จากที่มาของสายสัมพันธ์อันงดงาม
ที่ถักทอมาตั้งแต่สมัย พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท)
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี
กับ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร )
สู่ “สายธารธรรม จากวัดหนองป่าพง ถึงวัดสระเกศ
จาก หลวงพ่อสมเด็จฯ ถึงหลวงปู่ชา”
“ราชรถอันวิจิตรงดงามยังเก่าได้
แม้แต่ร่างกายของเรา ก็ไม่พ้นชราภาพ
แต่ธรรมของสัตบุรุษหาแก่ไม่
สัตบุรุษทั้งหลาย ย่อมกล่าวสอนกันเช่นนี้”
ในหนังสือ “อุปลมณี” ชีวประวัติ พระโพธิญาณเถร ( ชา สุภทฺโท) จัดทำโดยคณะศิษยานุศิษย์วัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี ในบท ประวัติการอาพาธ เริ่มต้นด้วย สี่วรรคทองดังกล่าว แล้วเล่าต่อมาว่า หลวงพ่ออาพาธหนัก จนกระทั่งอัมพาตนานถึงเก้าปีจึงได้มรณภาพ
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี
ในหนังสือ “กตัญญุตา บูชาคุณ ๑๐๐ ปี พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)”
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี บทที่ ๑๓ ปัจฉิมโอวาท บันทึกไว้ว่า
หลวงพ่ออาพาธ
หลังจากที่หลวงพ่อชาได้จาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่ประเทศอังกฤษครั้งแรกนั้น ท่านเริ่มมีอาการโงนเงน ต้องใช้ไม้เท้าช่วยประคอง และในเวลาต่อมา อาการของโรคความจำเสื่อมก็เริ่มปรากฏ เป็นอย่างนี้เรื่อยมาจนถึงปีพุทธศักราช ๒๕๒๓ ก็มีอาการคลื่นไส้อาเจียน และมีอาการเบื่ออาหารเพิ่มเข้ามา ทำให้อ่อนเพลียง่าย อาการเหล่านี้เป็นๆ หายๆ เรื่อยมา ในที่สุดหลวงพ่อได้รับอาราธนาไปตรวจสุขภาพที่กรุงเทพฯ คณะแพทย์สรุปการวินิจฉัยว่า อาการอาพาธของหลวงพ่อนั้น เกิดขึ้นเพราะสมองส่วนหน้าซีกซ้ายขาดเลือดหล่อเลี้ยงและเริ่มทำงานผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีภาวะกระดูกข้อต่อสันหลังบริเวณช่วงคองอก หัวใจขาดเลือด ท่อทางเดินหายใจโป่งพอง และมีโรคเบาหวานด้วย หลังฉันยาแล้วก็อาการทุเลาเล็กน้อย
อย่างไรก็ดี สุขภาพของหลวงพ่อได้ทรุดโทรมลงเรื่อย ๆ ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๔ คณะศิษย์จึงกราบอาราธนาไปจำพรรษาที่วัดถ้ำแสงเพชรซึ่งอยู่บนภูเขา เพื่อรับอากาศบริสุทธิ์ ท่านได้ปรารภว่า “ญาติโยมสานุศิษย์ทั้งหลายไปเยี่ยม ก็ไม่ได้สนองศรัทธาอย่างเต็มที่ เพราะว่าเสียงมันจะหมดแล้ว ลมมันก็จะหมดแล้ว นับว่าเป็นบุญที่เป็นตัวเป็นตนมานั่งให้ญาติโยมเห็นอยู่ นี่นับว่าดีแล้ว ต่อไปก็จะไม่ได้เห็น ลมมันก็จะหมด เสียงมันก็จะหมด มันเป็นไปตามเหตุตามปัจจัยของสังขาร ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าท่านสอนไว้ ชัยยะ วัยยัง คือความสิ้นไป เสื่อมไปของสังขาร”
“เสื่อมไปอย่างไร…เหมือนก้อนน้ำแข็ง…มันจะเสื่อมทีละน้อยทีละน้อย ไม่กี่นาที ไม่กี่ชั่วโมง…ละลายเป็นน้ำไป…เพราะเกิดมา เราเก็บเอาความเจ็บ ความแก่ ความตาย มาพร้อมกัน”
หลวงพ่ออาพาธหนัก จนเป็นอัมพาตนานถึง ๙ ปี ตลอดเวลาอันยาวนานนี้ หลวงพ่อได้ใช้สังขารที่เสื่อมโทรมนั้น แสดงธรรมแก่สานุศิษย์และสาธุชนที่ไปนมัสการอยู่ตลอดเวลา จนลูกศิษย์ทั้งหลายต่างรู้สึกว่า นี่เป็นปัจฉิมโอวาทที่เงียบเชียบและยาวนานของหลวงพ่อ เป็นโอวาทที่ลึกซึ้งที่สุด และรับได้ยากที่สุด เท่าที่ท่านเคยแสดงแก่ลูกศิษย์
