ในบทขัดตำนาน (บทเริ่มต้น) ท่านได้ประพันธ์เป็นคาถาแสดงอานุภาพของอภัยปริตรไว้ดังนี้

“ขอท่านสาธุชนทั้งหลายจงฟังพระปริตรนั้น อันทำให้ได้บุญ มีเดชมาก มีคุณมีเกียรติ และมียศใหญ่ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ตนเองและผู้อื่นฯ”

ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

พุทธานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

ธัมมานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ
ยันทุนนิมิตตัง อะวะมังคะลัญจะ

โย จามะนาโป สะกุณัสสะ สัทโท
ปาปัคคะโห ทุสสุปินัง อะกันตัง

สังฆานุภาเวนะ วินาสะเมนตุฯ

ประวัติ พิธีสวดมนต์ข้ามปี

โดย พระวิจิตรธรรมาภรณ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

การสวดมนต์ข้ามปีหรือสวดมนต์ปีใหม่ อนุวัติตามประเพณีนิยมการสวดมนต์ขึ้นปีใหม่ของไทยมาแต่เดิม ที่เรียกว่า “สงกรานต์” โดยก่อนสิ้นปี พระสงฆ์จะได้รับอาราธนาให้ไปเจริญพระพุทธมนต์บทนพเคราะห์ที่กรมประชาสัมพันธ์ จากนั้น ก็จะรอเวลาเที่ยงคืนเพื่อเจริญพระพุทธมนต์ “บทชัยมงคลคาถา” ออกอากาศไปทั่วประเทศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ได้นำคณะสงฆ์วัดสระเกศ ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีขึ้น ณ พระอุโบสถ วัดสระเกศ เพื่อให้สอดคล้องกับพระสงฆ์ที่เจริญพระพุทธมนต์ที่กรมประชาสัมพันธ์ โดยอนุวัติตามพระราชประเพณีแห่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ราชการที่ ๓ เคยประกอบพิธีในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นประเพณีปีใหม่ของไทยที่มีมาแต่เดิม

การเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ กราบขอบพระคุณ ภาพจาก สำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
การเจริญพระพุทธมนต์ข้ามปีที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เมื่อปี พ.ศ.๒๕๕๙ กราบขอบพระคุณ ภาพจาก สำนักงาน ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

การสวดมนต์ข้ามปี จึงถือได้ว่าเริ่มจัดขึ้นที่วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร และ เป็นต้นแบบการสวดมนต์ข้ามปีจนเป็นที่นิยมแพร่หลาย ในเวลาต่อมา ในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ กรุงเทพมหานคร โดยสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ได้เห็นความสำคัญของการสวดมนต์ข้ามปี จึงได้ร่วมกับคณะสงฆ์วัดสระเกศ จัดสวดมนต์ข้ามปีขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ทำให้กรุงเทพมหานครขอยกเลิกการจัดงาน แม้เช่นนั้น คณะสงฆ์วัดสระเกศก็ยังคงดำเนินการจัดพิธีสวดมนต์ข้ามปีตามที่กำหนดไว้

และ ต่อมา คณะสงฆ์มีความเห็นร่วมกันว่า การสวดมนต์ข้ามปีเป็นที่นิยมของประชาชนอย่างแพร่หลาย และเป็นค่านิยมที่งดงาม ควรแก่การส่งเสริม ที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อเดือนธันวาคม ๒๕๕๓ ณ ตำหนักสมเด็จฯ วัดสระเกศ จึงได้มีมติให้วัดทุกวัด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จัดสวดมนต์ข้ามปี ส่วนกลาง มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดสระเกศ ภูเขาทอง กรุงเทพมหานคร ภาคเหนือ มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ จังหวัดเชียงใหม่ ภาคอีสาน มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดพระธาตุพนม จังหวัดนครพนม และ ภาคใต้ มีศูนย์กลางอยู่ที่วัดบรมธาตุไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี และให้วัดเจ้าคณะจังหวัดทุกจังหวัดเป็นศูนย์กลางการสวดมนต์ข้ามปีของจังหวัดนั้น ๆ ให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นศูนย์กลางการอำนวยการ ประสานกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในการจัดสวดมนต์ข้ามปี

ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร
ขอขอบคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร


