วันนี้วันพระ ๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ แรม ๑๔ ค่ำ เดือน ๗

ทำวัตร ไหว้พระ สวดมนต์ ไปวัดทำบุญ แล้วอย่าลืมกลับมาดูใจตนเอง

วันนี้เรามีอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุงตัวเองบ้าง

นอกจากรีบทำทุกสิ่งทุกอย่างตามโปรแกรมทุกอย่างที่วางไว้ให้สำเร็จ

จนลืมที่จะกลับมาดูสภาวะจิตใจที่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา แทบจะตลอดเวลา

ลืมที่จะดูความคิดวิ่งไปที่โน่นที่นี่ ที่นั่นไม่เคยหยุด

ลืมที่จะกลับมาอยู่กับลมหายใจ

ลืมที่จะรู้กาย รู้ใจตนเอง ว่ามันเป็นอย่างไรบ้างตอนนี้

เพราะความลืม ทำให้เราหลง และเพราะความหลงทำให้เราไม้อยู่กับปัจจุบัน

เมื่อเราไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ความสัมพันธ์ที่ดีอาจหายไป

เพราะมัวแต่ไปจดจำสัญญาเก่าๆ ที่ไม่ดีไว้แล้วช้อนมันขึ้นมาเคี้นวกินใหม่

ใน ภัทเทกรัตตคาถา

พระพุทธองค์ตรัสว่า

อะตีตัง นาน๎วาคะเมยยะ นัปปะฏิกังเข อะนาคะตัง 
บุคคลไม่ควรคำนึงถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว,   ไม่ควรมุ่งหวังสิ่งที่ยังไม่มาถึง  

ยะทะตีตัมปะหีนันตัง อัปปัตตัญจะ อะนาคะตัง 
สิ่งใดล่วงไปแล้ว, สิ่งนั้นก็เป็นอันละไปแล้ว,
และสิ่งที่ยังไม่มาถึง, ก็เป็นอันยังไม่ถึง 

ปัจจุปปันนัญจะ โย ธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสะติ, 
อะสังหิรัง อะสังกุปปัง ตัง วิทธา มะนุพ๎รูหะเย 
ก็บุคคลใดเห็นแจ้งธรรมปัจจุบัน, ไม่ง่อนแง่นไม่คลอนแคลน
ในธรรมนั้นๆ ได้, บุคคลนั้นพึงเจริญธรรมนั้นเนืองๆ ให้ปรุโปร่งเถิด,

อัชเชวะ กิจจะมาตัปปัง โก ชัญญา มะระณัง สุเว
พึงทำความเพียรเสียในวันนี้แหละ, ใครเล่าจะรู้ความตายในวันพรุ่ง

นะ หิ โน สังคะรันเตนะ มะหาเสเนนะ มัจจุนา
เพราะว่าความผัดเพี้ยนกับมัจจุราชผู้มีเสนาใหญ่นั้น, 
ย่อมไม่มีแก่เราทั้งหลาย

เอวัง วิหาริมาตาปิง อะโหรัตตะมะตันทิตัง , 
ตัง เว ภัทเทกะรัตโตติ สันโต อาจิกขะเต มุนีติ

– พระมุนีผู้สงบ, ย่อมเรียกบุคคลผู้มีปรกติอยู่อย่างนี้, 
มีความเพียรไม่เกียจคร้านทั้งกลางวันและกลางคืนนั้นแลว่า,  
ผู้มีราตรีหนึ่งเจริญ,  ด้วยประการฉะนี้แลฯ
(อุปริ. ม. ๑๔/๒๖๕/๕๒๖) 
(ที่มา ภัทเทกรัตตคาถา หรือ ภัทเทกรัตตสูตร  พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ ( ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์  หน้าที่ ๒๖๕- ๒๖๗ หัวข้อที่ ๕๒๖ – ๕๓๔)

หลังจากพิจารณาธรรมแล้ว วันนี้ วันพระ ไม่วา่าเราจะทำสิ่งใด ทำด้วยความใคร่ครวญ ทำด้วยการพิจารณา ทำด้วยความรู้เนื้อรู้ตัวอยู่ในปัจจุบัน เผลอไปก็ตามรู้ เช่นนี้ เราจะพบว่า เราได้ประดิษฐานพระรัตนตรัยไว้ในดวงใจแล้ว…