กราบขอบพระคุณ ภาพจากหนังสือ “กตัญญุตา บูชาคุณ ๑๐๐ ปี พระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)”
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี
กราบขอบพระคุณ ภาพจากวัดหนองป่าพง
กราบขอบพระคุณ ภาพจากวัดหนองป่าพง และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
รำลึกภาพในอดีตเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๑ เป็นวันคล้ายวันมรณภาพ หลวงปู่ชา สุภัทโท ด้วยในปีนั้นยังครบรอบ ๑๐๐ ปี ชาตกาลของท่านด้วยในวันที่ ๑๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๖๑ โดยปกติทุกปีคณะศิษยานุศิษย์ได้จัดปฏิบัติธรรมอาจาริยบูชาท่านในช่วง ๑๒-๑๗ มกราคม เป็นประจำอยู่แล้ว สำหรับในปีนี้จึงนับว่า เป็นการรวมศิษยานุศิษย์จากทั่วทุกมุมโลกมาพร้อมเพรียงกันเป็นเรือนหมื่นหลังการละสังขารของท่านเมื่อ ๒๖ ปีก่อน
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี
ขณะเดียวกันในสายสัมพันธ์ในคณะศิษย์ของสองสำนักระหว่างเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) แห่งวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร กับ พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) แห่งวัดหนองป่าพง ยิ่งแน่นแฟ้นมั่นคงขึ้น แม้ว่า พระเถรานุเถระทั่งสองท่านละสังขารไปแล้วก็ตาม
: สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
พระอาจารย์เทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) เล่าให้ฟังในครั้งนั้น จากหนังสือเล่มนี้…
ธรรมะปรารภยามเช้า-ค่ำ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)
“ก่อนที่พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) จะอาพาธ ท่านได้ฝากให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ) ช่วยดูแลวัดหนองป่าพงด้วย โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นฝรั่ง ท่านเกรงว่า พระฝรั่ง จะอยู่ในเมืองไทยลำบาก อันเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และความไม่เข้าใจของฝ่ายปกครอง
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี
“ความผูกพันที่ก่อตัวขึ้นจากวัยหนุ่มสู่วัยชรา หาได้แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แม้เจ้าประคุณสมเด็จฯจะได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสมเด็จ จนเมื่อหลวงพ่อชาละสังขารไปแล้ว แต่ความผูกพันก็หาได้ลดน้อยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ยังคงถูกถักทอผ่านคำบอกเล่า ระหว่างลูกศิษย์ของทั้งสองฝ่ายรุ่นแล้วรุ่นเล่า
“ลูกศิษย์ที่อยู่ในสาขาต่างๆ ของหลวงปู่ชา หรือแม้แต่ลูกศิษย์ในสาขาต่างประเทศ หากผ่านมากรุงเทพฯ ก็จะมาแวะกราบคาราวะเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เสมือนครั้งเมื่อหลวงพ่อชายังมีชีวิตอยู่ หากวันไหนตรงกับวันพระอุโบสถ ก็จะร่วมลงสังฆกรรม ฟังสวดพระปาฏิโมกข์ ร่วมกับพระสงฆ์ ในพระอารามด้วยทุกครั้ง แม้เจ้าประคุณสมเด็จฯ หากผ่านไปทางวารินทร์ ก็จะแวะไปที่วัดหนองป่าพงเสมอ บางครั้งหากลูกศิษย์วัดสระเกศ มีความประสงค์จะปฏิบัติพระกรรมฐานเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะส่งให้ไปอยู่วัดหนองป่าพงเช่นกัน …”
