ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

กว่าจะเป็นหลักสูตรสื่อธรรมให้ถึงโลก

(ตอนที่ ๑) ภาษาใจคือหัวใจการสื่อสาร

โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร.

จากข้อมูลเบื้องต้นที่อาตมาได้บันทึกไว้เมื่อวันที่  ๓๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยมีเป้าหมายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา คือ

๑. เพื่อสืบทอดอายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวนาน

๒. เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในไทยและทั่วโลก

๓. เพื่อสร้างความสงบสุขและมอบมรดกธรรมให้แก่ชาวโลกเท่าที่จะทำได้

ถ้ามองที่เป้าหมายจะพบว่า เป้าหมายในการเผยแผ่พระพุทธศาสนานั้นเกิดจากการที่เรามองว่าเป้าหมายของชีวิตนั้นเป็นเพียงแค่ระยะสั้นเช่นเดียวกับที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนม์ชีพแค่เพียงอายุกาลของมนุษย์โลก

แต่หากจะนับตามอายุกาลของพระพุทธศาสนานั้นสืบทอดต่อกันมาได้ด้วยอาศัยพระเถรานุเถระผู้ปฎิบัติดีปฏิบัติชอบ จนเหล่าพระราชามหากษัตริย์และเศรษฐี คฤหบดีได้พบก็เกิดความศรัทธาทั้งในบุคคลและคำสอนจึงเป็นผู้อุปถัมภ์ต่อยอดพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวนานมาจนถึงยุคของเรา

ตอนนี้เราจะเป็นผู้สืบทอดมรดกธรรมเหล่านี้ต่อไปให้ลูกให้หลานที่จะได้พบเจอวิถีชีวิตที่เปี่ยมด้วยความสงบสุขนี้ตราบเท่าที่จะมีแรงกายและแรงใจทำไปได้ในชีวิตนี้

แนวคิดการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของอาตมาคือ

“ทำให้ดู อยู่ให้เห็น เย็นให้สัมผัส”

ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เพราะคนเราจะเชื่อเราก็ต่อเมื่อเราทำให้ดูก่อน และจะยิ่งรับฟังยิ่งขึ้นเมื่อเราอยู่ให้เห็น และเมื่อใครเข้าใกล้ก็ต้องสัมผัสได้ง่าย เป็นการสร้างศรัทธาให้กับคนที่ไม่มีศรัทธา และสร้างปัญญาให้กับผู้ที่ศรัทธาอยู่แล้ว แต่จะสร้างสิ่งเหล่านี้ได้เราต้องทำตัวให้เป็นแบบอย่างเสียก่อน

สำหรับเทคนิค หรือศิลปะในการเผยแผ่ นั้นมีหลากหลายวิธีขึ้นอยู่กับช่องทางการเผยแผ่ บางครั้งถ้ามีโอกาสได้พูดหรือได้เขียนก็ต้องมีการเชื่อมโยงกับสิ่งที่คนฟังและคนอ่านจะเข้าใจได้ เรียกว่า ใช้ภาษาให้เหมาะสม ถ้าพูดกับชาวนาก็ใช้ภาษาชาวนา ถ้าพูดกับนักธุรกิจก็ใช้ภาษานักธุรกิจ ถ้าพูดกับนักการเมืองก็ใช้ภาษานักการเมือง เรียกว่า ต้องเรียนรู้ภาษาของแต่ละวงการให้กว้างและลึก โดยการอ่านให้เยอะ ศึกษาให้มาก แต่ภาษาที่ชัดและตรงที่สุดนั่นคือ ภาษาใจ เรียนรู้ภาษานี้แล้วพูดอะไรที่ตรงกับใจ เข้าใจ และถึงใจ ไม่ว่าพูดที่ไหนก็ได้ใจคนฟังเสมอ

ส่วน รูปแบบ และวิธีการ อาศัยรูปแบบเป็นกัลยาณมิตร และมีวิธีการแบบมัชฌิมาปฏิปทา ทางสายกลาง ที่เริ่มต้นด้วยความคิดที่ไม่สุดโต่ง คือ การเผยแผ่นั้นต้องอาศัยศาสตร์และศิลปะ โดยเฉพาะศิลปะในการเผยแผ่นั้น คือการสร้างความคิดแบบยืดหยุ่น เพราะการจะทำการเผยแผ่ให้ดีต้องมีการเรียนรู้และเข้าใจยุคสมัยว่าต้องการอะไร

บางครั้งสิ่งที่ดี มีประโยชน์ แต่พูดหรือบอกกล่าวไม่ถูกช่วงเวลาก็กลายเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ไปได้ จึงต้องดูเวลาอย่าตึงเกินไปจนแข็ง ไม่อาจเข้าได้ทุกพื้นที่ และอย่าอ่อนไปจนคล้อยตามสังคมไปเสียทั้งหมด อย่างที่เห็นต้องมีลีลาคือความงามทั้งเบื้องต้น เบื้องกลางและเบื้องปลาย

นี้คือจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เรื่องการสื่อสารใน “หลักสูตรสื่อธรรมให้ถึงโลก” ของสถาบันพัฒนาพระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ ตามมติมหาเถรสมาคมตามลำดับ

การอบรมหลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม สถาบันพัผมนาพะระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ
การอบรมหลักสูตรพระวิทยากรกระบวนธรรม สถาบันพัผมนาพะระวิทยากร สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

กว่าจะเป็นหลักสูตรสื่อธรรมให้ถึงโลก (ตอนที่ ๑) ภาษาใจคือหัวใจการสื่อสาร โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร. จากคอลัมน์ ท่องเที่ยวโลกกะธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ )

พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร.
พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี ป.ธ.๙, ดร. ผู้เขียน
ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาพระวิทยากร
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here