คนเหมือนกัน แต่วัดความสุขกันที่จิตใจ โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย
คนเหมือนกัน แต่วัดความสุขกันที่จิตใจ โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

จาริกธรรมในอเมริกา ตอนที่ ๑๕

คนเหมือนกัน​ แต่วัดความสุขกันที่จิตใจ

โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย

คนหลายคนมีความใฝ่ฝันอยากมาต่างประเทศ​  โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา​ ว่าเป็นประเทศที่เจริญก้าวหน้าแนวหน้าของโลกเกือบทุกอย่าง​ มีหลากหลายวัฒนธรรม​ เผ่าพันธุ์​  เชื้อชาติศาสนา​ อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุขภายใต้กฎหมายเป็นระบบระเบียบของบ้านเมือง​

         มันก็จริงเหมือนกับที่เขาว่า​เคารพสิทธิเสรีภาพภายใต้กฎหมาย​ มาอยู่ที่นี่ประมาณ​ ๖​  เดือน​  คำที่ได้ยินบ่อยเวลาที่เดินทางออกไปข้างนอก​  เข้าปั้มน้ำมันเข้าห้องน้ำ​  มีห้องน้ำของหญิงและชาย Restroom women and man

เมื่อเราเปิดประตูให้ ฝรั่งเขาก็จะทักทายขึ้นว่า​

“ขอบคุณ​ Thank​ you.”

เวลาที่เรายืนขวางทางเดินเขา​ หรือเวลาที่เขาจาม​ 

เขาจะกล่าวคำต่อท้ายว่า   ” Excuse me!​  ขอโทษ”  เสมอๆ

บางครั้งเห็นเด็กผู้ชายยืนเปิดประตูค้างไว้ให้เราเดินเข้าไปก่อน แล้วเขาเดินเข้ามาทีหลัง​ก็มี​   เห็นแล้วมีความสุขใจ นี่คือน้ำใจเด็กฝรั่งน้อยที่ให้เกียรติคนต่างชาติ​

ครั้งหนึ่งมีโอกาสได้สนทนาธรรมกับฝรั่งในโรงพยาบาล​ ไม่ได้ภาษาหรอก​

แต่ใช้เทคโนโลยีช่วยแปลศัพท์ให้แบบสนทนากัน​สลับกับการพูดคุยให้โทรศัพท์แปลความหมายให้นะ

ฝรั่งถาม “คุณมาจากไหน​”

พระตอบ​   “มาจากประเทศไทย”

ฝรั่ง​  “ฉันเคยไปฝึกสมาธิที่เมืองไทยอยู่บ่อยๆ ครั้ง​ และนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน​  คุณได้ฝึกสมาธิแบบไหนบ้าง”

พระ​ “อาตมาทำสมาธิแบบการเจริญสติแบบเคลื่อนไหว โยมรู้จักไหม​”

ฝรั่ง​  “ไม่รู้จัก”​

พระ​ “โยมทำตามอาตมานะ​  เริ่มจากมือขาวก่อน​  ให้เอามือซ้ายไปจับที่มือขวาใช้หัวนิ้วมือแตะที่แขนเบาๆ​  คุณรู้สึกที่แขนถูกแตะไหม​”

ฝรั่ง​  “รู้​” 

พระ​ก็ยื่นมือไปที่แขนฝรั่งเบาๆ​ แล้วบอกเขาว่า ให้ทำความรู้สึกแบบนี้ไปเรื่อยๆ​ 

อีกแบบหนึ่งคือให้คลึงนิ้วมือข้างใดข้างหนึ่ง​ เวลานอนก็ทำได้​  ลองทำดู

ฝรั่ง​ก็นั่งคลึงนิ้วมือขวา​ และนั่งหลับตาทำไปสักพัก​

พระ​ถาม  “เป็นอย่างไรบ้าง”

เขาบอกว่า​ “ทำให้ฉันผ่อนคลายมาก​”

พระก็บอกว่า​ “ถูกต้อง คุณทำถูกแล้ว​ จำความรู้สึกนี้ไว้​”        

เวลาที่เราเจริญสติแบบเคลื่อนไหวแบบ​นี้​ จะทำให้เราคิดสั้นลง​ ไม่คิดถึงอดีต​และไม่คิดถึงอนาคต​  เพราะใจเรามีที่ทำงาน​เรียกว่าอยู่กับปัจจุบัน  เขาก็ยิ้ม​  ก็บอกเขาว่ามีอะไรจะถามไหม

ฝรั่ง​  “คุณคิดว่าการดำรงชีวิตนอกจักรวาลมีหรือไม่”