และ หลวงพ่อธงชัย สุขญาโณ (อดีตพระพรหมสิทธิ) : ภาพในอดีต
กราบขอบพระคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัติย์ วัดสระเกศฯ
นำมาสู่ ความงดงามของสายสัมพันธ์ทางธรรม ที่ยังดำรงคงอยู่ในปัจจุบัน
จากเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๖๐ คณะศิษย์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) จากหลากหลายประเทศ เดินทางมาสักการะรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ) และเข้ากราบคารวะ พระพรหมสิทธิ ในขณะนั้น (ปัจจุบัน หลวงพ่อธงชัย สุขญาโณ) นำโดย พระวิเทศพุทธิคุณ (พระอาจารย์อมโร) ปัจจุบัน พระราชพุทธิวรคุณ (เจเรมี ชาร์ลี จูเลียน อมโร) เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ , พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์เกวลี ) ปัจจุบัน เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ฝ่ายวิปัสสนาธุระ มีนามว่า พระภาวนาวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี, พระอามิต อุปสโม (วัดป่านานาชาติ) ,พระแกรม รุจิโร (วัดอมราวดี) และ พระแฟร์นันโด รฏฺฐปาโล (วัดป่านานาชาติ)
: กราบขอบพระคุณ ภาพจากสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคง
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
สำหรับพระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) ปัจจุบัน พระภาวนาวัชราจารย์ เป็นชาวเยอรมัน จบการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ฟิสิกส์ จบนักธรรมเอก ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ รูปที่ ๗ เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๕๑ ต่อจากพระอาจารย์ญาณธัมโม ชาวออสเตรเลีย โดยได้รับความเมตตาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์(เกี่ยว อุปเสโณ) เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ในขณะนั้น สนับสนุนให้พระต่างชาติได้มาบวช และทำหน้าที่เผยแผ่พระพุทธศาสนา
พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮ็นนิ่ง เกวลี) ปัจจุบัน พระภาวนาวัชราจารย์ กล่าวไว้ในเพจวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ตอนหนึ่งว่า “การมาสอบพระอุปัชฌาย์ เกิดจากการที่พระราชภาวนาวิกรม (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) ปัจจุบัน พระเทพวชิรญาณ เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง ซึ่งโดยปกติแล้วจะเป็นพระอุปัชฌาย์ให้กับผู้ที่ต้องการจะบวชที่วัดป่านานาชาติ แต่เนื่องจากท่านมีอายุมากขึ้น จึงแนะนำให้อาตมาเข้ามาอบรมเป็นพระอุปัชฌาย์ ประกอบกับทางพระเถระ โดยพระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เจ้าคณะภาค ๑๐ (ในขณะนั้น) ท่านเห็นว่า ควรจะมีพระอุปัชฌาย์ในวัดป่านานาชาติ ทำหน้าที่บวชพระภิกษุทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื่องจากพระเถระในวัดก็มีอายุมากขึ้น จึงได้ส่งเสริมให้อาตมาเข้าสู่กระบวนการสอบพระอุปัชฌาย์ตามระบบคณะสงฆ์ไทย ถือเป็นพระภิกษุชาวต่างประเทศรูปแรกที่ได้เข้ามาสอบในระบบคณะสงฆ์ไทยอย่างถูกต้องตามกฎหมาย”
