โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

พายุการศึกษา : โดย พระพิทยา ฐานิสสโร

พายุการศึกษา โดย พระพิทยา ฐานิสสโร สวิตเซอร์แลนด์ ดินแดนที่ใครๆ อยากมาสัมผัสความงดงามของธรรมชาติที่รายล้อมด้วยภูเขาสลับกับทะเลสาบเขียวมรกตใสเย็น หลายภูเขาของประเทศนี้มีหิมะปกคลุมตลอดทั้งปี ในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนหิมะได้ลดปริมาณลงอย่างมาก ฤดูหนาวปีนี้หิมะตกช้ากว่าปีก่อนๆ อากาศจึงอบอุ่นยาวนาน เมื่อหิมะตกแล้วก็ละลายเร็วกว่าก่อน ใครที่อยากเล่นสกีต้องขึ้นไปยังภูเขาที่สูงเท่านั้น ภูเขาที่ต่ำลงมาอาจมีหิมะไม่พอที่จะเล่นสกีได้ ถึงแม้จะมีการทำหิมะเทียมที่ต้องใช้น้ำจำนวนมากเพื่อผลิต ส่งผลกระทบต่อกิจการโรงแรม ร้านอาหาร ร้านค้าและคนที่ทำงานและมีส่วนเกี่ยวข้องกับพื้นที่เหล่านั้นเป็นลูกโซ่ ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลง ความไม่ปรกติทางธรรมชาติ รวมทั้งเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติไปทั่วทุกมุมโลกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ต่างเวลา ต่างวาระ ต่างความรุนแรง แต่ไม่มีใครสามารถหยุดเหตุการณ์ธรรมชาติที่ทรงพลานุภาพนี้ได้ ทุกอย่างที่เกิดขึ้นตามเหตุปัจจัยอย่างสมดุล และประกาศให้มนุษย์รู้ว่าสร้างเหตุเช่นไรไว้ ย่อมได้รับผลเช่นนั้น ไม่มีทางหลีกหนีพ้น แม้ในขณะนี้ ณ ทางตอนใต้ของประเทศไทยได้รับความเสียหายทางทรัพย์สินอย่างใหญ่หลวงทั้งในของส่วนสาธารณะและส่วนบุคคล อาจพรากชีวิตคนรักของใครหลายๆ คนผลพวงจากพายุปาบึกที่เพิ่งเกิดขึ้นสดๆ ร้อนๆ ความเห็นแก่ตัวที่เกิดจากความไม่รู้หรือที่เรียกว่า “อวิชชา” ของคน เป็นจุดเริ่มต้นของการทำลายล้างความสมดุลทางธรรมชาติ...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์

พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒)…โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

ตามรอยปฏิปทา พระสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า... ณ  จุดเริ่มต้นชีวิตของ พระครูประโชติรัตนานุรักษ์  ที่  สำนักสงฆ์โคกโก (วัดรัตนานุภาพ) พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก ... โดย  พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        เรื่องราวของอาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ อดีตเจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี และอดีตประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดนราธิวาส จะไม่มีวันหายไปจากใจของศิษย์ และสาธุชนที่ได้สดับรับฟังเรื่องราวของท่าน และเคยได้พบท่าน สนทนากับท่าน ตลอดจนผู้ที่ผ่านไปมายังวัดรัตนานุภาพที่ท่านเคยเป็นเจ้าอาวาส วัดซึ่งเป็นบ้านเกิดของท่านและที่จากไปของท่านในชั่วขณะลมหายใจสุดท้ายของชีวิต  จากนี้ไป จะขอเล่าประวัติในส่วนของการอุปสมบทเข้าสู่ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ และการจาริกไปอยู่จำพรรษาเพื่อฝึกฝนพัฒนาตนเองกับครูบาอาจารย์ตามวัดต่างๆ จนมาตั้งหลักปักฐานจำพรรษาสร้างสำนักสงฆ์โคกโกให้สำเร็จเป็น วัดรัตนานุภาพ มีเสนาสนะที่เพียบพร้อมสัปปายะเหมาะแก่การปฏิบัติศาสนกิจ สวยงามทั้งกุฏิ ศาลาโรงธรรม ศาลาหอฉัน และอุโบสถ พร้อมทั้งซื้อที่ดินขยายวัด ปลูกต้นไม้ภายในบริเวณวัดให้มีความร่มรื่น        ...
ภาพจาก สถาบันพระวิทยากร1

” หลังจากใส่บาตรแล้วไม่กรวดน้ำ บุญจะถึงไหม? ” ตอบปัญหาธรรม โดย พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