ด้วยเหตุที่เราสามารถน้องธรรมเข้ามาไว้ในใจได้ เพราะวันนี้เรายังมีพระพุทธศาสนา

และโชคดีที่มีพระ…

สามหลักการสานสัมพันธ์

โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

ประธานกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม

สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ

พระศาสนาและพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ

เงื่อนไขของความสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระดับไหน ระหว่างคู่รัก ครอบครัว สังคม ชุมชน หรือระหว่างประเทศ  ถ้าความสัมพันธ์ไม่ดีก็จะมีผลตรงกันข้าม

            จากการทำงานทำให้ได้ฟังเรื่องราวของปัญหาความสัมพันธ์หลากหลายระดับ ที่เจอบ่อยก็คือความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “รักสองเรา” แต่ละกรณีก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ในหน้าที่ของพระแล้วไม่สิทธิในการเข้าไปก้าวก่ายให้เขาเกิดความรักหรือส่งเสริมให้มีการเกี้ยวพาราสี เพราะผิดศีลของพระ แต่ว่าเราทำหน้าที่รับฟังและปรับให้คนเกิดความเข้าใจ และสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

เวลาพูดว่า “ให้คนเรานั้นรักกัน” หลายคนนั้นมีจินตนาการล้ำเลิศ มักจะคิดเตลิดไปไกล ให้เข้าใจว่า รักก็คือมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ไม่เป็นศัตรูกัน และมุ่งหมายความดีให้เกิดมีต่อกัน

            เมื่อได้ฟังคนมีปัญหาด้านสัมพันธภาพ  ก็ได้ฟังคนที่มีสัมพันธภาพที่ดีและมีความสุขครอบครัวอบอุ่นด้วยเช่นเดียวกัน ก็เลยทำให้ได้ข้อมูล ๒ ฝ่าย เมื่อนำมาประมวลและวิเคราะห์สังเคราะห์แล้ว ก็ทำให้ได้บทสรุป เป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับตัวเอง เมื่อนำมาอภิปราย(พูดซะเว่อร์เลย) จริงๆ ก็นำมาพูดคุยกับครูบาอาจารย์บ้างญาติโยมที่มีประสบการณ์บ้าง ก็ทำให้บทสรุปที่ได้มีความกระชับและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นการประยุกต์กระบวนการทำวิจัยนำมาใช้ ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราตกผลึกอะไรได้ง่ายขึ้นมาก

            เกริ่นที่มาพอสมควรแล้ว เพื่อให้เห็นว่าหลักการที่จะพูดถึงนี้ได้มาอย่างไร เป็นแนวทางที่จะช่วยให้เรามีฐานคิดในการใช้ชีวิตรักษาสัมพันธภาพเอาไว้ให้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระหว่างคนสองคน” เพราะผู้เขียนถือว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญก่อนจะมีพัฒนาการไปสู่การสร้างครอบครัว

เมื่อครอบครัวมีพ่อแม่ที่ทักษะทางด้านรักษาสัมพันธภาพดี ครอบครัวก็มีความสุข เป็นครอบครัวคุณภาพ และแน่นอนว่า มันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับสมาชิกใหม่ คือ ลูก ๆ นั่นเอง

            หลักการที่กล่าวถึงนั้น  ๓ ข้อ คือ

๑.เข้าใจ หลายคนอาจจะบอกว่า น่าจะเป็นความรัก ซึ่งก็ใช่ แต่ว่าขั้นต่อไปจากนั้นอยากให้ มีเพิ่มขึ้นก็คือ ความเข้าใจ ยิ่งรักมาแค่ไหนก็อยากให้พยายามเข้าใจคนรักของตนเองมาแค่นั้น ในทุก ๆ ด้านหรือแง่มุม เพราะมีหลายคนบอกว่า “รักมากแต่ไม่เข้าใจเลย” จึงนำไปสู่ความขัดใจ เพราะฝืนใจในเรื่องที่ตนเองไม่เข้าใจ เพราะว่า ใครๆ ก็อยากให้คนที่เรารัก เป็นคนที่เข้าใจเรามากที่สุด ต่อให้คนทั้งโลกจะไม่เข้าใจเราก็ตาม