กว่าที่คนๆ หนึ่ง จะได้บวชเรียน จนเป็นพระรูปหนึ่งที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เป็นพระสุปฏิปันโน ก็ต้องมีพระอุปัชฌาย์อาจารย์ จึงขอนำบทความจาก รำลึกวันวาน …มโนปณิธาน พระอาจารย์เทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) ตอนที่ ๒๗ “พระอุปัชฌาย์” ผู้ต่อแสงแห่งปัญญาในต่างแดน มาขยายความตรงนี้
พระอาจารย์เทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) เล่าว่า
“เวลาจุดเทียน เรามองเห็นต้นเทียน เปลวเทียน และแสงเทียนไหม…พระพุทธเจ้าเป็นดั่งต้นเทียน เราพระสงฆ์ก็ทำหน้าที่เป็นผู้ต่อเปลวเทียน เพื่อที่จะนำแสงเทียนไปส่องสว่างให้กับญาติโยม พระอุปัชฌาย์จึงมีความสำคัญมากต่อการสร้างพระเณรอย่างไม่ขาดสายเพื่อช่วยเหลือคนทุกข์ในวัฏสงสารตลอดกาลนาน“
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
ท่านเมตตาเล่าต่อมาว่า ชีวิตเมื่อเราได้พบกับทุกขสัจจ์ ก็นับว่าประเสริฐแล้ว เพราะทุกข์นี้มิใช่หรือ เจ้าชายสิทธัตถะจึงสละวังเพื่อหาทางดับทุกข์จนพบได้ในที่สุด จนเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราต่างเดินตามรอยพระองค์ท่านในหนทางแห่งการดับทุกข์ที่พระองค์ทรงค้นพบในกายใจนี้เอง
“พระธรรมจึงไม่ต้องไปหาที่ไหน หากแต่ว่าได้ปรากฏอยู่ในใจที่ทุกข์อย่างสาหัสดวงนี้เอง เมื่อเห็นทุกข์ ทางออกจากทุกข์ก็ปรากฏ เมื่อไม่ยึดกายใจนี้ว่าเป็นของเรา เป็นตัวเราแล้ว ความทุกข์ก็ดับลง ไม่มีความทุกข์ใดจะคงทนถาวรเช่นเดียวกับความสุข และสรรพสิ่งทุกอย่างในจักรวาลนี้ ทุกอย่างเมื่อเกิดขึ้น ย่อมตั้งอยู่ไม่นาน และจะดับลงในที่สุด ตัวเราเองก็เช่นกัน ไม่ได้นอกเหนือจากกฎไตรลักษณ์นี้เลย…”
ในครั้งนั้น พระอาจารย์เทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) เล่าว่า พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮนนิ่ง เกวลี ) ปัจจุบัน พระภาวนาวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระชาวเยอรมัน สอบผ่านการเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยใช้เวลาถึงสองปีในการเตรียมสอบจนกระทั่งเป็นพระชาวต่างชาติรูปแรกที่สอบผ่านตามระบบคณะสงฆ์ไทย ตามกฎมหาเถรสมาคม โดยเมื่อวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๖๑
“ท่านขอบคุณคณะสงฆ์ไทยที่ให้โอกาสพระชาวต่างชาติได้ทำหน้าที่เสมอเหมือนกับพระไทย ท่านรู้สึกอบอุ่นใจ โดยเฉพาะพระพรหมสิทธิ อดีตเจ้าคณะภาค ๑๐ และเจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร ที่ให้คำปรึกษา ให้แนวทางกับพระป่าสายปฏิบัติศิษยานุศิษย์ พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) มาโดยตลอด ซึ่งเชื่อมมาจากสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ที่ได้ให้โอกาสพระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ปัจจุบันพระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ) พระชาวอเมริกัน แห่งวัดป่ารัตนวัน จังหวัดนครราชสีมา เป็นพระอุปัชฌาย์ในกรณีพิเศษเพื่อสร้างศาสนทายาทในต่างแดนจนสำเร็จเมื่อ ๓๐ กว่าปีก่อน
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