สำหรับวัดสระเกศนั้น เป็นวัดที่เกี่ยวข้องกับความร่มเย็นเป็นสุขของประเทศชาติบ้านเมืองมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ได้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์ที่บริเวณสระน้ำวัดสะแก ซึ่งเป็นที่ตั้งวัดสระเกศในปัจจุบัน เป็นเวลา ๓ วัน ๓ คืน จากนั้น จึงประกอบพิธีมูรธาภิเษก ก่อนปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์ผ่านพิภพเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี

ภายหลังเมื่อสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์แล้ว ทรงเปลี่ยนนาม “วัดสะแก” เป็น “วัดสระเกศ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติให้ต้องตามสถานที่ที่พระองค์ประกอบพิธีมูรธาภิเษก วัดสระเกศจึงถือได้ว่า เป็นจุดเริ่มต้นแห่งการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ และราชวงศ์จักรี
คณะสงฆ์วัดสระเกศได้รักษาประเพณีการเจริญพระพุทธมนต์ เพื่อประกอบพิธีทำน้ำพระพุทธมนต์ในวาระที่สำคัญ ตามพระราชประเพณีแห่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ สืบต่อมา

ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระองค์โปรดฯ ให้มีการฟื้นฟูพิธีเจริญพระพุทธมนต์ “บทมหาสมัยสูตร” ให้มีระเบียบแบบแผนมากขึ้น โดยโปรดฯ ให้ประกอบพิธีที่พระวิหารพระอัฏฐารส วัดสระเกศ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ อันเป็นเทศกาลปีใหม่ตามธรรมเนียมโบราณของชาวไทย เพื่อนำน้ำพระพุทธมนต์ไปแจกจ่ายให้กับประชาชน ได้นำไปประพรมให้ลูกหลานบ้านเรือน เรือกสวนไร่นา ให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุข

ก่อนหน้าที่ชาวไทยกำหนดเอาวันสงกรานต์เป็นวันขึ้นปีใหม่ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยเป็นพิธีสวดมนต์ใหญ่ประจำปี เนื่องในวาระขึ้นปีใหม่ ถือว่าเป็นพิธีที่สำคัญที่ทางบ้านเมืองจะต้องร่วมกันจัดขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคล และเกิดความร่มเย็นเป็นสุขแก่อาณาประชาราษฎร์ สำหรับประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ พอถึงวันสงกรานต์ต่างก็จัดให้มีพิธีสวดมหาสมัยขึ้นในหมู่บ้านหรือชุมชนของตนเช่นกัน แตกต่างกันไปตามความนิยมของท้องที่นั้นๆ
ต่อมา ทางราชการบ้านเมืองกำหนดวันขึ้นปีใหม่ จากวันสงกรานต์ไปใช้ตามความนิยมของสากล เพื่อให้สอดคล้องกับนานาประเทศ พิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยสูตรก็ลดความสำคัญลง และเริ่มเลือนหายไปจากวิถีชีวิตของคนไทย

การที่รัชกาลที่ ๓ โปรดฯ ให้ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยที่พระวิหารพระอัฏฐารส วัดสระเกศ ด้วยพระองค์ทรงปรารภว่า พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปที่เกี่ยวเนื่องกับเหตุการณ์ในมหาสมัยสูตร สืบเนื่องมาจากพระประยูรญาติของพระพุทธองค์เกิดความแตกแยกกันอย่างรุนแรง จนถึงขั้นยกกองทัพมาประจันหน้าจะทำสงครามกัน เพราะแบ่งผลประโยชน์เรื่องน้ำไม่ลงตัว พระพุทธองค์จึงเสด็จมาห้ามทัพ ทำให้สงครามแย่งน้ำยุติลง

พระอัฏฐารส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
พระอัฏฐารส วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

