รำลึกวันวาน…มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (ตอนที่ ๔๒) การใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะ คือมงคลแห่งชีวิต

0
1007
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น.  พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย" ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น.
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐
ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น
เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม
ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย”
ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

รำลึกวันวาน… มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตอนที่ ๔๒ การใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะ คือ มงคลแห่งชีวิต

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

(หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒)

เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) เลขานุการเจ้าคณะภาค ๑๐ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย" ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย”
ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

สัปดาห์ที่แล้ว รำลึกวันวาน… พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น ท่านได้พาให้นักศึกษา ย้อนกลับไปหารากของเราชาวไทย จากจุดกำเนิดแห่งศิลปะไทยที่มาจากวัด และการสร้างงานศิลปะให้อมตะจะต้องมีสามอย่างผสานกันคือ  ศรัทธา อุดมการณ์ และปณิธาน เพื่อที่จะสร้างสรรค์วิชาศิลปะให้เป็นประโยชน์กับสังคมต่อไปในวันนี้และภายภาคหน้า ในปาฐกถาหัวข้อพิเศษ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย” ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๕๖๐ เวลา ๑๗.๓๐ น. 

ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ ในขณะนั้น กล่าวต่อมาว่า  

ศรัทธา อุดมการณ์ ปณิธาน จะทำให้นักศึกษาสามารถสร้างงานให้เป็นอมตะ กลายเป็นศิลปะที่ดำรงอยู่คู่กับชาติทั้งสามส่วน ถ้าเมื่อไรก็ตามที่เรามีศรัทธาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะศรัทธาทำให้เรามีอุดมการณ์ในการสร้างงาน และอุดมการณ์นี่แหละเป็นที่มาของปณิธานในการที่จะสร้างงานให้เป็นอมตะขึ้นมาให้ได้”

          สัปดาห์นี้ขอเปิดบันทึกความทรงจำกลับไปยังวันวานอีกกันต่อ เพื่อเป็นพละ เป็นกำลังให้กับผู้รักงานศิลปะและผู้ที่ทำงานอย่างมีศิลปะ ตลอดจนผู้ใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะว่า เมื่อเราเข้าถึงแก่นของพุทธศิลป์ เราจะมีสติ สมาธิ และมีปัญญาในการสร้างสรรค์งานทุกอย่างได้เช่นเดียวกัน

ขอขอบคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศ

เพราะเมื่อเราดำรงชีวิตอย่างมีสติ ตั้งใจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างใส่ใจมีจิตตั้งมั่น(สมาธิ) ให้เวลาเต็มร้อย ให้คุณค่าอย่างเต็มเปี่ยม งานชิ้นนั้นก็จะก่อเกิดปัญญาอันลุ่มลึกในตัวเรา เป็นงานศิลปะแห่งชีวิตขึ้นมาที่จะเป็นประโยชน์กับสังคม ต่อชาติบ้านเมืองต่อไป และจะดำรงอยู่ในใจเรา เป็นพละ เป็นพลังใจให้เราก้าวเดินต่อไปอย่างมั่นคงบนเส้นทางที่เราเลือกเดิน เพราะเรามีรากแห่งความศรัทธา อุดมการณ์ และปณิธานอย่างเต็มเปี่ยม

ดังที่ ท่านอาจารย์เจ้าคุณพระราชกิจจาภรณ์ ในขณะนั้นแสดงปาฐกถาธรรมต่อมาว่า  ในสมัยก่อน วัดเป็นจุดเริ่มต้นของการแสดงศิลปะของศิลปิน เราจะเห็นว่า ขรัวอินโข่ง นักศึกษาทุกคนน่าจะรู้จัก ขรัวอินโข่งท่านเป็นพระ และสอนศิลปะให้กับลูกศิษย์ นอกจากสอนศิลปะแล้วก็ยังได้สร้างงานศิลปะด้วยตัวท่านเองมากมายในสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงโปรดผลงานของขรัวอินโข่งมากที่ผสานศิลปะไทยและศิลปะตะวันตกได้อย่างงดงาม   