ดังในหนังสือ “ธรรมปรากฏ” ชีวประวัติพระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ปัจจุบัน พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ) ตอนหนึ่งว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศ เป็นผู้มีคุณูปการต่อวงการคณะสงฆ์และแวดวงพระศาสนาทั้งในและนอกประเทศ ท่านเจ้าคุณสมเด็จฯ มุ่งมั่นดำเนินการเพื่อให้พระพุทธศาสนาได้ไปเผยแผ่ยังต่างประเทศ เมื่อประสบปัญหาข้อขัดข้องอันเกี่ยวกับระเบียบข้อบัญญัติของมหาเถรสมาคม ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะรีบดำเนินกรแก้ไขทันที เพื่อมิให้เกิดอุปสรรคต่อคณะสงฆ์ไทยในต่างแดน
“ทั้งนี้สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่หลวงพ่อชาจาริกอยู่ในประเทศอังกฤษ และได้มีโอกาสพบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดพุทธปทีป ขณะนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังดำรงสมณศักดิ์เป็นพระพรหมคุณาภรณ์
ครั้งนั้น หลวงพ่อชาได้กล่าวฝากฝังศิษย์และเรียนท่านเรื่องการดำเนินงานสร้างวัดในประเทศอังกฤษ ซึ่งท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็กรุณารับเป็นธุระในการประสานงานกับทางมหาเถรสมาคม
“ท่านสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดสระเกศฯ ท่านสนับสนุนทุกอย่าง ท่านมีศรัทธากับหลวงปู่ชามาก ท่านช่วยเป็นภาระในการพูดคุยกับมหาเถรสมาคมเมืองไทย เพื่อให้การสนับสนุนเราที่อยู่เมืองนอกอย่างมาก อย่างที่เราไม่เคยคิดจะเป็นอย่างนี้ ท่านอำนวยความสะดวกทุกอย่าง ท่านแต่งตั้งให้เราเป็นพระอุปัชฌาย์ บวชพระในต่างประเทศได้ และท่านก็เสนอชื่อให้เราเป็นเจ้าคุณ ถ้าไม่มีพระผู้ใหญ่ให้การสนับสนุนอย่างนี้ เราคงทำไม่ได้ คงจะลำบากมาก”
ด้วยสายธารแห่งความกรุณาจากหลวงพ่อสมเด็จฯ วัดสระเกศ มาจนถึงท่านเจ้าคุณพระพรหมสิทธิ เป็นส่วนสำคัญในการเป้นพระพี่เลี้ยงที่ทำให้พระครูอุบลภาวนาวิเทศ สามารถเป็นพระชาวต่างชาติรูปแรกที่เข้าสู่การอบรมการเป็นพระอุปัชฌาย์ตามระบบคณะสงฆ์จนสอบผ่าน
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
จึงเป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งที่กงล้อธรรมจักรจักได้ขับเคลื่อนต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด โดยมีพระเถระรุ่นอาจารย์ที่ได้รับความเมตตาจากหลวงพ่อสมเด็จฯ ให้เป็นพระอุปัชฌาย์เป็นกรณีพิเศษมาแล้ว ดังเช่น หลวงพ่อสุเมโธ (พระเทพญาณวิเทศ วิ.) , ท่านพระอาจารย์อมโร (พระวิเทศพุทธิคุณ) ปัจจุบัน พระราชพุทธิวรคุณ วิ. และ พระอาจารย์ปสันโน (พระโพธิญาณวิเทศ) ปัจจุบัน พระราชโพธิวิเทศ วิ. เป็นต้น
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
ปัจจัยที่สำคัญต่อการเป็นพระอุปัชฌาย์ในต่างแดนนั้น ทำให้ชาวต่างชาติสามารถบวชเรียนได้โดยสะดวกยิ่งขึ้น สามารถสร้างศาสนทายาทเป็นกำลังในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มั่นคงยิ่งขึ้น จากการปฏิบัติอันเข้มข้นของครูบาอาจารย์ที่ส่งผ่านวัตรปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้าชนิดก้าวต่อก้าว ทำให้พระชาวต่างชาติที่หลวงปู่ชาส่งไปอยู่ต่างประเทศ ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย
เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี กราบขอบพระคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