พระอัฏฐารส เป็นพระพุทธรูปประจำพระองค์พระนเรศวรมหาราช ปางประทับยืน ศิลปะสกุลช่างสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุไม่น้อยกว่า ๗๐๐ ปี หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ โดยไม่มีการเชื่อมต่อ มีความสูงถึง ๒๑ ศอก ๑ นิ้ว นับว่าเป็นการหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะ ที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทย เดิมประดิษฐานอยู่วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก ซึ่งเป็นวัดประจำพระราชวังจันทน์ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ต่อมา รัชกาลที่ ๓ ดำริที่จะให้มีพระอัฏฐารสไว้ประจำพระนคร จึงโปรดฯ ให้ไปเสาะหาตามกรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา ปรากฏว่าชำรุดมาก และได้ไปพบที่วัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระวิหารวัดสระเกศ กรุงเทพมหานคร
ธรรมเนียมการสร้างพระอัฏฐารส พระพุทธรูปยืนไว้ประจำพระนคร ของพระมหากษัตริย์ไทยในอดีต เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม ป้องกันความแตกแยกของคนในชาติ ให้คนในชาติเกิดความรักความสามัคคี และให้ประเทศชาติสถิตสถาพรมั่นคงยั่งยืนนาน ประหนึ่งพระพุทธปฏิมากรประทับยืนสถิตสถาพรเป็นนิรันดร์

เมื่อครั้งอัญเชิญพระอัฏฐารสลงมากรุงเทพนั้น ได้ล่องแพมาตามคลองน้ำ เนื่องจากพระอัฏฐารสมีขนาดใหญ่จึงกดทับแพให้จมน้ำมองเห็นเฉาะองค์พระ คนก็ลืออันว่า “พระลอยน้ำ” ผ่านมาถึงไหน ประชาชนสองฝากฝั่งที่ทราบข่าวก็มารอรับเป็นจำนวนมาก จนมาถึงท่าที่จะขึ้นที่กรุงเทพ ปรากฏว่า มีประชาชนหลั่งไหลมาดูพระลอยน้ำและมาช่วยกันชักพระขึ้นเป็นจำนวนมาก ว่ากันว่าคนที่มาเหลือจะคณานับได้ จนเป็นคำพูดติดปากว่า “มีคนถึงสามแสนคน” ท่าน้ำและย่านที่ชักพระอัฏฐารสขึ้นจึงเรียกท่า “สามแสน” ต่อมา จึงกลายเป็น “สามเสน” ซึ่งเป็นชื่อย่านในปัจจุบัน

ต่อมา เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ให้จัดมีพิธีเจริญพระพุทธมนต์รับปีใหม่ หรือที่เรียกว่า “สวดมนต์ข้ามปีขึ้น” โดยถือตามคตินิยมปีใหม่แบบสมัยปัจจุบัน และทางวัดได้นำน้ำพระพุทธมนต์บทมหาสมัยสูตรมาแจกจ่ายให้แก่ประชาชนที่มาพิธี ตามธรรมเนียมเทศกาลปีใหม่โบราณของชาวไทยด้วย
การฟังการเจริญพระพุทธมนต์ในช่วงเริ่มต้นปีใหม่ ที่จุดเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการเริ่มต้นชีวิตใหม่ให้ก้าวไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า เสมือนความเจริญรุ่งเรืองแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และพระบรมสารีริกธาตุบนองค์พระเจดีย์ภูเขาทอง เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจที่สำคัญยิ่ง ของชาวไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา จะช่วยคุ้มครองปกปักรักษาชีวิตและครอบครัวให้มีความร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป

——————————–

ปีนี้วัดสระเกศ จัดงานสวดมนต์ข้ามปี ในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ – ๑ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๓

ข้อมูลประวัติสวดมนต์ข้ามปี โดย -พระวิจิตรธรรมาภรณ์ วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

ความเป็นมาและอานุภาพแห่งการสวดมนต์ข้ามปี (๒) “อภัยปริตร” ปริตรแห่งการให้อภัยและอโหสิกรรม …พระพุทธมนต์บทสวดสำหรับผู้ที่เกิดวันจันทร์ โดย พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ผู้เขียน และเรียบเรียงหนังสือ ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ ปีพ.ศ.๒๕๕๔ และ หนังสือ พุทธานุภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๙ จัดพิมพ์โดยกองทุนพุทธานุภาพ ปีพ.ศ. ๒๕๕๒
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ผู้เขียนและเรียบเรียงหนังสือ ทำวัตรสวดมนต์แปล ฉบับคณะสงฆ์วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๖ ปีพ.ศ.๒๕๕๔ และ หนังสือ พุทธานุภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑๙ จัดพิมพ์โดยกองทุนพุทธานุภาพ ปีพ.ศ. ๒๕๕๒

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here