“และยังมีหลายๆ ท่าน เช่น ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระองค์ท่านได้ส่งพระออกไปตามหัวเมืองต่างๆ หนึ่งในนั้นก็คือ พระอริยวงศาจารย์ (พระอริยวงศาจารย์ ญาณวิมล อุบลสังฆปาโมกข์) ท่านจึงเป็นพระสงฆ์ยุคแรกที่มีบทบาทสำคัญในการศึกษาให้แก่เมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ในขณะนั้นซึ่งยังเป็นประเทศราช ภายใต้พระบรมราชูปถัมภ์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทำให้เมืองอุบลราชธานี เป็นราชธานีแห่งอีสาน รุ่งเรืองด้วยศาสนาศิลปวัฒนธรรม ตลอดสกุลช่างเฉพาะเมืองอุบลสืบต่อมาถึงปัจจุบัน จนได้รับการขนานนามว่า “เมืองนักปราชญ์” เพราะการปฏิบัติงานได้เป็นผลสำเร็จอย่างดียิ่งขึ้น

“โดยเมื่อท่านไปอยู่ที่หัวเมืองอุบลราชธานีศรีวนาลัย ท่านก็นำศิลปะจากภาคกลางไปใช้ที่หัวเมือง ท่านไปสร้างหอพระไตรปิฎกขึ้นมา ซึ่งจำลองจากวัดสระเกศ แล้วก็ไปสร้างที่หัวเมือง นอกจากนั้นก็ได้เขียนจิตรกรรมฝาผนังซึ่งแสดงถึงศิลปะ ที่เป็นศิลปะอย่างภาคกลางขึ้นมา จะเห็นได้ว่าทุกภาคส่วนของสังคมมีวัดเป็นจุดเชื่อมต่อและเกี่ยวเนื่องกัน

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย"  ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

“ในทางพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ตรัสอยู่สุภาษิตหนึ่ง พหุสัจจัญจะ สิบปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต สุภาษิตา จะ ยาวาจา เอดัมมังคะละมุตตะมัง  หมายความว่า ศิลปะ เมื่อพัฒนาถึงจุดสูงสุดแล้วก็เป็นมงคลกับชีวิตได้ ศิลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อพัฒนาให้ถึงจุดสูงสุดแล้ว ก็สามารถที่จะเป็นมงคลกับชีวิตได้ หมายความว่า จะสร้างงานให้เป็นอมตะก็ได้ จะนำศิลปะไปเพื่อประกอบอาชีพเลี้ยงชีวิตก็ได้

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย"  ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

“เพราะฉะนั้น ในการเรียนศิลปะมีความสำคัญ

ไม่ว่าจะทำสิ่งใดก็แล้วแต่

จะประกอบอาชีพสิ่งใดก็แล้วแต่

ส่วนที่สำคัญก็คือ ความมีศิลปะนั่นเอง”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย"  ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

“ในวันนี้ อาตมภาพได้มาร่วมกับท่านคณาจารย์ทุกท่าน มีความรู้สึกยินดีว่า ในส่วนของวัดสระเกศ ก็มีส่วนเกี่ยวเนื่องกับอาจารย์ปัญญา เพ็ชรชู ซึ่งได้รับรางวัลศิลปินต้นธารศิลป์ จากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคง แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นรางวัลที่มอบให้กับศิลปินที่ทุ่มเทให้กับงานของพระพุทธศาสนา ของวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร นอกจากนั้นยังได้เกี่ยวข้องกับอาจารย์ที่อยู่ที่เพาะช่างหลายๆ ท่าน อย่างอาจารย์มงคล ก็ทำงานร่วมกันในหลายๆ ส่วน

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย"  ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น
เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม
ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง “พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย”
ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

 “ในโอกาสที่ได้มาร่วมงานในวันนี้ อาตมาก็ขอแสดงความยินดีร่วมกันนักศึกษา ทุกๆ คน ทุกๆ ท่านด้วย ในโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งนี้ อาตมภาพขออาราธนาคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จงมารวมกันเป็นกำลังที่สำคัญ มาดลบันดาลให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทุกๆ ท่าน ได้มีความร่มเย็นเป็นสุขสัมฤทธิ์ ในสิ่งที่ปรารถนาทุกๆ ประการ ขอเปิดนิทรรศการตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป”

พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ในขณะนั้น เมตตาอนุเคราะห์ เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการและปาฐกถาธรรม ในหัวข้อพิเศษ เรื่อง "พระพุทธศาสนากับศิลปะไทย"  ณ วิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ

ล้อมกรอบ

๘.การดำเนินจิตในสมาธิให้เกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์

บันทึกธรรม “สัมมาสมาธิ” โดยพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ภาพประกอบโดย หมอนไม้
บันทึกธรรม “สัมมาสมาธิ” โดยพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)
ภาพประกอบโดย หมอนไม้