ดังที่ พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (เฮนนิ่ง เกวลี ) ปัจจุบัน พระภาวนาวัชราจารย์ เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี กล่าวไว้ในการแสดงธรรมช่วงงานอาจาริยบูชา หลวงพ่อชา สุภัทโท เมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ตอนหนึ่ง ซึ่งผู้เขียนได้เดินทางไปร่วมงานอาจาริยบูชาหลวงปู่ชาในปีนั้น และนำมาเขียนเล่าลงใน นิตยสาร “กายใจ” นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ ๓-๙ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๖ เรื่อง “แก่นรักษาธรรม ” เมื่อครั้งยังเป็น พระอธิการเฮนนิ่ง เกวลี ตอนหนึ่งว่า …
…แม้ไม่ได้เจอหลวงพ่อชา เพราะอาตมาบวชไม่ทันที่ได้เจอท่าน แต่ครูบาอาจารย์ชาวต่างประเทศหลายรูปที่ได้บวชหลังจากหลวงพ่อสุเมโธได้บุกเบิกทางแล้ว ก็ยังได้มีโอกาสอยู่ในข้อวัตรปฏิบัติโดยตรง ยังได้มีโอกาสอุปัฏฐากท่านประมาณ ๑๐ ปี
“อาตมามาทีหลัง ช่วงที่พระราชทานเพลิงศพเรียบร้อยแล้ว ยังถือว่ามีความโชคดีที่ได้เจอคำสั่งสอนของท่าน และได้เจอครูบาอาจารย์ลูกศิษย์ของท่าน ที่เป็นพระอุปัชฌาย์ของอาตมาคือ พระราชภาวนาวิกรม (หลวงพ่อเลี่ยม ฐิตธมฺโม) ปัจจุบัน พระเทพวชิรญาณ (เลี่ยม ฐิตธมฺโม) เจ้าอาวาสวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานีในปัจจุบัน อาตมารู้สึกว่าตัวเองโชคดี ที่ได้บวชเรียนที่นี่ เพราะว่าเรื่องข้อวัตรปฏิบัติ เรื่องรูปแบบ คำสั่งสอนของหลวงพ่อชา ยังมีทางเข้าถึงได้ เพราะมีหลายท่านมาช่วยรักษาไว้ อาตมาเกิดในประเทศเยอรมนี ในต่างประเทศอีกหลายแห่ง หารูปแบบที่พบเจอในประเทศไทยไม่ได้
“ประเทศของอาตมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม เป็นประเทศที่เขาว่าเจริญ และเน้นการศึกษาทางโลก แต่ละคนที่เป็นญาติพี่น้องทางโน้น มีความรู้สึกต่อชีวิตตนเองเหมือนคนอื่นๆ คือ เราพัฒนาความสงบเย็นเหมือนกัน แต่จะทำอย่างไร ถ้าเราไม่มีวิธี ไม่มีส่วนรวมที่จะร่วมมือ ร่วมกำลังได้ ก็อาจจะยาก ศาสนาเดิมของอาตมาคือ ศาสนาคริสต์ ก็สอนความดีให้คนบำเพ็ญเมตตาจิตพอสมควร ส่วนหนึ่งก็ให้เข้าถึงวัฒนธรรมของชาวตะวันตกได้ทุกที่ เสมือนคำสอนของพระพุทธองค์ที่เข้าถึงวัฒนธรรมชาวเอเชีย ชาวไทย แต่ถ้าชาติไหน สังคมไหน ไม่รักษาต้นฉบับ ทางที่จะเข้าถึงศาสนาสอนก็อาจหายาก “ช่วงที่อาตมาอยู่ในผ้าเหลืองมาสิบกว่าปีในประเทศไทย พบเจอรูปแบบที่ดีเป็นต้นฉบับให้เราทั้งหลายได้ ในขณะที่เรารักษาข้อวัตรปฏิบัติ รักษาพระธรรมวินัย และพระวินัยโดยความเคารพ อีกทั้งลงมือในการเสียสละเพื่อรักษาไว้ โดยใจเอื้อเฟื้อ ใจบุญ ด้วยใจเสียสละ
“ …อาตมามาจากสังคมที่ศาสนาหายไป แต่ยังเจอพระพุทธศาสนาที่เป็นต้นฉบับสมบูรณ์ ทำให้เห็นทางสำหรับตัวเอง ในประเทศไทยนี้ ซึ่งพระพุทธองค์สอนอย่างชัดเจน และเข้าถึงจิตใจชาวพุทธในประเทศไทยโดยไม่รู้สึกตัว
“ดังนั้น ถ้าคนไทยไม่รักษาไว้ก็หายได้เหมือนกัน เพราะเป็นการสอนที่มีการปฏิบัติที่ลึกมาก เพราะหลักพระพุทธศาสนาสอดคล้องกับวิทยาศาสตร์ การนั่งสมาธิมีผลกับสมอง อารมณ์ดีชั่วมีผลต่อร่างกายและจิตใจ การละความคิดอกุศล ทำให้เกิดประโยชน์ต่อร่างกายและจิตใจ อาตมาเองได้สัมผัสกับประเทศของอาตมา ชาวเยอรมันล้วนให้เกียรติพระพุทธศาสนา เพราะมีเหตุผล ไม่ชักชวนในทางที่งมงาย สามารถพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง”
