จากหนังสือ “ร้อยคน ร้อยธรรม ๑๐๐ ปีพุทธทาส” เนื่องในหนึ่งศตวรรษชาตกาลท่านพุทธทาสภิกขุ รวบรวมโดย สุขภาพใจ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
เส้นทางศึกษาธรรมเพื่อเตรียมพร้อม “ตกกระไดพลอยกระโจน”
ของ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์
สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเวลา ๔ เดือน ในราวปีพุทธศักราช ๒๕๔๔
ช่วงต้นเดือน และปลายเดือนกุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๕๖๗ ฉันเดินทางไปปฏิบัติธรรมที่ “ธรรมาศรมธรรมมาตา” สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ช่วงสั้นๆ และไปเจอหนังสือเล่มนี้ที่ห้องสมุดธรรมาศรมธรรมมาตา จากนั้น ความทรงจำก็ค่อยๆ ปรากฏขึ้น
พอกลับมาบ้าน ก็มาดูที่ตู้หนังสือของตัวเอง มีอยู่สามเล่ม จำได้ว่า ตอนที่หนังสือเล่มนี้ตีพิมพ์ครั้งแรกในปีพุทธศักราช ๒๕๔๙ ฉันซื้อถวายวัดและแจกเพื่อนๆ หลายเล่มด้วยความปีติที่มี “ตัวเรา” อยู่ในหนังสือเล่มนี้ด้วย “หนึ่งในร้อย” เชียวนะ ฉันบอกกับตัวเอง แม้ยังละ “ตัวตน” ไม่ได้ แต่ก็ขอให้ตัวตนนี้ได้ทำประโยชน์ต่อสังคมและพระพุทธศาสนาต่อไป ถึงเป็นคนเล็กๆ ธรรมดาๆ ที่เคยเป็นนักข่าวมาสามสิบปี ที่สนใจในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทุกๆ มุมมองที่ทำได้ก็ขอทำหน้าที่ต่อไปเรื่อยๆ เป็นธรรมทานจนกว่าลมหายใจสุดท้ายแห่งชีวิตมาเยือน เพราะไม่คิดว่าในที่สุด นิตยสารเนชั่นสุดสัปดาห์ ที่ฉันเคยทำงานด้วยความรัก ก็มาปิดตัวลงในปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ ก็ตั้งใจว่าจะภาวนาไปให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ในชาตินี้ มาเป็นอนาคาริกา หายใจจนกว่าจะมีสติแและตายจากไป…
ก็เลยขอคัดเนื้อหาที่คุณศศิวิมล ช่วงยันยง จากสำนักพิมพ์สุขภาพใจ ในครั้งกระโน้นมาสัมภาษณ์ฉัน เมื่อตอนเป็นผู้ช่วยบรรณาธิการข่าว เนชั่นสุดสัดาห์ มาลงสักหน่อยหนึ่ง เพื่อเป็นกำลังใจให้ตัวเอง ( หากเราไม่ให้กำลังใจตัวเอง จะไปหากำลังใจจากไหนล่ะ) ดังนี้ …
รวบรวมโดย สุขภาพใจ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
เนื้อหาส่วนหนึ่งมีอยู่ว่า…
หากใครเป็นแฟนประจำของนิตยสาร เนชั่นสุดสัปดาห์ (ในอดีต) ย่อมจะต้องคุ้นเคยเป็นอย่างดีกับชื่อ มนสิกุล โอวาทเภสัชช์ หนึ่งในกองบรรณาธิการ เจ้าของหลายๆ คอลัมน์ อาทิ “ลมหายใจสีเขียว” นามปากกา “กานพลู” , “ปักกลดกลางป่ากระดาษ” นามปากกา “หมอนไม้” ซึ่งคอลัมน์แรก มีเนื้อหาว่าด้วยสุขภาพกาย-ใจ และอีกคอลัมน์ เป็นมุมมองการรเดินทางด้านในของชีวิต และนำบทสัมภาษณ์พระเถระ ครูบาอาจารย์สอนธรรม และการท่องเที่ยวทางธรรม ตลอดจนการไปปฏิบัติธรรรมที่วัดต่างๆ แล้วมาเผยแพร่ในบทสัมภาษณ์และรายงานพิเศษ เป็นต้น เรียกได้ว่า เป็นการงานแห่งความรักในการเผยแผ่ธรรมะแทบจะทุกลมหายใจเข้า-ออกเลยจริงๆ
วันหนึ่ง มนสิกุล เกิดคำถามกับชีวิต และได้ออกค้นหาคำตอบด้วยการจูงมือคุณแม่ไปปฎิบัติธรรมใน “โครงการฝึกอบรมตนเพื่อความมีชีวิตพรหมจรรย์ที่หมดจดงดงาม” ณ ธรรมาศรมธรรมมาตา สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเวลา ๔ เดือน โดยการลาการทำงานแบบไม่รับเงินเดือน
จากวันแรกที่ไปสวนโมกขพลารามจนถึงวันนี้ ทำให้เธอเกิดพัฒนาการในการเรียนรู้ธรรมะจากบทบาทของผู้มาเยือน ชื่นชมธรรมชาติ อ่านหนังสือ จนที่สุดได้กลายเป็นผู้ปฏิบัติธรรมที่ทำงานถ่ายทอดเรื่องราวอันนำไปสู่ความสมดุลกายใจให้แก่ผู้อ่านในวงกว้าง ในนิตยสาร “เนชั่นสุดสัปดาห์” (ขณะนั้นปีพุทธศักราช ๒๕๔๙) ด้วยความเข้าใจในชีวิตมากขึ้น จากการนำธรรมะมาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน แต่ความทุกข์ภายในใจลึกๆ ก็ยังไม่ได้รับการเยียวยา มันคืออะไรนะ ทุกข์ลึกๆ นี้