๒.เชื่อใจ เป็นสิ่งที่จะตามมาจากความเข้าใจ ยิ่งเข้าใจมากก็ยิ่งเชื่อใจมาก ความเชื่อใจ ไม่ใช่แค่เชื่อว่า เขารักเราเท่านั้น แต่หมายถึงความเชื่อใจในศักยภาพของเขา เชื่อใจว่าเขาจะสามารถเป็นคนที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตเราได้ทั้งในตอนนี้และอนาคต เมื่อเชื่อใจจะให้โอกาส ให้โอกาสคนรักของเรานั้นได้สร้างฝันของตนเองบ้าง ไม่ใช่จะทุ่มเทเพื่อเราเท่านั้น แต่จริงๆ ฝันของเขาก็คือเพื่อเรานั่นเอง

๓.เผื่อใจ ไม่ใช่ว่าจะเผื่อใจที่เขาไม่รัก แต่เผื่อใจให้เหลือพื้นที่สำหรับวันที่อะไรๆ ไม่เป็นใจ แม้จะทุ่มเทเพื่อรักเรา แต่บางครั้งเขาก็อาจจะพลาดและล้มเหลว หรือสิ่งที่ทำนั้นมันไม่สำเร็จ เราก็จะต้องเป็นกำลังใจที่สำคัญให้ ถึงใครจะบอกว่าเธอแพ้แต่สำหรับเรานั้น คือผู้ชนะของเราเสมอ ไม่ว่าจะเจออะไร ก็จะร่วมกันฟันฝ่าไปไม่ย่อท้อ

บางทีท่ามกลางสังคมที่ผันแปรอาจจะขอแค่ใครสักคนที่มั่นคง เคียงข้างร่วมทางไม่ว่าไกลใกล้หรือลำบากยากเข็ญ ไม่ใช่เห็นว่ากำลังแย่แล้วมาขอแยกทาง  

            อย่าให้มีความสุขแค่ช่วงที่ยังรักกันอยู่ อะไรก็ดีไปหมด แต่พออะไรๆ มันเริ่มเปลี่ยนไป รักหมดใจก็กลายเป็นใจหมดรัก เคยห้ามใจไม่ให้คิดถึง ก็อาจจะกลายเป็น “มึงจะตายเมื่อไหร่ไอ้แก่?” อย่าคิดว่าไม่เคยมีเพราะผู้เขียนนี่เคยเห็นมาแล้ว ลีลาชีวิต บางครั้งคิดมาไปก็เปลืองสมอง มองอีกทีเขาบอกว่า “เมียด่าก็เพราะว่าเมียรัก” บางคู่ทะเลาะกันเช้าเย็นแต่ก็เห็นอยู่กันมาจนแก่เฒ่า แต่หลายคู่เห็นรักกันอยู่ดีๆ แค่ ๒ ปี หย่ากันซะแล้ว

            ฉะนั้น พระเองก็จะขอให้แค่หลักการเป็นแง่คิด ส่วนชีวิตของเป็นของท่านทั้งหลาย จะรักหรือเลิกก็ขอให้ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ลมหายใจเป็นของใครของมัน บางครั้งเราเองก็จะต้องรู้จักรักตนเองให้เป็นและเห็นคุณค่าของชีวิตให้มาก รักแย่ก็อาจจะแค่ผ่านเพื่อพบรักแท้ก็เป็นได้

เงื่อนไขของความสุขที่สำคัญอย่างหนึ่งก็คือ ความสัมพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นความสัมพันธ์ระดับไหน ระหว่างคู่รัก ครอบครัว สังคม ชุมชน หรือระหว่างประเทศ  ถ้าความสัมพันธ์ไม่ดีก็จะมีผลตรงกันข้าม

            จากการทำงานทำให้ได้ฟังเรื่องราวของปัญหาความสัมพันธ์หลากหลายระดับ ที่เจอบ่อยก็คือความสัมพันธ์ที่เรียกว่า “รักสองเรา” แต่ละกรณีก็มีเงื่อนไขที่แตกต่างกันไป ในหน้าที่ของพระแล้วไม่สิทธิในการเข้าไปก้าวก่ายให้เขาเกิดความรักหรือส่งเสริมให้มีการเกี้ยวพาราสี เพราะผิดศีลของพระ แต่ว่าเราทำหน้าที่รับฟังและปรับให้คนเกิดความเข้าใจ และสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน

เวลาพูดว่า “ให้คนเรานั้นรักกัน” หลายคนนั้นมีจินตนาการล้ำเลิศ มักจะคิดเตลิดไปไกล ให้เข้าใจว่า รักก็คือมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ไม่เป็นศัตรูกัน และมุ่งหมายความดีให้เกิดมีต่อกัน

            เมื่อได้ฟังคนมีปัญหาด้านสัมพันธภาพ  ก็ได้ฟังคนที่มีสัมพันธภาพที่ดีและมีความสุขครอบครัวอบอุ่นด้วยเช่นเดียวกัน ก็เลยทำให้ได้ข้อมูล ๒ ฝ่าย เมื่อนำมาประมวลและวิเคราะห์สังเคราะห์แล้ว ก็ทำให้ได้บทสรุป เป็นองค์ความรู้ใหม่สำหรับตัวเอง เมื่อนำมาอภิปราย(พูดซะเว่อร์เลย) จริงๆ ก็นำมาพูดคุยกับครูบาอาจารย์บ้างญาติโยมที่มีประสบการณ์บ้าง ก็ทำให้บทสรุปที่ได้มีความกระชับและชัดเจนมากยิ่งขึ้น เป็นการประยุกต์กระบวนการทำวิจัยนำมาใช้ ก็ถือว่าเป็นเครื่องมือที่ทำให้เราตกผลึกอะไรได้ง่ายขึ้นมาก

            เกริ่นที่มาพอสมควรแล้ว เพื่อให้เห็นว่าหลักการที่จะพูดถึงนี้ได้มาอย่างไร เป็นแนวทางที่จะช่วยให้เรามีฐานคิดในการใช้ชีวิตรักษาสัมพันธภาพเอาไว้ให้ดีโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ระหว่างคนสองคน” เพราะผู้เขียนถือว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญก่อนจะมีพัฒนาการไปสู่การสร้างครอบครัว

เมื่อครอบครัวมีพ่อแม่ที่ทักษะทางด้านรักษาสัมพันธภาพดี ครอบครัวก็มีความสุข เป็นครอบครัวคุณภาพ และแน่นอนว่า มันจะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีสำหรับสมาชิกใหม่ คือ ลูก ๆ นั่นเอง

            หลักการที่กล่าวถึงนั้น  ๓ ข้อ คือ

๑.เข้าใจ หลายคนอาจจะบอกว่า น่าจะเป็นความรัก ซึ่งก็ใช่ แต่ว่าขั้นต่อไปจากนั้นอยากให้ มีเพิ่มขึ้นก็คือ ความเข้าใจ ยิ่งรักมาแค่ไหนก็อยากให้พยายามเข้าใจคนรักของตนเองมาแค่นั้น ในทุก ๆ ด้านหรือแง่มุม เพราะมีหลายคนบอกว่า “รักมากแต่ไม่เข้าใจเลย” จึงนำไปสู่ความขัดใจ เพราะฝืนใจในเรื่องที่ตนเองไม่เข้าใจ เพราะว่า ใครๆ ก็อยากให้คนที่เรารัก เป็นคนที่เข้าใจเรามากที่สุด ต่อให้คนทั้งโลกจะไม่เข้าใจเราก็ตาม

๒.เชื่อใจ เป็นสิ่งที่จะตามมาจากความเข้าใจ ยิ่งเข้าใจมากก็ยิ่งเชื่อใจมาก ความเชื่อใจ ไม่ใช่แค่เชื่อว่า เขารักเราเท่านั้น แต่หมายถึงความเชื่อใจในศักยภาพของเขา เชื่อใจว่าเขาจะสามารถเป็นคนที่ดีที่สุดสำหรับชีวิตเราได้ทั้งในตอนนี้และอนาคต เมื่อเชื่อใจจะให้โอกาส ให้โอกาสคนรักของเรานั้นได้สร้างฝันของตนเองบ้าง ไม่ใช่จะทุ่มเทเพื่อเราเท่านั้น แต่จริงๆ ฝันของเขาก็คือเพื่อเรานั่นเอง