พระ​ “ถ้าเราคิดว่ามีก็มี  ถ้าคิดว่าไม่มีก็ไม่มี​  เพราะโลกนี้สวยงามด้วยความคิด​  เขาก็ยิ้ม”​

และแล้วญาติเขาออกมาจากให้หมอตรวจพอดี ก็เลยหยุดการสนทนา ​ก่อนไปก็เขาขอถ่ายรูปด้วยและขอบคุณเรา​

จะเห็นได้ว่า  เราคนเอเชียเมืองไทยและเขาคนอเมริกันต่างเชื้อชาติศาสนา​ เมื่อได้พูดสนทนากันไขข้อสงสัยที่ค้างคาใจได้ก็กลับกลายมาเป็นกัลยาณมิตรกันได้​

เขาอยู่ที่อเมริกายังต้องเดินทางไปแสวงหาความสงบทางจิตวิญญาณที่ประเทศไทย​  ทำไมเขาต้องไปหาที่ความสุขทางจิตใจล่ะ​ 

เพราะว่าเขาเกิดมาก็พบเจอความเพียบพร้อมของความอำนวยสะดวกสบายทางกายทุกอย่าง​  สิ่งภายนอกส่งผลให้เกิดความสบายกายได้ช่วงระยะหนึ่ง เดี๋ยวก็เกิดความอิ่มตัวแล้วก็กลายมาเป็นความเบื่อหน่ายเเทนในที่สุด​ 

รู้เรื่องความสบายกายและความสุขทางกายแล้วยังไม่ใช่คำตอบของชีวิตที่แท้จริง​  จึงต้องแสวงหาความสงบสุขทางจิตใจบ้าง​ 

ที่เมืองไทยมีคำตอบ​ ความสุขทางจิตวิญญาณที่ได้มาจากองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าคือ​ “สติสัมปชัญญะ”​

นั่นคือ รู้สึกตัวรู้เนื้อรู้ตัว​ ดำรงจิตใจให้ตั้งอยู่ในปัจจุบันธรรม​ หรือทำจิตใจให้ปกติ​ ไม่เดือดร้อนจิตใจ​ ประคับประคองจิตใจให้อยู่ปัจจุบันกับสิ่งที่ตนกำลังทำ​ พูด​ คิด​ ให้รู้เท่าทัน​ความนึกคิด​

อย่าไปหลงกับความคิดดีชั่ว​ เพียงแค่รู้เท่าทันพอ​ ใช้สติ​ สมาธิ​  ปัญญาในการดำรงชีวิต

สุดท้าย​  คนเหมือนกันไม่ว่าชาวเอเชียและชาวอเมริกัน​ มีธาตุสี่ขันธ์ห้า​ ความนึกคิด​ ความโลก​โกรธ​หลง​ กิเลสตัวเดียวกัน​  โศกเศร้าเสียใจ​ ความรักความเมตตา​ ชิงอำนาจ​ มีเหมือนกันหมดทุกคน​  

แต่วัดความสุขกันที่จิตใจ​  ความสงบสุข​  ความสันติภายใน​มันมีอยู่ภายในตัวเราทุกคน​ เพียงเราเจริญสติรู้สึกตัวอย่างแท้จริง​ รู้เป็นปกติธรรมชาติ​เข้าใจธรรมชาติภายใน​

 หรือเข้าใจระบบการทำงานของความคิดที่เป็นธรรมชาติ​  เกิดขึ้น​ ตั้งอยู่​และดับไปขณะหนึ่งๆ​ ใจรับรู้เห็นการเกิดดับของความคิด​ ใจเราก็ปล่อยว่างดูรู้อยู่เฉยๆ​  ใจปกติ​ ไม่หดหู่หวนกับคิดถึงอดีต​ ไม่กังวลความคิดอนาคต​ ใจปกติสงบสุขในปัจจุบันเป็นเรื่องๆ ไป​

ความสุขทางกายหาซื้อใส่ตัวได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น

แต่ความสุขทางใจที่แท้จริงคือ รู้จักปล่อยวางอดีต อนาคต ดำรงใจอยู่กับปัจจุบัน​   ความสุขที่แท้จริงมันสุขที่ใจ​  ทำใจเป็นปล่อยวางได้ก็สุขเพียงพอแล้ว

จาริกธรรมในอเมริกา ตอนที่ ๑๕ “คนเหมือนกัน แต่วัดความสุขกันที่จิตใจ” โดย พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโยากคอลัมน์ ธรรมลิขิต (หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒)

 พระครูสมุห์สุพัฒน์  อนาลโย ผู้เขียน
พระครูสมุห์สุพัฒน์ อนาลโย ผู้เขียน

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here