แห่งสถาบันชาติ พระศาสนา และพระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
พระอาจารย์เทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์ ) อธิบายให้เห็นอานิสงส์ของการเป็นพระอุปัชฌาย์อีกว่า การที่พระอาจารย์เฮนนิ่ง เกวลี เป็นพระอุปัชฌาย์ จึงเป็นอีกหนึ่งแสงสว่างแห่งปัญญาที่จะเจิดจรัสในใจของผู้คนในต่างประเทศให้พบทางดับทุกข์ที่พระพุทธองค์ค้นพบมากว่า ๒๖๐๐ ปีให้สืบเนื่องต่อไปไม่สิ้นสุดตราบกาลนาน
จากคอลัมน์ มโนปณิธาน พระอาจารย์เทอด ญาณวชิโร (อดีตพระราชกิจจาภรณ์) ตอนที่ ๒๗ “พระอุปัชฌาย์” ผู้ต่อแสงแห่งปัญญาในต่างแดน หน้าธรรมวิจัย นสพ.คมชัดลึก วันอังคารที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๖๒ โดย มนสิกุล โอวาทเภสัชช์
สายธารแห่งสหธรรมิก
สายธารแห่งสหธรรมิกหยั่งรากสู่ใจของสังฆมณฑล ระหว่างวัดหนองป่าพงและวัดสระเกศฯ สืบเนื่องมาตั้งแต่สายสัมพันธ์ของอาจารย์กับอาจารย์ คือ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) และพระโพธิญาณเถร ( ชา สุภทฺโท) มาจนถึงรุ่นอาจารย์กับศิษย์ นับเนื่องตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร) กับ พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ปัจจุบัน พระพรหมวชิรญาณ (โรเบิร์ต สุเมโธ) ตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นต้นมา
ดังที่ หลวงพ่อสุเมโธกล่าวไว้ว่า
” พ.ศ.๒๕๐๙ เป็นปีแรกที่อาตมาได้มาเมืองไทย ก็ได้พบ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีนั้น ขณะที่ท่านกำลังจะไปเวียงจันทร์ อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ และเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ ตั้งใจจะบวชเป็นพระ
“หลังจากบวชเป็นพระที่วัดศรีสะเกษ จังหวัดหนองคายแล้ว ท่านเจ้าคุณพระธรรมปริยัติมุนี พระอุปัชฌาย์ก็ส่งไปอยู่กับหลวงพ่อชา ที่จังหวัดอุบลราชธานี จากนั้น พระอุปัชฌาย์อาตมาก็พามาพบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดสระเกศ ตอนนั้นท่านสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านบอกว่า เวลาเวลาที่มีกิจมากรุงเทพฯ ก็ให้มาพักที่วัดสระเกศได้ ซึ่งตอนนั้นได้มาพักที่วัดสระเกศหลายสัปดาห์ ทำเรื่องวีซ่า ธุระหลายอย่าง หลังจากนั้นก็เวลามากรุงเทพฯ ก็มาพักที่วัดสระเกศเป็นประจำ”
“เวลามาพัก เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ชอบชวนสนทนาเรื่องการปฏิบัติ ท่านอยากรู้ว่า เราปฏิบัติอย่างไร แล้วท่านก็นิยมชมชอบหลวงพ่อชามาก ท่านอยากจะช่วยหลวงพ่อชาตามกำลังความสามารถของท่าน เพื่อให้คำสอนของหลวงพ่อชาเผยแผ่ไปให้ประชาชนชาวไทยได้”
“เวลาหลวงพ่อชาส่งอาตมาไปอยู่ประเทศอังกฤษ เจ้าประคุณสมเด็จก็ช่วยเป็นธุระให้เราเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ เพื่อเกื้อกูลให้ชาวต่างประเทศได้บวชเรียน หลังจากที่หลวงพ่อชาอาพาธเป็นอัมพาตถึง ๑๐ ปี จนมรณภาพ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ช่วยพระในวัดหนองป่าพงมาก ท่านเป็นห่วงพระเวลาอาพาธ ท่านจึงรับเป็นเจ้าคณะภาค ๑๐ เพื่อช่วยพระในวัดหนองป่าพงด้วย อาตมาอยู่ประเทศอังกฤษก็พยายามกลับมาทุกปีเหมือนเดิน เวลากลับมาก็ได้มากราบสมเด็จพระพุฒาจารย์ก่อน และพักที่วัดสระเกศ ”