การจะทำการงานอย่างใดอย่างหนึ่งให้มีจิตตั้งมั่นก็คือ สมาธิ นั้น ต้องมีการฝึกฝน ในบันทึกธรรม “สัมมาสมาธิ” โดยพระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร)ในขณะนั้น อธิบายในบท “ความเป็นผู้ฉลาดในอารมณ์ของสมาธิ” ต่อมาอีกว่า

การดำเนินจิตในสมาธิ เมื่อปฏิบัตินานไปจะรู้สึกเบื่อความว่าง เบื่อความสงบ จะมีคำถามผุดขึ้นมาว่า ปฏิบัติสมาธิจนว่างจนสงบแล้วจะอย่างไรต่อ ก็ให้ยกธรรมดังกล่าว (คือ หมวดธรรมข้อใดข้อหนึ่ง) ขึ้นพิจารณาไปก่อน เพื่อให้จิตเกิดความเคยชินกับการพิจารณาธรรมที่หนุนเนื่องอยู่บนทางสายกลางกับอริยมรรค อย่าปล่อยให้จิตแช่นิ่งว่างๆ เฉยๆ อยู่เช่นนั้นนานเกินไป

เพราะแม้ได้ความสงบแล้วก็จริง แต่ยังไม่ได้ปัญญา ปัญญายังไม่เกิด การยกข้อธรรมดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา ก็เพื่อหางานให้จิตทำ แต่เป็นงานของจิตเพื่อก่อปัญญา เป็นการเปิดอารมณ์ใหม่ขึ้นมาให้จิตรู้ อย่าไปรู้เรื่องเก่าที่เต็มไปด้วยราคะ โทสะ โมหะ ให้รู้เรื่องใหม่ คือ เรื่องธรรมที่จะไปหนุนมรรคให้เจริญ

ถ้าไม่หางานให้จิตทำ จิตก็จะแช่นิ่งจนเกิดความเคยชินติดอยู่กับความแช่นิ่ง หรือติดสงบ จะเรียกว่า ติดสุขในความสงบก็ได้ แล้วก็จะเกิดตัณหาและอุปาทานการยึดมั่นอย่างใหม่ขึ้นมาแทนซึ่งไม่ใช่จุดประสงค์ของสมาธิที่พระพุทธเจ้าต้องการ

ดังนั้น แทนที่จะปล่อยให้จิตดึงเอาอารมณ์อย่างหนึ่งอย่างใดที่เป็นอนุสัยดองอยู่ ขึ้นมาคิดปรุงแต่ง ก็ให้จิตขบคิด ปรุงแต่ง พิจารณาไปตามธรรมที่เกื้อหนุนต่อการรู้ธรรมเข้าใจธรรมและหัวข้อธรรมที่ยกขึ้นพิจารณา ก็ล้วนแต่เป็นหัวข้อธรรมที่หนุนเนื่องให้เกิดสมาธิและปัญญา ก็ยกขึ้นพิจารณาบ่อยๆ

อนึ่ง หากไม่ยกหัวข้อธรรมขึ้นพิจารณา จิตก็จะไปดึงเอาอนุสัยเกี่ยวกับราคะ โทสะ โมหะที่นอนเนื่องดองอยู่ในจิตขึ้นมาปรุงแต่ง สืบเนื่องเป็นกระแส เพราะถึงอย่างไรโดยธรรมชาติของจิตจะขาดอารมณ์ไม่ได้ก็ต้องหน่วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาเป็นอารมณ์สืบเนื่องเป็นกระแสเป็นธรรมดา แม้กระทั่งความสงบ ก็คืออารมณ์อย่างหนึ่ง ที่จิตหน่วงขึ้นมาแล้วยึดเป็นอารมณ์ในขณะนั้นๆ

          แต่ความสงบก็ไม่เที่ยง เพราะความสงบก็ตกอยู่ภายใต้อำนาจแห่งไตรลักษณ์ หมุนไปตามเหตุปัจจัยเช่นกัน เมื่อปฏิบัติแล้ว บางคราวสงบ บางคราวก็ไม่สงบให้เห็นเป็นธรรมดา

        (โปรดติดตามตอนต่อไปสัปดาห์หน้า)

รำลึกวันวาน… มโนปณิธาน พระราชกิจจาภรณ์ (เทอด ญาณวชิโร) ตอนที่ ๔๒ การใช้ชีวิตอย่างมีศิลปะ คือ มงคลแห่งชีวิต

โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์

(หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๑๒ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๒ )

ทิ้งคำตอบไว้

Please enter your comment!
Please enter your name here