๓.เผื่อใจ ไม่ใช่ว่าจะเผื่อใจที่เขาไม่รัก แต่เผื่อใจให้เหลือพื้นที่สำหรับวันที่อะไรๆ ไม่เป็นใจ แม้จะทุ่มเทเพื่อรักเรา แต่บางครั้งเขาก็อาจจะพลาดและล้มเหลว หรือสิ่งที่ทำนั้นมันไม่สำเร็จ เราก็จะต้องเป็นกำลังใจที่สำคัญให้ ถึงใครจะบอกว่าเธอแพ้แต่สำหรับเรานั้น คือผู้ชนะของเราเสมอ ไม่ว่าจะเจออะไร ก็จะร่วมกันฟันฝ่าไปไม่ย่อท้อ

บางทีท่ามกลางสังคมที่ผันแปรอาจจะขอแค่ใครสักคนที่มั่นคง เคียงข้างร่วมทางไม่ว่าไกลใกล้หรือลำบากยากเข็ญ ไม่ใช่เห็นว่ากำลังแย่แล้วมาขอแยกทาง  

            อย่าให้มีความสุขแค่ช่วงที่ยังรักกันอยู่ อะไรก็ดีไปหมด แต่พออะไรๆ มันเริ่มเปลี่ยนไป รักหมดใจก็กลายเป็นใจหมดรัก เคยห้ามใจไม่ให้คิดถึง ก็อาจจะกลายเป็น “มึงจะตายเมื่อไหร่ไอ้แก่?” อย่าคิดว่าไม่เคยมีเพราะผู้เขียนนี่เคยเห็นมาแล้ว ลีลาชีวิต บางครั้งคิดมาไปก็เปลืองสมอง มองอีกทีเขาบอกว่า “เมียด่าก็เพราะว่าเมียรัก” บางคู่ทะเลาะกันเช้าเย็นแต่ก็เห็นอยู่กันมาจนแก่เฒ่า แต่หลายคู่เห็นรักกันอยู่ดีๆ แค่ ๒ ปี หย่ากันซะแล้ว

            ฉะนั้น พระเองก็จะขอให้แค่หลักการเป็นแง่คิด ส่วนชีวิตของเป็นของท่านทั้งหลาย จะรักหรือเลิกก็ขอให้ใช้ชีวิตอย่างสร้างสรรค์ ลมหายใจเป็นของใครของมัน บางครั้งเราเองก็จะต้องรู้จักรักตนเองให้เป็นและเห็นคุณค่าของชีวิตให้มาก รักแย่ก็อาจจะแค่ผ่านเพื่อพบรักแท้ก็เป็นได้

ติดตามอ่านคอลัมน์ โชคดีที่มีพระ เรื่อง “เข้าใจ เชื่อใจ และใส่ใจ” สามหลักการสานสัมพันธ์

โดย พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป

หน้าพระไตรสรณคมน์ นสพ.คมชัดลึก วันพฤหัสบดีที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒

พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป
พระมหาประสิทธิ์ ญาณปฺปทีโป ผู้เขียน
ประธานกลุ่มเพื่อชีวิตดีงาม
สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม
และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์
วัดสระเกศฯ

“ความสัมพันธ์ ระหว่างคนสองคน เป็นเรื่องจำเป็น เพราะผู้เขียนถือว่ามันเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญก่อนจะมีพัฒนาการไปสู่การสร้างครอบครัว และการสานสัมพันธ์ให้ดีนั้น มีอยู่สามหลักการคือ เข้าใจ เชื่อใจ และเผื่อใจ สามข้อนี้ ไม่ได้ทำความเข้าใจด้วยความจำ แต่ต้องอาศัยปัญญาที่เกิดจากสติปัจจบันโดยแท้

ปัญญาที่เกิดจากสติปัจจุบัน คือ การไม่นำเรื่องเก่าๆ มาทำร้ายจิตใจกันและกัน ให้อภัยกันได้ แล้วเริ่มต้นใหม่ ด้วยใจที่ปล่อยวางอดีตไว้ข้างหลัง และไม่นำความฝันความหวังในอนาคตมาทำให้เคร่งเครียด จนปัจจุบันหายไป ”

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here