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
ในครั้งแรกของการไปสวนโมกข์ตั้งแต่เข้ามหาวิทยาลัยศรีนครรินทรวิโรฒ ประสานมิตร ( มศว ประสานมิตร ปี ๑ รุ่นพี่ที่คณะมนุษยศาสตร์ วิชาเอกศิลปะ (ปัจจุบันคือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ ) พาไปรับน้องที่สวนโมกข์ ก็ให้ตื่นเต้นว่า วัดที่นี่มีโบสถ์เป็นธรรมชาติ เราเดินไปก็เจอธรรมะคือต้นไม้จะมีธรรมะคำสอนอยู่ทั่วไป ไม่ต้องนั่งฟังตลอดเวลาก็ได้ เราเลยเดินเที่ยว ได้สัมผัสธรรมชาติ ตอนนั้นอาจารย์ก็ให้ไปฟังท่านพุทธทาสบรรยายตอนเช้า ประมาณตี ๔ ทำวัตรเช้า ประมาณตี ๕ ฟังธรรม แต่นั่งหลับตลอดเลย ตอนนั้นมันง่วง แล้วเราก็ยังไม่รู้อะไร มาตอนนี้รู้สึกเสียดายมาก
หลังจากนั้นก็ไปอีกเรื่อย ๆ จนกระทั่งทุกวันนี้ผ่านมาประมาณ ๒๐ ปีแล้วยังไปอยู่เรื่อยๆ ตอนแรกๆ ก็คือไปเที่ยวเกาะพะงัน ถ้าขาไปไม่แวะสวนโมกข์ ขากลับเราต้องแวะ ไปเที่ยวแล้วแวะวัด คือไปกราบพระนั่นแหละ ดูโรงมหสพทางวิญญาณ ซึ่งเป็นงานศิลปะ เราได้เข้าไปดูภาพพุทธประวัติ ส่วนใหญ่แล้วจะแวะซื้อหนังสือก่อนกลับ
งานของท่านพุทธทาสเล่มแรกที่ได้อ่านแล้วรู้สึกชอบมากเลย ก็คือชอบภาพจาก หนังสือ”ภาพพุทธประวัติจากหินสลักยุคก่อนมีพระพุทธรูปในประเทศอินเดีย พุทธศักราช ๓๐๐ ถึง ๗๐๐” เป็นภาพก่อนที่จะมีการปั้นออกมาเป็นพระพุทธรูป ข้างในจะเป็นภาพความว่างทั้งหมด เวลาท่านเล่าถึงพระพุทธเจ้า ภาพจะแสดงออกเป็นดอกบัว เป็นสัญลักษณ์ทั้งหมด ทำให้เราเห็นตามว่า สมัยก่อนที่จะปั้นพระพุทธรูป คนโบราณไม่ผูกติดกับรูปเคารพ พระพุทธรูปมามีภายหลัง เพื่อให้เรามีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจแทนองค์พระสัมมาสัมพุทเจ้าในการเข้าถึงพระรัตนตรัย ก็รู้สึกดีนะ ดีมากเลย ที่ชาวพุทธผู้ปฏิบัติธรรมแล้ว ได้รับธรรมะอันเย็นใจแล้ว สงบจิตใจ ลดละเลิกกิเลสแล้ว ก็มาสร้างพระพุทธรูปเพื่อให้คนรุ่นหลังได้มีสิ่งเเคารพบูชาแทนองค์ท่าน
และภาพตัวแทนพระพุทธเจ้าในสมัยก่อนที่จะมีพระพุทธรูป คือ ความว่าง ก็รู้สึกดีเช่นกัน ที่ทำให้เราไม่ยึดติดในรูปเคารพ และกลับมาหาธรรมในตัวเรา
การไปสวนโมกข์ ทำให้รู้สึกว่าธรรมะคือธรรมชาติ เป็นการเชื่อมโยงเราในการสร้างงานศิลปะด้วย เพราะว่าตอนนั้นกำลังเรียนศิลปะและก็พยายามศึกษาตรงนี้ว่าเราจะทำงานศิลปะอย่างไรให้สามารถสื่อสารออกไปได้จากภายในใจออกสู่ภายนอกด้วยสายตาแห่งธรรม
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
จนป่านนี้ แม้ธรรมะก็ยังไม่ปรากฏในใจ ก็เลยนำหนังสือที่เคยสัมภาษณ์ไว้ มาเป็นกำลังใจตัวเองไปก่อนค่ะ
จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙
สวนโมกขพลาราม อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นเวลา ๔ เดือน ในราวปีพุทธศักราช ๒๕๔๔
กำลังใจแห่งชีวิต บันทึกไว้ในความทรงจำ “ร้อยคน ร้อยธรรม ๑๐๐ ปีพุทธทาส” กับ เส้นทางศึกษาธรรมเพื่อเตรียมพร้อมตกกระไดพลอยกระโจนของมนสิกุล โอวาทเภสัชช์
ขอบพระคุณหนังสือ “ร้อยคน ร้อยธรรม ๑๐๐ ปีพุทธทาส” เนื่องในหนึ่งศตวรรษชาตกาลท่านพุทธทาสภิกขุ รวบรวมโดย สุขภาพใจ จัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น จำกัด พิมพ์ครั้งที่ ๑ : มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๔๙