จากนั้นเป็นต้นมา คณะศิษย์สายวัดหนองป่าพงจึงถือเป็นวัตรปฏิบัติต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ที่วัดสระเกศ เช่นเดียวกับพ่อแม่ครูอาจารย์ที่วัดหนองป่าพง จนถึงทุกวันนี้
ทุกปีคณะศิษย์จากวัดหนองป่าพงทั่วโลกที่เดินทางกลับมาร่วมงานอาจาริยบูชา หลวงปู่ชา ก็จะเดินทางมาพักที่วัดสระเกศ โดยยังคงรักษาวัตรปฏิบัติปกติ อาทิ บิณฑบาต และลงปาติโมกข์กับคณะสงฆ์ที่วัดสระเกศทุกครั้ง
จึงไม่น่าแปลกใจที่วัดอมราวดี ในประเทศอังกฤษ ได้หล่อรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้สักการะบูชาด้วยความกตัญญูเช่นกัน
เข้ากราบคารวะรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ) วัดสระเกศฯ
เจ้าประคุณสมเด็จฯ แสดงธรรมไว้ใน “ธรรมะปรารภยามเช้า-ค่ำ “ ตอนหนึ่งว่า
“…อย่าให้กิเลสทำลายความเป็นพี่น้อง
ขอโอกาสย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญทางพระพุทธศาสนา
ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นประโยชน์แก่โลกอย่างยาวนาน
แต่ถ้าเรามีความรู้สึกแยกจากกันเมื่อไร พระพุทธศาสนาจะมั่นคงอยู่ได้แค่ไหน เพียงไรนั้น เราก็ไม่สามารถจะคาดเดาได้
ถ้าเรายังปฏิบัติกันในลักษณะอย่างเป็นพี่น้องกัน เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูกกัน เราก็จะสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ “
ดังเช่นสายธารธรรม จากวัดหนองป่าพง ถึงวัดสระเกศ จาก หลวงพ่อสมเด็จฯ ถึงหลวงปู่ชา สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ดังที่ในวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี หลวงปู่ชา สุภัทโท ก็ได้มีดำริสร้างกุฏิหลวงพ่อสมเด็จฯ วัดสระเกศฯ ไว้ด้วย
เป็นวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ที่เป็นแบบอย่าง จากพี่ถึงน้อง ที่ผูกพันกับอย่างเป็นหนึ่งเดียว ไม่เพียงสองวัดนี้เท่านั้น หากหมายถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ทั้งสังฆมณฑล รวมไปถึงพุทธบริษัทที่พระพุทธเจ้าฝากพระพุทธศาสนา หรือพระธรรมวินัยไว้ให้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยเหลือผู้คนบนโลกให้พ้นทุกข์จากสังสารวัฏอย่างสิ้นเชิง
เมื่อครั้งไปเยือนสหธรรมิก ที่วัดป่านานาชาติ บ้านบุ่งหวาย อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
: กราบขอบพระคุณ ภาพจาก สำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
๑๖ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๖๗ อาจาริยบูชา พระโพธิญาณเถร (หลวงปู่ชา สุภัทโท) ๓๒ ปีแห่งการละสังขาร รำลึกสายธารธรรม จากวัดหนองป่าพง ถึงหลวงพ่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) แห่งวัดสระเกศฯ
และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
และสำนักงานส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมและความมั่นคงแห่งสถาบันชาติ พระศาสนา พระมหากษัตริย์ วัดสระเกศฯ
มรดกธรรมเล่มที่ ๘๗ หนังสือภาพชีวประวัติของหลวงปู่ชา เนื่องในโอกาสรำลึกชาตกาลครบ ๑๐๐ ปี