" หลังจากใส่บาตรแล้วไม่กรวดน้ำ บุญจะถึงไหม? " ตอบปัญหาธรรม โดย...พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี (เหมประไพ) ป.ธ.๙,ดร.  ถาม หลังจากใส่บาตรแล้วไม่กรวดน้ำ บุญจะถึงไหม? ตอบ    ประวัติการกรวดน้ำนั้นมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เมื่อพระเจ้าพิมพิสาร กษัตริย์เมืองราชคฤห์ได้ถวายทานแก่พระพุทธเจ้าและหมู่สาวก พระองค์มัวแต่หมั่นพระทัยว่า "พระพุทธองค์จะทรงประทับอยู่ที่ไหน?" จึงไม่ได้อุทิศผลบุญนั้นแก่ใครๆ ทำให้ตอนกลางดึก  มีเสียงแปลกประหลาดเกิดขึ้นในพระราชนิเวศน์ พระราชาทรงหวาดกลัว พอสว่างก็รีบไปเฝ้าพระพุทธเจ้า  พอได้ฟังวินิจฉัยของพระพุทธองค์  พระราชาจึงทรงรู้ว่า ตนเองทำทานแต่ลืมอุทิศส่วนบุญให้หมู่ญาติที่เกิดเป็นเปรต ทำให้เกิดเหตุอย่างนั้น  พระเจ้าพิมพิสารจึงถวายภัตตาหารและเสื้อผ้าและเครื่องปูลาดและที่นอน เป็นต้นอีกครั้ง แล้วอุทิศถวายว่า "อิทัง เม ญาตีนัง โหตุ สุขิตา โหนตุ ญาตโย" แปลว่า...
Photo by Manasikul_O

ผู้ถือศีล ๘ ยืนรับประทานผิดศีลไหม : Q&A Quickly Dhrama Healing by พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี

บ่อยไหม ที่ความทุกข์กลุ้มรุมจิต  เคยเป็นไหมที่การฝึกปฏิบัติ บางครั้งก็มีคำถาม อย่างคาดไม่ถึง... ส่งคำถาม ปัญหาค้างคาใจมาได้ที่่นี่  ทุกปัญหามีคำอธิบาย... Q&A Quickly Dhrama Healing by พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี  Question :  ผู้ถือศีล ๘ ยืนรับประทาน หรือ เดินไปกินไปได้ไหมคะ ผิดศีล ผิดพระวินัยไหมคะ Answer : พระมหาขวัญชัย กิตฺติเมธี การปฏิบัติศีล ๘ นั้นอย่างที่เคยบอกแล้วว่าเป็นการฝึกตนเองตามแบบพระอรหันต์หรือพระอริยะที่มีกิริยามารยาทสำรวมระวัง ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น อีกทั้งยังเรียนรู้ที่จะเข้าใจความพอดีในชีวิต นำตัวเองไปสู่ความพอดี ไม่เกินเลยจากความจำเป็น ฉะนั้น การที่ผู้ถือศีล ๘ จะยืนรับประทานอาหารหรือเดินไปกินไปได้หรือไม่นั้นจะไม่กล่าวถึงศีล ๘ โดยตรงแต่จะกล่าวโดยรวมถึงข้อปฏิบัติที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้สำหรับพระภิกษุผู้ฝึกปฏิบัติตนและมีกิริยาสำรวมระวัง ในส่วนแรกนั้น ไม่มีข้อห้ามเรื่องที่ผู้ถือศีล...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ เมื่อครั้งเดินทางขึ้นไปให้กำลังใจพระธรรมทูตอาสาทางเหนือในโครงการ"เยี่ยมพระพบปะโยม" ขอขอบคุณ ภาพโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่เงสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

รำลึกความทรงจำ วิถีพระธรรมทูตจิตอาสา (๑.)จุดเริ่มต้นชีวิต…พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ (สว่าง จนฺทวํโส) อดีตเจ้าอาวาสวัดรัตนานุภาพ, เจ้าคณะอำเภอสุไหงปาดี และประธานเครือข่ายพระธรรมทูตอาสาจังหวัดนราธิวาส มรณภาพจากการถูกลอบยิงที่วัด จากสถานการณ์ความไม่สงบในชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๒ รำลึกความทรงจำ  วิถีพระธรรมทูตจิตอาสาห้าจังหวัดชายแดนใต้  ๑. จุดเริ่มต้นชีวิต  พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ณ  สำนักสงฆ์โคกโก (วัดรัตนานุภาพ)...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์กับเด็กๆ ชาวดอย ที่อาศรมบ้านดอกแดง เชียงใหม่

“ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

จาริกบ้าน จารึกธรรม (หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๒) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ เรียนรู้ปฏิปทาพระสุปฏิปันโนผู้เดินตามรอยองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ... “ไม่ตาย ไม่เลิกทำความดี” พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๒) จาริกบ้านจารึกธรรม   โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท  วัดทองนพคุณ คลองสาน กรุงเทพฯ        ผู้เขียนได้พูดคุยกับ พระครูปลัดสุพัน สุวณฺโณ...
ภาพโดย สามเณรพรอนันต์ หุ่นทอง

ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู : โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

แนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที  ตถาการี  พูดอย่างไร  ทำอย่างนั้น”    ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู โดย พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป                 ได้อ่านบทความวิชาการเรื่อง “ผู้สูงอายุต้นแบบตามแนวพุทธ : กรณีศึกษาหลวงพ่อวัดบางเบิด  จังหวัดประจวบคีรีขันธ์” ประทับใจในความเป็นต้นแบบของหลวงพ่อที่อายุมากถึง ๗๓ ปี แต่ว่ามีอุตสาหะเรียนจนถึงระดับปริญญาเอก  ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  บางคนอาจจะสงสัยว่าทำไมท่านถึงต้องเรียนเป็นพระอายุมากแล้วแล้วไม่ต้องเรียนก็ได้   แต่ท่านกลับเบิกบานกับการเดินทางไกลถึง ๘๐๐ กิโลเมตร ทำให้เกิดแรงบันดาลใจทั้งต่อคณาจารย์และสหธรรมิก  จึงนำไปสู่การถอดบทเรียนทำให้ค้นพบว่า  ท่านทำหน้าที่พระที่ไม่ใช่แค่สอนสั่ง แต่มีแนวคิดว่า “ร้อยหมื่นพันคำไม่เท่าหนึ่งทำให้ดู”  สอดคล้องกับหลักพุทธที่ว่า “ยถาวาที...
ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ : พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ

เรียงถ้อย ร้อยธรรม  ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ โดย พระครูใบฎีกามงคล วชิรปัญโญ เรื่อง  ปัญญวชิรา ภาพ     ลมหายใจของชีวิต ชีวิตของลมหายใจ              ๏ หนึ่งชีวิตชีวา                      คุณว่ายาวนานแค่ไหน ไหนลองสูดหายใจ                           เข้าไปให้สุดใจลึก            ๏ แล้วกลั้นไม่ออกมา              ดูแววตาความรู้สึก      นับเนื่องเป็นเครื่องตรึก                     นึกถึงลมหายใจออก ๏ งั้นหายใจออกพลัน             ออกแล้วกลั้นตามคำบอก                                 เอาลมสู่ข้างนอก                              แล้วไม่กรอกกลับเข้าไป ๏ ย่อมอึดอัดขัดเคือง              ถือเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่                                 หายใจเข้าไม่ออกไป             ...
พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ ขอขอบคุณ ภาพถ่ายโดย พระมหาปฐมพงษ์ ญาณวํโส จริยธรรมแชนแนล สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

“ครูผู้สอนด้วยชีวิต”พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๕) โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท

อาจารย์พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ กับเด็กๆ บนดอย ที่อาศรมบ้านดอกแดง จังหวัดเชียงใหม่ "ครูแห่งสันติที่สอนด้วยชีวิต : พระครูประโชติรัตนานุรักษ์ที่ข้าพเจ้ารู้จัก (๕)" โดย พระมหาอภิชาติ ธมฺมาภินนฺโท จากคอลัมน์ จาริกบ้านจารึกธรรม หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๖๒
ก้าวไปสู่อนาคตด้วยพลังแห่งปัญญาของชุมชน. : พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

ก้าวไปสู่อนาคตด้วยพลังแห่งปัญญาของชุมชน โดย  พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป

ก้าวไปสู่อนาคตด้วยพลังแห่งปัญญาของชุมชน โดย  พระมหาประสิทธิ์  ญาณปฺปทีโป “ทุกปัญหาผ่านพ้นเมื่อชุมชนเกิดปัญญาสาธารณะ” เคยได้แลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนาชุมชนกับสาขาการจัดการชุมชนของราชภัฏแห่งหนึ่ง  สรุปกันว่า ปัญญา คือ ทางออกของปัญหาในการพัฒนาชุมชน ปัญญาคือแสงสว่างในโลก  ที่ช่วยส่องทางให้กับคนทุกคนได้ดำเนินชีวิตไปในทางที่เหมาะสม และมีความสุข  พัฒนาชีวิตตนเองได้เต็มศักยภาพ  แต่ว่าปัญญา ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่เป็นสิ่งที่เราจะต้องบ่มเพาะ  สร้างมันขึ้นมาให้มีในตัวเอง บางคนบอกว่า  ปัญญาคือต้องมีปริญญา  ซึ่งจริงๆ หากดูสถิติการลงทะเบียนคนจน  จะเห็นได้ว่า  คนจบปริญญาตรีโทเอก ก็มีไปลงทะเบียนกันเยอะเหมือนกัน  ฉะนั้นแล้ว  ปัญญามิอาจจะวัดด้วยปริญญาเพียงอย่างเดียว  เราไม่มีปริญญาจึงไม่ควรคิดว่าตนเองไม่มีปัญญา  และแม้จะไม่มีค่าเรียน  เราก็สามารถที่จะสร้างปัญญาหาความรู้ให้กับตนเองได้ “ความรู้มีอยู่ทั่วไป”  เป็นคำที่เคยได้ยินมาตั้งแต่เด็ก แต่มายุคนี้ เขาพูดกันถึง  “ปัญญาสาธารณะ” หมายถึงแหล่งเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อคนทั่วไป  เข้าถึงได้  เข้าถึงง่ายและประหยัด  ซึ่งมีอยู่แล้วในชุมชนของเราเอง ...

TRENDING RIGHT NOW